ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะออกแล้วทำบายพาส (5 วัน 4 คืน)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
กินคลีน ทำ IF ทำคีโต หรือจะออกกำลังกายยังไง น้ำหนักก็ยังไม่ลงจนท้อ และเริ่มมีโรคและอาการต่างๆ ตามมา เหนื่อยง่าย ปวดเข่า นอนกรน จนเริ่มกลัว อยากกลับมาสุขภาพดี มีแรงใช้ชีวิตอย่างมั่นใจ ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาจช่วยได้
แต่ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ลองศึกษาและปรึกษาคุณหมอดูก่อน ทีมแพทย์และ HDcare พร้อมดูแลให้ข้อมูลคุณทุกขั้นตอน
น้ำหนักเท่านี้ ผ่าตัดกระเพาะได้มั้ย คำนวณได้จากค่า BMI
- ค่า BMI มากกว่า 37.5
- ค่า BMI มากกว่า 32.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ค่า BMI มากกว่า 27.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถคุมได้
ให้แอดมินคำนวณค่า BMI ให้คุณ [คลิกที่นี่]
ผ่าตัดกระเพาะหรือใส่บอลลูนดี?
- ทั้งผ่าตัดกระเพาะและใส่บอลลูน เป็นวิธีที่ทำให้กระเพาะรับอาหารได้น้อยลงเหมือนกัน
- ใส่บอลลูน เหมาะกับคนที่หนักไม่มาก ใส่บอลลูนแค่ 12 เดือนแล้วเอาออก ข้อดีคือไม่ต้องผ่าตัด แต่หลายคนกลัวอาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงร่างกายปรับตัว และกลัวน้ำหนักขึ้นหลังเอาบอลลูนออก
- ผ่าตัดกระเพาะ ทำให้กินได้น้อยลง ลดฮอร์โมนความหิว ทำให้ไม่โหยและไม่ทรมาน อิ่มเร็วและอิ่มนาน เห็นผลดีกว่า
ผ่าตัดกระเพาะแต่ละเทคนิคต่างกันยังไง?
- ผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Sleeve Gastrectomy: SG) เอากระเพาะออกประมาณ 80% เป็นวิธีไม่ซับซ้อน มีความเสี่ยงน้อย
- ผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Roux-en-Y Gastric Bypass) เย็บกระเพาะส่วนบนให้เป็นถุงเล็กๆ แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
- ผ่าตัดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะออกแล้วทำบายพาส (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy Plus Proximal Jejunal Bypass) ผ่าตัดกระเพาะให้เล็กลง แล้วต่อลำไส้เล็กเพื่อสร้างทางเดินอาหารใหม่ ให้อาหารออกจากกระเพาะแล้วเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนกลาง ข้ามลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีการดูดซึมอาหารมากที่สุดไป
ผ่าตัดกระเพาะแล้ว น้ำหนักจะลดเท่าไหร่?
นัดคิวปรึกษาหมอเบิ้ลวันนี้!
ผ่าตัดกระเพาะ เบิกประกันได้มั้ย?
- ถ้าคุณมีประกันสุขภาพ ให้ HDcare เช็กความคุ้มครองให้ได้ ทักเราเลย!
- ถ้าไม่มีประกันสุขภาพ เลือกผ่อน 0% ด้วยบัตรเครดิตกับ HDcare ได้
รู้จักโรคนี้
โรคอ้วนหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องของน้ำหนักและขนาดตัวที่มากขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาจากโรคอ้วนคือ "โรคร่วมจากความอ้วน" ซึ่งเกิดจากไขมันที่สะสมตามอวัยวะต่างๆ และยิ่งอ้วนมากก็ยิ่งมีโอกาสเสียชีวิตได้เร็วกว่าคนทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 7-10 ปี
โรคที่เกิดจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
- ฮอร์โมนและเมตาบอลิค – ความดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดที่สอง ไขมันในเลือดสูง
- สมอง – โรคซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤต อัมพาต
- คอ – นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea; OSA)
- ระบบการหายใจ – หอบหืด เหนื่อยง่าย ความดันปอดสูง
- ระบบไหลเวียนโลหิต – โรคหัวใจ เช่น หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
- ทางเดินอาหาร – ไขมันเกาะตับ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งตับ มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้
- ทางเดินปัสสาวะ – ปัสสาวะติดเชื้อบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
- ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง – ถุงน้ำรังไข่ ประจำเดือนผิดปกติ ภาวะมีบุตรยาก มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก
- ระบบสืบพันธุ์เพศชาย – มะเร็งต่อมลูกหมาก
- กระดูกและข้อ – ปวดข้อ ข้อเสื่อมก่อนวัย โดยเฉพาะข้อรองรับน้ำหนัก เช่น หลัง สะโพก เข่า ข้อเท้า
- ผิวหนัง – สิว ขนดก ผิวหนังติดเชื้อ อักเสบ เป็นฝีบ่อย เชื้อรา มีกลิ่นตัว
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
โรคอ้วน คือ ภาวะที่มีน้ำหนักตัวหรือสัดส่วนไขมันในร่างกายมากผิดปกติ โดยใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นตัวกำหนด คำนวณค่า BMI ด้วยตัวเอง [คลิกที่นี่]
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- ปรับพฤติกรรมด้วยตัวเอง ทั้งด้านการกิน การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวัน
- ควบคุมน้ำหนักโดยใช้ยา โดยจะต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์อย่างใกล้
- ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ทำในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีข้อบ่งชี้ และแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถตัดกระเพาะได้
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
น้ำหนักเท่านี้ ผ่าตัดกระเพาะได้มั้ย คำนวณได้จากค่า BMI
- ค่า BMI มากกว่า 37.5
- ค่า BMI มากกว่า 32.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ค่า BMI มากกว่า 27.5 ร่วมกับโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถคุมได้
รู้จักการผ่าตัดนี้
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟพลัสบายพาส ชื่อภาษาอังกฤษ Laparoscopic Sleeve Gastrectomy Plus Proximal Jejunal Bypass เป็นเทคนิคที่รวมประโยชน์ของการผ่าตัดแบบสลีฟ และผ่าตัดแบบบายพาสเข้าไว้ด้วยกัน ช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าตัดกระเพาะแบบอื่นๆ
ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมคืออะไร?
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบาสพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม คือการผ่าตัดส่วนกระพุ้งกระเพาะ (Fundus) ออก เพื่อทำให้ขนาดกระเพาะเล็กลง จากนั้นตัด-ต่อลำไส้เล็กเพื่อสร้างทางเดินอาหารใหม่ ให้อาหารออกจากกระเพาะแล้วเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนกลาง ข้ามลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีการดูดซึมอาหารมากที่สุดไป
การผ่าตัดนี้มักทำในโรงพยาบาล ระงับความรู้สึกระหว่างผ่าตัดด้วยยาสลบ (General Anesthesia)
ขั้นตอนการผ่าตัด
- หลังจากแพทย์วางยาสลบ (General anesthesia) ให้คนไข้ และยาสลบออกฤทธิ์แล้ว แพทย์จะเปิดแผลด้วยการเจาะรูเล็กๆ 5 รู ที่หน้าท้องคนไข้ ตามด้วยใส่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปเพื่อให้ช่องท้องเป่งออก เห็นกระเพาะอาหาร เนื้อเยื่อ และอวัยวะภายในอย่างชัดเจน
- จากนั้นแพทย์จะสอดอุปกรณ์ที่มีกล้องติดอยู่ที่ปลาย และเครื่องมืออื่นๆ เช่น เครื่องมือปกป้องตับ เครื่องมือผ่าตัด ผ่านรูที่หน้าท้องเข้าไปในช่องท้อง แล้วตัดกระเพาะอาหารส่วนกระพุ้ง ซึ่งมีความจุประมาณ 85% ออก จากนั้นทำการบายพาสลำไส้เล็กเจจูนัมส่วนต้นความยาวประมาณ 250 ซม. แล้วจึงนำมาต่อกับลำไส้เล็กส่วนที่ห่างจากจุดรอยต่อของลำไส้เล็กดูโอดีนัมและเจจูนัม 30 ซม.
- เมื่อผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะเป่าลมเข้าไปในกระเพาะอาหารและลำไส้ของคนไข้ รวมทั้งใช้กล้องส่องตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีรูรั่วจากการตัดเย็บ หลังสำรวจความเรียบร้อยเป็นขั้นตอนสุดท้ายเสร็จสิ้นก็จะดึงเครื่องมือและกล้องออก ตามด้วยเย็บปิดแผล
หลังผ่าตัดเสร็จเรียบร้อย แพทย์จะปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ยาแผ่นเล็กและให้กลับบ้านได้
ผ่าตัดลดใช้เวลาเท่าไหร่ ต้องพักฟื้นกี่วัน?
โดยทั่วไปแล้วใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-4 ชั่วโมง พักฟื้น 2-3 วัน
การผ่าตัดนี้เหมาะกับใคร?
จุดประสงค์ของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ มักเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินอย่างมาก หรือมีภาวะสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะน้ำหนักเกิน โดยไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยวิธีทั่วไปอย่างควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายได้
มักพิจารณาจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ โดยสำหรับชาวเอเชียจะใช้เกณฑ์ดังนี้
- ค่า BMI มากกว่า 37.5
- ค่า BMI มากกว่า 32.5 ร่วมกับมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ค่า BMI มากกว่า 27.5 ร่วมกับมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่สามารถคุมได้
ผู้รับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ ควรมีอายุอยู่ระหว่าง 16-65 ปี กรณีอายุน้อยหรือมากกว่านั้น ต้องคุยกับแพทย์ถึงความจำเป็นและความเสี่ยงของการผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้นได้ ที่สำคัญคือ เพื่อให้การผ่าตัดเสร็จสิ้นอย่างปลอดภัย และมีผลลัพธ์ที่ดี ลดน้ำหนักได้จริง คนไข้ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าตัด และมีความสามารถที่จะดูแลตัวเองหลังผ่าตัดอย่างมีประสิทธิภาพได้
ข้อดีของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม
เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออก หรือผ่าตัดกระเพาะแล้วทำบายพาส การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม เป็นวิธีที่ช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่า ให้ผลดีกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า
เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการผ่าตัดอีกแบบที่เรียกว่า Duodenal Switch การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมยังมีโอกาสเกิดความซับซ้อนระหว่างและหลังผ่าตัดน้อยกว่า รวมถึงส่วนของลำไส้เล็กที่เหลือยาวว่าจะช่วยได้สามารถดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุได้มากกว่า ทำให้โอกาสขาดวิตามินและสารอาหารลดน้อยกว่าด้วย
ถ้าคนไข้เคยรับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ แบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออก มาก่อนแล้ว แต่ผลการลดน้ำหนักยังไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือน้ำหนักกลับมาเพิ่มอีกเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี สามารถรับการผ่าตัดทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมต่อได้
ผลลัพธ์ของการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม
มีผลการศึกษาที่สรุปว่า การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม ทำให้คนไข้ลดน้ำหนักได้มากกว่าการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออก และผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบผ่าตัดกระเพาะส่วนบนมาต่อกับลำไส้เล็ก โดยอาจลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 89-90% หลังผ่าตัด
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟ เพื่อลดน้ำหนัก
- ตัดเอากระพุ้งกระเพาะอาหาร (Fundus) ซึ่งเป็นที่ผลิตฮอร์โมนความหิวออก เพื่อให้กระเพาะเล็กลงและหิวน้อยลง
- เปิดแผลเล็กๆ เพื่อสอดกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปผ่าเอากระเพาะออกประมาณ 80%
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 2 วัน
- ซับซ้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าลดกระเพาะเทคนิคอื่น
- ส่วนใหญ่ลดน้ำหนักได้ 40-50% ภายใน 2 ปี
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบบายพาส เพื่อลดน้ำหนัก [คลิกดูรายละเอียด]
- เย็บกระเพาะส่วนบนให้เป็นถุงขนาดเล็ก แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2-3 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 1-2 วัน
- ส่วนใหญ่ลดน้ำหนักได้ 70% ภายใน 2 ปี
ผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบสลีฟพลัสบายพาส เพื่อลดน้ำหนัก [คลิกดูรายละเอียด]
- ตัดเอากระพุ้งกระเพาะอาหาร (Fundus) ซึ่งเป็นที่ผลิตฮอร์โมนความหิวออก แล้วเย็บเชื่อมกับลําไส้เล็ก เพื่อเปลี่ยนทางเดินอาหาร วิธีนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ
- เป็นเทคนิคที่รวมการตัดกระเพาะแบบสลีฟ และแบบบายพาสเข้าไว้ด้วยกัน
- เหมาะกับคนที่มี BMI มากกว่า 37.5 หรือมากกว่า 27.5 และมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 3-4 ชม. และพักฟื้นที่ รพ. 2-3 วัน
- ช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่าเทคนิคอื่น ให้ผลดีกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า
- อาจลดน้ำหนักได้ 80-90% ภายใน 2 ปี
ใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร [คลิกดูรายละเอียด]
- ใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหาร แล้วใส่น้ำเกลือเข้าไปในบอลลูนให้ขยายตัว เพื่อลดพื้นที่ในกระเพาะ ทำให้รู้สึกอิ่มตลอดเวลา
- กระเพาะอาหารมีขนาดเท่าเดิม หลังเอาบอลลูนออก ถ้าไม่ปรับพฤติกรรมน้ำหนักอาจเพิ่มขึ้นอีกได้
- เหมาะกับคนที่มี BMI เกิน 30 (หากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หยุดหายใจขณะหลับ)
- ใช้เวลาทำประมาณ 15-20 นาที และพักฟื้นที่ รพ. 1 วัน
- ใส่บอลลูน 6-12 เดือน ลดน้ำหนักได้ประมาณ 20 กก. ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ตรวจร่างกายโดยละเอียด เช่น ตรวจเลือด อัลตราซาวด์ เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสมรรถภาพปอด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง ในบางคน แพทย์อาจพิจารณาให้ส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารก่อน
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 7-14 วันก่อนผ่าตัด
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- ก่อนผ่าตัด 8 ชั่วโมง พยาบาลจะฉีดยาเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัด ลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม ควรปฏิบัติดังนี้
- หายใจเข้าลึกๆ 5-10 ครั้ง แล้วกลั้นไว้ระยะหนึ่ง ทุกๆ ชั่วโมง เพื่อเป็นการบริหารปอดและทรวงอก
- ใส่ปลอกสวมขาป้องกันภาวะแข็งตัวในเส้นเลือดดำตามที่แพทย์แนะนำ และไม่ควรนอนอย่างเดียว ควรลุกนั่งบ้าง ถ้าไม่มีอาการปวดศีรษะให้ขยับและเดินไปรอบๆ เตียงหรือพยายามฝึกทำกิจกรรมตามปกติโดยเร็วที่สุดเพื่อปรับปรุงการไหลเวียนโลหิตและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
- ลุกขึ้นเดินวันละ 5-6 ครั้งเพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้
- หมั่นสังเกตอาการของตัวเอง เช่น อาการปวด คลื่นไส้อาเจียน ปวดบิดในท้อง ท้องอืด หรือความผิดปกติของแผลผ่าตัด เช่น บวม แดง ร้อน หากมีอาการเหล่านี้ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
- ควรรับประทานอาหารตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เช่น หลังผ่าตัดสัปดาห์แรกอาจรับประทานได้เฉพาะอาหารเหลว ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อย อย่างซุปใส น้ำผลไม้ที่ผ่านการกรองกากใย และไม่ใส่น้ำตาล โยเกิร์ต เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 3 หลังผ่าตัดจึงค่อยรับประทานอาหารชิ้นเล็กๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก โดยดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหารประมาณ 15-30 นาที เพื่อเตรียมปรับสู่การรับประทานอาหารปกติ โดยควรเริ่มจากรับประทานปริมาณน้อย เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน แล้วค่อยปรับเป็นรับประทานปกติ
- ด้านการออกกำลังกาย สามารถเริ่มออกกำลังเบาๆ ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 หลังผ่าตัด และงดยกของหนักเป็นระยะเวลา 3 เดือน
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม มีความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้
- เกิดการรั่วซึมของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
- เกิดโพรงฝีในช่องท้อง (Intraabdominal Abscess) สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้และกระเพาะอาหาร ซึ่งหากคนไข้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือโรคเบาหวาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้มากขึ้น
- เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis: DVT) ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เกิดจากการที่คนไข้ไม่ได้ขยับตัวเป็นเวลานานขณะผ่าตัด หรือขณะผ่ามีการบาดเจ็บของเส้นเลือด ทำให้ร่างกายสร้างลิ่มเลือดขึ้นมา ลิ่มเลือดนี้สามารถหลุดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์จะป้องกันไว้ก่อนด้วยการใส่ปลอกกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่ขาทั้งสองข้างของคนไข้
- เลือดออกหลังผ่าตัด
- ติดเชื้อ
- เกิดกรดไหลย้อน ซึ่งมาจากขนาดกระเพาะอาหารที่เล็กแคบลง ทำให้แรงดันในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น กรดในกระเพาะอาหารจึงมีโอกาสไหลท้นไปยังหลอดอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นโรคกรดไหลย้อนอยู่เดิม จะมีโอกาสเป็นกรดไหลย้อนซ้ำเพิ่มขึ้นได้
- เกิดภาวะทางเดินอาหารอุดกั้น สามารถเกิดได้ทันทีหลังผ่าตัด เนื่องจากแผลผ่าตัดที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ลำไส้บวมขึ้น หรืออาจเกิดหลังจากผ่าตัดไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากร่างกายสร้างเนื้อเยื่อพังผืดขึ้นมาเพื่อซ่อมแซมแผลที่กระเพาะอาหารมากเกินไป
- มีภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง เนื่องจากพื้นที่ดูดซึมสารอาหารมีน้อยลง ดังนั้นหลังผ่าตัดคนไข้จึงต้องปรับพฤติกรรมการกินและดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ เนื่องจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะแบบตัดกระเพาะส่วนใหญ่ออกแล้วทำบายพาสลำไส้เล็กส่วนเจจูนัมเป็นเทคนิคใหม่ จึงทำให้ยังไม่มีการศึกษาผลข้างเคียงในระยะยาวเกิน 5 ปี ดังนั้นก่อนรับการผ่าตัดจึงควรปรึกษาแพทย์และสอบถามถึงความกังวลต่างๆ ให้ครบถ้วน
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. สุทธิเกียรติ จรดล (หมอเบิ้ล)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศัลยศาสตร์เฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยศาสตร์เฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงและผ่าตัดโรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- ผู้ก่อตั้งและดำเนินการคลินิกรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี