ผ่าตัดโรคโพรงประสาทตีบแคบผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (ส่วนเอว)
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
โพรงประสาทตีบแคบถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาเลย อาการจะรุนแรงกว่าเดิมและรักษาไม่ได้ หรือเป็นหนักขึ้นหรือถาวรจนถึงขั้นเป็นอัมพาต!
- เป็นได้ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป หรือถ้าเกิดอุบัติเหตุก็อาจจะเป็นได้เหมือนกัน
- เป็นแล้วจะปวดหลังร้าวลงขา เดินแล้วอ่อนแรง หรือปวดจนต้องหยุดเดินเป็นพักๆ
- ถ้าไม่รักษาแต่เนิ่น อาการจะแย่ลงเรื่อยๆ จนต้องผ่าตัด
อย่าปล่อยทิ้งไว้จนสุดท้ายกลายเป็นอัมพาต!
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ปวดแบบไหนคืออาการของโพรงประสาทตีบแคบ?
- ปวดหลังเรื้อรังส่วนกลางของเอวและเป็นมากขึ้นในท่ายืน เดิน หรือแอ่นหลังไปด้านหลังมากๆ
- อาการปวด ชา หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
- ปวดหน่วง ขาหนัก ชาขา หรือรู้สึกเหมือนมีมดไต่ไปตามขา ถ้าเดินหรือยืนนานๆ จะเป็นหนักขึ้น
- อาการจะดีขึ้นถ้าก้มโค้งหลัง หรือนั่งพัก เพราะท่ายืนและท่าเดินจะทำให้โพรงประสาทแคบมากขึ้นกว่าในท่าก้มโค้งหลัง
- เดินในระยะใกล้ 50-150 เมตรก็อาจจะต้องนั่งพักเป็นระยะๆ ไม่สามารถเดินนานๆ ได้
- บางคนอาจมีอาการมาก แค่ยืนอาบน้ำหรือยืนแปรงฟันก็มีอาการ
ไม่แน่ใจว่าต้องผ่าตัดไหม
ปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ถ้าต้องผ่าตัด ก็ไม่น่ากลัว เพราะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง
- แผลเล็กประมาณ 1 ซม. 3-4 จุดเท่านั้น
- ไม่กระทบกระดูกและเนื้อเยื่อส่วนอื่น
- ลดโอกาสบาดเจ็บ พักฟื้นไม่นาน
สัญญาณที่ต้องตรวจ
อาการของโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นกับตำแหน่งของโรคและเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ โดยมักจะมีอาการดังนี้
- อาการที่หลัง มีอาการปวดหลังเรื้อรังส่วนกลางของเอวและเป็นมากขึ้นในท่ายืน เดิน หรือแอ่นหลังไปด้านหลังมากๆ
- อาการที่ขา จะมี 3 แบบ คือ อาการปวด ชา หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
- ปวดหน่วง ขาหนัก ชาขา หรือรู้สึกเหมือนมีมดไต่ไปตามขา ถ้าเดินหรือยืนนานๆ จะเป็นหนักขึ้น
- อาการจะดีขึ้นถ้าก้มโค้งหลัง หรือนั่งพัก เพราะท่ายืนและท่าเดินจะทำให้โพรงประสาทแคบมากขึ้นกว่าในท่าก้มโค้งหลัง
- เดินในระยะใกล้ 50-150 เมตรก็อาจจะต้องนั่งพักเป็นระยะๆ ไม่สามารถเดินนานๆ ได้
- บางคนอาจมีอาการมาก แค่ยืนอาบน้ำหรือยืนแปรงฟันก็มีอาการ
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติและตรวจร่างกาย
- ตรวจเอกซเรย์ (X-RAY)
- ตรวจ CT Scan
- ตรวจ MRI
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- กินยา
- ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
- การผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscope)
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดโรคโพรงประสาทตีบแคบที่กระดูกส่วนเอวผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic Decompression) เป็นอีกวิธีรักษาโรคโพรงประสาทตีบแคบที่กระดูกสันหลังส่วนเอว ด้วยการใช้เครื่องมือผ่าตัดพร้อมกล้องที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 8 มม. เข้าไปขยายให้โพรงกระดูกกลับมามีขนาดปกติและไม่กดทับเส้นประสาทอีก
ข้อดีของการผ่าตัดโรคโพรงประสาทตีบแคบผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
- สร้างความเสียหายแก่กระดูก กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบได้น้อยกว่า
- ลดโอกาสเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดได้มากกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
- ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน ประมาณไม่เกิน 1-2 ชม.
- แผลมีขนาดเล็กมาก โดยอาจไม่ถึง 1 ซม.
- โอกาสเจ็บแผลน้อยกว่า
- ลดโอกาสติดเชื้อหรือผลข้างเคียงอื่นๆ จากการผ่าตัด
- ระยะเวลาฟื้นตัวเร็ว และใช้เวลานอนพักที่โรงพยาบาลไม่นาน
ขั้นตอนการผ่าตัดโรคโพรงประสาทตีบแคบผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลขนาดเล็กประมาณ 3-4 จุด เพื่อสอดกล้องเอ็นโดสโคปและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปด้านในแผล
- แพทย์ตัดแต่งเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น หรือกระดูกส่วนที่เบียดเส้นประสาทในโพรงกระดูกสันหลัง
- แพทย์ทำการเย็บปิดแผล
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยแพทย์จะแนะนำให้เตรียมตัวดังนี้
- ตรวจสุขภาพ รวมถึงตรวจ MRI เพื่อให้แพทย์เห็นตำแหน่งของกระดูกสันหลังส่วนที่มีการกดทับอย่างชัดเจนเสียก่อน ผู้เข้ารับบริการบางรายอาจต้องตรวจ CT Scan หรือตรวจรายการอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
- แจ้งประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว ยาที่รับประทานเป็นประจำ รวมถึงวิตามิน อาหารเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพทุกชนิด เพราะอาจต้องมีการงดรับประทานล่วงหน้าก่อนผ่าตัด
- งดยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เช่น ยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด
- งดสูบบุหรี่และงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล่วงหน้าอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
- ลางานล่วงหน้าไว้เผื่อเวลาพักฟื้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับระยะเวลาที่ควรลางานอีกครั้ง
- งดน้ำและงดอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- ควรพาญาติมาด้วยเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในช่วงก่อนและหลังผ่าตัด
- อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- พักผ่อนให้เพียงพอ
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังจากที่แพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้แล้ว ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูได้เร็วขึ้น และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ดังนี้
- หมั่นเคลื่อนไหวร่างกายตามรูปแบบที่แพทย์และนักกายภาพบำบัดแนะนำ เพื่อกระตุ้นให้กระดูกและกล้ามเนื้อกลับมาฟื้นตัวแข็งแรงโดยเร็ว ซึ่งโดยส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดเริ่มลุกขึ้นเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายหลังผ่าตัด 1 วัน
- หลังกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน สามารถเดิน ทำงานบ้านเบาๆ และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
- สวมที่พยุงหลังไว้จนกว่าแพทย์จะสั่งให้ถอดออกได้ ในผู้เข้ารับบริการบางรายอาจไม่จำเป็นต้องใส่
- หลังผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์สามารถขับรถยนต์ได้ตามปกติ แต่ควรงดการเดินทางไกลที่ต้องขับรถยนต์ติดต่อกันหลายชั่วโมง
- หากต้องนั่งทำงานอยู่กับที่เกิน 15-20 นาที ให้หมั่นลุกเดินและเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ
- งดยกของหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม งดออกกำลังกายหนักๆ และงดการทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก อย่างน้อย 3 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด
- กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ในระยะยาวเพื่อลดโอกาสแผลอักเสบ และให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงดังเดิมโดยเร็ว
- กลับมาตรวจดูแผลกับแพทย์ตามนัดหมาย โดยแพทย์อาจส่งตัวไปเอกซเรย์หรือตรวจสแกนร่างกายเพิ่มเติม เพื่อเช็กให้แน่ใจถึงการเปลี่ยนแปลงของโพรงประสาทหลังผ่าตัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
โดยทั่วไปการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคป มีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนบางประการได้ เช่น
- มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- มีอาการปวดแผลมาก
- มีของเหลวไหลออกมาจากแผลในปริมาณมาก
- ยังกลั้นปัสสาวะไม่ได้
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
สาขาออร์โธปิดิกส์
ผศ.นพ. ปิลันธน์ ใจปัญญา (หมอปัน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2551 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เกียรตินิยมอันดับ 1) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ University of Nottingham (United Kingdom) (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- 2558 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2562 ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- Graduate School of Medicine, Akita University (Japan)
- แพทย์ประจำบ้าน (Residency) Tohoku Medical and Pharmaceutical University (Japan)
- Certificate in Orthopaedic Spine surgery
- Certificate in Spinal Uniportal Endoscopic Surgery
- Certificate in OLIF surgery
- Certificate in Biportal Endoscopic Spine Surgery
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาออร์โธปิดิกส์ (สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)
-General orthopaedic surgery
-Spine surgery (deformity correction, minimally invasive surgery, endoscopic surgery)
-Memberships in Professional Societies
-Thai Medical Association
-Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand
-Spine Society of Thailand