ผ่าตัดมดลูกและปากมดลูก (ทางหน้าท้อง)
มักใช้รักษาเนื้องอก มะเร็ง และเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
ผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้องเหมาะกับคนที่มีปัญหาซับซ้อน
หลังผ่าตัดจะยังมีประจำเดือน เพราะยังมีรังไข่อยู่ แต่ไม่มีประจำเดือนออกมา
รับส่วนลด 50% หรือรับค่ารีวิวสูงสุด 50,000 บาท สมัครเป็นเคสรีวิววันนี้ ขอรายละเอียดที่แอดมินเพิ่มได้เลย!
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงต้องตัดมดลูกมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
- ตัดมดลูกเพื่อการรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับมดลูก
- ตัดมดลูกเพื่อเป็นป้องกันโรค
ถ้าตัดมดลูกออกไปแล้ว จะทำให้ไม่มีประจำเดือน และมีลูกไม่ได้
- ถ้าไม่ได้ตัดรังไข่ออก จะยังรู้สึกเป็นปกติ เช่น คัดหน้าอกเวลาใกล้มีประจำเดือน แต่ไม่มีประจำเดือนออกมา
ผ่าตัดกับ HDcare มีผู้ช่วยส่วนตัวดูแลทุกขั้นตอน
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักโรคนี้
แพ็กเกจนี้ใช้วิธีผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทางหน้าท้อง (Total Abdominal Hysterectomy)
ข้อดีของการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทางหน้าท้อง
หลักๆ แล้ว การผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทางหน้าท้องซึ่งเปิดแผลกว้าง มีข้อดีที่ช่วยให้แพทย์เห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจนกว่าการผ่าตัดแบบส่องกล้อง หากอวัยวะข้างเคียงมีสัญญาณความผิดปกติก็จะสามารถสังเกตเห็นได้
นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดทางการผ่าตัดน้อยกว่าวิธีอื่น เช่น แม้ว่าคนไข้จะมีมดลูกขนาดใหญ่ ก็ยังสามารถผ่าออกด้วยวิธีนี้ได้
ผ่าตัดมดลูกและปากมดลูก ใช้เวลานานเท่าไหร่ ระงับความรู้สึกด้วยวิธีใด?
การผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทางหน้าท้อง ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง โดยทั่วไปจะใช้วิธีวางยาสลบให้คนไข้หลับไประหว่างผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทางหน้าท้อง
- ก่อนเริ่มผ่าตัด แพทย์จะวางยาสลบเพื่อระงับความรู้สึก
- เมื่อเริ่มการผ่าตัด เจ้าหน้าที่จะใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อให้ไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่ในกระเพาะปัสสาวะ และยังจะคาสายสวนไว้จนเสร็จสิ้นการผ่าตัดและหลังจากนั้นเล็กน้อย
- นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จะทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณหน้าท้องและช่องคลอด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อระหว่างผ่าตัด
ข้อดี-ข้อเสียของการผ่าตัดแนวขวางกับแนวยาว ได้แก่
-
การผ่าตัดแบบแนวขวาง ข้อดีคือสามารถเข้าถึงพยาธิสภาพโดยเฉพาะส่วนช่องท้องใต้สะดือหรือส่วนท้องน้อยได้ดีกว่า ลักษณะแผลจะขนานกับแนวร่องของผิวหนัง ทำให้สังเกตเห็นแผลผ่าตัดได้ยาก
-
การผ่าตัดแบบแนวยาว ข้อดีสามารถทำการผ่าตัดได้รวดเร็ว ขยายความกว้างของแผลได้ตามที่ต้องการ แต่แผลจากการผ่าตัดชนิดนี้จะทำให้รอบเนื้อเยื่อขอบแผลมีความตึง มักก่อให้เกิดแผลเป็นมากกว่าผ่าตัดแนวขวาง
หลังผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทางหน้าท้อง ต้องพักฟื้นกี่วัน?
ส่วนใหญ่แล้วคนไข้ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด 1-2 วัน แล้วจึงกลับบ้านได้ และยังต้องพักฟื้นต่อประมาณ 6-8 สัปดาห์ขึ้นไป
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
สามารถตรวจพบความผิดปกติได้โดยการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี ควบคู่กับการตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดเพื่อหาความผิดปกติ
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
รักษาโดยไม่ผ่าตัด
ถ้าสาเหตุการตัดมดลูกเกิดจากมะเร็ง ก็ไม่มีทางเลือกอื่น แต่ถ้าเป็นเนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่ มดลูกหย่อน อาจมีทางเลือกอื่นที่จะทดลองก่อนได้ คือ
- ใช้ยา
- ทำลายเยื่อบุโพรงมดลูก
- ใช้ห่วงยางเล็กๆ ดันช่องคลอด
รักษาโดยการผ่าตัด
- ตัดมดลูกทั้งหมดออก เป็นวิธีที่นิยมทำกันมากที่สุด คือการตัดมดลูกและปากมดลูกออกไปทั้ง 2 อย่าง เหลือรังไข่อย่างน้อยหนึ่งข้าง
- ตัดมดลูกออกเหลือแต่ปากมดลูกไว้ (Partial Subtotal) ถ้าไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะพิจารณาการตัดมดลูกที่อยู่เหนือปากมดลูกออก แต่เก็บปากมดลูกไว้
- ตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
- ผ่าแบบถอนรากถอนโคน (Radieal) วิธีนี้มักทำในคนที่เป็นมะเร็ง คือการตัดทั้งมดลูก ปากมดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ส่วนบนของช่องคลอดและเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานออกไปด้วย
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
แพทย์จะวินิจฉัยให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกด้วยสาเหตุดังนี้
- โรคที่เกี่ยวข้องกับมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก มะเร็งมดลูก มะเร็งปากมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ เป็นต้น
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- อวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อนหรือยื่นย้อย
- มีเลือดคล้ายประจำเดือนออกมามาก โดยไม่มีอาการปวดท้องน้อย อาจมีอาการประจำเดือนขาดมาก่อนหน้าประมาณ 2-3 เดือน
- ภาวะฝีหนองในอุ้งเชิงกราน
- ภาวะควบคุมอาการตกเลือดหลังคลอดบุตรไม่ได้
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดมดลูกและปากมดลูก (ทางหน้าท้อง) ชื่อภาษาอังกฤษ Total Abdominal Hysterectomy เป็นการเปิดแผลที่หน้าท้องเพื่อให้แพทย์เห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน ถ้าอวัยวะข้างเคียงมีความผิดปกติ แพทย์จะสังเกตเห็นได้ทันที ทำได้ในปัญหาที่ซับซ้อนและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของระบบทางเดินปัสสาวะ
- ผ่าตัดแบบแนวขวาง ข้อดีคือ เข้าถึงความผิดปกติส่วนช่องท้องใต้สะดือหรือส่วนท้องน้อยได้ดีกว่า ลักษณะแผลจะขนานกับแนวร่องของผิวหนัง ทำให้สังเกตเห็นแผลผ่าตัดได้ยาก
- ผ่าตัดแบบแนวยาว ข้อดีคือ ผ่าตัดได้รวดเร็ว ขยายความกว้างของแผลได้ตามที่ต้องการ แต่จะทำให้รอบเนื้อเยื่อขอบแผลมีความตึง และมีโอกาสเป็นแผลเป็นได้มากกว่าผ่าตัดแนวขวาง
ขั้นตอนการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูก (ทางหน้าท้อง)
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลแนวขวางหรือแนวยาวประมาณ 10-15 ซม. เพื่อนำมดลูกและปากมดลูกออกทางหน้าท้อง
- เย็บปิดแผล
ผ่าตัดมดลูกและปากมดลูก ใช้เวลานานเท่าไหร่?
การผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทางหน้าท้อง ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกทางหน้าท้อง (Abdominal Hysterectomy)
- เปิดแผลที่หน้าท้องประมาณ 10-15 ซม. เพื่อเอามดลูกและปากมดลูกออกมา
- ทำได้ในปัญหาที่ซับซ้อน
- หลังผ่าตัดพักฟื้นที่ รพ. 1-2 วัน และกลับมาเป็นปกติใน 6-8 สัปดาห์
ผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกทางช่องคลอด (Vaginal Hysterectomy)
- เจ็บหลังผ่าตัดน้อยกว่า แผลหายเร็วกว่าผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง
- ระยะเวลาพักฟื้นสั้นกว่าผ่าตัดแบบเปิด
- ส่วนใหญ่ทำพร้อมกับผ่าตัดซ่อมเสริมกระเพาะปัสสาวะหรือไส้ตรง และผ่าตัดใส่สายคล้องท่อปัสสาวะเพื่อแก้ไขปัสสาวะเล็ด
- หลังผ่าตัดพักฟื้นที่ รพ. 1-2 วัน และกลับมาเป็นปกติใน 4-8 สัปดาห์
ผ่าตัดผ่านการส่องกล้อง (Conventional Laparoscopic Hysterectomy)
- เจาะรูเล็กๆ 3-4 รู แล้วสอดอุปกรณ์ผ่าตัดพร้อมกล้องเข้าไปผ่าตัด
- เจ็บน้อยกว่า แผลหายเร็วกว่า ระยะเวลาพักฟื้นสั้นกว่า เสียเลือดน้อยกว่าแบบเปิดหน้าท้อง
- หลังผ่าตัดพักฟื้นที่ รพ. 1-2 วัน และกลับมาเป็นปกติใน 2 สัปดาห์
* แพ็กเกจนี้ใช้วิธีผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทางหน้าท้อง (Total Abdominal Hysterectomy)
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกต้องพักฟื้นกี่วัน?
- หลังจากผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทางหน้าท้อง แพทย์จะให้พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 1-2 วัน หากอาการเป็นปกติ แพทย์อาจให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้เลย และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติภายใน 6-8 สัปดาห์
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดมดลูกและปากมดลูก
- หลังผ่าตัดประมาณ 1-2 วัน จะรู้สึกเจ็บและตึงเล็กน้อย สามารถกินยาแก้ปวดได้ตามคำแนะนำของแพทย์
- 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด ควรนอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ขยับตัวบ่อยๆ
- อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยได้ ใน 2-3 วันแรก เลือดจะมีสีแดงคล้ำ สลับกับสีแดงสด อาจเป็นนานหลายวันไปจนถึงหลายสัปดาห์ แล้วจะค่อยๆ หายไปเอง ถ้าเลือดออกมากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ได้
- พักผ่อนให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและเนื้อเยื่อโดยรอบฟื้นตัวจนเป็นปกติ
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด เพราะอาจทำให้แผลหายช้าและอักเสบได้
- งดของหมักของดองและอาหารรสจัด
- งดสวนล้างช่องคลอด เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
- งดยกของหนัก ออกกำลังกายหนัก และขับรถ ประมาณ 4-8 สัปดาห์
- งดการมีเพศสัมพันธ์ ประมาณ 6 สัปดาห์
- งดอาบน้ำในอ่างน้ำหรือว่ายน้ำ ประมาณ 6 สัปดาห์
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผ่าตัดเนื้องอกมดลูกและปากมดลูก (ทางหน้าท้อง) อาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- อาการข้างเคียงหลังดมยาสลบ เช่น เจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียน เวียนศรีษะ
- เลือดออกในช่องท้อง หรือติดเชื้อจากการผ่าตัด
- ถ้าเนื้องอกมีขนาดใหญ่ การผ่าตัดจะทำได้ยาก อาจเสียเลือดมาก
- ลำไส้ไม่ทำงาน อาจเกิดอาการท้องผูก ขับถ่ายเป็นก้อนแข็ง
- อวัยวะที่ใกล้เคียงกับมดลูกทำงานผิดปกติ เช่น กระเพาะปัสสาวะอาจทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
- อาจมีอาการตกขาวหรือเลือดไหลจากช่องคลอด
- อาจมีอาการคัน หรือแสบช่องคลอด
- อาจมีอาการไข้ และอาจปวดแผลผ่าตัดมาก
- หากมีอาการบวม เจ็บผ่าตัดตัดมาก อาการปวดไม่ทุเลา มีหนองบริเวณแผล ควรรีบพบแพทย์ทันที
การผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกอาจทำให้เกิดอาการวัยทองที่มาก่อนเวลา เพราะหลังผ่าตัด รังไข่จะค่อยๆ เสื่อมและทำงานได้น้อยลง ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศหญิงน้อยลง อาจทำให้อารมณ์แปรปรวน ร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง หรือนอนหลับยาก
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พญ. ศันสนีย์ อังสถาพร (หมอแซน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต
- วุฒิบัตร สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- วุฒิบัตร อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวช
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางสาขานรีเวชและมะเร็งนรีเวช
- สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการการผ่าตัดเปิดหน้าท้องในด้านนรีเวช เช่น ก้อนเนื้องอกมดลูก, มดลูก, ท่อนำไข่, ก้อนเนื้อรังไข่, ถุงน้ำรังไข่
- ประสบการณ์สูตินรีเเพทย์มา 4 ปี, มะเร็งนรีเวช 2 ปี จากนั้น ปฏิบัติงานในรพ.รัฐขนาดใหญ่ 1ปี
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.นพ. เกรียงศักดิ์ ศิริศักดิ์พาณิชย์ (หมอเล็ก)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2534 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- 2540 สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ นครสวรรค์
- 2541 สูติศาสตร์ นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- 2556 Certificate of Urogynecology Department of Obstetrics and Gynecology, Chang Gung Memorial Hospital (Taiwan)
- 2557 Certificate of International Fellowship Program in the Department of Urogynecology, Kameda Medical Center (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดส่องกล้อง
- โรคและหัตถการที่ชำนาญ สูตินรีเวชทั่วไป, โรคนรีเวชทางเดินปัสสาวะ, กระบังลมหย่อน (มดลูกหย่อน), การควบคุมปัสสาวะผิดปกติ, ปัสสาวะเล็ด, ผ่าตัดโรคกระบังลมหย่อน, ผ่านทางหน้าท้องด้วยวิธีส่องกล้อง, ผ่าตัดรักษาโรคกระบังลมหย่อนทางช่องคลอดโดยการใช้ตาข่ายช่วยยึด, ผ่าตัดโรคปัสสาวะเล็ดโดยการใช้ตาข่ายยกท่อปัสสาวะ
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.พญ. พัทยา เฮงรัศมี (หมอไต๊)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2542 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2543 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2548 วุฒิบัตร สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2548 แพทย์ประจำบ้าน สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2552 Fellowship Training in Gynecology Endoscopy and Urogynecology, Monash Medical Centre (Australia)
- 2558 Fellowship Training in Advanced Laparoscopic Surgery, Centre for Advanced Reproductive Endosurgery, (Australia)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน สูติ/นรีเวช และ นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
-หัตถการที่ชำนาญ: ผ่าตัดรักษาปัสสาวะเล็ดด้วยการใส่เทปพยุงใต้ท่อปัสสาวะ, ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอดโดยการส่องกล้องทางหน้าท้อง, ผ่าตัดแก้ไขผนังช่องคลอด, ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอดผ่านทางช่องคลอด, ผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้องเพื่อเลาะตัดรอยโรคช็อกโกแลตซีสต์ชนิดกินลึก
-สมาชิกแพทยสภา
-ราชวิทยาลัยสูติ/นรีแพทย์แห่งประเทศไทย
-ชมรมนรีแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องแห่งประเทศไทย
-ชมรมนรีแพทย์ทางเดินปัสสาวะแห่งประเทศไทย
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา