ส่องกล้องลำไส้ใหญ่

รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ครั้งเดียว ตรวจได้หลายโรค
- ตรวจดูลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนกลาง ส่วนต้น และลำไส้เล็กส่วนปลาย
- ถ้าเจอติ่งเนื้อหรือเนื้องอก หมอสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจได้เลย
- โรคที่ตรวจได้ด้วยการส่องกล้อง เช่น ท้องผูก ริดสีดวงทวาร ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ลำไส้แปรปรวน และมะเร็งลำไส้ใหญ่
อย่ารอให้มีอาการ ถึงค่อยส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จะไม่แสดงอาการในระยะต้น ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าอยู่ในระยะลุกลามแล้ว
- ท้องผูกสลับท้องเสีย
- อุจจาระมีมูกเลือดปน
- ปวดท้องเรื้อรัง
- คลำเจอก้อนในช่องท้อง
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดไม่รู้สาเหตุ
ใครบ้างที่ควรตรวจลำไส้ใหญ่
- คนที่อายุ 45 ปีขึ้นไป
- คนที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอื่นๆ ให้ดูว่าคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตอนอายุเท่าไหร่ แล้วลบด้วย 10 ก็จะเป็นอายุที่ควรเริ่มเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
- ชอบกินเนื้อแดง เนื้อแปรรูป อาหารปิ้งย่าง อาหารไขมันสูง อาหารกากใยน้อย
- ชอบดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ยิ่งตรวจเจอเร็ว ยิ่งมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ 100%
- เจอเยอะเป็นอันดับ 2 ในชายไทยและอันดับ 3 ในหญิงไทย
- มีผู้ป่วยใหม่ประมาณ 15,000 คน/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
- การส่องกล้องเป็นวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในตอนนี้
- ยิ่งตรวจเจอตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ยิ่งมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ถึง 100%
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
- นอนหลับตลอดการตรวจ หมอจะให้ยานอนหลับและยาแก้ปวด
- ปลอดภัยสูง กล้องมีขนาดแค่ประมาณ 1 ซม.
- ใช้เวลาตรวจไม่นาน แค่ประมาณ 20-30 นาที
- วันถัดไปหลังตรวจ ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อน ก็ใช้ชีวิตตามปกติได้เลย

คำถามที่พบบ่อย
จำเป็นต้องส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่บ่อยไหม?
ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แนะนำให้ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทุก ๆ 5 - 10 ปี
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- คนที่อายุ 45 ปีขึ้นไป ตรวจได้เลย ไม่ต้องรอให้มีอาการ
- คนที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอื่น ๆ ให้ดูว่าคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตอนอายุเท่าไหร่แล้วลบด้วย 10 ก็จะเป็นอายุที่ควรเริ่มส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
- คนที่มีอาการต่อไปนี้
- น้ำหนักลดโดยไม่รู้สาเหตุ
- อ่อนเพลียหรือซีดโดยไม่รู้สาเหตุ โดยเฉพาะในคนที่อายุเยอะ
- อึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ปวดท้องเรื้อรังโดยไม่รู้สาเหตุ
- ท้องผูกสลับท้องเสีย
- ท้องผูกมากผิดปกติหรือมีอาการถ่ายไม่สุดหลังถ่ายอุจจาระแต่ละครั้ง
- ปวดเบ่งเวลาถ่าย
- ถ่ายมีเลือดปนหรือถ่ายมีมูกเลือด
- ถ่ายเป็นเม็ดเล็ก ๆ หรือถ่ายยาก
- ลำอุจจาระมีขนาดลีบเล็กลง
- คลำเจอก้อนในท้อง
ควรส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่บ่อยแค่ไหน
- ทุก 1-3 ปี ถ้าตรวจเจอติ่งเนื้อขนาดใหญ่กว่า 1 ซม.
- ทุก 3-5 ปี ถ้าตรวจเจอติ่งเนื้อขนาดเล็กกว่า 1 ซม.
- ทุก 5-10 ปี สำหรับคนที่ตรวจไม่เจอติ่งเนื้อ
รู้จักการผ่าตัดนี้
การตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง (Colonoscopy)
คือการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก แค่ประมาณ 1 ซม. ส่องเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนกลาง ส่วนต้น และลำไส้เล็กส่วนปลาย ถ้าตรวจเจอความผิดปกติ หมอสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจต่อไปได้ทันที
ความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ที่สามารถตรวจด้วยการส่องกล้อง
- มะเร็งลำไส้ใหญ่
- เนื้องอกลำไส้ใหญ่
- ติ่งเนื้อ
- ปวดท้อง
- ท้องเสียที่ผิดปกติ
- ลำไส้อักเสบ
- ถุงผนังลำไส้อักเสบ
ขั้นตอนการตรวจ


- นอนตะแคงด้านซ้าย ให้ก้นชิดริมเตียง งอเข่าให้ชิดกับหน้าอก
- หมอจะให้ยานอนหลับและยาแก้ปวดเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลาย และหลับขณะตรวจ
- หมอใส่กล้องส่องตรวจเข้าทางทวารหนัก ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
- หลังตรวจเสร็จ พักฟื้นเพื่อสังเกตอาการข้างเคียงประมาณ 1-2 ชม. ถ้าปกติ ก็สามารถกลับบ้านได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- คนที่มีประวัติแพ้ยา มีโรคประจำตัวและยาที่ต้องใช้ประจำ ควรแจ้งให้หมอทราบ
- 2 วันก่อนตรวจให้กินอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่ายและมีกากน้อย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เนื้อปลา หรือไข่ งดอาหารที่มีกากมาก เช่น ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้
- 1 วันก่อนตรวจ ให้กินอาหารเหลวที่ไม่มีกาก เช่น น้ำผลไม้ชนิดใส น้ำผึ้ง น้ำซุปใส น้ำหวานไม่มีสี โจ๊กเหลว
- 6-8 ชม. ก่อนตรวจ งดน้ำและอาหารทุกชนิด
- กินยาระบายตามคำสั่งแพทย์จนหมด และถ่ายจนอุจจาระเป็นน้ำใส
- ต้องมีคนดูแลที่สามารถพากลับบ้านได้มาด้วย
การดูแลหลังผ่าตัด
- หลังจากตรวจส่องกล้องแล้ว ในวันถัดไปก็สามารถกลับมาออกกำลังกายและทำงานได้ตามปกติ
- หลีกเลี่ยงการขับรถ การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร และะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมหลังส่องกล้องภายใน 24 ชม.
- ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่ตรวจส่องกล้อง
- ห้ามทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- การส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่มีความปลอดภัยสูง และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้น้อยมาก เช่น รู้สึกง่วงซึมจากยาระงับความรู้สึก ท้องอืด ซึ่งอาการจะค่อยๆ เบาลงได้เองภายใน 4-6 ชม.
- แต่ถ้ากลับบ้านแล้วมีอาการต่อไปนี้ ให้ติดต่อสถานพยาบาลที่ให้การรักษาทันที
- อาเจียนเป็นเลือดหรือมีลักษณะเหมือนกากกาแฟ
- เลือดออกทางทวารหนักมากกว่า 1 ช้อนโต๊ะ มีลิ่มเลือด หรือเลือดออกอย่างต่อเนื่อง
- ปวดท้องรุนแรง
- หนาวสั่น มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
- คลื่นไส้หรืออาเจียนอย่างต่อเนื่อง
- รู้สึกงุนงง สับสน อย่างต่อเนื่อง
- ไอหรือขากเสมหะเป็นเลือดอย่างต่อเนื่อง
- บริเวณที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำมีอาการแดง แข็ง หรือเจ็บอย่างต่อเนื่อง
นพ. กุลเทพ รัตนโกวิท (หมอเดฟ)
อายุรแพทย์ เฉพาะทาง อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร ต่อยอด ระบบประสาทและการเคลื่อนไหวทางเดินอาหาร
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- อายุรศาสตร์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
- อนุสาขา อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
- Neurogastroenterology and GI Motility, Medical College of Georgia Augusta University

สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ

