ผ่าตัดพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอกโดยการส่องกล้อง
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
เช็กตัวเองด่วนๆ มีอาการเหล่านี้มั้ย!!!
- งอข้อศอกนานๆ จะชาที่นิ้วง้อยและนิ้วนางบางส่วน พอเหยียดแขนตรงอาการชาจะดีขึ้น
- อาจอาการชาตลอดเวลา แม้ว่าจะงอ หรือไม่งอข้อศอกก็ตาม
- อาจมีอาการปวดร้าวที่บริเวณข้อศอก
อาการนี้อาจเป็นเกิดจากพังผืดรัดเส้นประสาทที่ข้อศอก
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
การผ่าตัดจะช่วยให้กลับมาใช้งานมือและข้อศอกได้สะดวกอีกครั้ง
- ผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็กประมาณ 5 มม. 2-3 จุดเท่านั้น
- พักฟื้น 1-2 สัปดาห์ก็กลับมาใช้งานแขนและมือได้ปกติ
ถ้าไม่ผ่าตัด อาจทำให้ขยับแขนและข้อมือได้ไม่สะดวก
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
คำถามที่พบบ่อย
Q: จำเป็นต้องรักษาอาการเส้นประสาทอัลน่าบริเวณข้อศอกถูกกดทับไหม?
A: เส้นประสาทอัลน่าบริเวณข้อศอกถูกกดทับ เป็นอาการผิดปกติที่เมื่อเป็นแล้วจะต้องรีบเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทนี้ลีบและฝ่อตัวลง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่ฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติได้ยากมาก และอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวมือ แขน และข้อศอกในอนาคตได้
รู้จักโรคนี้
กลุ่มอาการเส้นประสาทอัลน่าบริเวณข้อศอกถูกกดทับ (Cubital Tunnel Syndrome) เป็นหนึ่งในสาเหตุพบบ่อยที่ทำให้เกิดอาการนิ้วมือชา และปวดร้าวบริเวณข้อศอกลงไปที่แขน นิ้วนาง และนิ้วก้อย
เส้นประสาทอัลน่า (Ulnar Nerve) ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อหลายมัดในมือ ทำให้เคลื่อนไหวมือ แขน และข้อศอกได้สะดวก ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสที่มือ ทำให้ตรวจจับและสัมผัสถึงอุณหภูมิและสิ่งต่างๆ ได้ดี
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเส้นประสาทอัลน่าบริเวณข้อศอกถูกกดทับ ส่วนใหญ่เกิดจากพังผืดบริเวณข้อศอกหนาขึ้นจนไปกดทับเส้นประสาท โดยอาจเกิดจากพฤติกรรมเหล่านี้
- งอข้อศอกติดต่อกันเป็นระยะนาน เช่น นักเรียนที่ต้องอ่านหรือเขียนหนังสือ พนักงานออฟฟิศที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ หรือคอลเซนเตอร์ที่ต้องโทรศัพท์
- งอและเหยียดข้อศอกซ้ำๆ เช่น นักกีฬาที่ต้องใช้แขนเป็นหลักอย่างวอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล แบดมินตัน หรือเทนนิส หรือพ่อครัว แม่ครัว ที่ต้องทำอาหารเป็นประจำ
- งอข้อศอกมากๆ หรือนอนทับบริเวณข้อศอกบ่อยๆ
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- งอข้อศอกนานๆ จะชาที่นิ้วง้อยและนิ้วนางบางส่วน พอเหยียดแขนตรงอาการชาจะดีขึ้น
- ถ้าอาการรุนแรง จะมีชาตลอดเวลา ไม่ว่าจะงอหรือไม่งอข้อศอกก็ตาม
- อาจมีอาการปวดร้าวที่ข้อศอก
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- แพทย์จะให้พักการใช้งานข้อศอกในท่างอ ทำกายภาพบำบัดและกินยาแก้อักเสบ
- ถ้าอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดคลายหลังคาของอุโมงค์ เพื่อลดการกดเบียดต่อเส้นประสาทอัลน่าบริเวณข้อศอก
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอกโดยการส่องกล้อง (Endoscopic Cubital Tunnel Release : ECuTR) เป็นวิธีรักษาที่มีผลข้างเคียงน้อยและฟื้นตัวได้ไว
ขั้นตอนการผ่าตัดพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอกโดยการส่องกล้อง
- ระงับความรู้สึกด้วยยาชาเฉพาะจุด
- แพทย์เปิดแผลขนาดเล็ก 2-3 แผล (ขนาดประมาณ 5 มม.) ใกล้ๆ กับตุ่มกระดูกด้านในข้อศอก
- แพทย์สอดอุปกรณ์ผ่าตัดพร้อมกล้องเข้าไปเอาพังผืดที่กดทับเส้นประสาทออก ร่วมกับคลายหลังคาอุโมงค์คิวบิทัล (Cubital Tunnel) ซึ่งเป็นจุดที่เส้นประสาทอัลน่าเคลื่อนที่ผ่านและมักถูกกดทับ สามารถช่วยลดการถูกกดทับที่เส้นประสาทได้
- แพทย์เย็บปิดแผล
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การผ่าตัดพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอกแบบเปิด (Open Cubital Tunnel Release)
- แพทย์เปิดแผลขนาดใหญ่ที่ศอกเพื่อให้เห็นอวัยวะด้านใน และสามารถเข้าถึงบริเวณที่บาดเจ็บได้
- มีความเสี่ยงต่อการที่เส้นประสาทและเอ็นได้รับความเสียหายมากขึ้น
- แผลผ่าตัดมีขนาดใหญ่ ทำให้ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า และมีอาการปวดบวมตึงที่แผลมากกว่า
การผ่าตัดพังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอกโดยการส่องกล้อง (Endoscopic cubital tunnel release)
- แพทย์เปิดแผลขนาดเล็ก 2-3 แผล (ขนาดประมาณ 5 มม.) ใกล้ๆ กับตุ่มกระดูกด้านในข้อศอก
- ลดโอกาสที่เนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ จะบาดเจ็บ ทำให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- กินยาฆ่าเชื้อ และยาบรรเทาอาการปวดตามที่แพทย์สั่ง
- สามารถประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการบวมได้
- หมั่นออกกำลังกายและบริหารข้อมือ ข้อศอก แขนตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและฟื้นฟูระยะการเคลื่อนไหวของข้อศอกให้กลับมาเป็นปกติ
- งดขับรถเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือนหลังผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
- กินยาฆ่าเชื้อ และยาบรรเทาอาการปวดตามที่แพทย์สั่ง
- สามารถประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการบวมได้
- หมั่นออกกำลังกายและบริหารข้อมือ ข้อศอก แขนตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและฟื้นฟูระยะการเคลื่อนไหวของข้อศอกให้กลับมาเป็นปกติ
- งดขับรถเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือนหลังผ่าตัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- อาจยังคงมีอาการชาที่นิ้วมืออยู่ ส่วนจะหายช้า หรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของแต่ละบุคคล
- เส้นประสาทอัลน่าได้รับความเสียหาย
- มีอาการบวม ตึง และปวด บริเวณแผลผ่าตัด
สาขาออร์โธปิดิกส์
พ.ต.ต.นพ. วรพล เจริญพร (หมอพั้นช์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2555 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2560 แพทย์ประจำบ้านออโธปิดิกส์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2561 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ศัลยศาสตร์ทางมือและจุลศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยามหิดล
- 2565 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดการผ่าตัดระยางค์ส่วนบน Massachusetts General Hospital, Harvard Medical School (USA)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิกทางจุลศัลยกรรม Osaka Hospital (Japan)
- 2566 แพทย์ประจำบ้านต่อยอดคลินิคด้านการผ่าตัดส่องกล้อง Sanno Hospital (Japan)
- ปัจจุบัน กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ ศัลยกรรมทางมือและจุลศัลยกรรม
-ชำนาญการพิเศษด้านการผ่าตัดส่องกล้องและการผ่าตัดแผลเล็กรักษาข้อและกระดูก
-กรรมการชมรมศัลยเเพทยทางมือและจุลศัลยกรรมเเห่งประเทศไทย
-ชำนาญด้านการผ่าตัดอาการมือชาจากพังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือเเละข้อศอก ผ่าตัดนิ้วล็อค ผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอกาเเวง) ผ่าตัดโรคข้อศอกเทนนิส ผ่าตัดรักษาโรคข้อเสื่อม
-ประสบการณ์ผ่าตัดและดูแลคนไข้จากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
สาขาออร์โธปิดิกส์