ผ่าตัดรักษาโรคใบหน้ากระตุก
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก เป็นแล้วเสียบุคลิก เข้าสังคมยาก รักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด
- โรคนี้เกิดได้กับทุกวัย แต่เจอในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
- อาจเกิดจากหลอดเลือดกดทับเส้นประสาทบนใบหน้า หรือเส้นประสาทใบหน้าบาดเจ็บ หรือมีเนื้องอกกดทับเส้นประสาท
แนะนำตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองความเสี่ยงแต่เนิ่นๆ
ปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
- ฉีดโบทูลินัมท็อกซินช่วยหยุดการกระตุกได้แค่ชั่วคราว แต่ต้องทำซ้ำบ่อยๆ
- การผ่าตัด ช่วยรักษาให้หายขาดได้แบบเห็นผลระยะยาว
ลังเลไม่แน่ใจว่าจะรักษาวิธีไหนดี
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักโรคนี้
รู้จักโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก
โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (Hemifacial Spasm) คือ ชื่อเรียกอาการกระตุกของกล้ามเนื้อใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งที่ควบคุมโดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 จนทำให้เกิดอาการผิดปกติซึ่งรบกวนชีวิตประจำวันผู้ป่วย และยังทำให้เสียบุคลิก เสียความสามารถในการใช้ใบหน้าทำกิจกรรมต่างๆ เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ การพูดในที่สาธารณะ
ผู้ป่วยโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกมักเริ่มมีอาการกระตุกแบบครั้งคราวสลับกับเกร็งค้างที่กล้ามเนื้อรอบดวงตาก่อน ร่วมกับอาการมีอาการหยีตาค้างหรือตาหลิ่วสลับกับตากระตุก
เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ อาการกระตุกก็จะเป็นถี่ขึ้น และเริ่มกระจายลงไปยังกล้ามเนื้อแก้ม กล้ามเนื้อมุมปาก หรืออาจลามไปถึงกล้ามเนื้อหน้าผากหรือกล้ามเนื้อลำคอด้วย จนทำให้เกิดอาการมุมปากกระตุกหรือปากเบี้ยวได้ ในบางรายอาจพบอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
โรคใบหน้ากระตุกมีสาเหตุที่ทำให้เกิดได้หลายปัจจัย เช่น
- ความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองจนไปกดทับหรือเบียดเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อของใบหน้า
- เกิดจากเส้นประสาทสมองเกิดการอักเสบหรือเสียหายจากอุบัติเหตุ
- เกิดจากโรคปลอดประสาทสมองส่วนกลางอักเสบ
- เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น อดนอน ความเครียด ภาวะวิตกกังวล การใช้สายตาอย่างหนักเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง
สัญญาณที่ต้องตรวจ
หากคุณเริ่มสังเกตว่า ใบหน้ามีอาการกล้ามเนื้อกระตุกอยู่บ่อยๆ หรือเริ่มกระตุกถี่ขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณดวงตาที่มักพบอาการก่อนเป็นตำแหน่งแรก ให้รีบเดินทางไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการตั้งแต่เนิ่นๆ
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
- ตรวจเอกซเรย์
- ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการทำ MRI
- ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือการทำ CT Scan
- ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อหรือการตรวจ EMG
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
วิธีรักษาโรคใบหน้ากระตุกครึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
- การใช้ยา เพื่อปรับระบบประสาท ยากล่อมประสาท หรือยากันชักเพื่อลดอาการกระตุกของใบหน้า
- การฉีดสารโบทูลินัม ท็อกซิน (Botulinum Toxin) ช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อ และทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตชั่วคราวจนหยุดอาการกระตุกได้
- การผ่าตัด เป็นวิธีรักษาที่ต้นเหตุ ด้วยการผ่าตัดแยกหลอดเลือดส่วนที่ไปกดทับเส้นประสาทออก (Microvascular Decompression) ทำให้เส้นประสาทกลับมาทำงานเป็นปกติ และทำให้อาการกระตุกของใบหน้าหายไป
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัดมักเป็นตัวเลือกการรักษาแรกในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 70 ปี หรือผู้ป่วยที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวหรือไม่มีเงื่อนไขสุขภาพที่เป็นข้อห้ามในการผ่าตัด
การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกที่แก้อาการของโรคตั้งแต่ต้นตอ ต่างจากวิธีใช้ยาหรือวิธีฉีดสารโบทูลินัม ท็อกซินซึ่งเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ และนิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีเงื่อนไขสุขภาพไม่สามารถใช้การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาได้
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดแยกหลอดเลือดส่วนที่ไปกดทับเส้นประสาท (Microvascular Decompression) คือ การผ่าตัดเพื่อแยกหรือเบี่ยงหลอดเลือดที่ไปกดทับเส้นประสาทออก ทำให้เส้นประสาทกลับมาทำงานได้ตามปกติ และหยุดอาการกล้ามเนื้อกระตุกที่ใบหน้า
สำหรับขั้นตอนการผ่าตัดแยกหลอดเลือดส่วนที่ไปกดทับเส้นประสาท มีขั้นตอนหลักๆ ดังต่อไปนี้
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์ผ่าตัดเปิดแผลที่ท้ายทอย เพื่อเข้าไปตัดแต่งเยื่อหุ้มสมองส่วนชั้นกลางรอบๆ หลอดเลือดกับเส้นประสาทส่วนที่ผิดปกติ และใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ (Teflon Felt) เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดขยับกลับมากดเบียดเส้นประสาทซ้ำอีก
- แพทย์ตรวจเช็กความเรียบร้อยในการผ่าตัด จากนั้นเย็บปิดแผล
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การผ่าตัดแยกหลอดเลือดส่วนที่ไปกดทับเส้นประสาท จัดเป็นชนิดของการผ่าตัดที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษาโรคใบหน้ากระตุกมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากให้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษาค่อนข้างสูง และมักทำให้อาการกระตุกของกล้ามเนื้อหายไปในทันทีหลังผ่าตัด หรือภายใน 1 เดือนหลังการผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา แจ้งรายการยาประจำตัว วิตามินเสริม อาหารเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพทุกชนิดกับแพทย์ล่วงหน้า
- งดยาและวิตามินเสริมบางชนิดล่วงหน้าประมาณ 7 วันหรือตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาละลายลิ่มเลือด
- ตรวจสุขภาพตามรายการที่แพทย์แนะนำ เช่น ตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเอกซเรย์ปอด
- งดสูบบุหรี่และงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล่วงหน้า 2-3 สัปดาห์ก่อนวันผ่าตัด
- งดใส่คอนแทคเลนส์ งดทาเล็บ งดใส่แว่นตา งดใส่ฟันปลอม และควรถอดอุปกรณ์ที่เจาะตามร่างกาย เช่น จิวจมูกหรือสะดือ
- ถอดเครื่องประดับ ของมีค่าเก็บไว้ที่บ้านเพื่อป้องกันการสูญหาย
- งดน้ำและงดอาหารล่วงหน้า 6-8 ชั่วโมง
- แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการโกนผมเพื่อเตรียมตัวสำหรับการผ่าตัด
- พาญาติมาด้วย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในระหว่างการพักฟื้นที่โรงพยาบาล
- อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเสียก่อน แพทย์อาจให้ผู้เขารับบริการอาบน้ำและสระผมด้วยสบู่กับแชมพูพิเศษสำหรับผู้ที่กำลังเข้ารับการผ่าตัด
- ลางานล่วงหน้าตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
การดูแลหลังผ่าตัด
- ผู้เข้ารับบริการจะพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นหากไม่มีสัญญาณอาการข้างเคียงก็สามารถเดินทางกลับบ้านได้
- นอนหมอนสูงชั่วคราวเพื่อลดอาการบวม
- งดยกของหนัก งดการออกกำลังกายหนักๆ หรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์
- งดสูบบุหรี่และงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาว เนื่องจากทั้งบุหรี่และแอลกอฮอล์ล้วนเป็นบ่อเกิดทำให้โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้
- งดขับรถด้วยตนเองจนกว่าแพทย์จะอนุญาต
- งดสระผมจนกว่าแพทย์จะอนุญาต แต่โดยทั่วไปหลังจากผ่าตัด 1 วัน แพทย์จะอนุญาตให้เริ่มสระผมด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยนได้ แต่ห้ามถูหนังศีรษะแรงๆ และยังต้องเว้นบริเวณแผลผ่าตัดให้ยังแห้ง อย่าให้เปียกชื้นจนกว่าแพทย์จะอนุญาตให้แผลโดนน้ำได้
- งดการทำสีผม การใช้สารเคมีจัดแต่งทรงผม รวมถึงงดใช้น้ำมัน สเปรย์ หรือครีมบำรุงผมอย่างน้อย 6 สัปดาห์ หรือตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
- ผู้เข้ารับบริการอาจได้ยินเสียงแปลกๆ อยู่ข้างในศีรษะ อย่าเพิ่งตกใจ เพราะเป็นอาการที่พบได้ปกติหลังผ่าตัด
- กินยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด
- หากมีอาการเจ็บแผลหรือแผลบวมเล็กน้อย สามารถประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการได้
- หมั่นเดินและเคลื่อนไหวร่างกายประมาณ 5-10 นาทีในทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายและผู้ป่วยควรเดินทางมาพบแพทย์ทันทีเมื่อพบอาการเหล่านี้ ได้แก่
- มีไข้สูง
- แผลติดเชื้อ ซึ่งมักก่อให้เกิดอาการแผลบวมแดง มีของเหลวไหลออกจากแผล มีกลิ่นเหม็น มีอาการง่วงซึม
- การมองเห็นพร่าเบลอ
- มีอาการสับสน พูดจาไม่รู้เรื่อง
- ง่วงซึม
- คลื่นไส้อาเจียน
- หากปวดศีรษะเบาๆ จัดเป็นอาการข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป และสามารถกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ แต่หากรู้สึกปวดอย่างรุนแรง ให้รีบกลับมาพบแพทย์
- รู้สึกกดเจ็บที่น่องขา หรือน่องขาบวม
- หากผ่านไปประมาณ 1 เดือนหลังผ่าตัด ยังมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่ใบหน้า ให้รีบกลับมาพบแพทย์
ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง
นพ. จักรี ธัญยนพพร (หมอเบนซ์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-2547 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (เกียรตินิยมอันดับ 2)
-2549 ประกาศนียบัตร วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาศัลยศาสตร์
-2553 สาขาประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
-2557 สาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ระบบประสาทผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์หลอดเลือดสมอง ตัดต่อหลอดเลือดสมอง
- รังสีร่วมรักษาระบบประสาท สำหรับผู้ป่วย stroke หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน หลอดเลือดสมองโป่งพอง หลอดเลือดสมองเชื่อมต่อผิดปกติ