ผ่าตัดปอดโดยการส่องกล้อง
การผ่าตัดปอดสามารถรักษาโรคปอดและทรวงอกได้หลายโรค เช่น มะเร็งปอด เนื้องอกในปอด
ถ้ามีโรคปอดควรรีบรักษา ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจรักษาได้แต่ไม่หายขาด ปอดเสียหายถาวร ทำให้เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก
ผ่าตัดปอดด้วยการส่องกล้อง เจ็บน้อยกว่า ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า ฟื้นตัวเร็วกว่า
ทำความรู้จักหมอเจ นพ. ศิระ เลาหทัย อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องทรวงอก มีประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 2,000 ราย
ไม่แน่ใจต้องเริ่มจากตรงไหน? ให้แอดมิน HDcare เป็นผู้ช่วยส่วนตัวของคุณ ถามได้ทุกเรื่อง หาข้อมูลให้ ประสานงานกับคุณหมอและ รพ. ให้ อยู่ดูแลคุณ จนคุณผ่านการผ่าตัดครั้งสำคัญครั้งนี้ไปด้วยกัน
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
การผ่าตัดปอดด้วยการส่องกล้อง สามารถรักษาได้หลายโรค เช่น
- มะเร็งปอดระยะแรก (ระยะที่ 1 และ 2)
- เนื้องอกในช่องอก เช่น ก้อนเนื้อในปอด เนื้องอกต่อมไทมัส
- ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด โรคปอดทะลุ หรือโรคปอดรั่ว
- ภาวะติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มปอด เช่น หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด
ถ้ามีโรคปอดควรรีบรักษา ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นมะเร็งปอดระยะลุกลามหรือโรคปอดระยะรุนแรง ทำให้ปอดเสียหายถาวร เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก รักษาให้หายขาดไม่ได้ และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการที่คุณเป็น รักษาด้วยการผ่าตัดปอดได้มั้ย?
ถ้าคุณมีอาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก แต่ไม่แน่ใจเป็นโรคปอดไหม ให้แอดมินหาโปรตรวจปอดใกล้บ้านคุณให้ได้ ทักแอดมินทางไลน์ วันนี้
หรือจะให้แอดมินทำนัดปรึกษาหมอเจ นพ. ศิระ เลาหทัย อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องทรวงอก มีประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 2,000 เคส
การผ่าตัดปอดด้วยการส่องกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย
ถ้าผ่าตัดปอดแบบเปิด จะต้องใช้เครื่องถ่างซี่โครง และมีแผลใหญ่ประมาณ 8-25 ซม. ส่วนการผ่าตัดแบบส่องกล้อง จะมีแผลเล็กแค่ 3-4 ซม. 2-3 จุดเท่านั้น จึงช่วยลดความเจ็บ ลดการเสียเลือด และลดความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ทำนัดปรึกษาหมอเจ นพ. ศิระ เลาหทัย ได้วันนี้ ผ่านแอดมินทางไลน์ ไม่มีค่าใช้จ่าย
ศัลยแพทย์ไทยคนแรกที่ได้รับทุนเรียนต่อด้านผ่าตัดส่องกล้องปอดจากสมาคมศัลยศาสตร์ทรวงอกของเอเชีย
สัญญาณที่ต้องตรวจ
คนที่มีความผิดปกติเกี่ยวข้องกับปอด หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับปอดและช่องอก สามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
- ไอเรื้อรังหรือไอเป็นเลือด
- หายใจถี่ หายใจลำบากขึ้น และมีเสียงหวีดดังระหว่างหายใจ
- อ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย
- เจ็บหน้าอกบ่อย
คนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดอยู่แล้ว ควรมารับการตรวจสุขภาพหรือตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดทุกปี โดยไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นก่อน เช่น
- มีประวัติสูบบุหรี่จัด
- รับควันบุหรี่มือสองบ่อย
- มีคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งหลายคน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติกับแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับปอดและทรวงอก
- ตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งสามารถตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติซึ่งอาจก่อโรคมะเร็งที่ปอดได้
- ตรวจเอกซเรย์ปอด แพทย์นิยมใช้การทำ CT Scan หรือการทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging) เนื่องจากช่วยให้เห็นภาพเนื้อเยื่อในปอดได้อย่างแม่นยำ
- การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวิเคราะห์ (Biopsy) สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
- การใช้เข็มเจาะช่องอกเพื่อดูดตัวอย่างของเหลวจากปอด (Fine-Needle Aspiration)
- การสอดท่อผ่านจมูกหรือปอดเพื่อดูดของเหลว หรือตัดชิ้นเนื้อจากปอด (Bronchoscopy)
- การใช้เข็มเจาะที่ช่องอกในตำแหน่งระหว่างปอดกับผนังช่องอกเพื่อเก็บของเหลว (Thoracentesis)
- การผ่าตัดที่ส่วนบนของกระดูกอกเพื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อ และต่อมน้ำเหลืองส่งตรวจเพิ่มเติม (Mediastinoscopy)
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดปอดด้วยการส่องกล้องแผลเล็ก (Video-Assisted Thoracic Surgery: VATS) คือ การผ่าตัดรักษาโรคเกี่ยวกับปอด ด้วยการใช้กล้องผ่าตัดขนาดเล็กที่มีชื่อว่า Thoracoscope ในการผ่าตัดเปิดแผลบริเวณกระดูกซี่โครง และสามารถส่งภาพภายในทรวงอกขึ้นบนจอภาพภายในห้องผ่าตัดได้ ช่วยให้เกิดข้อได้เปรียบในการผ่าตัดมากกว่าเทคนิคผ่าตัดแบบเก่า
การผ่าตัดปอดด้วยการส่องกล้องแผลเล็ก แบ่งรูปแบบการผ่าตัดตามตำแหน่งของปอดที่แพทย์ต้องตัดออกได้อีก 4 รูปแบบ ได้แก่
- การผ่าตัดรูปลิ่ม หรือตัดกลีบปอดออกเฉพาะส่วนที่มีรอยโรค (Wedge Resection หรือ Segmentectomy)
- การผ่าตัดกลีบปอดออกทั้งกลีบ (Lobectomy)
- การผ่าตัดปอดออกทั้งชิ้น (Pneumonectomy)
- การผ่าตัดขั้วอด (Sleeve Resection)
ข้อดีของการผ่าตัดปอดด้วยการส่องกล้องแผลเล็ก
- แผลมีขนาด 3-4 ซม. เทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดที่มีแผลใหญ่ถึง 8-25 ซม.
- ไม่มีการถ่างช่องซี่โครงระหว่างผ่าตัด
- ช่วยให้เจ็บแผลน้อยกว่า
- ระยะเวลานอน รพ. และการฟื้นตัวหลังผ่าตัดรวดเร็วขึ้น
- ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
- รักษาโรคเกี่ยวกับปอดและทรวงอกได้หลายโรค และใช้รักษาคนไข้โรคเกี่ยวกับปอดได้ถึง 90%
- มีความแม่นยำและปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดแบบเปิด (Open thoracotomy)
- แผลใหญ่ประมาณ 8-25 ซม.
- ต้องใช้เครื่องถ่างช่องซี่โครง
- มีโอกาสเสียเลือดได้มาก
- ทำให้เจ็บปวดแผลได้มากกว่า
- มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่า
ผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเล็ก (Video-Assisted Thoracic Surgery: VATS)
- แผลเล็กประมาณ 3-4 ซม. ประมาณ 2-3 แผล
- ไม่ต้องใช้เครื่องถ่างช่องซี่โครง
- ลดโอกาสเสียเลือดได้มากกว่า
- มีโอกาสเจ็บแผลได้น้อย ระยะเวลาฟื้นตัวจึงเร็วขึ้น
- โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ
ผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเล็กแบบแผลเดียว (Uniportal Video-Assisted Thoracic Surgery: Uniportal VATS)
- แผลเล็กประมาณ 3-4 ซม. เพียงแค่ 1 แผล
- ไม่ต้องใช้เครื่องถ่างช่องซี่โครง
- ลดโอกาสเสียเลือดได้มากกว่า
- เจ็บแผลน้อยกว่าการผ่าตัดแบบ VATS เพราะมีแค่แผลเดียว
- แพทย์ผู้ผ่าตัดจะต้องมีความเชี่ยวชาญจากการผ่าตัดแบบ VATS มาก่อน
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดูแลหลังผ่าตัด
- พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับการประเมินจากแพทย์ ในระหว่างนี้แพทย์ยังให้ใส่หน้ากากออกซิเจน เพื่อเสริมการหายใจให้สะดวกขึ้น
- แพทย์จะถอดสายระบายของเหลวให้ในวันที่ออกจากโรงพยาบาล
- หมั่นหายใจด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์ เพื่อให้สามารถหายใจได้ลึกขึ้น ช่วยป้องกันโอกาสแผลติดเชื้อได้
- กินอาหารที่มีประโยชน์ตามคำแนะนำของแพทย์
- กินยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างครบด้วนและอย่างเคร่งครัด
- อย่าให้แผลโดนน้ำจนกว่าแพทย์จะอนุญาต หลังจากนั้นสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แต่ต้องซับแผลให้แห้งเสมอ งดทาโลชั่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวกายจนกว่าแผลจะสมานตัวดี
- งดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลจะหายดี
- งดยกของหนัก งดทำกิจกรรมที่ต้องมีการดึง ผลัก ดัน งดออกกำลังกายหนักๆ และงดขับรถเอง 4-6 สัปดาห์
- สามารถเดินออกกำลังกายเบาๆ วันละ 1-2 ครั้งได้
- เดินทางกลับมาตรวจแผลกับแพทย์ตามนัดหมาย และแพทย์อาจแนะนำให้ตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของปอดอีกครั้ง เช่น การทำ CT Scan การทำ MRI การทำ PET Scan
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกอาจมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้บ้าง แต่จะค่อยๆ ดีขึ้นอย่างช้าๆ เช่น เจ็บแผล รู้สึกชาที่หน้าอก ไอบ่อย มีเสมหะ เหนื่อยง่ายขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออกที่แผล หรือแผลมีเลือดคลั่ง
- อาการที่ควรกลับไปพบแพทย์โดยทันที ได้แก่ มีไข้สูง เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง หายใจลำบาก
- ภาวะลมรั่วหลังผ่าตัด
- ภาวะปอดแฟบ
- ภาวะปอดติดเชื้อ
ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
นพ. ศิระ เลาหทัย (หมอเจ)
คุณหมอเชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดทรวงอก ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 2,000+ เคส นักเรียนทุนจากสมาคมศัลยศาสตร์ทรวงอกของเอเชีย (ASCVTS) และนักวิจัยรางวัลชนะเลิศ
ข้อมูลของแพทย์
- 2554 แพทยศาสตรบัณฑิต โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2560 ศัลยศาสตร์ทรวงอก โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2560 Thoracic Cardiovascular Surgery, Seoul National University Bundang Hospital (Korea)
- 2560 Thoracic Surgery, Mount Sinai Hospital (USA)
- 2561 Thoracic Surgery, National Cancer Center East (Japan)
- 2561 Thoracic Surgery, National Taiwan University (Taiwan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
- ประสบการณ์ผ่าตัดเหงื่อออกมากที่มือ มากกว่า 5 ปี
- ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องช่องทรวงอก มีประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 2,000 ราย
- หมอผ่าตัดคนแรกในประเทศไทยที่ริเริ่มทำการผ่าตัดส่องกล้องปอดโดยไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ (Non-Intubated Lung Surgery)
- ศัลยแพทย์ไทยคนแรก ที่ได้รับทุนเรียนต่อด้านผ่าตัดส่องกล้องปอดจากสมาคมศัลยศาสตร์ทรวงอกของเอเชีย (ASCVTS)
- ศัลยแพทย์ไทยคนแรก และ คนที่ 3 ของเอเชียที่ได้รับทุนไปเรียนต่อที่ประเทศเกาหลีใต้
- รางวัลนักวิจัยด้านผ่าตัดทรวงอกชนะเลิศแห่งประเทศไทย ปี 2564
- รางวัลนักวิจัยชนะเลิศด้านผ่าตัดปอดยอดเยี่ยมแห่งสมาคมศัลยศาสตร์เอเชีย (ATCSA) ปี 2564