ผ่าตัดเนื้องอกกระดูกและระบบประสาทไขสันหลัง
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ไม่ผ่าตัดเนื้องอกไขสันหลัง เสี่ยงขยับร่างกายไม่ได้ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาต และกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง
- ถ้าก้อนเนื้องอกเป็นมะเร็ง โอกาสที่จะลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ สูง อันตรายถึงชีวิต!
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
แพทย์จะเป็นผู้ประเมินเทคนิควิธีการผ่าตัด โดยพิจารณาจากความผิดปกติของโรคที่ตรวจเจอในคนไข้แต่ละคน
แนะนำตรวจเช็กสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี เพื่อคัดกรองความผิดปกติแต่เนิ่นๆ
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจสุขภาพให้คุณวันนี้
ผ่าตัดกับ HDcare มีแพทย์เฉพาะทางและผู้ช่วยส่วนตัวดูแลอย่างใกล้ชิด
- อยู่ด้วยกันเหมือนญาติ คอยให้คำปรึกษาทุกขั้นตอน
- ถ้ายังไม่ตัดสินใจก็ไม่เป็นไร ปรึกษาฟรีทางออนไลน์ก่อนได้
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักโรคนี้
เนื้องอกไขสันหลังคืออะไร?
เนื้องอกไขสันหลัง (Spinal Cord Tumors) คือ ก้อนเนื้องอกที่เกิดจากการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณไขสันหลัง รวมถึงโครงสร้างของระบบประสาทส่วนกลางซึ่งได้แก่ เนื้อไขสันหลัง รากประสาท เยื่อหุ้มไขสันหลัง
เนื้องอกไขสันหลังสามารถแบ่งชนิดได้ตามหลายหลากเกณฑ์ โดยหากแบ่งตามกายวิภาค จะแบ่งออกได้ 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่
- เนื้องอกที่อยู่ในเนื้อไขสันหลัง (Intramedullary Spinal Cord Tumors)
- เนื้องอกที่อยู่นอกเนื้อไขสันหลัง (Extramedullary Spinal Cord Tumors) สามารถแบ่งชนิดย่อยได้อีก คือ
- เนื้องอกที่อยู่นอกเนื้อไขสันหลัง แต่อยู่ในเยื่อหุ้มไขสันหลังชั้นนอก (Intradural-Extramedullary Spinal Cord Tumors)
- เนื้องอกที่อยู่นอกเนื้อไขสันหลังที่เป็นเชื้อมะเร็งซึ่งแพร่กระจายมาจากต้นกำเนิดอื่น เช่น จากปอด จากเต้านม จากตับ จากไต จากต่อมลูกหมาก
นอกจากนี้เนื้องอกไขสันหลัง ยังแบ่งออกได้ตามชนิดของเนื้องอก ซึ่งได้แก่
- เนื้องอกชนิดดี หรือเนื้องอกที่ไม่ลุกลามเป็นเชื้อมะเร็ง หากผ่าตัดนำออก อาการของโรคก็จะหายขาดเป็นปกติ
- เนื้องอกชนิดเชื้อมะเร็ง จัดเป็นเนื้องอกที่ต้องผ่าตัดนำออกให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะลุกลามทำให้ระบบประสาทไขสันหลังเสียหายกว่าเดิม หรือกระจายเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะใกล้เคียง นอกจากนี้ยังเป็นชนิดของเนื้องอกมีโอกาสเติบโตขึ้นได้ใหม่หลังผ่าตัดอีกครั้ง ในผู้เข้ารับบริการบางราย แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการรักษาด้วยการฉายแสงหรือทำเคมีบำบัดต่อหลังผ่าตัดอีกสักระยะ เพื่อให้ก้อนมะเร็งหยุดเจริญเติบโต
เนื้องอกไขสันหลังเป็นชนิดของเนื้องอกที่พบได้ไม่บ่อยนัก โดยส่วนมากพบในผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบได้มากในกลุ่มผู้ใหญ่วัยกลางคนมากกว่าวัยเด็ก
อาการเมื่อมีเนื้องอกไขสันหลัง
เนื้องอกไขสันหลังมักจะทำให้เกิดอาการผิดปกติได้ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ คอ กึ่งกลางลำตัว และเอว โดยอาการที่สามารถสังเกตได้ ได้แก่
- ปวดต้นคอ
- ปวดคอร้าวลงแขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
- ชาตามมือ แขน อาจลามลงขาด้วย
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ปวดแน่นตามชายโครง
- ชาตามลำตัว หรือตรงส่วนเอว
- ปวดเอวร้าวลงขา
- ปวดหลัง และมักปวดหนักมากขึ้นเวลานอน ไอ จาม เบ่งอัจจาระ
- มีปัญหาด้านการทรงตัว
- กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
เนื้องอกกระดูกและระบบประสาทไขสันหลัง มักจะทำให้เกิดอาการผิดปกติได้ 3 ตำแหน่ง ได้แก่ คอ กึ่งกลางลำตัว และเอว โดยอาการที่สามารถสังเกตได้ ได้แก่
- ปวดต้นคอ
- ปวดคอร้าวลงแขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
- ชาตามมือ แขน อาจลามลงขาด้วย
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ปวดแน่นตามชายโครง
- ชาตามลำตัว หรือตรงส่วนเอว
- ปวดเอวร้าวลงขา
- ปวดหลัง และมักปวดหนักมากขึ้นเวลานอน ไอ จาม เบ่งอัจจาระ
- มีปัญหาด้านการทรงตัว
- กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจร่างกายอย่างละเอียด
- ตรวจทางระบบประสาท เช่น ตรวจระดับการทรงตัว ตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ตรวจระดับความรู้สึก
- ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือการทำ CT Scan
- ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging)
- ตรวจวินิจฉัยพิเศษทางรังสี (Myelography) หรือการเจาะน้ำไขสันหลังและฉีดสารทึบแสง จากนั้นถ่ายภาพเอกซเรย์บริเวณพื้นที่ระบบไขสันหลัง
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดเนื้องอกกระดูกและระบบประสาทไขสันหลัง หรือการผ่าตัดเนื้องอกไขสันหลัง คือ การผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้องอกที่เกิดบริเวณไขสันหลังและไปกดเบียดระบบประสาทไขสันหลังออก ในคนไข้บางรายแพทย์จะผ่าตัดเอาเนื้องอกไขสันหลังออกทั้งหมดเพื่อให้อาการผิดปกติหายขาด และในบางคนอาจต้องรับการทำเคมีบำบัดร่วมกับการฉายแสง ขึ้นอยู่กับการประเมินจากแพทย์
นอกจากนี้การผ่าตัดเนื้องอกไขสันหลังยังนิยมใช้เพื่อเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อจากเนื้องอกไขสันหลังไปส่งตรวจหาความผิดปกติเพิ่ม เพื่อให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
สำหรับการผ่าตัดเนื้องอกไขสันหลัง แพทย์จะเป็นผู้ประเมินเทคนิควิธีการผ่าตัด โดยพิจารณาจากความผิดปกติของโรคที่ตรวจเจอในคนไข้แต่ละคน โดยการผ่าตัดมีดังนี้
การผ่าตัดแนวแกนกระดูกสันหลัง (Posterolateral resection)
แพทย์จะเปิดแผลที่กลางหลัง เพื่อเข้าไปกำจัดเนื้องอกที่กระดูกสันหลังและเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกสันหลัง วิธีนี้ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน และลดระยะเวลาในการฟื้นตัว และช่วยให้คนไข้เข้าสู่ขั้นตอนการรักษาอื่นๆ ได้เร็วขึ้น
การผ่าตัดกระดูกสันหลังทั้งส่วน (En bloc resection)
แพทย์จะผ่าตัดเนื้องอกออกเป็นชิ้นเดียว ใช้กับเนื้องอกที่เกิดกับกระดูกนั้นๆ เช่น Giant cell tumor (GCT) เป็นเนื้องอกกระดูกชนิดไม่ร้าย หรือ Chordoma มะเร็งกระดูกชนิดหนึ่ง
การผ่าตัดเนื้องอกกระดูกสันหลังระยะลุกลาม (Metastatic Spine Tumor Surgery หรือเนื้องอกในกระดูกสันหลังที่เริ่มต้นที่อื่นในร่างกาย) การผ่าตัดจะช่วยให้กระดูกสันหลังกลับมามั่นคง ลดความเจ็บปวด และป้องกันการเป็นอัมพาต
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา แจ้งรายการยาประจำตัว วิตามินเสริม อาหารเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพทุกชนิดกับแพทย์ล่วงหน้า
- งดยาและวิตามินเสริมตามรายการที่แพทย์สั่งล่วงหน้า เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกร็ดเลือด
- ตรวจสุขภาพตามรายการที่แพทย์แนะนำเสียก่อน เช่น ตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเอกซเรย์ปอด
- งดทาเล็บ งดใส่คอนแทคเลนส์ งดใส่แว่นตา และงดใส่ฟันปลอมก่อนเดินทางมาผ่าตัด
- ถอดเครื่องประดับและของมีค่าทุกชนิดเก็บไว้ที่บ้านก่อน เพื่อป้องกันการสูญหาย
- งดน้ำและงดอาหารล่วงหน้า 6-8 ชั่วโมง
- งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
- สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายและถอดเปลี่ยนได้ง่าย
- ลางานล่วงหน้าตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
- ผู้เข้ารับบริการอาจต้องมานอนโรงพยาบาลล่วงหน้าก่อน 1 คืน
- พาญาติมาด้วยเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในระหว่างพักฟื้น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านสมรรถภาพร่างกายอย่างรุนแรง
- แพทย์อาจให้ผู้เข้ารับบริการอาบน้ำด้วยสบู่ฆ่าเชื้อสำหรับผ่าตัดก่อนเดินทางเข้าห้องผ่าตัด
- พูดคุยกับแพทย์และนักกายภาพบำบัดเกี่ยวกับแนวทางการทำกายภาพบำบัด รวมถึงการสวมใส่เครื่องพยุงตัวหลังผ่าตัด ในส่วนนี้ญาติหรือผู้ดูแลอาจเข้ารับฟังข้อมูลส่วนที่จำเป็นด้วย เพื่อให้สามารถดูแลผู้เข้ารับบริการได้อย่างเหมาะสม
- ญาติผู้เข้ารับบริการควรจัดเตรียมสถานที่สำหรับพักฟื้นที่บ้านอย่างเหมาะสม ไม่เสี่ยงต่อการหกล้มหรือประสบอุบัติเหตุ เช่น ติดราวจับในห้องน้ำ เก็บเฟอร์นิเจอร์หรือของใช้ที่ง่ายต่อการสะดุดลื่น เปลี่ยนห้องพักให้อยู่ที่บ้านชั้นล่างเพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดชั่วคราว
- แพทย์อาจให้คงสายสวนปัสสาวะไว้ล่วงหน้าก่อนเข้าห้องผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
- แพทย์จะยังคงสายระบายของเหลวที่แผล และสายสวนปัสสาวะไว้ก่อนประมาณ 1-3 วัน
- เมื่อแพทย์อนุญาตให้ลุกจากเตียง ให้หมั่นลุกขึ้นเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายเบาๆ อยู่เป็นประจำ เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
- หมั่นพลิกตะแคงตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ
- พักผ่อนให้มากๆ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก
- กินอาหารที่มีประโยชน์ มีแคลเซียมและโปรตีนสูง เพื่อกระตุ้นให้แผลและสมรรถภาพร่างกายกลับมาแข็งแรงโดยเร็ว
- ในผู้เข้ารับบริการบางราย แพทย์อาจแนะนำให้สวมใส่เครื่องพยุงหลังหรือพยุงเอวเอาไว้ชั่วคราว ซึ่งจะให้ใส่เฉพาะเวลาลุก นั่ง ยืน หรือเดิน และถอดออกเวลานอน
- ทำกายภาพบำบัดและทำกายบริหารตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ
- อย่าให้แผลโดนน้ำหรือเปียกชื้นเป็นเวลา 10-14 วัน หรือตามคำแนะนำของแพทย์
- งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ เพื่อกระตุ้นให้แผลหายไวขึ้น และควรงดเป็นการถาวรเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงยืนยาว
- งดยกของหนัก งดออกกำลังกายหนักๆ หรือการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากอย่างน้อย 1-2 เดือน
- งดมีเพศสัมพันธ์ งดทำกิจกรรมที่ทำให้ต้องต้องก้ม บิดเอว หรืองอตัวอย่างน้อย 1-2 เดือน
- งดการนั่งนานๆ เกิน 20-30 นาที หากจำเป็นต้องนั่งทำงานอยู่กับที่นานๆ ให้ตั้งนาฬิกาจับเวลาเพื่อหมั่นลุกขึ้นเดินเคลื่อนไหวร่างกายเป็นระยะๆ
- งดขับรถเองชั่วคราว โดยปกติเมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 6 หลังจากผ่าตัด แพทย์จะอนุญาตให้เริ่มขับรถเองได้
- กลับมาตรวจดูแผลกับแพทย์ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 2-3 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- แพทย์อาจนัดหมายให้กลับมาตรวจร่างกายเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของเนื้องอกที่ไขสันหลังเป็นระยะๆ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยหลังการผ่าตัดเนื้องอกกระดูกสันหลัง ได้แก่
- อาการเจ็บระบมแผล แต่โดยส่วนมากจะเป็นเพียงชั่วคราว 1-2 วัน แล้วอาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง
- ภาวะแผลติดเชื้อ ทำให้มีไข้สูง มีอาการเลือดหรือของเหลวไหลออกจากแผล แผลบวมแดง หรือรู้สึกร้อนที่บริเวณแผล
- ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
- ภาวะน้ำไขสันหลังรั่ว
- ภาวะเลือดออกที่เยื่อหุ้มสมองส่วนนอก
- ภาวะแผลกดทับ
ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง
นพ. จักรี ธัญยนพพร (หมอเบนซ์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-2547 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (เกียรตินิยมอันดับ 2)
-2549 ประกาศนียบัตร วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาศัลยศาสตร์
-2553 สาขาประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
-2557 สาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ระบบประสาทผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์หลอดเลือดสมอง ตัดต่อหลอดเลือดสมอง
- รังสีร่วมรักษาระบบประสาท สำหรับผู้ป่วย stroke หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน หลอดเลือดสมองโป่งพอง หลอดเลือดสมองเชื่อมต่อผิดปกติ