ผ่าตัดเอ็นไขว้หลังข้อเข่าโดยการส่องกล้อง
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ถ้าเอ็นไขว้หลังเข่าฉีกขาด จะได้ยินเสียง “ป็อก” ภายในเข่า ตามด้วยอาการดังนี้
- หัวเข่าปวด บวม
- ไม่สามารถเดินลงนํ้าหนักขาข้างนั้นได้
- รู้สึกข้อเข่าหลวม ไม่มั่นคงระหว่างเดินอย่างชัดเจน
ไม่แน่ใจว่าอาการที่เป็นใช่เอ็นไขว้หลังข้อเข่าขาดไหม?
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
การผ่าตัดคือการรักษาวิธีเดียว เพราะเส้นเอ็นที่ขาดแล้วจะไม่เชื่อมต่อด้วยตัวเอง ต้องผ่าตัดเอาเส้นเอ็นใหม่ไปร้อยเท่านั้น
- ผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก 0.5 ซม. ประมาณ 1-2 แผล
- ถ้าเอ็นไขว้หลังขาดและกระดูกหักด้วย ก็ผ่าตัดพร้อมกันได้เลย
- หลังผ่าตัดกลับมาเดินได้ภายใน 1 เดือน
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ก่อนอาการจะลุกลาม
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- มีอาการเจ็บหรือปวดเข่าอย่างรุนแรง
- รู้สึกว่าข้อเข่าหลวม ไม่มั่นคง
- ข้อเข่าอ่อน ไม่มีแรงยืน เดิน หรือวิ่ง ทำให้หกล้มง่ายขึ้น
- เดินลงบันไดไม่ถนัด
- ข้อเข่าบวม
- ข้อเข่าขาดความยืดหยุ่น รู้สึกว่าข้อเข่าฝืดหรือติดขัด
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติอาการกับแพทย์ และตรวจลักษณะการเคลื่อนตัวของหัวเข่า แพทย์จะตรวจจับกระดูกหน้าแข้งเพื่อทดสอบการเคลื่อนที่ของเอ็นไขว้หลังเข่า
- ตรวจเอกซเรย์ (X-Ray) เพื่อดูว่านอกจากเส้นเอ็นที่ฉีกขาด กระดูกข้อเข่าแตกหักหรือไม่ และช่วยให้ประเมินได้ว่ากระดูกหน้าแข้งมีโอกาสจะเคลื่อนไปด้านหลังรึเปล่า
- การทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ช่วยให้แพทย์มองเห็นภาพความผิดปกติของโครงสร้างเส้นเอ็นภายในได้อย่างชัดเจน
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
รักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด เหมาะกับคนที่เอ็นไขว้หลังเข่าฉีกขาดระดับที่ 1 หรือ 2 หรือคนไข้สูงอายุที่ไม่ได้ใช้งานหัวเข่าทำกิจกรรมหนักๆ
- งดใช้งานเข่าชั่วคราวและเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด
- ประคบเย็นบ่อยๆ อาจทำร่วมกับฉีดสเปรย์หรือฉีดยาแก้ปวด
- กินยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ
- หมั่นยกขาสูงเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
- ใช้ไม้ค้ำเพื่อลดการลงน้ำหนักที่ข้อเข่าระหว่างก้าวเดิน
- ใส่เฝือกเข่าเพื่อเสริมความมั่นคง
- ทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อขา
รักษาโดยการผ่าตัด เหมาะกับคนที่อยากกลับไปใช้ชีวิตประจำวันและเล่นกีฬาในระดับใกล้เคียงกับก่อนการบาดเจ็บ
- ผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หลังเข่าใหม่ ด้วยเนื้อเยื่อจากร่างกายของคนไข้เอง (Autograft)
- ผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หลังเข่าใหม่ ด้วยเนื้อเยื่อจากผู้บริจาค (Allograft)
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- เอ็นไขว้หลังเข่าฉีกขาดออกจากกัน และข้อเข่าไม่มีความมั่นคง
- ไม่สามารถเดินเคลื่อนไหวร่างกายได้อีก
- ใช้วิธีรักษาแบบไม่ผ่าตัดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
- ตรวจพบเส้นเอ็นส่วนอื่นๆ ฉีกขาดด้วย หรือมีข้อกระดูกแตกหัก กรณีนี้ แพทย์จะผ่าตัดยึดตรึงกระดูกหรือใส่ข้อเข่าเทียมเพื่อซ่อมแซมกระดูกเข่าที่หักร่วมกับการผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หลังเข่าใหม่
- คนไข้เป็นนักกีฬามืออาชีพที่จำเป็นต้องรักษาอาการบาดเจ็บที่ข้อเข่าโดยเร็ว
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หลังเข่าใหม่ด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic PCL Reconstruction) คือ การผ่าตัดปลูกถ่ายเส้นเอ็นไขว้หลังเข่าใหม่แทนที่เส้นเอ็นที่ฉีกขาด ส่วนใหญ่จะใช้เนื้อเยื่อจากร่างกายในการปลูกถ่ายเส้นเอ็นใหม่ เช่น เส้นเอ็นกระดูกสะบ้า (Patellar Tendon) เส้นเอ็นต้นขาหลัง (Hamstring Graft) หรืออาจใช้เส้นเอ็นจากผู้ที่บริจาคร่างกายก็ได้
ข้อดีของการผ่าตัดเส้นเอ็นไข้ว้หลังเข่าใหม่ด้วยการส่องกล้อง
- แผลผ่าตัดขนาดเล็ก 0.5 ซม. ประมาณ 1-2 แผล
- โอกาสติดเชื้อและเกิดผลข้างเคียงหลังผ่าตัดต่ำ
ขั้นตอนการผ่าตัดเส้นเอ็นไขว้หลังเข่าใหม่
- ระงับความรู้สึกด้วยการบล็อกหลัง
- แพทย์เจาะรูที่กระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งเพื่อใส่อุปกรณ์ผ่าตัดและกล้องเข้าไปด้านในข้อเข่า
- ร้อยเส้นเอ็นไขว้หลังเข่าใหม่เข้าไปด้านในแนวกระดูกข้อเข่า และยึดเส้นเอ็นด้วยน็อตหรือสกรู
- แพทย์เย็บปิดแผลให้เรียบร้อย
- ระยะเวลาในการผ่าตัดเส้นเอ็นไขว้หลังเข่าใหม่ด้วยการส่องกล้องอยู่ที่ประมาณ 2 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดการใช้ยา วิตามิน และสมุนไพรที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดการใช้ยา วิตามิน และสมุนไพรที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดเอ็นไขว้หลังข้อเข่าด้วยการส่องกล้อง แพทย์อาจให้พักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน หรือจนกว่าแพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเอ็นไขว้หลังข้อเข่า
- หมั่นขยับหรือกระดกข้อเท้า และหมั่นขยับเข่าบ่อยๆ เพื่อลดอาการบวมบริเวณน่องและเข่า และไม่ทำให้กล้ามเนื้อลีบ ทำให้ทรงตัวระหว่างใช้ไม้เท้าได้มั่นคงขึ้น
- หมั่นประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม
- ใส่ที่พยุงเข่าและใช้ไม้ค้ำระหว่างก้าวเดินในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นอาจใช้เพียงไม้ค้ำต่อไปอีกจนครบ 2 เดือน
- งดออกกำลังกาย งดยกของหนัก งดทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก 4-6 สัปดาห์
- หลังผ่าตัดครบ 1-4 สัปดาห์ แพทย์จะเริ่มการทำกายภาพบำบัด และออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งคนไข้จะต้องให้ความร่วมมือในการทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกายที่บ้านด้วย
- หากครบ 3 เดือน ไม่พบอาการผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อน คนไข้สามารถเริ่มกลับมาออกกำลังกายเบาๆ ได้ เช่น เดินจ็อกกิ้ง ว่ายน้ำ
- ระยะเวลาที่สมรรถภาพข้อเข่ากลับมาสมบูรณ์เต็มที่มักอยู่ที่ 6-9 เดือนขึ้นไป ผู้ที่มีอาชีพเป็นนักกีฬามักสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ตามปกติหลังผ่าตัดประมาณ 1 ปี
- กลับมาตรวจแผลกับแพทย์ และเช็กสมรรถภาพกับนักกายภาพบำบัดตามนัดหมาย
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น อาการเจ็บแผลใน 2-3 วันแรก การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออกที่แผล หรือแผลมีเลือดคลั่ง
- ภาวะบาดเจ็บที่เส้นประสาท
- ความล้มเหลวในการปลูกถ่ายเส้นเอ็น โดยส่วนมากมักเกิดจากการปลูกถ่ายเส้นเอ็นผิดตำแหน่ง จนทำให้เส้นเอ็นมีการยืดตัวออกและใช้งานได้ไม่เต็มที่ แต่เป็นกรณีที่พบได้ต่ำ
- ภาวะข้อเข่าติดหลังผ่าตัด แต่เป็นอยู่เพียงชั่วคราวและสามารถรักษาได้
สาขาออร์โธปิดิกส์
นพ. ชานนท์ กนกวลีวงศ์ (หมอนนท์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2555 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ สาขาเวชศาสตร์การกีฬา
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์กีฬา