ผ่าตัดต่อมลูกหมากออก พร้อมเลาะต่อมน้ำเหลืองออก (แบบส่องกล้อง)
โรคต่อมลูกหมากโต อาจเรียกว่า Enlarged Prostate หรือ Benign Prostratic Hyperplasia (BPH) ได้
รีบรักษาก่อนมะเร็งจะลุกลาม ทำให้รักษายากกว่าเดิม
เป็นการผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็ก
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ผู้ชายไทยเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะมองข้ามความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ เช่น
- ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ บางคนอาจมีอาการตรงข้าม คือ ปัสสาวะไม่ค่อยออก
- เวลาเริ่มต้นปัสสาวะจะรู้สึกลำบาก
- ปัสสาววะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะราดเท้า
- รู้สึกปัสสาวะไม่สุด หรือปวดขณะปัสสาวะ
- มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ
ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากวันนี้ รีบรักษาก่อนลุกลาม
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจคัดกรองมะเร็งให้คุณวันนี้
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็น 1 ใน 10 โรคมะเร็งที่พบมากในผู้ชายไทย
- ระยะเริ่มต้นมีขนาดเล็ก และอยู่แค่ในต่อมลูกหมาก ไม่ลุกลามไปอวัยวะอื่น
- ตรวจเจอและผ่าตัดเร็ว รักษาให้หายขาดได้
ต่อให้มะเร็งกระจายตัว ก็ยังรักษาได้
ปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare เพื่อหาวิธีรักษาที่ดีที่สุด
ผ่าตัดต่อมลูกหมาก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
- ผ่าตัดต่อมลูกหมากด้วยการส่องกล้อง สอดอุปกรณ์ผ่าตัดผ่านทางท่อปัสสาวะไปถึงต่อมลูกหมาก แล้วผ่าตัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น ไม่ต้องดมยาสลบ ใช้เพียงการระงับความรู้สึกบางส่วน
- ผ่าตัดต่อมลูกหมากออก พร้อมเลาะต่อมน้ำเหลืองออก (แบบส่องกล้อง) เจาะรูเล็กๆ ที่หน้าท้อง 3-5 แผล แล้วสอดเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็ก รวมถึงกล้องกำลังขยายสูง เข้าไปทำการผ่าตัดข้างในช่องท้อง แผลเล็ก เสียเลือดน้อย กระทบเนื้อเยื่อใกล้เคียงน้อย
รู้จักโรคนี้
รู้จักต่อมลูกหมาก
ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) เป็นหนึ่งในต่อมไร้ท่อของเพศชาย มีขนาดประมาณผลวอลนัต อยู่บริเวณลึกเข้าไปในอุ้งเชิงกราน บริเวณโคนอวัยวะเพศ ต่อมลูกหมากนั้นล้อมอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะ ล้อมท่อปัสสาวะอยู่
หน้าที่ของต่อมลูกหมากคือ สร้างน้ำเมือกที่จะหลั่งออกมาเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ช่วยหล่อเลี้ยงอสุจิ และปกป้องสารพันธุกรรมหรือ DNA ของอสุจิ
กลุ่มเสี่ยงสำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ผู้ที่มีภาวะหรือพฤติกรรมเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ผู้ที่เป็นผู้ชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป
- ผู้สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ผู้มีพฤติกรรมรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารให้พลังงานสูง หรืออาหารไขมันสูงบ่อยๆ
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ผู้มีน้ำหนักเกิน
- ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก
สาเหตุมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมาก คือ เซลล์หรือเนื้อเยื่อในต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวผิดปกติโดยไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจุบันยังไม่แน่ชัดว่าสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากคืออะไร แต่พบว่าอาจเกี่ยวข้องกับอายุ พันธุกรรม หรือเชื้อชาติ
ความผิดปกติของก้อนเซลล์มะเร็งที่ต่อมลูกหมากอาจส่งผลให้เกิดการอุดตันที่ท่อปัสสาวะของคนไข้ ถ้าเป็นมากอาจมีอาการปัสสาวะไม่ออก และเมื่อเป็นมากขึ้น เซลล์มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วย เช่น ไต ตับ ปอด กระดูก ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหายและถูกทำลายไปในที่สุด
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพราะก้อนมะเร็งโตขึ้นจนไปกดท่อปัสสาวะ ทำให้มีปัสสาวะคั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น
- บางคนอาจมีอาการตรงข้าม คือ ปัสสาวะไม่ค่อยออก เพราะก้อนมะเร็งขยายใหญ่ขึ้นจนบีบท่อปัสสาวะทำให้ปัสสาวะไหลผ่านไม่สะดวก
- เวลาเริ่มต้นปัสสาวะจะรู้สึกลำบาก
- ปัสสาววะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะราดเท้า
- รู้สึกปัสสาวะไม่สุด หรือปวดขณะปัสสาวะ
- มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติ สอบถามอาการที่เป็น ระยะเวลาที่มีอาการ
- ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจวัดความแรงของสายปัสสาวะ
- ตรวจอัลตราซาวด์
- เอกซเรย์ต่อมลูกหมาก
- ตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital Rectal Examination)
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
วิธีอื่นๆ ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
นอกจากวิธีผ่าตัดต่อมลูกหมากแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ใช้รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น รังสีบำบัด การใช้ยา ผ่าตัดอัณฑะ หรือใช้ฮอร์โมนบำบัด แต่ขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาว่าผู้ป่วยคนใดสามารถรักษาด้วยวิธีใดได้ ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งที่คนไข้เป็น รวมถึงภาวะสุขภาพของคนไข้แต่ละคนเองเช่นกัน
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- รู้สึกปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะอ่อน ไม่พุ่ง ปัสสาวะสะดุดเป็นช่วงๆ มีปัสสาวะหยดเมื่อใกล้สุด
- ต้องเบ่งปัสสาวะ รอนานกว่าจะปัสสาวะออกได้
- มีเลือดปนในปัสสาวะหรืออสุจิ
- ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เมื่อปวดปัสสาวะแล้วอั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปวดปัสสาวะรุนแรงมาก
- ถึงจุดสุดยอดแต่ไม่หลั่ง ปริมาณการหลั่งน้ำอสุจิลดลง
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดต่อมลูกหมากเพื่อรักษามะเร็ง เป็นการตัดต่อมลูกหมากบางส่วน หรือผ่าตัดออกทั้งหมด ร่วมกับผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อรอบเซลล์มะเร็งและต่อมน้ำเหลืองออก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายซ้ำ ขึ้นอยู่กับระยะความรุนแรงและการแพร่กระจายของโรค
ผ่าตัดต่อมลูกหมากออก พร้อมเลาะต่อมน้ำเหลืองออก (แบบส่องกล้อง) แพทย์จะเจาะรูเล็กๆ ที่ผิวหนังหน้าท้อง 3-5 แผล เพื่อสอดเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็ก รวมถึงกล้องกำลังขยายสูง เข้าไปทำการผ่าตัดข้างในช่องท้อง
ขั้นตอนผ่าตัดต่อมลูกหมากออก พร้อมเลาะต่อมน้ำเหลืองออก (แบบส่องกล้อง)
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- จัดท่าให้คนไข้นอนหงายแขนชิดลำตัว ใส่สายสวนปัสสาวะ ทำความสะอาดบริเวณหน้า ท้องและอุ้งเชิงกราน
- ใช้อุปกรณ์เจาะรูขนาดเล็กผ่านหน้าท้องจำนวน 3-5 รู เพื่อเป็นช่องทางสอดกล้องและเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กเข้าไป
- ก่อนผ่าตัดจะมีการให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สู่ช่องท้องเพื่อขยายพื้นที่ ช่วยให้กล้องบันทึกภาพอวัยวะที่ต้องผ่าตัดได้อย่างชัดเจน แล้วฉายไปยังจอภาพขนาดใหญ่ในห้องผ่าตัด
- แพทย์จะพิจารณาเนื้อเยื่อต่างๆ ภายในช่องท้องเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถผ่าตัดแบบส่องกล้องได้อย่างปลอดภัย เช่น ดูว่าไม่มีการติดเชื้อ ไม่มีรอยโรค หรือพังผืด
- ถ้าเห็นว่าสามารถผ่าตัดต่อได้ แพทย์จะค่อยๆ ผ่าตัดเลาะต่อมลูกหมากในช่องท้อง แล้วนำออกมาผ่านรูทางหน้าท้องที่เจาะไว้
- ในกรณีที่ต้องผ่าตัดต่อมเนื้อเหลืองร่วมด้วย อาจจำเป็นต้องขยายรูที่ผิวหนังที่เจาะไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นทางให้นำต่อมน้ำเหลืองออกมา
- หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น เย็บปิดแผลเรียบร้อย แพทย์ยังจะคาสายสวนปัสสาวะไว้ที่ตัวคนไข้ อีกประมาณ 10-14 วันจึงจะถอดออก
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดต่อมลูกหมากด้วยการส่องกล้อง
- สอดอุปกรณ์ผ่าตัดผ่านทางท่อปัสสาวะไปถึงต่อมลูกหมาก แล้วผ่าตัดรักษาความผิดปกติ (ต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น)
- ไม่ต้องดมยาสลบ ใช้เพียงการระงับความรู้สึกบางส่วน
ผ่าตัดต่อมลูกหมากออก พร้อมเลาะต่อมน้ำเหลืองออก (แบบส่องกล้อง)
- เจาะรูเล็กๆ ที่หน้าท้อง 3-5 แผล แล้วสอดเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็ก รวมถึงกล้องกำลังขยายสูง เข้าไปทำการผ่าตัดข้างในช่องท้อง
- แผลเล็ก เสียเลือดน้อย กระทบเนื้อเยื่อใกล้เคียงน้อย
รักษาต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำโดยเครื่อง ReZum
- ใช้เครื่องมือส่องกล้องทางท่อปัสสาวะ เข้าไปยังต่อมลูกหมาก แล้วใช้เข็มขนาดเล็กฉีดไอน้ำอุณหภูมิ 103 องศาเซลเซียสเข้าไปในเนื้อเยื่อต่อมลูกหมาก ความร้อนจากไอน้ำจะทำให้เซลล์ที่อุดตันตาย ร่างกายจะกำจัดเซลล์นั้นออกตามธรรมชาติ ต่อมลูกหมากจะหดตัวลง ทำให้ท่อปัสสาวะกว้างขึ้นแล้วกลับมาปัสสาวะได้ตามปกติ
- ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องวางยาสลบ ใช้เพียงยาสงบประสาท ยาระงับความเจ็บปวด หรือยาชาเฉพาะที่ ไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล
การดูแลหลังผ่าตัด
เพื่อให้แผลหายดีเป็นปกติ คนไข้ควรปฏิบัติตัวดังนี้
- รักษาสายสวนปัสสาวะที่แพทย์คาไว้ให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ
- รับประทานยาตามแพทย์สั่ง สำหรับยาแก้ปวด ถ้าปวดมาก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถรับประทานยาในปริมาณมากขึ้นได้หรือไม่ หรือสามารถเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่นได้ไหม
- ถ้าบริเวณผ่าตัดเป็นรอยช้ำเขียวในวันแรก ถือว่าปกติ รอยดังกล่าวจะค่อยๆ จางไปเองภายในไม่กี่วัน ความรู้สึกชาหรือไม่สบายบริเวณนั้นก็เป็นปกติเช่นกัน
- ควรพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง
- ในการตรวจติดตามผลการผ่าตัด คนไข้อาจปรึกษาแพทย์ว่าภาวะของร่างกายที่เป็นอยู่สามารถกลับไปออกกำลังกาย ว่ายน้ำ ขับรถ มีเพศสัมพันธ์ ได้แล้วหรือยัง
ถ้ามีอาการต่อไปนี้ ควรติดต่อแพทย์ทันที
- มีไข้สูง
- อาการเจ็บแผล ปวดแผล มีมากขึ้น แม้ว่ารับประทานยาแก้ปวดแล้วก็ไม่หาย
- ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะออกมากว่าปกติมาก มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะเป็นระยะเวลานานโดยไม่ดีขึ้นเลย
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
โดยทั่วไปแล้ว ไม่ว่จะผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยเทคนิคเปิดหรือเจาะผ่านหน้าท้อง ก็สามารถเกิดผลข้างเคียงได้ไม่ต่างกันมากนัก เช่น ระยะแรกเมื่อปัสสาวะอาจมีเลือดปนออกมาได้ เนื่องจากสายสวนปัสสาวะที่จำเป็นต้องคาไว้หลังผ่าตัด นอกจากนี้อาจมีอาการท้องผูก และตามปกติ แพทย์จะพยายามสงวนเส้นประสาทรับความรู้สึกไว้ ทำให้ความสามารถในการหลั่งควรจะยังคงอยู่
สาขาศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
นพ. อัสพล ตันตะราวงศา (หมออัส)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ รพ. รามาธิบดี
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร
- แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ