ฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดแดงคาโรติดที่คอ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
การฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ คาโรติด (Cerebral Angiogram) ตรวจความผิดปกติได้หลายโรค เช่น
- โรคหลอดเลือดสมอง
- หลอดเลือดสมองแตก
- หลอดเลือดสมองอุดตัน
- หลอดเลือดสมองโป่งพอง
- หลอดเลือดสมองเชื่อมต่อกันอย่างผิดปกติ
- เนื้องอกในสมอง
ถ้ามีความผิดปกติและต้องฉีดสี แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
การฉีดสีไม่น่ากลัวอย่างที่คิด!
- มีพยาบาลคอยดูแลตลอดจนกว่าจะตรวจเสร็จ
- แพทย์จะตรวจให้แน่ใจก่อนว่าร่างกายพร้อมกับการฉีดสี และแนะนำการเตรียมตัวอย่างดีก่อนตรวจ
ไม่ต้องกังวล ถ้าต้องไปโรงพยาบาลคนเดียว
ผู้ช่วยจาก HDcare จะคอยดูแลอยู่ด้วยทุกขั้นตอน
รู้จักโรคนี้
การฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ แคโรติด (Cerebral angiogram) เป็นวิธีมาตรฐานเพื่อตรวจการไหลเวียนของหลอดบริเวณคอและในสมอง โดยจะใช้เทคนิคฉีดสารทึบรังสีเข้าสู่หลอดเลือดแดง แล้วถ่ายภาพภายในศีรษะผู้รับการตรวจด้วยรังสีเอกซ์ (X-ray) ทำให้ได้ภาพการไหลเวียนของเลือด ซึ่งจะนำไปวินิจฉัยความผิดปกติเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองได้ต่อไป
สัญญาณที่ต้องตรวจ
โดยมากแพทย์มักพิจารณาให้ฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ คาโรติด ในผู้ที่มีอาการให้สงสัยว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เช่นผู้ที่มีอาการต่อไปนี้
- ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
- แขนขาชาหรืออ่อนแรงเฉียบพลัน
- จู่ๆ กลับพูดไม่เป็นภาษา สับสน หรือฟังไม่เข้าใจ
- ตามองเห็นผิดปกติ เช่น เห็นภาพซ้อน (อาจเกิดที่ตาข้างเดียวหรือเป็นพร้อมกันทั้งสองข้าง)
- มีอาการกลืนลำบาก
- ปวดศีรษะรุนแรงโดยไม่รู้สาเหตุ
หรแพทย์อาจสั่งฉีดสีหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ คาโรติด ในคนไข้บางราย หลังจากตรวจสมองด้วยเทคนิคอื่นๆ เช่น ตรวจ MRI ตรวจ CT Scan มาแล้ว ถ้าพบว่าผลการตรวจก่อนหน้ายังไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัยโรค
รู้จักการผ่าตัดนี้
การฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ คาโรติด (Cerebral Angiogram) มักทำในโรงพยาบาลหรือศูนย์รังสีวินิจฉัย ในห้องที่มีเตียงนอน มีอุปกรณ์ถ่ายภาพเอกซเรย์ และมีจอแสดงภาพเอกซเรย์ โดยระหว่างการตรวจจะมีพยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
ขั้นตอนการฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ คาโรติด
- แพทย์ทำความสะอาดจุดที่จะสอดสายสวน ส่วนมากจะทำที่ขาหนีบ ข้อมือ หรือข้อพับแขน และมักจะทำทางด้านขวามากกว่า
- แพทย์จะระงับความรู้สึกเฉพาะจุดด้วยยาชา แล้วสอดสายสวนเข้าไปยังหลอดเลือดแดงคาโรติด
- เมื่อสายเข้าไปในจุดที่ถูกต้อง แพทย์จะฉีดสารทึบรังสี หรือที่เรียกว่า ฉีดสี เข้าไปยังหลอดเลือดสมอง
- ภาพจะปรากฎบนจอเอกซเรย์และถูกบันทึกเอาไว้ในขณะที่ฉีดสี
- หลังฉีดสี แนะนำให้ดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อขับสารทึบรังสีออกจากร่างกายทางปัสสาวะให้เร็วที่สุด
การฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ แคโรติด ใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านี้ได้ ถ้าต้องเตรียมตัวผู้รับการตรวจมากเป็นพิเศษ หรือกรณีเกิดความซับซ้อนระหว่างตรวจขึ้น
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
โดยทั่วไป ก่อนฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ แคโรติด แพทย์มักทำการตรวจร่างกายและซักประวัติผู้จะรับการตรวจ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ แคโรติด ได้อย่างปลอดภัย
สิ่งที่แพทย์มักถาม เช่น
- อาการผิดปกติที่เป็นอยู่ เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค
- ยาหรืออาหารเสริมที่กำลังรับประทาน เพราะอาจมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด (โดยเฉพาะยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteriodal anti-inflammatory drugs: NSAIDs)
- ประวัติการเจ็บป่วย เช่น เบาหวาน โรคไต เพราะเกี่ยวข้องกับการขับสารทึบรังสีออกจากร่างกาย
- ประวัติการแพ้ยา สารประกอบไอโอดีน หรืออาหารทะเล
- ประวัติการตั้งครรภ์
บางกรณี แพทย์อาจสั่งตรวจเพิ่มเติม เช่น เจาะเลือดแล้วนำไปเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจดูการแข็งตัวของเลือด ดูการทำงานของไต
นอกจากนี้ ก่อนตรวจฉีดสี ผู้รับการตรวจอาจต้องงดอาหารและเครื่องดื่ม 4-8 ชั่วโมง เพื่อเตรียมให้สารน้ำทางหลอดเลือด
การดูแลหลังผ่าตัด
ขณะยังอยู่ในห้องพักฟื้น ผู้รับการฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ แคโรติด ควรเหยืยดขา (หรือแขน) ข้างที่ถูกใส่อุปกรณ์ฉีดสี ให้เหยียดตรงไว้ก่อน
เมื่อกลับบ้านไปแล้วสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับสารทึบรังสีออกจากร่างกายโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ก่อนจะประกอบกิจวัตรประจำวันอื่นๆ ตามปกติ ควรพักผ่อนอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
ถ้าเป็นสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรรอประมาณ 24 ชั่วโมงหลังตรวจฉีดสี จึงค่อยให้นมได้
อาการที่ควรเฝ้าสังเกตตัวเองไว้ ถ้าเป็นขึ้นมาควรติดต่อแพทย์ทันที เพราะอาจบ่งบอกถึงภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ได้แก่
- รู้สึกกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง
- ขาหรือแขนชา
- พูดไม่เป็นคำระหว่างหรือหลังตรวจ
- การมองเห็นผิดปกติ ระหว่างหรือหลังตรวจ
- วิงเวียนศีรษะ
- แน่นหน้าอก
- หายใจไม่ออก
- เกิดผื่นที่ผิวหนัง
- บริเวณที่ใส่สายสวนมีอาการบวมแดง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การฉีดสีตรวจหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดคอ แคโรติด ถือเป็นการตรวจมาตรฐานที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็เหมือนการทำหัตถการทุกชนิดที่สามารถเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ เช่น
- หลอดเลือดแดงบาดเจ็บจากขดลวดนำหรือท่อพลาสติก ซึ่งอาจส่งผลให้หลอดเลือดบริเวณขาหรือมืออุดตัน หรือทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นในหลอดเลือดแดง ส่งผลให้กลายเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (โอกาสต่ำกว่า 1%)
- แพ้สารทึบรังสี
- ติดเชื้อ
- สารทึบรังสีส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้ไตเสียหาย (อาจเกิดได้กับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือเป็นโรคไตอยู่ก่อน)
ผลข้างเคียงเหล่านี้พบได้น้อย โดยเฉพาะเมื่อตรวจโดยผู้ชำนาญการ มีประสบการณ์ และเตรียมตัวก่อนตรวจเป็นอย่างดี
ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง
นพ. จักรี ธัญยนพพร (หมอเบนซ์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-2547 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (เกียรตินิยมอันดับ 2)
-2549 ประกาศนียบัตร วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาศัลยศาสตร์
-2553 สาขาประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
-2557 สาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ระบบประสาทผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์หลอดเลือดสมอง ตัดต่อหลอดเลือดสมอง
- รังสีร่วมรักษาระบบประสาท สำหรับผู้ป่วย stroke หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน หลอดเลือดสมองโป่งพอง หลอดเลือดสมองเชื่อมต่อผิดปกติ