ผ่าตัดต่อมหมวกไต (แบบส่องกล้อง)
ความผิดปกติของต่อมหมวกไต สังเกตยาก แนะนำตรวจสุขภาพประจำทุกปี
ผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็ก 1-4 แผล ขนาด 0.5-1 ซม. เท่านั้น
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ความผิดปกติของต่อมหมวกไต ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการจากร่างกายมีฮอร์โมนในเลือดสูงเกินปกติ เช่น
- ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ยาก กรณีเป็นเนื้องอกกลุ่ม ฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma)
- มีขนดก และ/หรือ มีอาการของโรคกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome) กรณีเป็นเนื้องอกต่อมหมวกไตส่วนนอก
- น้ำตาลในเลือดสูง กรณีเป็นเนื้องอกที่สร้างฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
แนะนำตรวจสุขภาพประจำทุกปีเพื่อหาความผิดปกติแต่เนิ่นๆ
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจสุขภาพให้คุณวันนี้
ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะที่อยู่ลึก ส่วนใหญ่เนื้องอกต่อมหมวกไตขนาดไม่โตมากจึงมักไม่มีอาการ แพทย์ตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจช่องท้องในโรคต่างๆ
- ผ่าตัดส่องกล้อง เปิดแผล 1-4 จุด ประมาณ 0.5-1 ซม. เท่านั้น เจ็บน้อย พักฟื้นไม่นาน
ผ่าตัดกับ HDcare ดูแลแบบใกล้ชิดโดยผู้ช่วยส่วนตัว
ปรึกษาฟรีผ่านทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจผ่าตัด
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักโรคนี้
ต่อมหมวกไตคืออะไร ทำหน้าที่อะไร?
ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) เป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อ ลักษณะคล้ายสามเหลี่ยม มีขนาดประมาณ 4x3x1 เซนติเมตร อยู่เหนือไต 2 ข้าง เนื้อเยื่อต่อมหมวกไตมีลักษณะอ่อนยุ่ย
อวัยวะเล็กๆ นี้มีส่วนประกอบ 2 ชั้น ชั้นในเรียกว่าอะดรีนอลเมดุลลา (Adrenal Medulla) และเปลือกนอกเรียกว่าอะดรีนอลคอร์เทกซ์ (Adrenal Cortex) แต่ละชั้นทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่างชนิดกัน
ฮอร์โมนสำคัญหลายชนิดของร่างกายมนุษย์ผลิตจากต่อมหมวกไต เช่น
- อัลโดสเตอโรน (Aldosterone) ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลแร่ธาตุโซเดียมและโปแทสเซียมในเลือด หรือช่วยให้ความเป็นกรด-ด่างในเลือดสมดุล
- คอร์ติซอล (Cortisol) ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ได้แก่ ควบคุมการใช้ไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตของร่างกาย ควบคุมภาวะอักเสบ ปรับความดันโลหิตให้เป็นปกติ เพิ่มน้ำตาลในเลือด และควบคุมวงจรนานนอนหลับ เมื่อร่างกายเกิดความเครียด ต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาให้พลังงานและปรับร่างกายรับมือกับสถานการณ์ความตึงเครียดได้ดีขึ้น
- อะดรีนาลีน (Adrenaline) ทำหน้าที่เตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับตอบสนองภาวะเครียดหรือสถานการณ์อันตราย เช่น ทำให้เลือดสูบฉีดแรงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- ดีเอชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone) ฮอร์โมนนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงในรังไข่ และถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเพศชายในอัณฑะ ทำหน้าที่ต้านความเครียด เสริมความแข็งแรง และชะลอความเสื่อมของร่างกาย
โดยรวมแล้ว ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำหน้าที่เป็นปกติ เช่น การเผาผลาญพลังงาน ภูมิคุ้มกัน ความดันโลหิต และการตอบสนองความเครียด
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติ
- ตรวจเอกซเรย์ช่องท้อง
- ตรวจ CT Scan
- ตรวจ MRI
แม้จะเกิดความผิดปกติที่ต่อมหมวกไต หรือมีก้อนเกิดขึ้น คนไข้ก็อาจไม่รู้สึกถึงความผิดปกติใดๆ ส่วนมากแล้วการความผิดปกติระยะเริ่มต้นมักตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ตรวจเจอก้อนหรือเนื้องอก โดยเนื้องอกที่เกิดในต่อมหมวกไตเองมักเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (Benign)
- มะเร็งที่ต่อมหมวกไต ทั่วไปแล้วมักเป็นการลุกลามมาจากบริเวณอื่น นอกจากการผ่าตัดแล้ว คนไข้ยังอาจต้องรับการรักษาอื่นร่วมด้วย เช่น ฉายรังสีรักษา และจำเป็นต้องรับการตรวจว่ามีการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือไม่
- ร่างกายมีปัญหาผลิตฮอร์โมนมากเกินปกติ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากมีเนื้องอกที่ต่อมไร้ท่ออื่นๆ กรณีนี้แพทย์อาจผ่าตัดต่อมหมวกไตออกหนึ่งข้าง แล้วให้ต่อมหมวกไตข้างที่เหลือทำงาน เพื่อให้ผลิตฮอร์โมนน้อยลง
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดต่อมหมวกไต แบบส่องกล้อง (Laparoscopic Adrenalectomy) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่เล็กและยาวทำให้เข้าถึงบริเวณที่ต้องการผ่าตัดได้ง่ายขึ้น โดยกระทบกับอวัยวะและเนื้อเยื่อข้างเคียงน้อยกว่าผ่าตัดแบบเปิด
ต่อมหมวกไตเป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญแก่ร่างกาย การผ่าตัดต่อมหมวกไตออกจึงส่งผลให้ไม่มีการผลิตฮอร์โมนเหล่านั้นอีกต่อไป เช่น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนความเครียด
ถ้าต้องผ่าตัดต่อมหมวกไตออกเพียงข้างเดียว ต่อมหมวกไตอีกข้างที่เหลือจะยังสามารถผลิตฮอร์โมนได้อยู่ แต่กรณีที่จำเป็นต้องผ่าตัดต่อมหมวกไตออกทั้งสองข้าง คนไข้จำเป็นต้องรับฮอร์โมนทดแทนไปตลอดชีวิต
การผ่าตัดต่อมหมวกไตผ่านกล้องถือเป็นเทคนิคการผ่าตัดที่ได้ผลดี เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดแล้วช่วยให้เสียเลือดน้อยกว่า เจ็บแผลน้อย ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดแบบส่องกล้องยังน้อยกว่า และหลังผ่าตัดไปแล้วมีแผลเป็นขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิดอีกด้วย
ขั้นตอนการผ่าตัดต่อมหมวกไต (แบบส่องกล้อง)
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลเล็กๆ ที่ท้องหรือหลัง จำนวน 1-4 รู แล้วสอดกล้องกำลังขยายสูงพร้อมเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กเข้าไปในช่องท้อง
- ขณะผ่าตัดจะมีการให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในช่องท้องเพื่อขยายพื้นที่ ภาพจากกล้องที่ถูกใส่เข้าในช่องท้องจะฉายมาทางจอภาพขนาดใหญ่ในห้องผ่าตัด ทำให้แพทย์เห็นบริเวณผ่าตัดชัดเจน ทำการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดต่อมหมวกไตผ่านกล้อง
การผ่าตัดต่อมหมวกไตผ่านกล้องถือว่าค่อนข้างปลอดภัย แต่ยังมีความเสี่ยงบ้างตามปกติของการผ่าตัดทั่วไป เช่น
- ภาวะแพ้ยาสลบ
- การผ่าตัดไปกระทบกระเทือนอวัยวะอื่นข้างเคียงต่อมหมวกไต
- เลือดอุดตัน
- ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ
- ความดันเลือดเปลี่ยนแปลง
- ฮอร์โมนลดลงหลังจากผ่าตัด
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดความซับซ้อนระหว่างผ่าตัด ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนมาผ่าตัดแบบเปิดแทนได้ แต่มีโอกาสเพียงประมาณ 5%
เมื่อผ่าตัดต่อมหมวกไตออกแล้วจะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย?
ต่อมหมวกไตเป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญแก่ร่างกาย การผ่าตัดต่อมหมวกไตออกจึงส่งผลให้ไม่มีการผลิตฮอร์โมนเหล่านั้นอีกต่อไป เช่น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนความเครียด
ถ้าต้องผ่าตัดต่อมหมวกไตออกเพียงข้างเดียว ต่อมหมวกไตอีกข้างที่เหลือจะยังสามารถผลิตฮอร์โมนได้อยู่ แต่กรณีที่จำเป็นต้องผ่าตัดต่อมหมวกไตออกทั้งสองข้าง คนไข้จำเป็นต้องรับฮอร์โมนทดแทนไปตลอดชีวิต