ผ่าตัดเนื้องอกเต้านม 2 ก้อน (ดมยาสลบ)
สำหรับหินปูนหรือเนื้องอกในเต้านมที่ไม่ใช่มะเร็ง
เนื้องอกขนาดเล็กถึงปานกลาง เลือกได้ว่าจะดมยาสลบหรือฉีดยาชา
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
เนื้องอกเต้านมเจอได้บ่อยในผู้หญิง และไม่ใช่มะเร็งเต้านมเสมอไป
- เนื้องอกเต้านม ตอนสัมผัสจะกลิ้งไปมาได้ อาจเป็นเนื้อหรือของแข็ง อาจมีขนาดเท่าเดิม หดเล็กจนหายไปเอง หรือมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้ แต่จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงช้าๆ มักโตขึ้นช่วงใกล้รอบเดือนและจะเล็กลงหลักจากรอบเดือนมาแล้ว
- มะเร็งเต้านมจะโตขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาอันสั้น!!
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมให้คุณวันนี้
เนื้องอกเต้านมแบบไหนต้องผ่าตัดทันที?
- เนื้องอกมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ
- เจ็บตรงก้อนเนื้อจนส่งผลกระทบต่อการชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน
- อายุไม่เกิน 30 ก้อนเนื้อมีขนาด 2 ซม. อายุมากกว่า 30 ปี ก้อนเนื้อมีขนาดเกิน 3 ซม.
- ถ้าตรวจเจอเนื้องอกเต้านม สามารถผ่าตัดได้ทันทีตั้งแต่ที่ขนาดเล็ก
อย่ารอจนเนื้องอกโต จนต้องตัดเต้านมทั้งเต้า!
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
เปรียบเทียบการผ่าตัดเนื้องอกเต้านมแต่ละแบบ
- ผ่าตัดเนื้องอกเต้านมแบบ Wide Excision เอาเนื้องอกออกมาทั้งก้อน แล้วเลาะเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ออกด้วย ถ้าเนื้องอกมีขนาดเล็กถึงปานกลาง ใช้การฉีดยาชาได้ แต่ถ้ามีขนาดใหญ่แนะนำให้ดมยาสลบ [ดูรายละเอียด]
- ผ่าตัดเนื้องอกเต้านมผ่านเข็ม ด้วยเครื่องเจาะดูดชิ้นเนื้อระบบสุญญากาศ (VAE) ใช้เข็มสอดเข้าไปตัดก้อนเนื้อออกเป็นชิ้นเล็กๆ และดูดนำออกมาด้วยระบบสุญญากาศ ส่วนมากนิยมระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่ [ดูรายละเอียด]
- ผ่าตัดเนื้องอกเต้านม (แบบส่องกล้อง) เปิดแผลใต้รักแร้หรือฐานหัวนม แล้วใช้อุปกรณ์สอดเข้าไปตัดและเลาะเนื้อเยื่อรอบๆ ออกมา [ดูรายละเอียด]
รู้จักโรคนี้
เมื่อพูดถึงก้อนที่เต้านม สาวๆ หลายคนจะคิดถึงซีสต์ที่เต้านม หรือมะเร็งเต้านมเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้ว ประเภทของก้อนที่เต้านมยังมีสิ่งที่เรียกว่า “เนื้องอกเต้านม” ด้วย ซึ่งก้อนที่เต้านมทั้ง 3 ประเภท มีรายละเอียดแตกต่างกันดังนี้
1. เนื้องอกที่เต้านม
เนื้องอกที่เต้านม หรือภาษาอังกฤษ Fibroadenoma เป็นก้อนเนื้องอกชนิดธรรมดาที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง อาจพบเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้ มีลักษณะเป็นก้อนเรียบกลม หรือรูปไข่ที่มีขอบชัดเจน เวลาสัมผัสจะกลิ้งไปมาได้
ภายในก้อนจะเป็นเนื้อ หรือของแข็ง และอาจมีขนาดเท่าเดิม หดตัวเล็กจนหายไปเอง หรือมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้
2. ซีสต์ที่เต้านม
ซีสต์ที่เต้านม หรือภาษาอังกฤษ Breast Cyst หรือที่เรียกว่า “ถุงน้ำในเต้านม” แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ซีสต์น้ำ และซีสต์เนื้อ ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของต่อมเต้านมที่ถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้มีน้ำเข้าไปสะสมอยู่ในเต้านม และรวมตัวกลายเป็นถุงน้ำในที่สุด
3. มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม หรือภาษาอังกฤษ Breast Cancer เป็นชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ในเต้านม โดยเฉพาะเซลล์ท่อน้ำนม มักถูกพบในระยะลุกลาม
มะเร็งเต้านมมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นๆ
ไม่แน่ใจว่าก้อนเนื้อเราเป็นแบบไหน!?
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านมหรือรักแร้
- ขนาดหรือรูปร่างเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม
- มีรอยบุ๋มที่เต้านม คล้ายลักยิ้มหรือผิวเปลือกส้ม
- มีน้ำหรือของเหลวไหลออกจากหัวนม
- มีแผลบริเวณหัวนมแล้วรักษาไม่หาย
- เจ็บหรือปวดเต้านมโดยไม่เกี่ยวกับประจำเดือน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง [ดูวิดีโอแนะนำที่นี่]
- ตรวจอัลตราซาวด์เต้านม
- ตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมเต้านม
- ตรวจโดยแพทย์
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ก้อนเนื้อมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ จากการถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ระดับฮอร์โมนในร่างกาย ผลข้างเคียงจากการใช้ยาฮอร์โมนเสริม การตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
- เจ็บตรงก้อนเนื้อ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีประจำเดือน
- ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่เกิน 2 ซม. ขึ้นไปในคนที่อายุไม่เกิน 30 ปี หรือมีขนาดใหญ่เกิน 3 ซม. ขึ้นไป ในคนที่อายุมากกว่า 30 ปี
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
สาวๆ สามารถเข้ารับการผ่าตัดเนื้องอกที่เต้านมได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้มีสัญญาณในการผ่าตัด ถ้ารู้สึกกังวล ไม่อยากเก็บก้อนเนื้อไว้ หรือไม่อยากตรวจติดตามผลอยู่เรื่อยๆ
โดยปกติแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเนื้องอกเต้านมออกตั้งแต่ตอนที่ก้อนยังมีขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลจากการผ่าตัดขนาดใหญ่
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมใช้เทคนิคการผ่าตัดที่มีชื่อว่า “Wide Excision” ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมาทั้งก้อน พร้อมกับเลาะเนื้อเยื่อปกติที่อยู่บริเวณรอบๆ ออกเป็นวงกว้าง เลือกผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ หรือฉีดยาชาก็ได้
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมภายใต้การฉีดยาชา จะใช้ในคนที่มีก้อนเนื้องอกขนาดเล็กถึงปานกลาง ถ้าก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่มาก แพทย์จะแนะนำให้ดมยาสลบเพราะมีขั้นตอนการผ่าตัดที่ซับซ้อนมากกว่า
ขั้นตอนการผ่าตัดเนื้องอกเต้านมแบบเปิด (Wide Excision)
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์ผ่าตัดเนื้องอกที่เต้านมออกทั้งก้อน พร้อมเลาะเนื้อเยื่อที่ผิดปกติรอบๆ ออกบางส่วน
- หลังผ่าตัด แพทย์จะปิดผ้าและพลาสเตอร์ที่แผล แล้วให้กลับไปพักฟื้นต่อที่ห้องพักผู้ป่วย
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมใช้ระยะเวลาเท่าไหร่?
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมจะใช้ระยะเวลาการผ่าตัดประมาณ 50-60 นาที
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดเนื้องอกเต้านมผ่านเข็ม ด้วยเครื่องเจาะดูดชิ้นเนื้อระบบสุญญากาศ (VAE) [ดูรายละเอียด]
- ใช้เข็มสอดเข้าไปตัดก้อนเนื้อออกเป็นชิ้นเล็กๆ และดูดนำออกมาด้วยระบบสุญญากาศ ส่วนมากนิยมระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 50-60 นาที ขึ้นกับขนาดของก้อนเนื้อ
- ใช้อัลตราซาวด์เพื่อให้เห็นตำแหน่งของเนื้องอก มีความแม่นยำสูง
- แผลเล็ก 3-5 มม. ฟื้นตัวเร็ว เจ็บแผลหลังผ่าตัดน้อย กลับไปทำงานได้ภายใน 3 วัน
ผ่าตัดเนื้องอกเต้านม (Wide Excision) [ดูรายละเอียด]
- ผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมาทั้งก้อน และเลาะเนื้อเยื่อปกติที่อยู่รอบๆ ออกเป็นวงกว้าง
- เนื้องอกขนาดเล็กถึงปานกลาง อาจใช้การฉีดยาชา แต่เนื้องอกขนาดใหญ่แนะนำให้ดมยาสลบ
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 50-60 นาที ขึ้นกับขนาดของก้อนเนื้อ
- พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2 วัน ถ้าไม่มีอาการผิดปกติสามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ และกลับมาทำกิจวัตรได้ตามปกติภายใน 3 สัปดาห์
ผ่าตัดเนื้องอกเต้านม (แบบส่องกล้อง) [ดูรายละเอียด]
- เปิดแผลใต้รักแร้หรือฐานหัวนม แล้วใช้อุปกรณ์สอดเข้าไปตัดและเลาะเนื้อเยื่อรอบๆ ออกมา
- ผ่าตัดส่องกล้อง แพทย์เห็นภาพชัด เก็บรายละเอียดได้ดี
- เป็นการผ่าตัดแบบซ่อนรอยแผลเป็น แผลเล็ก เจ็บน้อย
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1-2 ชม.
- พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2 วัน ถ้าไม่มีอาการผิดปกติสามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
ก่อนผ่าตัดเนื้องอกเต้านม ต้องเข้ารับการตรวจเต้านมด้วยอัลตราซาวด์ แมมโมแกรม และการเจาะชิ้นเนื้อเต้านม เพื่อดูว่าเป็นก้อนเนื้อประเภทใด หากประเมินแล้วว่าเป็นเนื้องอกเต้านมชนิดธรรมดาก็จะนัดวันเข้ารับการผ่าตัดต่อไป
ก่อนผ่าตัดเนื้องอกเต้านม แนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- ตรวจชนิดของก้อนที่เต้านมให้เรียบร้อย
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- กรณีที่ผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ จะต้องงดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- ในวันผ่าตัด แนะนำให้สวมใส่เสื้อกระดุมหน้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อสวมใส่และถอดได้ง่าย
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดเนื้องอกเต้านมต้องพักฟื้นกี่วัน?
โดยปกติแล้ว ผู้เข้ารับการผ่าตัดเนื้องอกเต้านมจะสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันตามปกติได้ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากผ่าตัด
- พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2 วัน เพื่อสังเกตอาการ หากไม่มีอาการผิดปกติ ก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
- แพทย์จะนัดตรวจติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการฟื้นตัวของแผลผ่าตัด และโอกาสที่จะกลับมามีก้อนเนื้อที่เต้านม
หลังผ่าตัดเนื้องอกเต้านม แนะนำให้ดูแลตัวเองดังนี้
- ทำความสะอาดแผลตามที่แพทย์แนะนำ
- สามารถอาบน้ำได้ หากวัสดุที่ปิดแผลเป็นแบบกันน้ำ
- กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- งดการว่ายน้ำ และแช่อ่างอาบน้ำ อย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือจนกว่าที่แพทย์สั่ง
- ควรหมั่นนวดแขน และบริหารข้อไหล่ตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดข้อไหล่ติด
- งดออกกำลังกาย และยกสิ่งของหนัก อย่างน้อย 3 สัปดาห์
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมอาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- อาจเกิดรอยแผลเป็นจากการผ่าตัด โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติแผลเป็นคีลอยด์
- ข้อไหล่ติด ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีเนื้อเยื่อพังผืดที่เกิดจากการผ่าตัดมารัดบริเวณรักแร้ มีการดึงรั้งของกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่ หรือเกิดจากผู้เข้ารับการผ่าตัดไม่พยายามใช้แขนข้างที่ได้รับการผ่าตัดเป็นเวลานาน
- เต้านมเสียรูป หรือมีขนาดไม่เท่ากัน สามารถแก้ไขได้ด้วยการเข้ารับการทำศัลยกรรมเต้านมหลังจากที่หายดีแล้ว
สาขาศัลยศาสตร์
พญ. กรวรรณ จันทรจำนง (หมอเบนซ์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
- สาขาศัลยศาสตร์เต้านม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม
- ศึกษาเพิ่มเติม/หัตถการที่ชำนาญ : ผ่าตัดมะเร็งเต้านม National Cancer Center Japan, Tsukiji campus, ผ่าตัดมะเร็งเต้านมด้วยเทคนิคส่องกล้องแผลเล็ก Changhua Christian Hospital, Taiwan, เทคนิคการกำจัดก้อนในเต้านมด้วย Vacuum assisted, เทคนิคการกำจัดก้อนในเต้านมด้วยความเย็น Cryotherapy, เทคนิคการกำจัดก้อนในเต้านมด้วย Echotherapy, ผ่าตัดมะเร็งเต้านมด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด Severeance Hospital, Yonsei University Health System, ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่หลังการผ่าตัดมะเร็ง Changi General Hospital, Singapore