ผ่าตัดส่องกล้องก้อนถุงน้ำข้อมือ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
การเจาะก้อนถุงน้ำข้อมือ มีโอกาสเป็นซ้ำสูง 70-80% แต่การผ่าตัดโอกาสเป็นซ้ำแค่ 3-5% เท่านั้น!
- ถ้าไม่รักษาก้อนถุงน้ำที่ข้อมือจะเกิดอะไรขึ้น ฟังชัดๆ จากคุณหมอวรพล [ดูวิดีโอ]
รีบผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ก่อนถุงน้ำจะโตจนไปเบียดเส้นประสาทและหลอดเลือดใกล้เคียง หรือเมื่อมีอาการเหล่านี้
- ควรรีบผ่าตัดเมื่อมีอาการปวด ข้อมือชา เสียวข้อมือ
- รู้สึกเหมือนถูกเข็มทิ่มบริเวณรอบถุงน้ำ
- เคลื่อนไหวข้อมือไม่สะดวกจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ไม่แน่ใจว่าเป็นก้อนถุงน้ำหรือมะเร็ง ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ถ้าที่ข้อมือมีก้อนปูดนูนขึ้นมา พอเอานิ้วกดลงแล้วมีของเหลวอยู่ข้างใน ก้อนมักปูดนูนเห็นได้ชัดเวลางอข้อมือลง และเล็กลงเวลากระดกข้อมือขึ้น ถือเป็นข้อบ่งชี้ของถุงน้ำที่ข้อมือ ควรตรวจและวางแผนการรักษากับแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ก้อนนูนจะไปกดทับเส้นประสาทหรือหลอดเลือด
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- แพทย์จะตรวจดูลักษณะก้อนนูน และอาจใช้เข็มขนาดเล็กเจาะตรวจของเหลวที่อยู่ภายในก้อนถุงน้ำด้วย
- ตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
- ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือ CT-Scan
- ตรวจ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ข้อมือ
ถ้ายังไม่แน่ใจว่าก้อนปูดนูนดังกล่าวเป็นก้อนถุงน้ำหรือก้อนมะเร็ง แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเอกซเรย์ (X-Ray) เพื่อช่วยแยกประเภทของก้อนนูนที่เกิดขึ้นอย่างแม่นยำขึ้น
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- สังเกตอาการ ถ้าก้อนถุงน้ำไม่ใช่มะเร็ง มีขนาดเล็ก และไม่สร้างความรำคาญ แพทย์อาจให้เฝ้าสังเกตขนาดของก้อนถุงน้ำไปก่อน
- เจาะของเหลวในก้อนถุงน้ำออก แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะระบายของเหลวภายในก้อนถุงน้ำ และฉีดยาสเตียรอยด์ป้องกันการอักเสบ วิธีนี้มักมีโอกาสทำให้ก้อนถุงน้ำกลับมานูนอีกครั้ง
- ใส่เฝือกที่ข้อมือ เพราะการขยับใช้งานข้อมือบ่อยๆ อาจทำให้เกิดก้อนถุงน้ำได้ การใส่เฝือกจะช่วยลดการใช้งานข้อมือและมีโอกาสทำให้ก้อนถุงน้ำมีขนาดเล็กลงได้
- ผ่าตัดก้อนถุงน้ำ เพื่อกำจัดของเหลวและตัวก้อนถุงน้ำออกจากข้อมือจนหมด ลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง และยังสามารถผ่าตัดเพื่อตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อในก้อนถุงน้ำไปส่งตรวจเพิ่มเติมได้
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ก้อนถุงน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ใช้งานข้อมือได้ลำบาก หรือเริ่มทำให้ปวดข้อมือเมื่อทำท่ากระดกข้อมือ วิดพื้น หรือใช้ข้อมือรับน้ำหนักมากๆ
- มีอาการชา ปวดจนร้าว หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณข้อมือ เป็นสัญญาณที่ก้อนถุงน้ำเริ่มไปกดเบียดเส้นประสาทและหลอดเลือดที่อยู่ใกล้เคียง
- แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นก้อนถุงน้ำหรือก้อนเนื้อชนิดอื่น และต้องการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจเพิ่มเติม
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือเหมาะสำหรับคนที่มีก้อนถุงน้ำขนาดใหญ่มากและมีหลายก้อน หรือคนที่เคยรักษาด้วยการกดให้ก้อนถุงน้ำแตก หรือเจาะดูดน้ำในก้อนออกแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือแบบส่องกล้อง (Arthroscopic Carpal Ganglion Excision) คือ การผ่าตัดระบายของเหลวและนำก้อนถุงน้ำที่ข้อมือออก โดยการใช้กล้องผ่าตัดขนาดเล็ก เพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด ช่วยให้สามารถกำจัดก้อนถุงน้ำได้จนหมด โดยมีโอกาสเจ็บแผลได้น้อย แผลผ่าตัดประมาณ 2 มม. 2 แผลเท่านั้น
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือแบบส่องกล้อง มีขั้นตอนดังนี้
- แพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่ที่ข้อมือ
- เปิดแผลขนาดเล็กที่ผิวหนังข้อมือ
- ใช้อุปกรณ์ผ่าตัดสอดเข้าไปด้านในแผลถึงตำแหน่งก้อนถุงน้ำ แล้วระบายของเหลวภายในถุงน้ำออก จากนั้นตัดก้อนถุงน้ำลึกถึงรากถุงน้ำซึ่งอยู่ติดกับเส้นเอ็นและข้อต่อ แล้วนำออกทางปากแผล
- เย็บปิดแผล
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือแบบส่องกล้องมักใช้เวลาประมาณ 15-60 นาที หลังผ่าตัดเสร็จสิ้นผู้เข้ารับบริการสามารถกลับบ้านได้ทันที
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การผ่าตัดถุงน้ำที่ข้อมือแบบเปิด
- เปิดแผลเหนือถุงน้ำเพื่อระบายของเหลวด้านในแล้วเย็บปิดแผล
- ขนาดแผลขึ้นกับขนาดของก้อนถุงน้ำ
การผ่าตัดถุงน้ำที่ข้อมือแบบส่องกล้อง
- ใช้กล้องผ่าตัดขนาดเล็กและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไประบายของเหลวและตัดก้อนถุงน้ำออก
- ขนาดแผลประมาณ 2 มม. 2 จุด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
- ในวันผ่าตัด แนะนำให้สวมใส่เสื้อกระดุมหน้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อสวมใส่และถอดได้ง่าย
การดูแลหลังผ่าตัด
- กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ และทำความสะอาดแผลตามที่แพทย์แนะนำ
- หลีกเลี่ยงการขยับข้อมือข้างที่ผ่าตัด 10-14 วัน
- ยกแขนขึ้นสูง กำนิ้วมือสลับกับเหยียดนิ้วมือบ่อยๆ เพื่อบรรเทาอาการบวม
- งดยกของหนัก งดการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ใช้ข้อมือมากประมาณ 2-6 สัปดาห์
แพทย์จะนัดกลับมาตรวจติดตามผลการรักษา ถอดเฝือก และตัดไหม หลังผ่าตัดไปแล้ว 10-14 วัน ในระหว่างนี้ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้มีอะไรมากระทบแขนข้างที่ใส่เฝือก
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้
- อาการปวดเจ็บแผล สามารถกินยาแก้ปวดบรรเทาอาการได้
- แผลมีรอยบวมช้ำ
- มีสะเก็ดเลือดหรือมีเลือดไหลซึมเล็กน้อย
- การเกิดแผลเป็นนูนที่แผล สามารถทายา ฉีดยาสเตียรอยด์ หรือยิงเลเซอร์เพื่อลดรอยแผลได้
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน (พบได้น้อย) เช่น เส้นประสาท เส้นเลือด หรือเส้นเอ็นบริเวณโดยรอบได้รับความเสียหาย
สาขาออร์โธปิดิกส์
พ.ต.ต.นพ. วรพล เจริญพร (หมอพั้นช์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2555 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2560 แพทย์ประจำบ้านออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2561 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยามหิดล
- 2565 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดการผ่าตัดระยางค์ส่วนบน Massachusetts General Hospital, Harvard Medical School (USA)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิกทางจุลศัลยกรรม Osaka Hospital (Japan)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิคด้านการผ่าตัดส่องกล้อง Sanno Hospital (Japan)
- ปัจจุบัน กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม
-ชำนาญการพิเศษด้านการผ่าตัดส่องกล้องและการผ่าตัดแผลเล็กรักษาข้อและกระดูก
-กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
-ชำนาญด้านการผ่าตัดอาการมือชาจากพังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือเเละข้อศอก ผ่าตัดนิ้วล็อค ผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอกาเเวง) ผ่าตัดโรคข้อศอกเทนนิส ผ่าตัดรักษาโรคข้อเสื่อม
-ประสบการณ์ผ่าตัดและดูแลคนไข้จากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น