ผ่าและเย็บปากถุงน้ำบาร์โธลิน (OR)

รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ถุงน้ำบาร์โธลิน หรือเรียกให้เข้าใจง่ายว่า ฝีที่อวัยวะเพศหญิง เกิดจากการอุดตัน ทำให้หลั่งเมือกไม่ได้ และสะสมจนบวมกลายเป็นถุงน้ำ
- รีบรักษาก่อนฝีจะแตก เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือด
- ถ้าฝีแตกเองก็ต้องรีบรักษา เพราะอาจจะยังมีเชื้อทำให้เป็นฝีซ้ำๆ หรือลุกลามไปอวัยวะอื่น ทำให้รักษายากและซับซ้อนกว่าเดิม
- หลังผ่าตัดอาจเป็นซ้ำได้ ควรตรวจภายในและตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกวัน และสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ถุงน้ำบาร์โธลินขนาดใหญ่ จะต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเอาต่อมบาร์โธลินออกโดยจะทำในห้องผ่าตัด
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ถ้าคลำเจอก้อนที่ปากช่องคลอด อาจเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้เร็วที่สุด เพราะต่อมบาร์โธลินในระยะแรกมีขนาดเล็ก สามารถรักษาด้วยการกินยาปฏิชีวนะได้
ถ้าปล่อยทิ้งไว้จนทำให้ถุงน้ำบาร์โธลินใหญ่ขึ้น จะทำให้เกิดการอักเสบรุนแรง มีหนอง แสบร้อน เป็นไข้หนาวสั่น และปวดอย่างรุนแรง แพทย์จำเป็นที่จะต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแทน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกวัย หรือหญิงที่อายุมากกว่า 30 ปี ควรตรวจภายในเป็นประจำทุกปี
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- ถุงน้ำบาร์โธลินที่มีขนาดเล็ก แพทย์อาจให้กินยาแก้อักเสบฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ)
- ถ้าถุงน้ำบาร์โธลินที่มีขนาดใหญ่ จะต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- คลำเจอก้อนที่ปากช่องคลอด
- มีอาการเจ็บระหว่างขา ขณะทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
- การอักเสบจะทำให้ฝีแตก มีหนองออกมา เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าและเย็บถุงน้ำบาร์โธลิน (Marsupialization) แพทย์จะผ่าตัดเปิดปากถุงน้ำออก เพื่อเอาสารคัดหลั่งและหนองออกให้หมด หลังจากนั้นจะเย็บผนังต่อมบาร์โธลินเข้ากับชั้นผิวหนัง ซึ่งจะช่วยให้รูเปิดของต่อมไม่เกิดการอุดตันซ้ำ ร่วมกับการให้ยาฆ่าเชื้อและยาแก้ปวด เป็นหัตถการผ่าตัดเล็กที่สามารถทำได้ทั้งในห้องตรวจและห้องผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าและเย็บถุงน้ำบาร์โธลิน
- แพทย์ระงับความรู้สึกด้วยยาชาเฉพาะที่
- แพทย์ผ่าตัดเปิดปากถุงน้ำบาร์โธลินเพื่อระบายหนองออกให้หมด แล้วใช้ไหมละลายเย็บผนังต่อมบาร์โธลินเข้ากับชั้นผิวหนัง
- ตรวจสอบความเรียบร้อยของแผล และให้ไปนอนสังเกตอาการที่ห้องพักฟื้นประมาณ 1-2 ชม. ถ้าไม่มีอาการผิดปกติก็กลับไปพักฟื้นที่บ้านได้
ถ้ารักษาด้วยการผ่าและเย็บถุงน้ำบาร์โธลินแล้วไม่เห็นผล คนไข้ยังมีอาการผิดปกติแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเอาต่อมบาร์โธลินออก ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่จะต้องทำในห้องผ่าตัดเท่านั้น
ขั้นตอนการผ่าตัดเอาต่อมบาร์โธลินออก
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกให้คนไข้
- แพทย์ผ่าตัดเปิดแผลเหนือถุงน้ำบาร์โธลิน แล้วตัดเอาต่อมบาร์โธลินทั้งหมดออก จากนั้นจะเย็บแผลด้วยไหมละลายให้เรียบร้อย
- แพทย์จะตรวจสอบความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด ถ้าไม่มีอาการผิดปกติก็ไปที่ห้องพักฟื้นได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
- ควรเตรียมผ้าอนามัยไปด้วย เพราะอาจมีเลือดออกเล็กน้อยหลังจากผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
ผ่าและเย็บถุงน้ำบาร์โธลินต้องพักฟื้นนานเท่าไหร่?
- หลังผ่าและเย็บถุงน้ำบาร์โธลินสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้
- ถ้าตัดต่อมบาร์โธลินจะต้องพักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2-3 วัน หรือขึ้นกับการประเมินจากแพทย์
การดูแลหลังผ่าและเย็บถุงน้ำบาร์โธลิน
- 24 ชม. หลังผ่าตัด ควรงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระแทกบริเวณแผลผ่าตัด เช่น การปั่นจักรยาน หรือการนั่งคร่อม
- หลังจากปัสสาวะ หรืออุจจาระแล้ว จะต้องล้างด้วยน้ำสะอาด และใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้งอย่างเบามือ โดยจะต้องเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
- ไม่ใส่กางเกงที่รัดแน่นจนเกินไป
- กินยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะให้ครบตามที่แพทย์สั่ง
- งดสวนล้างช่องคลอด การแช่ในอ่างอาบน้ำ คูคลอง ทะเล หรือการว่ายน้ำ เพราะเสี่ยงทำให้เกิดแผลติดเชื้อได้
- งดการออกกำลังกายหนัก และการซาวน่า อย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าแพทย์จะสั่ง
- งดการมีเพศสัมพันธ์ อย่างน้อย 7-14 วัน หรือจนกว่าแพทย์จะสั่ง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- 3-5 วันแรก อาจมีเลือดออกบริเวณแผลผ่าตัดเล็กน้อย โดยจะมีลักษณะเป็นสีแดงจางๆ
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง ปวดบริเวณแผลผ่าตัดรุนแรง มีเลือดออกจากแผลผ่าตัดในปริมาณมาก จะต้องไปพบแพทย์ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอวันนัดหมาย
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
สูตินรีแพทย์ เฉพาะทาง เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ

สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.นพ. เกรียงศักดิ์ ศิริศักดิ์พาณิชย์ (หมอเล็ก)
สูตินรีแพทย์ เฉพาะทาง เวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม ต่อยอด ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ นครสวรรค์
- สูติศาสตร์ นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- Certificate of Urogynecology Department of Obstetrics and Gynecology, Chang Gung Memorial Hospital (Taiwan)
- Certificate of International Fellowship Program in the Department of Urogynecology, Kameda Medical Center (Japan)

พญ. จุฑาภรณ์ อุทัยแสน (หมอโบ)
สูตินรีแพทย์ เฉพาะทาง มะเร็งวิทยานรีเวช ต่อยอด ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตรสาขาสูตินรีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- วุฒิบัตรสาขามะเร็งนรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวช โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
- ประกาศนียบัตรการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
