ผ่าตัดรักษาเนื้องอกสมอง
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ รีบหาหมอด่วนๆ
- ปวดศีรษะผิดปกติ เช่น ปวดแบบเรื้อรัง ปวดร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน ปวดร่วมกับมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ชาตามมือและเท้า
- หูอื้อ เห็นภาพซ้อน ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด มีปัญหาด้านการเรียบเรียงประโยค รวมถึงความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน
- มีปัญหาด้านการทรงตัว
- บุคลิกภาพเปลี่ยนไป
- เสียความทรงจำ มีอาการคล้ายความจำสั้น
- ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
อาจเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติที่ร้ายแรง
ไม่แน่ใจว่าใช่เนื้องอกสมองไหม?
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจคัดกรองให้คุณวันนี้
เนื้องอกสมอง ถ้าเป็นมะเร็งยังไงก็ต้องผ่าตัด แนะนำรีบผ่าตัดแต่เนิ่นๆ ก่อนที่มะเร็งจะลุกลามไปส่วนอื่น
- ถ้ามะเร็งลุกลาม อาจทำให้เกิดความผิดปกติหลายส่วน เสียความทรงจำ และสมรรถภาพร่างกาย และอาจถึงขั้นเสียชีวิต
- ถ้าเนื้องอกเป็นเนื้อดี และไม่กดเบียด แพทย์อาจติดตามดูการเปลี่ยนแปลงไปก่อน
แนะนำหากมีความผิดปกติ รีบตรวจเช็กเพื่อให้ชัวร์ก่อนจะสาย
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักโรคนี้
เนื้องอกสมองคืออะไร
เนื้องอกสมอง (Brain Tumor) คือ ก้อนเนื้อเยื่อส่วนเกินที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมอง จนทำให้เกิดก้อนเนื้องงอกที่เนื้อสมอง หรือที่บริเวณอื่นๆ ของสมองด้วย เช่น เยื่อหุ้มสมอง เส้นประสาทสมอง ต่อมใต้สมอง ฐานกะโหลกศีรษะ สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่
- เนื้องอกที่สมอง เป็นเนื้องอกที่เกิดจากความผิดปกติที่เซลล์สมองเอง สามารถแบ่งประเภทย่อยออกได้อีก 2 ชนิด ได้แก่
- เนื้องอกชนิดดี เป็นเนื้องอกที่ไม่เป็นอันตราย เจริญเติบโตช้า และไม่พัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง
- เนื้องอกชนิดไม่ดี หรือเนื้องอกที่เป็นเชื้อมะเร็ง เป็นเนื้องอกที่มีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่สามารถควบคุมได้ และอาจลุกลามไปสู่อวัยวะอื่นๆ ใกล้เคียงกับสมอง
- เนื้องอกที่กระจายมาจากอวัยวะอื่น เป็นเนื้องอกชนิดที่เป็นเชื้อมะเร็งและเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ก่อนจะแพร่กระจายขึ้นมาถึงสมอง เช่น เนื้องอกที่เส้นประสาท เนื้องอกที่เต้านม เนื้องอกที่ปอด
อาการของผู้ที่มีเนื้องอกสมอง
เนื้องอกสมองสามารถทำให้เกิดอาการแสดงที่ผิดปกติหลายอย่าง และสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้
- อาการปวดศีรษะ สามารถปวดได้หลายรูปแบบ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดศีรษะร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะร่วมกับมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เห็นภาพซ้อน
- หูอื้อ
- อาการชาตามมือและเท้า
- ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
- พูดไม่ชัด มีปัญหาด้านการเรียบเรียงประโยค รวมถึงความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน
- มีปัญหาด้านการทรงตัว
- บุคลิกภาพเปลี่ยนไป
- สูญเสียความทรงจำ มีอาการคล้ายความจำสั้น
- ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดศีรษะ ปวดได้หลายรูปแบบ เช่น ปวดแบบเรื้อรัง ปวดร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน ปวดร่วมกับมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- อาการชาตามมือและเท้า
- หูอื้อ
- เห็นภาพซ้อน
- ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
- พูดไม่ชัด มีปัญหาด้านการเรียบเรียงประโยค รวมถึงความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยิน
- มีปัญหาด้านการทรงตัว
- บุคลิกภาพเปลี่ยนไป
- เสียความทรงจำ มีอาการคล้ายความจำสั้น
- ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติสุขภาพเบื้องต้น
- การตรวจร่างกายอย่างละเอียด
- การทดสอบทางประสาทวิทยา
- ตรวจสมองด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- ทำ CT Scan
- ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging)
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- การผ่าตัด
- การฉายรังสี
- การให้ยาเคมีบำบัด
แพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการรักษาจากหลายปัจจัย เช่น อาการของผู้ป่วย ตำแหน่งของเนื้องอก ขนาดของเนื้องอก
ถ้าเนื้องอกไม่ได้ทำให้เกิดอาการและมีขนาดเล็ก อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ได้ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเสียหาย แพทย์อาจแค่ติดตามอาการดูการเปลี่ยนแปลงของเนื้องอก แต่ถ้ามีการขยายตัวถึงค่อยทำการรักษา
ถ้าเนื้องอกมีขนาดใหญ่และทำให้เกิดอาการ เช่น อ่อนแรง หรือปวดศีรษะ จำเป็นต้องผ่าตัดเอาเนื้องอกออก และถ้าตรวจเจอว่าเป็นเนื้อร้าย ต้องฉายรังสีหรือให้ยาเคมีบำบัดด้วย
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดเนื้องอกสมอง (Brain Tumor) คือ การผ่าตัดเพื่อกำจัดก้อนเนื้องอกภายในสมองออกให้ได้มากที่สุด หรืออาจเป็นการผ่าตัดเพื่อดูดนำชิ้นเนื้อบางส่วนจากก้อนเนื้อไปตรวจวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม
ปัจจุบันการผ่าตัดเนื้องอกสมองจะมีการอาศัยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ผ่าตัดที่ทันสมองหลายอย่าง เพื่อให้การผ่าตัดมีความปลอดภัย แม่นยำ และทำให้ผู้เข้ารับบริการฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้โดยเร็ว เช่น
- อุปกรณ์ผ่าตัดแบบจุลศัลยกรรม เป็นอุปกรณ์ผ่าตัดขนาดเล็กที่ทำให้แพทย์สามารถผ่าตัดสมองได้อย่างละเอียดมากขึ้นในระดับมิลลิเมตร
- เครื่องนำวิถี หรือ Navigation สามารถช่วยระบุตำแหน่งต่างๆ ที่แพทย์จะต้องผ่าตัดนำเนื้องอกออกได้แม่นยำขึ้น
- กล้องผ่าตัดที่มีความละเอียดสูง เช่น กล้อง Endoscope หรือกล้อง Microscpe ช่วยให้แพทย์มองเห็นองค์ประกอบภายในสมองได้อย่างละเอียดระหว่างผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยสูงขึ้น ส่งผลข้างเคียงต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะอื่นๆ รอบสมองได้น้อย และยังเพิ่มโอกาสให้แผลผ่าตัดเล็กลง
- เครื่องเอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้าในห้องผ่าตัด (Intraoperative MRI) ช่วยให้สามารถผ่าตัดนำเนื้องอกออกมาได้มากที่สุด
- เครื่องสลายเนื้องอกหรือเครื่อง CUSA (Calvitron Ultrasonic Surgical Aspiration) ช่วยสลายเนื้องอกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนจะดูดออกมาด้วยพลังงานคลื่นเสียงอัลตราโซนิค เป็นอีกนวัตกรรมช่วยกำจัดเนื้องอกสมองที่ช่วยทำให้รบกวนเนื้อสมองส่วนอื่นๆ ได้น้อยลง
เทคโนโลยีและเครื่องมือผ่าตัดที่ทันสมัยทำให้การผ่าตัดเนื้องอกสมองมีความปลอดภัยมากขึ้น และยังเห็นประสิทธิภาพในการรักษาได้ดีกว่าเดิม ไม่ใช่การผ่าตัดที่ดูน่ากลัวหรือมีแผลขนาดใหญ่เหมือนในอดีต
ขั้นตอนการผ่าตัดเนื้องอกสมอง
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์ผ่าตัดเปิดแผล อาจใช้เครื่องนำวิถีช่วยให้เห็นตำแหน่งที่ควรผ่าตัด
- แพทย์สอดเครื่องมือเข้าไปผ่าตัดเนื้องอกสมองอาจใช้อุปกรณ์ผ่าตัดขนาดเล็กร่วมกับกล้องผ่าตัด
- ปิดแผล
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา แจ้งรายการยาประจำตัว วิตามินเสริม อาหารเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพทุกชนิดกับแพทย์ล่วงหน้า
- งดยาและวิตามินเสริมตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกร็ดเลือด
- ตรวจสุขภาพตามรายการที่แพทย์แนะนำ เช่น ตรวจเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเอกซเรย์ปอด
- การโกนผมก่อนผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ ในการผ่าตัดเนื้องอกสมองแบบส่องกล้องหรือแบบแผลเล็ก อาจไม่จำเป็นต้องโกนผม
- งดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 4 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
- งดน้ำและงดอาหารล่วงหน้า 6-8 ชั่วโมง
- งดทาเล็บ งดใส่คอนแทคเลนส์ งดใส่แว่นตา และงดใส่ฟันปลอม
- ถอดเครื่องประดับและของมีค่าก่อนเดินทางมาโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการสูญหาย
- ผู้ป่วยอาจต้องเดินทางมานอนพักที่โรงพยาบาลล่วงหน้าก่อน 1 คืน
- ควรพาญาติมาด้วยในวันผ่าตัด เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
- แพทย์และนักกายภาพบำบัดอาจเรียกพบญาติมาให้ข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้เข้ารับบริการหลังผ่าตัดล่วงหน้า เช่น วิธีการพลิกตะแคงตัว การจัดเตรียมสถานที่พักฟื้น การดูแลแผล การให้ยาหรืออาหารทางสายยาง การเช็ดตัวผู้เข้ารับบริการ
- ลางานล่วงหน้าตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
- ผู้เข้ารับบริการจะต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้ก่อนผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
- หากมีท่อระบายเชื่อมอยู่ที่แผล ให้ระมัดระวังอย่าให้ท่อระบายหลุดออก
- ผู้เข้ารับบริการอาจยังต้องคงสายให้ออกซิเจนเอาไว้ก่อน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการหายใจ
- ผู้เข้ารับบริการบางท่านอาจยังต้องคงสายสวนปัสสาวะเอาไว้ก่อนประมาณ 1-2 วัน
- กินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเร่งกระบวนการฟื้นตัวของร่างกาย
- พักผ่อนให้มากๆ
- งดสูบบุหรี่และงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาว หรือต้องเลิกเป็นการถาวร
- งดออกกำลังกาย งดยกของหนัก งดทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากอย่างน้อย 1-2 เดือน หรือตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
- ทำกายภาพบำบัดและออกกายบริหารตามคำแนะนำของแพทย์และนักกายภาพบำบัดอย่างเคร่งครัด
- ในผู้เข้ารับบริการที่เนื้องอกสมองส่งผลต่อการพูดสื่อสาร ญาติจำเป็นต้องค่อยๆ คุยสื่อสารกับผู้เข้ารับบริการอย่างช้าๆ รวมถึงค่อยๆ ฟังสิ่งที่ผู้เข้ารับบริสื่อสารอย่างใจเย็น เพื่อการสื่อสารที่ตรงกัน
- ในผู้เข้ารับบริการที่ช่วยเหลือตนเองยังไม่ได้ ญาติควรหมั่นพลิกตัวผู้เข้ารับบริการทุกๆ 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ
- งดทำผม ทำสีผม การใช้อุปกรณ์หรือสารเคมีจัดแต่งทรงผมต่างๆ อย่างน้อย 2 เดือน หรือจนกว่าแผลจะปิดสนิท
- ระมัดระวังอย่าให้แผลโดนน้ำจนกว่าแพทย์จะอนุญาติ แต่โดยส่วนมากจะอยู่ที่ประมาณ 7 วัน
- ในผู้เข้ารับบริการที่มีปัญหาด้านสมรรถภาพร่างกาย ญาติควรจัดเตรียมสถานที่พักฟื้นที่ปลอดภัยและไม่เสี่ยงทำให้ผู้เข้ารับบริการหกล้มหรือสะดุดจนเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น ควรเป็นสถานที่เปิดโล่ง อยู่ที่บ้านชั้นล่าง ไม่มีสิ่งของหรือเฟอร์นิเจอร์วางเกะกะที่พื้น งดการใช้พรมที่ง่ายต่อการลื่นล้ม ติดตั้งราวจับในห้องน้ำ
- แพทย์อาจนัดหมายให้กลับมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสมองเป็นระยะๆ เพื่อเช็กความเสี่ยงมีเนื้องอกในสมองเพิ่ม หรือเนื้องอกที่ยังคงอยู่ในสมองมีการเติบโตขึ้นอีก
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- หากพบอาการไข้สูง แผลบวดแดง มีของเหลวไหลออกจากแผลผ่าตัด มีอาการง่วงซึม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดศีรษะเรื้อรัง คลื่นไส้อาเจียน หรือมีอาการชัก ให้รีบกลับมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
- ภาวะหลงลืม แต่โดยส่วนมากจะเป็นเพียงชั่วคราว หลังจากได้พูดคุยสื่อสารกับแพทย์หรือญาติเป็นระยะเวลาหนึ่ง ผู้เข้ารับบริการก็จะเริ่มกลับมาจดจำสิ่งต่างๆ ได้อีกครั้ง
- ภาวะแผลติดเชื้อ
- ภาวะปวดติดเชื้อหรือภาวะปอดอักเสบ
- ภาวะสมองบวม
- ภาวะเลือดออกในสมอง
- ภาวะโพแทสเซียมสูงหรือต่ำกว่าปกติ
- ภาวะความดันภายในกะโหลกศีรษะสูงขึ้น
- เนื้องอกในสมองมีการเติบโตขึ้นอีก
ศัลยแพทย์ระบบประสาทและสมอง
นพ. จักรี ธัญยนพพร (หมอเบนซ์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-2547 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต (เกียรตินิยมอันดับ 2)
-2549 ประกาศนียบัตร วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาศัลยศาสตร์
-2553 สาขาประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
-2557 สาขารังสีร่วมรักษาระบบประสาท คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ระบบประสาทผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์หลอดเลือดสมอง ตัดต่อหลอดเลือดสมอง
- รังสีร่วมรักษาระบบประสาท สำหรับผู้ป่วย stroke หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน หลอดเลือดสมองโป่งพอง หลอดเลือดสมองเชื่อมต่อผิดปกติ