ขริบหนังหุ้มปลาย
แก้ปัญหาหนังหุ้มปลายตีบ/แตก หัวไม่เปิด/เปิดไม่สุด
หลังทำ 1 เดือน มีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ (ขึ้นกับแต่ละบุคคล)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ขริบหนังหุ้มปลาย รักษาภาวะปลายตีบ และปลายแตกได้
- ปลายตีบคือ หนังหุ้มปลายองคชาตตีบ จนรูดเปิดไม่ได้ตามปกติ ทำความสะอาดยากและเสี่ยงติดเชื้อง่าย
- ปลายแตกคือ หนังหุ้มปลายองคชาตแตกและเป็นแผลเพราะขาดความยืดหยุ่น ทำให้เจ็บทุกครั้งที่แข็งตัวหรือทำกิจกรรมทางเพศ
ขริบแบบไร้เลือด ไม่ได้ไร้เลือดจริงๆ แต่แค่เลือดน้อย
- ขริบแบบไร้เลือด ใช้เวลาไม่นาน ตัดและเย็บได้ในขั้นตอนเดียวด้วยอุปกรณ์ขริบอัตโนมัติ
- ขริบแบบธรรมดา แพทย์ลงมีดเปิดแผลด้วยตัวเองและเย็บด้วยไหมละลาย ทำได้กับอวัยวะเพศทุกขนาด
ไม่แน่ใจว่าขริบแบบไหนดี ขอดูรูปรีวิวก่อนได้
ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการขริบ [คลิกดูวิดีโอ]
รีวิวขริบน้องชาย ขริบเจ็บมั้ย? หลังขริบอึดขึ้นรึเปล่า? [คลิกดูวิดีโอ]
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
คนส่วนใหญ่คิดว่าการขริบจะทำในบางศาสนา แต่จริงๆ ผู้ชายทุกคนและทุกช่วงวัย สามารถขริบเพื่อสุขอนามัยทางเพศที่ดีได้
การขริบแนะนำให้ทำในกลุ่มที่มีความผิดปกติดังนี้
- เด็กแรกเกิดที่มีภาวะหนังหุ้มปลายปิด และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาครีมสเตียรอยด์
- เด็กที่อายุเกิน 4 ขวบ แต่ยังรูดหนังหุ้มปลายไม่ได้
- คนที่มีประวัติรูดหนังหุ้มปลายลงแล้วรูดกลับขึ้นไม่ได้
- คนที่ปัสสาวะลำบาก หนังหุ้มปลายโป่งพองระหว่างปัสสาวะ
- คนที่ปลายอวัยวะเพศอักเสบ มักเกิดในคนที่หนังหุ้มปลายรูดเปิดยาก
- คนที่มีอาการหนังหุ้มปลายรัดองคชาติ ทำให้ปวด และบวม หรือที่เรียกว่า "ปลายตีบ"
- คนที่มีหนังหุ้มปลายหนาเกินไปจนเปิดออกเองไม่ได้ ในบางคนอาจเจ็บปวดเวลาอวัยวะเพศแข็งตัว
- คนที่ปัสสาวะแล้วไม่ค่อยรูดเปิดทำความสะอาด ทำให้เชื้อโรคสะสมจนอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ บางคนอาจติดเชื้อแทรกซ้อนได้
รู้จักการผ่าตัดนี้
ขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย คืออะไร?
การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ขริบ" เป็นการผ่าตัดเพื่อนำหนังหุ้มปลายส่วนเกินของอวัยวะเพศชายออกบางส่วน เพื่อให้ปลายอวัยวะเพศเปิดออก และสามารถทำความสะอาดบริเวณส่วนหัวอวัยวะเพศได้ง่าย
คราบเหงื่อ สิ่งสกปรก สารคัดหลั่ง หรือคราบปัสสาวะ อาจสะสมอยู่ภายในหนังหุ้มปลาย ถ้าสะสมนานๆ และไม่ได้ทำความสะอาดจะทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา
การขริบยังช่วยแก้ปัญหาหนังหุ้มปลายรูดเปิดยาก หรือหนังหนาเกินไปจนเปิดออกเองไม่ได้ และทำให้ปัสสาวะลำบาก
https://static.hd.co.th/system/image_attachments/images/000/176/645/original/cir-image.png
การขริบ มีขั้นตอนอย่างไร?
- แพทย์ทำความสะอาดอวัยวะเพศ ทาน้ำยาฆ่าเชื้อปฏิชีวนะ และให้ยาชาหรือยาสลบ
- แพทย์ยืดหนังหุ้มปลายออก แล้วใช้มีดเปิดและตัดหนังหุ้มปลาย
- เย็บปิดแผลและพันด้วยผ้าพันแผล
การขริบเป็นการผ่าตัดเล็กใช้เวลาแค่ 30-60 นาที อายุเท่าไหร่ก็ทำได้ แต่จะต่างกันที่วิธีการระงับความรู้สึก ดังนี้
- เด็กแรกเกิดใช้ยาชาระงับความรู้สึกเฉพาะที่
- เด็กอายุ 2 เดือนขึ้นไป ใช้การดมยาสลบ
- ผู้ใหญ่ ใช้ยาชาระงับความรู้สึกเฉพาะที่
ข้อดีของการขริบ
- ทำความสะอาดอวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค
- ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งองคชาต
- ลดการนำเชื้อโรคไปสู่ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย
- ลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กเล็ก
- ลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (แต่ยังคงต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง)
- ป้องกันการเกิดภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ปัจจุบัน การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายนิยมทำกัน 2 แบบคือ
- ขริบแบบธรรมดา แพทย์จะใช้มีดเปิดแผลแล้วตัดหนังหุ้มปลาย จากนั้นเย็บด้วยมือของตัวเอง ลักษณะของแผลขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแพทย์ ทำได้กับอวัยวะเพศทุกขนาด
- ขริบแบบไร้เลือด แพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษ ที่จะตัดหนังหุ้มปลายและเย็บได้ในขั้นตอนเดียว แผลเล็ก เจ็บน้อย ใช้เวลาไม่นาน [ดูรายละเอียดที่นี่]
การขริบมีกี่รูปแบบ?
การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย มี 4 รูปแบบหลักๆ ดังนี้
- ขริบเล็กน้อย (Minimal) คือการเอาหนังหุ้มปลายออกเล็กน้อย และยังคงลักษณะอวัยวะเพศเดิมไว้ นิยมทำในผู้ที่หนังหุ้มปลายรูดเปิดยาก หรือหนังหุ้มปลายปิด ต้องการทำเพื่อให้สามารถรูดเปิดหนังหุ้มปลายได้ปกติเท่านั้น
- ขริบบางส่วน (Partial) คือการขริบหนังหุ้มปลายออก โดยเหลือหนังให้ปกปิดส่วนหัวได้บางส่วนเวลาที่อวัยวะเพศอ่อนตัว แต่เวลาแข็งตัวจะเปิดออกได้ทั้งหมด
- ขริบแบบหลวม (Loose) คือการขริบหนังหุ้มปลายออกจนเห็นส่วนหัวชัดเจน แต่ยังเหลือผิวหนังย่นๆ บริเวณขอบหัวเล็กน้อยเวลาอ่อนตัว แต่เวลาแข็งตัวผิวหนังจะขยับได้เล็กน้อย
- ขริบแบบตึง (Tight) คือการขริบเอาหนังหุ้มปลายออกจนเกือบหมด ทำให้เห็นส่วนหัวชัดเจนเวลาอ่อนตัว และเวลาแข็งตัวจะไม่สามารถขยับผิวหนังขึ้นลงได้
การเลือกรูปแบบการขริบนี้ทำได้ในผู้ใหญ่ ซึ่งให้ผลลัพธ์ด้านสุขอนามัย หรือการรักษาภาวะความผิดปกติได้ไม่ต่างกัน เพียงแต่ขึ้นอยู่กับความต้องการและรสนิยมของแต่ละคน
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
ก่อนขริบไร้เลือด แพทย์อาจนัดหมายตรวจเลือดและร่างกายเพื่อให้แน่ใจว่าการผ่าตัดจะสําเร็จลุล่วงเรียบร้อยการตรวจก่อนขริบ เช่น
- ตรวจดูสารคัดหลังที่ออกมาจากปลายองคชาต เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือแบคทีเรียใดหรือไม่
- ตรวจเลือด เพื่อดูค่านํ้าตาลในเลือด การไหลและการแข็งตัวของเลือด
การเตรียมตัวก่อนขริบ
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังขริบต้องพักฟื้นประมาณกี่วัน?
หลังขริบใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 7-10 วัน ระหว่างพักฟื้นอาจเจ็บ แสบ บวม แดง ช้ำได้ เด็กโตและผู้ใหญ่ควรหยุดพักงานและหยุดเรียนอย่างน้อย 1-2 วัน แล้วอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น จนหายเป็นปกติ
หลังขริบ แนะนำให้ดูแลตัวเองดังนี้
- หลังผ่าตัด แพทย์จะปิดแผลไว้ 1 วัน ถ้าผ้าพันแผลหลุด ไม่ต้องปิดแผลอีก โดยห้ามใส่ยาหรือทาแป้งที่แผล
- ห้ามแผลโดนน้ำประมาณ 5 วัน หากแผลเปียกน้ำ จะต้องใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้งทันที ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
- รักษาความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัด โดยใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้ง และทุกครั้งหลังปัสสาวะ หรืออุจจาระ ไม่ควรปล่อยให้แผลอับชื้น
- กินยาแก้อักเสบและยาแก้ปวด ตามแพทย์สั่ง
- กินอาหารรสอ่อน เลี่ยงของเผ็ดหรือของหมักดอง
- สวมกางเกงใน และจัดให้อวัยวะเพศอยู่ในแนวตั้งเพื่อป้องกันแผลบวม
- ถ้ามีเลือดซึม ให้ใช้สำลีหรือผ้าก๊อซกดตรงจุดที่เลือดออก 3-5 นาที ถ้าเลือดไม่หยุดไหล ให้มาพบแพทย์
- ควรทำแผลที่ รพ. หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านทุกวัน อย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะแห้ง
- หลังผ่าตัดควรงดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 เดือน
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- แผลบวมแดง ร้อน มีเลือดคั่ง ปวดแผลมาก มีไข้สูง หรือปัสสาวะไม่ออก
- ความไวในการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ลดลงในช่วง 2 เดือนแรก
- ผิวหนังส่วนหัวของอวัยวะเพศแห้ง
- หนังหุ้มปลายม้วนตัว ขณะมีเพศสัมพันธ์
สาขาศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
นพ. ปริญญา วิจิตรวรวงศ์ (หมอบิ๊ว)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางยูโรวิทยา (ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะเพศชาย)
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สาขาศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
- วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- แพทยเฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ
สาขาศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
นพ. อัสพล ตันตะราวงศา (หมออัส)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ รพ. รามาธิบดี
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร
- แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ