ผ่าตัดเนื้องอกเต้านม
สำหรับหินปูนหรือเนื้องอกในเต้านมที่ไม่ใช่มะเร็ง
เนื้องอกขนาดเล็กถึงปานกลาง เลือกได้ว่าจะดมยาสลบหรือฉีดยาชา
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
เนื้องอกเต้านมเจอได้บ่อยในผู้หญิง และไม่ใช่มะเร็งเต้านมเสมอไป
- เนื้องอกเต้านม ตอนสัมผัสจะกลิ้งไปมาได้ อาจเป็นเนื้อหรือของแข็ง อาจมีขนาดเท่าเดิม หดเล็กจนหายไปเอง หรือมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้ แต่จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงช้าๆ มักโตขึ้นช่วงใกล้รอบเดือนและจะเล็กลงหลักจากรอบเดือนมาแล้ว
- มะเร็งเต้านมจะโตขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาอันสั้น!!
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมให้คุณวันนี้
เนื้องอกเต้านมแบบไหนต้องผ่าตัดทันที?
- เนื้องอกมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ
- เจ็บตรงก้อนเนื้อจนส่งผลกระทบต่อการชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะช่วงมีประจำเดือน
- อายุไม่เกิน 30 ก้อนเนื้อมีขนาด 2 ซม. อายุมากกว่า 30 ปี ก้อนเนื้อมีขนาดเกิน 3 ซม.
- ถ้าตรวจเจอเนื้องอกเต้านม สามารถผ่าตัดได้ทันทีตั้งแต่ที่ขนาดเล็ก
อย่ารอจนเนื้องอกโต จนต้องตัดเต้านมทั้งเต้า!
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
เปรียบเทียบการผ่าตัดเนื้องอกเต้านมแต่ละแบบ
- ผ่าตัดเนื้องอกเต้านมแบบ Wide Excision เอาเนื้องอกออกมาทั้งก้อน แล้วเลาะเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ ออกด้วย ถ้าเนื้องอกมีขนาดเล็กถึงปานกลาง ใช้การฉีดยาชาได้ แต่ถ้ามีขนาดใหญ่แนะนำให้ดมยาสลบ [ดูรายละเอียด]
- ผ่าตัดเนื้องอกเต้านมผ่านเข็ม ด้วยเครื่องเจาะดูดชิ้นเนื้อระบบสุญญากาศ (VAE) ใช้เข็มสอดเข้าไปตัดก้อนเนื้อออกเป็นชิ้นเล็กๆ และดูดนำออกมาด้วยระบบสุญญากาศ ส่วนมากนิยมระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่ [ดูรายละเอียด]
- ผ่าตัดเนื้องอกเต้านม (แบบส่องกล้อง) เปิดแผลใต้รักแร้หรือฐานหัวนม แล้วใช้อุปกรณ์สอดเข้าไปตัดและเลาะเนื้อเยื่อรอบๆ ออกมา [ดูรายละเอียด]
รู้จักโรคนี้
เมื่อพูดถึงก้อนที่เต้านม สาวๆ หลายคนจะคิดถึงซีสต์ที่เต้านม หรือมะเร็งเต้านมเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้ว ประเภทของก้อนที่เต้านมยังมีสิ่งที่เรียกว่า “เนื้องอกเต้านม” ด้วย ซึ่งก้อนที่เต้านมทั้ง 3 ประเภท มีรายละเอียดแตกต่างกันดังนี้
1. เนื้องอกที่เต้านม
เนื้องอกที่เต้านม หรือภาษาอังกฤษ Fibroadenoma เป็นก้อนเนื้องอกชนิดธรรมดาที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง อาจพบเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้ มีลักษณะเป็นก้อนเรียบกลม หรือรูปไข่ที่มีขอบชัดเจน เวลาสัมผัสจะกลิ้งไปมาได้
ภายในก้อนจะเป็นเนื้อ หรือของแข็ง และอาจมีขนาดเท่าเดิม หดตัวเล็กจนหายไปเอง หรือมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้
2. ซีสต์ที่เต้านม
ซีสต์ที่เต้านม หรือภาษาอังกฤษ Breast Cyst หรือที่เรียกว่า “ถุงน้ำในเต้านม” แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ซีสต์น้ำ และซีสต์เนื้อ ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของต่อมเต้านมที่ถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้มีน้ำเข้าไปสะสมอยู่ในเต้านม และรวมตัวกลายเป็นถุงน้ำในที่สุด
3. มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม หรือภาษาอังกฤษ Breast Cancer เป็นชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ในเต้านม โดยเฉพาะเซลล์ท่อน้ำนม มักถูกพบในระยะลุกลาม
มะเร็งเต้านมมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นๆ
ไม่แน่ใจว่าก้อนเนื้อเราเป็นแบบไหน!?
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านมหรือรักแร้
- ขนาดหรือรูปร่างเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม
- มีรอยบุ๋มที่เต้านม คล้ายลักยิ้มหรือผิวเปลือกส้ม
- มีน้ำหรือของเหลวไหลออกจากหัวนม
- มีแผลบริเวณหัวนมแล้วรักษาไม่หาย
- เจ็บหรือปวดเต้านมโดยไม่เกี่ยวกับประจำเดือน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง (ควรทำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงหลังมีประจำเดือนวันที่ 7-10) [ดูวิดีโอแนะนำที่นี่]
- ตรวจเต้านมโดยแพทย์
- รตรวจอัลตราซาวด์เต้านม (Ultrasound)
- ตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)
- ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือที่เรียกว่า “Breast MRI” มักใช้ตรวจคัดกรองกรณีที่ผลตรวจอัลตราซาวด์และแมมโมแกรมไม่ชัดเจน
- ตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) เพื่อวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
อายุเท่าไหร่ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม?
- ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญการทุก 3 ปี
- ผู้หญิงอายุ 40-69 ปี ควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญการทุก 1 ปี และตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
- ผู้หญิงอายุ 70 ปีขึ้นไป ความถี่ในการเข้ารับการตรวจขึ้นกับการประเมินของแพทย์
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ก้อนเนื้อมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ จากการถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ระดับฮอร์โมนในร่างกาย ผลข้างเคียงจากการใช้ยาฮอร์โมนเสริม การตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
- เจ็บตรงก้อนเนื้อ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีประจำเดือน
- ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่เกิน 2 ซม. ขึ้นไปในคนที่อายุไม่เกิน 30 ปี หรือมีขนาดใหญ่เกิน 3 ซม. ขึ้นไป ในคนที่อายุมากกว่า 30 ปี
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
สาวๆ สามารถเข้ารับการผ่าตัดเนื้องอกที่เต้านมได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้มีสัญญาณในการผ่าตัด ถ้ารู้สึกกังวล ไม่อยากเก็บก้อนเนื้อไว้ หรือไม่อยากตรวจติดตามผลอยู่เรื่อยๆ
โดยปกติแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเนื้องอกเต้านมออกตั้งแต่ตอนที่ก้อนยังมีขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลจากการผ่าตัดขนาดใหญ่
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมใช้เทคนิคการผ่าตัดที่มีชื่อว่า “Wide Excision” ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมาทั้งก้อน พร้อมกับเลาะเนื้อเยื่อปกติที่อยู่บริเวณรอบๆ ออกเป็นวงกว้าง เลือกผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ หรือฉีดยาชาก็ได้
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมภายใต้การฉีดยาชา จะใช้ในคนที่มีก้อนเนื้องอกขนาดเล็กถึงปานกลาง ถ้าก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่มาก แพทย์จะแนะนำให้ดมยาสลบเพราะมีขั้นตอนการผ่าตัดที่ซับซ้อนมากกว่า
ขั้นตอนการผ่าตัดเนื้องอกเต้านมแบบเปิด (Wide Excision)
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์ผ่าตัดเนื้องอกที่เต้านมออกทั้งก้อน พร้อมเลาะเนื้อเยื่อที่ผิดปกติรอบๆ ออกบางส่วน
- หลังผ่าตัด แพทย์จะปิดผ้าและพลาสเตอร์ที่แผล แล้วให้กลับไปพักฟื้นต่อที่ห้องพักผู้ป่วย
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมใช้ระยะเวลาเท่าไหร่?
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมจะใช้ระยะเวลาการผ่าตัดประมาณ 50-60 นาที
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดเนื้องอกเต้านมผ่านเข็ม ด้วยเครื่องเจาะดูดชิ้นเนื้อระบบสุญญากาศ (VAE) [ดูรายละเอียด]
- ใช้เข็มสอดเข้าไปตัดก้อนเนื้อออกเป็นชิ้นเล็กๆ และดูดนำออกมาด้วยระบบสุญญากาศ ส่วนมากนิยมระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเฉพาะที่
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 50-60 นาที ขึ้นกับขนาดของก้อนเนื้อ
- ใช้อัลตราซาวด์เพื่อให้เห็นตำแหน่งของเนื้องอก มีความแม่นยำสูง
- แผลเล็ก 3-5 มม. ฟื้นตัวเร็ว เจ็บแผลหลังผ่าตัดน้อย กลับไปทำงานได้ภายใน 3 วัน
ผ่าตัดเนื้องอกเต้านม (Wide Excision) [ดูรายละเอียด]
- ผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมาทั้งก้อน และเลาะเนื้อเยื่อปกติที่อยู่รอบๆ ออกเป็นวงกว้าง
- เนื้องอกขนาดเล็กถึงปานกลาง อาจใช้การฉีดยาชา แต่เนื้องอกขนาดใหญ่แนะนำให้ดมยาสลบ
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 50-60 นาที ขึ้นกับขนาดของก้อนเนื้อ
- พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2 วัน ถ้าไม่มีอาการผิดปกติสามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ และกลับมาทำกิจวัตรได้ตามปกติภายใน 3 สัปดาห์
ผ่าตัดเนื้องอกเต้านม (แบบส่องกล้อง) [ดูรายละเอียด]
- เปิดแผลใต้รักแร้หรือฐานหัวนม แล้วใช้อุปกรณ์สอดเข้าไปตัดและเลาะเนื้อเยื่อรอบๆ ออกมา
- ผ่าตัดส่องกล้อง แพทย์เห็นภาพชัด เก็บรายละเอียดได้ดี
- เป็นการผ่าตัดแบบซ่อนรอยแผลเป็น แผลเล็ก เจ็บน้อย
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1-2 ชม.
- พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2 วัน ถ้าไม่มีอาการผิดปกติสามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
ก่อนผ่าตัดเนื้องอกเต้านม ต้องเข้ารับการตรวจเต้านมด้วยอัลตราซาวด์ แมมโมแกรม และการเจาะชิ้นเนื้อเต้านม เพื่อดูว่าเป็นก้อนเนื้อประเภทใด หากประเมินแล้วว่าเป็นเนื้องอกเต้านมชนิดธรรมดาก็จะนัดวันเข้ารับการผ่าตัดต่อไป
ก่อนผ่าตัดเนื้องอกเต้านม แนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- ตรวจชนิดของก้อนที่เต้านมให้เรียบร้อย
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- กรณีที่ผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ จะต้องงดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- ในวันผ่าตัด แนะนำให้สวมใส่เสื้อกระดุมหน้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อสวมใส่และถอดได้ง่าย
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดเนื้องอกเต้านมต้องพักฟื้นกี่วัน?
โดยปกติแล้ว ผู้เข้ารับการผ่าตัดเนื้องอกเต้านมจะสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันตามปกติได้ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากผ่าตัด
- พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2 วัน เพื่อสังเกตอาการ หากไม่มีอาการผิดปกติ ก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
- แพทย์จะนัดตรวจติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการฟื้นตัวของแผลผ่าตัด และโอกาสที่จะกลับมามีก้อนเนื้อที่เต้านม
หลังผ่าตัดเนื้องอกเต้านม แนะนำให้ดูแลตัวเองดังนี้
- ทำความสะอาดแผลตามที่แพทย์แนะนำ
- สามารถอาบน้ำได้ หากวัสดุที่ปิดแผลเป็นแบบกันน้ำ
- กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- งดการว่ายน้ำ และแช่อ่างอาบน้ำ อย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือจนกว่าที่แพทย์สั่ง
- ควรหมั่นนวดแขน และบริหารข้อไหล่ตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดข้อไหล่ติด
- งดออกกำลังกาย และยกสิ่งของหนัก อย่างน้อย 3 สัปดาห์
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดเนื้องอกเต้านมอาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- อาจเกิดรอยแผลเป็นจากการผ่าตัด โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติแผลเป็นคีลอยด์
- ข้อไหล่ติด ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีเนื้อเยื่อพังผืดที่เกิดจากการผ่าตัดมารัดบริเวณรักแร้ มีการดึงรั้งของกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่ หรือเกิดจากผู้เข้ารับการผ่าตัดไม่พยายามใช้แขนข้างที่ได้รับการผ่าตัดเป็นเวลานาน
- เต้านมเสียรูป หรือมีขนาดไม่เท่ากัน สามารถแก้ไขได้ด้วยการเข้ารับการทำศัลยกรรมเต้านมหลังจากที่หายดีแล้ว
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. จิตรภาณุ วงศ์ยงศิลป์ (หมอจี้)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์
- ประกาศนียบัตร การผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร การส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร สาขาโรคเต้านม
- Certification of Endoscopic and Laparoscopic Surgery, Japanese Red Cross Hospital (Japan)
- Certification of Clinical Fellowship at Department of Gastroenterological Surgery, Tokyo Women's Medical University (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการผ่าตัดโรคไส้เลื่อน (Hernia Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง (Advanced Endoscopy)
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. วรเทพ กิจทวี (หมอเชน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2548 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- 2553 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป แพทยสภา
- 2556 ประกาศนียบัตร อนุสาขาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- Certificate of Visiting Fellowship in Minimal Invasive and Endoscopic Breast Surgery, Kameda Medical Center (Japan)
- Masterclass in Endoscopic and Robotic Breast Surgery (Taiwan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. บัณฑวิช พลกล้า (หมอปี)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-
-ปี 2553: แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ปี 2558: วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
-ปี 2564: วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล