ผ่าตัดซ่อมสร้างท่อไต รักษาภาวะท่อไตอุดตัน
ท่อไตอุดตัน รีบรักษาก่อนไตวาย
ผ่าตัดซ่อมสร้างท่อไต แบบส่องกล้อง แผลเล็กแค่ 2-3 มม. ประมาณ 2-3 รู
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ถ้าไตอุดตัน ปัสสาวะจะระบายออกจากไม่ได้ หรือไหลย้อนกลับเข้าไตทำให้ติดเชื้อหรือเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน
- ถ้าไม่รักษา อาจติดเชื้อในระบบปัสสาวะ ทำให้เจ็บปวด ไตบวม หรือผลข้างเคียงอื่นๆ
- ผ่าตัดซ่อมสร้างท่อไต แบบส่องกล้อง แผลเล็กแค่ 2-3 มม. ประมาณ 2-3 รู
การผ่าตัดไม่น่ากลัวและยุ่งยากอย่างที่คิด
ให้ทีม HDcare ดูแลทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบ
รู้จักโรคนี้
รู้จัก ไต
ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง ขนาดประมาณกำปั้น ในร่างกายมนุษย์ปกติมีไต 2 ข้าง หน้าที่ของไต ได้แก่
- กรองของเสียออกจากเลือด
- ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่
- ควบคุมความดันโลหิต
- ผลิตฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
ของเสียในรูปของเหลวจากไตจะไหลไปยังท่อไต จากนั้นต่อไปพักยังกระเพาะปัสสาวะ ก่อนจะถูกขับออกนอกร่างกายในรูปปัสสาวะในที่สุด
สัญญาณที่ต้องตรวจ
อาการของท่อไตอุดตันขึ้นกับว่าอุดตันที่ตำแหน่งใด อาจอุดตันทั้งหมดหรืออุดตันเพียงบางส่วน โดยปกติจะมีอาการดังนี้
- ปวดสีข้างหรือหลัง
- คลื่นไส้อาเจียน
- มีไข้หนาวสั่น
- ปริมาณปัสสาวะลดลง
- ปัสสาวะติดขัด
- มีเลือดในปัสสาวะ
- ความดันโลหิตสูง
- ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะบ่อย
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติ
- ตรวจอัลตร้าซาวด์
- เอกซเรย์ร่วมกับฉีดสารทึบรังสี
- ทำ CT Scan
- ตรวจ MRI
- ตรวจส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดซ่อมสร้างท่อไต รักษาภาวะท่อไตอุดตัน (แบบส่องกล้อง) Laparoscopic Ureteroureterostomy เป็นการ
การรักษาผ่าตัดซ่อมสร้างท่อไตจะทำได้ก็ต่อเมื่อ
- ท่อไตส่วนต้นและส่วนปลายมีเลือดมาเลี้ยงดี
- ส่วนที่มีความผิดปกติ ได้รับบาดเจ็บ หรือเป็นโรค มีความยาว 2-3 เซนติเมตร สามารถตัดส่วนนี้ออกไปได้หมด
- หลังจากตัดส่วนที่ผิดปกติออกไปแล้ว สามารถเชื่อมส่วนของท่อไตที่มีสุขภาพดีเข้าด้วยกันได้สนิทโดยไม่มีแรงดึง
ขั้นตอนการผ่าตัดซ่อมสร้างท่อไตแบบส่องกล้อง
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ หรือฉีดชายาเข้าไขสันหลัง (บล็อกหลัง) จากนั้นให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดโอกาสติดเชื้อระหว่างผ่าตัด
- เปิดแผลที่หน้าท้องส่วนล่าง ขนาดประมาณ 2-3 มม. เพื่อสอดอุปกรณ์ผ่าตัดพร้อมกล้องเข้าไปทำการผ่าตัดซ่อมแซมหรือสร้างท่อไต
- เย็บปิดแผล
บางกรณี การผ่าตัดซ่อมสร้างท่อไตอาจเป็นการเชื่อมท่อไตจากไตข้างหนึ่ง มารวมกับท่อไตจากไตอีกข้าง (ลักษณะเป็นรูปตัว y) เมื่อผ่าตัดเสร็จจะเหลือท่อไตที่เป็นทางเดินให้ของเหลวไปสู่กระเพาะปัสสาวะเพียงท่อเดียว
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากผ่าตัด คนไข้ควรปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด และผู้ดูแลควรสังเกตอาการคนไข้อย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ หลังผ่าตัดใหม่ๆ เป็นปกติที่คนไข้จะยังเจ็บแผล แต่อาการควรค่อยๆ ดีขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ ในระยะที่ยังคาสายสวนปัสสาวะอยู่ คนไข้อาจสังเกตพบมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ความผิดปกติ อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ควรเว้นการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา โดยเฉพาะที่อาจกระทบกระเทือนสายสวนปัสสาวะ
ถ้ามีอาการบ่งชี้ว่าแผลอาจติดเชื้อหรือผลการผ่าตัดไม่เป็นตามที่าวางแผนไว้เหล่านี้ ควรติดต่อแพทย์ทันที
- มีไข้
- อาเจียน
- ปัสสาวะแล้วพบลิ่มเลือดออกมาด้วย
- ปวดท้องด้านข้างลำตัว หรือหลัง โดยถึงรับประทานยาแก้ปวดที่แพทย์ให้มาแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น
การตรวจติดตามหลังผ่าตัดซ่อมสร้างท่อไต
โดยทั่วไป หลังจากให้คนไข้กลับบ้านได้ประมาณ 2-3 วัน แพทย์จะนัดเพื่อนำสายสวนปัสสาวะออก กรณีเป็นเด็กเล็กอาจเอาออกหลังผ่าตัดประมาณ 4-6 สัปดาห์ พร้อมกับตรวจติดตามผลการผ่าตัด
หลังนำสายสวนปัสสาวะออกไปประมาณ 2 เดือนจะเป็นการนัดครั้งที่ 2 โดยครั้งนี้อาจมีการตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูภาพไตและท่อไต
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดซ่อมสร้างท่อไตอาจความเสี่ยง ไม่ต่างจากการผ่าตัดอื่นๆ เช่น
- การติดเชื้อ
- แผลบวม เลือดออก
- การผ่าตัดไม่ได้ผล
ส่วนความเสี่ยงโดยเฉพาะจากการผ่าตัดซ่อมสร้างท่อไต ได้แก่ ปัสสาวะรั่วซึมระหว่างการผ่าตัด ทำให้เกิดความระคายเคือง
ในบางกรณี จุดเชื่อมท่อไตหลังจากตัดส่วนที่ผิดปกติออกแล้วอาจเกิดพังผืดแผลเป็น ซึ่งทำให้ท่อไตอุดตันได้ แต่โอกาสเกิดน้อยมาก อย่างไรก็ตามถ้ามีภาวะนี้เกิดขึ้น จำเป็นจะต้องรักษาเพิ่มเติม โดยอาจทำด้วยวิธีฉายแสงหรือผ่าตัดซ้ำ