ผ่าตัดสลายต้อกระจกและเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมแบบโฟกัสระยะเดียวแก้ไขสายตาเอียง (Monofocal Toric IOL)
แก้ไขสายตาเอียงได้
แก้ไขสายตาทั้งใกล้และไกล
เลนส์แก้วตาเทียมมีอายุการใช้งานตลอดชีวิต
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
47.8% ของคนเป็นต้อกระจก เสียการมองเห็นหรือตาบอด
- หลายคนเข้าใจผิดว่าต้องรอให้ต้อสุกก่อนถึงผ่าตัดได้ แต่ถ้าต้อสุกขุ่นขาว อาจทำให้เกิดต้อหิน และเสียการมองเห็นได้
- ต้อกระจกถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา อาจกระจายไปทั่วตาจนทำลายสายใยขั้วประสาทจนตาบอด
- เด็กก็เป็นต้อกระจกตั้งแต่เกิดได้ อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม โรคบางอย่าง การติดเชื้อหรือได้รับบาดเจ็บก่อนคลอด และอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ไม่แน่ใจว่าที่เป็นอยู่คือต้อกระจกรึเปล่า
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
ผ่าตัดสลายต้อกระจกใช้คลื่นอัลตราซาวด์ปล่อยพลังงานสลายต้อ แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมทดแทน
- แผลเล็กแค่ 3 มม. ไม่ต้องเย็บปิดแผล ต่างกับการผ่าตัดแบบเดิมที่แผลใหญ่ 10 มม.
- ใส่เลนส์แก้วตาเทียมได้ทุกแบบ ต่างกับผ่าตัดแบบเดิมที่ใส่ได้แค่เลนส์ชนิดแข็ง
- พักฟื้นแค่ 2-3 วันก็กลับมามองเห็นชัด ต่างกับผ่าตัดแบบเดิมที่ต้องรอ 4-6 สัปดาห์
ผ่าตัดวันนี้ ไม่กี่วันก็มองเห็น!
จองกับ HDcare ได้คิวผ่าตัดเร็ว ไม่ต้องรอนาน
เลือกเลนส์แก้วตาเทียมแบบไหนดี?
เลนส์แก้วตาเทียมแบบโฟกัสระยะเดียว (Monofocal IOL) [ดูรายละเอียดที่นี่]
- มองไกลชัด แต่ต้องใช้แว่นสายตามองระยะใกล้
- ไม่มีปัญหาตอนกลางคืนหรือตอนมองแสงไฟ
- มีราคาถูกกว่าเลนส์แก้วตาเทียมประเภทอื่น
เลนส์แก้วตาเทียมแบบโฟกัสหลายระยะ (Multifocal IOL) [ดูรายละเอียดที่นี่]
- มองได้ทั้งระยะใกล้ กลาง และไกล มี 3 ชนิดคือ
- (1) ชนิดโฟกัส 2 ระยะ ไกลและใกล้ ส่วนการมองระยะกลางจะไม่ชัด
- (2) ชนิดโฟกัส 2 ระยะ ไกลและกลาง ส่วนการมองระยะใกล้จะไม่ชัด
- (3) ชนิดโฟกัส 3 ระยะ ไกล กลาง และใกล้ มองเห็นชัดในทุกระยะ
- ถ้าไม่มีค่าสายตาเอียง ก็ไม่จำเป็นต้องใส่แว่น
เลนส์แก้วตาเทียมแบบโฟกัสระยะเดียวแก้ไขสายตาเอียง (Monofocal Toric IOL) [ดูรายละเอียดที่นี่]
- แก้ไขค่าสายตาเอียง สายตาสั้น และสายตายาว มี 2 ชนิดคือ
- (1) ชนิดโฟกัส 2 ระยะ แก้ไขสายตาเอียง และ 2 ระยะ ใกล้กับไกล และ กลางกับไกล
- (2) ชนิดโฟกัส 3 ระยะ แก้ไขสายตาเอียง และ 3 ระยะ ไกล กลาง ใกล้ มองเห็นชัดทุกระยะ
เลนส์แก้วตาเทียมแบบโฟกัสหลายระยะแก้ไขสายตาเอียง (Multifocal Toric IOL) [ดูรายละเอียดที่นี่]
- เลนส์แก้วตาเทียมแก้ไขสายตาเอียงแบบโฟกัสหลายระยะ แบ่งออกได้ดังนี้
- (1) ชนิดโฟกัส 2 ระยะ แก้ไขสายตาเอียง และอีก 2 ระยะ ได้แก่ ใกล้และไกล หรือ กลางและไกล (ขึ้นอยู่กับการเลือกของแพทย์และผู้รับบริการ)
- (2) ชนิดโฟกัส 3 ระยะ แก้ไขสายตาเอียง และไกล กลาง ใกล้ มองเห็นชัดในทุกระยะ
- เป็นเลนส์แก้วตาเทียมที่แก้ไขค่าสายตาได้ครอบคลุมที่สุดโดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาค่าสายตาเดิม
รู้จักโรคนี้
ต้อกระจกคืออะไร?
โรคต้อกระจก (Cataracts) คือ โรคที่เกิดจากเลนส์แก้วตาซึ่งทำหน้าที่หักเหแสงที่ผ่านเข้ามาในดวงตาเกิดความขุ่นมัว จึงทำให้ภาพการมองเห็นของผู้ป่วยไม่ชัดเหมือนมีหมอกมาบังไว้ตลอดเวลา รวมถึงทำให้มองเห็นสีต่างๆ ผิดเพี้ยนไปได้ และทำให้การมองเห็นในที่มืดแย่ลงด้วย
ต้อกระจกเกิดจากอะไร?
ต้อกระจกเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกร่างกายผู้ป่วย โดยกรณีที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่
- มีคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นต้อกระจกมาก่อน
- ความเสื่อมของกระจกตาตามอายุ
- โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ภาวะตาติดเชื้อ
- การประสบอุบัติเหตุหรือทำกิจกรรมที่ทำให้ดวงตาได้รับแรงกระทบกระเทือนบ่อยๆ
- การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์
- ดวงตาสัมผัสแสงอัลตราไวโอเลตเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง
- พฤติกรรมสูบบุหรี่จัด
สัญญาณที่ต้องตรวจ
สัญญาณเตือนของต้อกระจกแบ่งเป็น 4 ระยะ
- ระยะเริ่มแรก (The Early Stage) ควบคุมจุดโฟกัสสายตาไม่ได้เหมือนเดิม มองเห็นภาพซ้อนเล็กน้อย มองแสงสว่างแล้วเห็นภาพสะท้อน ทำให้เหนื่อยล้าตามากกว่าปกติ แก้ได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
- ระยะก่อนต้อแก่ (The Immature Stage) รอยประแก้วตามีความขุ่นเป็นก้อนขาวบางๆ ตรงกลางดวงตา ควรเลี่ยงใช้สายตามองภาพด้วยตาเปล่าและหาแว่นตามาช่วยโฟกัสการมองเห็น
- ระยะต้อแก่ (The Mature Stage) ส่วนของแก้วตาขุ่นมากอย่างชัดเจน ตัวก้อนขาวเกิดจากโปรตีนที่ตกตะกอนและแพร่กระจายไปส่วนอื่นของดวงตา ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้ต้อแพร่ไปที่ขั้วประสาทตา
- ระยะต้อสุกเกิน (The Hypermature Stage) แก้วตาขุ่นมากขึ้น ต้อมีความหนาและกดทับเส้นใยประสาทตาที่คอยส่งสัญญาณไปยังประสาทสมอง ถ้ากดทับมากจะส่งภาพได้น้อยลง ระยะนี้ต้องผ่าตัดให้เร็วที่สุด ถ้าปล่อยให้ต้อสุกโดยไม่รักษาอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนและเสียการมองเห็นได้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
ตรวจสุขภาพตาโดยละเอียดกับจักษุแพทย์
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
ต้อกระจกเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษา มีเพียงวิธีเดียวคือการผ่าตัด
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- เป็นต้อกระจกมากจนมีปัญหาด้านการมองเห็นและรบกวนชีวิตประจำวัน
- เป็นมากจนอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ต้อหิน
- ต้อกระจกบดบังหรือเป็นอุปสรรคต่อการตรวจหรือรักษาโรคของจอประสาทตา
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดสลายต้อกระจก (Phacoemulsification) คือ การรักษาต้อกระจกด้วยการใช้คลื่นอัลตราซาวด์ปล่อยพลังงานลงไปสลายต้อกระจกด้านในเลนส์แก้วตาธรรมชาติ ทำให้เลนส์แก้วตาธรรมชาติสลายตัว จากนั้นจะใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปทดแทน
เลนส์แก้วตาเทียมมีให้เลือกหลายแบบ โดยคนไข้สามารถปรึกษาเรื่องการเลือกเลนส์แก้วตาเทียมกับแพทย์ได้โดยตรง
เลนส์แก้วตาเทียมแบบโฟกัสระยะเดียวแก้ไขสายตาเอียง (Monofocal Toric IOL)
- แก้ไขค่าสายตาเอียง สายตาสั้น และสายตายาว มี 2 ชนิดคือ
- (1) ชนิดโฟกัส 2 ระยะ แก้ไขสายตาเอียง และ 2 ระยะ ใกล้กับไกล และ กลางกับไกล
- (2) ชนิดโฟกัส 3 ระยะ แก้ไขสายตาเอียง และ 3 ระยะ ไกล กลาง ใกล้ มองเห็นชัดทุกระยะ
ขั้นตอนการผ่าตัดสลายต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียม
- แพทย์ให้ยาขยายม่านตา ยาฆ่าเชื้อ และยาชาแบบหยอด ในบางคนอาจฉีดยาชาที่ลูกตาหรือให้ยาสลบ ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์
- คนไข้นอนลงบนเตียงและต้องนอนนิ่งจ้องมองตามตำแหน่งที่แพทย์สั่งตลอดระยะเวลาที่ผ่าตัด
- แพทย์เปิดแผลขนาด 3 มม. ตรงตำแหน่งระหว่างกระจกตาดำและตาขาว
- ใส่อุปกรณ์ขนาดเล็กเข้าไปในเลนส์แก้วตาด้านใน แล้วปล่อยพลังงานอัลตราซาวด์เพื่อสลายต้อกระจก และทำให้เลนส์แก้วตาธรรมชาติสลายเป็นชิ้นเล็กๆ
- แพทย์ดูดเลนส์แก้วตาธรรมชาติออกมาผ่านท่อขนาดเล็ก
- วางเลนส์แก้วตาเทียมในตำแหน่งที่เหมาะสมภายในถุงหุ้มเลนส์ตา
- ไม่มีการเย็บปิดแผล เนื่องจากแผลมีขนาดเล็กมาก แต่แพทย์จะปิดตาด้วยผ้าปิดตาและทับอีกชั้นด้วยที่ครอบตาเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนที่แผล
- ระยะเวลาการผ่าตัดสลายต้อกระจกใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
สลายต้อกระจกด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ (Phacoemulsification)
- สำหรับต้อกระจกระยะต้อแก่
- ใช้คลื่นอัลตราซาวด์ปล่อยพลังงานสลายต้อกระจกแล้วใส่แก้วตาเทียมใหม่ทดแทน
- แผลเล็ก 3 มม. ไม่ต้องเย็บปิดแผล
- เลือกเลนส์แก้วตาเทียมได้ทุกแบบ
- พักฟื้นไม่นาน แค่ 2-3 วันก็กลับมามองเห็นชัดเจน
ผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cataract Extraction)
- สำหรับต้อกระจกในระยะต้อสุกที่เลนส์ตาแข็งมากจนรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ไม่ได้
- เปิดแผลขนาด 10 มม. เพื่อเอาเลนส์ตาที่เป็นต้อออกแล้วใส่แก้วตาเทียมใหม่ทดแทน
- แผลค่อนข้างกว้าง ต้องเย็บปิดแผล
- เลือกเลนส์ตาชนิดแข็งได้เท่านั้น
- พักฟื้นนาน 4-6 สัปดาห์ถึงจะกลับมามองเห็นชัดเจน
เลือกเลนส์แก้วตาเทียมแบบไหนดี?
เลนส์แก้วตาเทียมแบบโฟกัสระยะเดียว (Monofocal IOL)
- มองไกลชัด แต่ต้องใช้แว่นสายตามองระยะใกล้
- ไม่มีปัญหาตอนกลางคืนหรือตอนมองแสงไฟ
- มีราคาถูกกว่าเลนส์แก้วตาเทียมประเภทอื่น
- ดูรายละเอียด [คลิกที่นี่]
เลนส์แก้วตาเทียมแบบโฟกัสหลายระยะ (Multifocal IOL)
- มองได้ทั้งระยะใกล้ กลาง และไกล มี 3 ชนิดคือ
- (1) ชนิดโฟกัส 2 ระยะ ไกลและใกล้ ส่วนการมองระยะกลางจะไม่ชัด
- (2) ชนิดโฟกัส 2 ระยะ ไกลและกลาง ส่วนการมองระยะใกล้จะไม่ชัด
- (3) ชนิดโฟกัส 3 ระยะ ไกล กลาง และใกล้ มองเห็นชัดในทุกระยะ
- ถ้าไม่มีค่าสายตาเอียง ก็ไม่จำเป็นต้องใส่แว่น
- ดูรายละเอียด [คลิกที่นี่]
เลนส์แก้วตาเทียมแบบโฟกัสระยะเดียวแก้ไขสายตาเอียง (Monofocal Toric IOL)
- แก้ไขค่าสายตาเอียง สายตาสั้น และสายตายาว มี 2 ชนิดคือ
- (1) ชนิดโฟกัส 2 ระยะ แก้ไขสายตาเอียง และ 2 ระยะ ใกล้กับไกล และ กลางกับไกล
- (2) ชนิดโฟกัส 3 ระยะ แก้ไขสายตาเอียง และ 3 ระยะ ไกล กลาง ใกล้ มองเห็นชัดทุกระยะ
- ดูรายละเอียด [คลิกที่นี่]
เลนส์แก้วตาเทียมแบบโฟกัสหลายระยะแก้ไขสายตาเอียง (Multifocal Toric IOL)
- เลนส์แก้วตาเทียมแก้ไขสายตาเอียงแบบโฟกัสหลายระยะ แบ่งออกได้ดังนี้
- (1) ชนิดโฟกัส 2 ระยะ แก้ไขสายตาเอียง และอีก 2 ระยะ ได้แก่ ใกล้และไกล หรือ กลางและไกล (ขึ้นอยู่กับการเลือกของแพทย์และผู้รับบริการ)
- (2) ชนิดโฟกัส 3 ระยะ แก้ไขสายตาเอียง และไกล กลาง ใกล้ มองเห็นชัดในทุกระยะ
- เป็นเลนส์แก้วตาเทียมที่แก้ไขค่าสายตาได้ครอบคลุมที่สุดโดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาค่าสายตาเดิม
- ดูรายละเอียด [คลิกที่นี่]
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดใส่คอนแทคเลนส์ก่อนผ่าตัด 5-7 วัน
- ตรวจสุขภาพตามรายการที่แพทย์สั่ง (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสุขภาพในแต่ละบุคคล)
- สระผมและล้างหน้าก่อนมา รพ.
- งดแต่งหน้าและทาเล็บให้วันผ่าตัด
- เตรียมแว่นกันแดดและสวมเสื้อผ่าหน้าหรือที่คอกว้าง สามารถถอดเข้าออกได้ง่ายในวันผ่าตัด
- ต้องมีญาติมาส่งและพากลับทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดสลายต้อกระจกแพทย์จะให้พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 30 นาที หากไม่มีอาการข้างเคียงก็สามารถกลับบ้านได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัดดังนี้
- ใช้ยาหยอด ยาป้าย และยากินที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด
- ห้ามเปิดผ้าปิดตาเองโดยเด็ดขาด
- สามารถกินอาหารและน้ำได้ตามปกติ
- หลังผ่าตัด 1 วัน ให้กลับมาตรวจแผลกับแพทย์ โดยแพทย์จะทำความสะอาดแผลให้
- ใส่ที่ครอบตาข้างที่ผ่าตัดระหว่างเข้านอน และงดการนอนตะแคงทับดวงตาข้างที่ผ่าตัด
- ล้างที่ครอบตาให้สะอาดและซับให้แห้งหลังใช้งานทุกวัน
- ทุกครั้งที่ออกนอกบ้านให้สวมแว่นกันแดดทุกครั้ง และล้างแว่นกันแดดให้สะอาดทุกครั้ง
- งดขยี้ตา หยีตา เกาเปลือกตา หรือกะพริบตาแรงๆ
- งดแต่งหน้า รวมถึงใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า น้ำมันบำรุงผม ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมทุกชนิด
- งดสระผมเอง แนะนำให้ไปสระผมที่ร้าน และต้องระมัดระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเข้าตาด้วย
- งดการออกกำลังกาย งดยกของหนัก การทำกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก รวมถึงการทำกิจกรรมที่เสี่ยงทำให้ดวงตาได้รับความกระทบกระเทือน
- งดทุกกิจกรรมที่ทำให้สิ่งสกปรกเข้าตา เช่น การปัดฝุ่นทำความสะอาด การรดน้ำต้นไม้ ทำสวน เล่นกับสัตว์เลี้ยง
- ควรพักสายตาบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการเพ่งมองเป็นเวลานานติดต่อกัน
- ดูแลความสะอาดของดวงตาให้ดี อย่าให้น้ำหรือสิ่งสกปรกใดๆ สัมผัสดวงตาโดยเด็ดขาด
- ให้ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดบิดหมาดๆ เช็ดหน้าแทนการล้างหน้าปกติเป็นเวลา 2 ครั้งเช้ากับเย็น ส่วนการอาบน้ำต้องระมัดระวัง อย่าให้น้ำกระเด็นเข้าตาเด็ดขาด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
อาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัดสลายต้อกระจกตาและใส่เลนส์แก้วตาเทียมมักพบได้น้อยและไม่รุนแรง แต่ก็ยังมีโอกาสได้ เช่น
- จุดรับภาพบวมหลังผ่าตัด แต่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้
- ติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
- ตาอักเสบ
- เลือดออกในน้ำวุ้นตา
- จอประสาทตาหลุด
- เลนส์แก้วตาเทียมเคลื่อนหรือหลุดออกจากตำแหน่ง
- หลังผ่าตัดระยะแรกต้องระวังเรื่องการติดเชื้อ ซึ่งพบได้น้อยแต่อันตราย การหยอดยาและดูแลความสะอาดตาอย่างเคร่งครัดจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ลงได้มาก
- ถุงหุ้มเลนส์อาจมีการขุ่นหลังจากใส่เลนส์ไปเป็นเวลาหลายปี สายตาจะค่อยๆ มัวลงบ้าง สามารถรักษาได้ด้วยเลเซอร์ (Yag Laser)
- ภาวะ PCO (Posterior Capsular Opacity) คือภาวะที่เกิดจากเซลล์ในถุงหุ้มเลนส์ ฟอร์มตัวหนาและขุ่นขึ้นหลังเลนส์ตาเทียม ทำให้มีอาการตาพร่ามัว เกิดขึ้นได้ 20% เท่านั้น
สาขาจักษุวิทยา
พญ. ปนียา ตปนียางกูร (หมอปุ้ม)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2549 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- 2554 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขาจักษุวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 2556 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ อนุสาขาจักษุวิทยาต้อหิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสาขาจักษุวิทยาต้อหิน