ผ่าตัดเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบด้วยการส่องกล้อง
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
เช็กลิสต์ อาการแบบไหนควรรีบพบหมอ
- ปวดไหล่ ปวดต้นแขน หรือข้อศอกเฉียบพลัน และรุนแรงขึ้นเมื่อยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ หรืองอข้อศอก
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงเมื่อยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ
- ต้นแขนเป็นตะคริวง่ายเมื่อยกของหนัก
- ต้นแขนบวม อาจมีรอยฟกช้ำร่วมด้วย
- ได้ยินเสียงดังกร๊อบแกร๊บออกมาจากด้านในต้นแขน
- หมุนแขนเพื่อแบมือหรือคว่ำมือได้ยากขึ้น
ถ้าปวดมากกว่า 3 วันยังไม่หายรีบปรึกษา HDcare เพื่อตรวจวินิจฉัย
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักโรคนี้
โรคเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบ (Biceps Tendinitis) โรคเอ็นกล้ามเนื้องอศอกอักเสบ หรือโรคเส้นเอ็นหัวไหล่อักเสบคือ อาการอักเสบของเส้นเอ็นที่เชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อต้นแขนกับกระดูกข้อไหล่และข้อศอก ทำหน้าที่สร้างความมั่นคงให้กับกระดูกข้อไหล่ ทำให้เราสามารถใช้งานและหมุนข้อไหล่ได้ 360 องศาอย่างมั่นคง
โรคเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบ มักเกิดจากปัจจัยดังนี้
- ใช้งานหัวไหล่กับแขนหนักเกินไป
- การเสื่อมสภาพของเส้นเอ็นตามอายุที่มากขึ้น ทำให้อักเสบได้ง่าย
- สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทำให้กล้ามเนื้อเสื่อมสภาพง่ายและเร็วขึ้น
- เกิดอุบัติเหตุจนทำให้เส้นเอ็นอักเสบหรือฉีกขาด
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดไหล่ ปวดต้นแขน หรือข้อศอกเฉียบพลัน และรุนแรงขึ้นเมื่อยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ หรืองอข้อศอก
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงเมื่อยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ
- เจ็บตึงที่หัวไหล่
- ต้นแขนเป็นตะคริวง่ายเมื่อยกของหนัก
- ต้นแขนบวม อาจมีรอยฟกช้ำร่วมด้วย
- ได้ยินเสียงดังกร๊อบแกร๊บออกมาจากด้านในต้นแขน
- หมุนแขนเพื่อแบมือหรือคว่ำมือได้ยากขึ้น
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจร่างกายและตรวจการเคลื่อนไหวของหัวไหล่กับแพทย์
- ตรวจสแกนร่างกาย เช่น
- การถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ (X-Ray) เพื่อแยกปัญหาหรือความผิดปกติอื่นๆ บริเวณหัวไหล่หรือต้นแขน
- การทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging) เพื่อให้แพทย์เห็นรายละเอียดความผิดปกติของกล้ามเนื้อได้อย่างละเอียด
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
รักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
- งดใช้งานแขนข้างที่อักเสบชั่วคราว หมั่นประคบเย็นบ่อยๆ
- กินยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ
- ฉีดยาเพื่อลดการอักเสบ
- ทำกายภาพบำบัด เพื่อเสริมความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อต้นแขน
- ใช้คลื่นอัลตราซาวด์ลดการอักเสบและอาการปวดของกล้ามเนื้อ
- ใช้แสงเลเซอร์กระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมตัวเอง และสังเคราะห์คอลลาเจน
- ใช้กระแสไฟฟ้าลดการตึงและเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวด
รักษาโดยการผ่าตัด
- ผ่าตัดซ่อมเส้นเอ็นไบเซปส์ส่วนที่อักเสบด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Biceps Repair)
- ผ่าตัดเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Biceps Tenodesis)
- ผ่าตัดเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบแบบเปิด (Open Biceps Tenodesis)
- ผ่าตัดนำเส้นเอ็นไบเซปส์ออกด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Biceps Tenotomy)
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ตรวจพบการอักเสบอย่างรุนแรงที่กล้ามเนื้อ
- รักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแต่อาการยังไม่ดีขึ้น หรือรุนแรงกว่าเดิม
โดยปกติอาการเส้นเอ็นอักเสบจะดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน แต่ถ้ามีอาการรุนแรง กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจเกิดจากภาวะเส้นเอ็นฉีกขาดได้ แพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Biceps Tenodesis) คือ การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมการอักเสบของเส้นเอ็นไบเซปส์ ด้วยการตัดเส้นเอ็นส่วนที่อักเสบออกและย้ายจุดเกาะเส้นเอ็นใหม่
ขั้นตอนการผ่าตัดเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบด้วยการส่องล้อง
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกคนไข้ ด้วยการใช้วิธีดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลบริเวณหัวไหล่หรือต้นแขน 2 รู เพื่อสอดกล้องผ่าตัดและเครื่องมือผ่าตัดเข้าไป
- แพทย์ตัดเส้นเอ็นไบเซปส์ส่วนที่อักเสบออก และแยกส่วนหัวของเส้นเอ็นไบเซปส์ออกจากกระดูกอ่อนลาบรัม (Labrum) ซึ่งเป็นกระดูกเนื้อเยื่อรูปถ้วยที่อยู่ติดกับเบ้ากระดูกข้อไหล่
- แพทย์ร้อยเส้นเอ็นไบเซปส์ด้วยอุปกรณ์เย็บติด (Suture Anchor)
- แพทย์เปิดแผลขนาดประมาณ 8 มม. ที่กระดูกต้นแขน (Humerus) แล้วร้อยเส้นเอ็นไบเซปส์เข้าไปด้านใน
- แพทย์สอดสกรูเข้าไปด้านในรูกระดูกต้นแขนเพื่อยึดเส้นเอ็นใบเซปส์เอาไว้ด้านในอย่างแน่นหนาและถาวร
- แพทย์นำกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดออกจากแผล จากนั้นเย็บปิดแผล
- ผ่าตัดเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบด้วยการส่องล้องใช้เวลาประมาณ 1 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
1. การผ่าตัดซ่อมเส้นเอ็นไบเซปส์ส่วนที่อักเสบด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Biceps Repair)
- เปิดแผลเพื่อซ่อมแซมเส้นเอ็นให้หายอักเสบ
- ไม่ได้เอาเส้นเอ็นไบเซปส์ออก
- เหมาะกับเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบที่อยู่แถวแอ่งกลีนอยด์ (Glenoid) หรือเบ้ากระดูกสะบัก ซึ่งตรงกลางจะเป็นที่ตั้งของหัวกระดูกต้นแขน
2. ผ่าตัดเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Biceps Tenodesis)
- เปิดแผลเพื่อเอาเส้นเอ็นส่วนที่เสียหายออก
- ย้ายจุดเกาะเส้นเอ็นไปไว้ด้านในกระดูกต้นแขนแทน
- เป็นการผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็ก
3. ผ่าตัดเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบแบบเปิด (Open Biceps Tenodesis)
- เปิดแผลเพื่อเอาเส้นเอ็นส่วนที่เสียหายออก
- ย้ายจุดเกาะเส้นเอ็นไปไว้ด้านในกระดูกต้นแขนแทน
- เป็นการผ่าตัดแบบเปิด ขนาดแผลประมาณ 3-5 ซม.
4. ผ่าตัดนำเส้นเอ็นไบเซปส์ออกด้วยการส่องกล้อง (Arthroscopic Biceps Tenotomy)
- เปิดแผลเพื่อเอาเส้นเอ็นไบเซปส์ออกทั้งหมด
- เหมาะกับคนที่เส็นเอ็นอักเสบรุนแรงมาก หรืออักเสบจนถึงขั้นฉีกขาด ไม่สามารถเย็บซ่อมแซมหรือตัดเส้นเอ็นบางส่วนออกได้
- เป็นการผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็ก กระทบต่อกระดูกหรือเส้นเอ็นข้างเคียงได้น้อยกว่า
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดการใช้ยา วิตามิน และสมุนไพรที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
การผ่าตัดเส้นเอ็นไบเซปส์อักเสบด้วยการส่องกล้องแพทย์จะให้พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 3 วัน จากนั้นให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด
- สามารถอาบน้ำหลังผ่าตัดได้ แต่ต้องเช็ดแผลให้แห้งทันทีหลังอาบน้ำ และเปลี่ยนผ้าก๊อซใหม่
- กินยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด
- หมั่นประคบเย็น 20-30 นาทีทุกๆ 2 ชม.
- งดขับรถเองจนกว่าแพทย์และนักกายภาพบำบัดจะอนุญาต
- หลังผ่าตัดประมาณ 1-2 สัปดาห์ แพทย์จะเริ่มการทำกายภาพบำบัด และออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- ใส่ที่พยุงแขน 4-6 สัปดาห์
- งดว่ายน้ำ แช่น้ำในอ่าง อย่าให้แผลโดนเหงื่ออย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพื่อลดโอกาสแผลติดเชื้อ
- ส่วนมากเมื่อผ่านไปประมาณ 6 เดือน คนไข้จะกลับมาใช้ชีวิตประจำวันและออกกำลังกายได้อย่างเต็มรูปแบบ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น อาการเจ็บแผลใน 2-3 วันแรก การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออกที่แผล หรือแผลมีเลือดคลั่ง
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
- ภาวะบาดเจ็บที่เส้นประสาท
- ภาวะต้นแขนปูดบวม (Popeye deformity)
สาขาออร์โธปิดิกส์
นพ. ชานนท์ กนกวลีวงศ์ (หมอนนท์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2555 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ สาขาเวชศาสตร์การกีฬา
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์กีฬา