ส่องกล้องกระเพาะอาหาร
สำหรับคนที่ต้องการตรวจความผิดปกติของทางเดินอาหารส่วนต้น เช่น กลืนลำบาก เรอเปรี้ยว ปวดแสบท้องเรื้อรัง อาเจียนเป็นเลือด หรือตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหาร
เป็นวิธีตรวจที่มีประสิทธิภาพที่สุด ปลอดภัยสูง แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ
สะดวก! ถ้าตรวจเจอติ่งเนื้อหรือเนื้องอก หมอสามารถตัดไปส่งตรวจได้เลย ไม่ต้องทำนัดใหม่
นอนหลับตลอดการตรวจ ไม่ต้องนอน รพ. พักฟื้นแค่ 1-2 ชม. ก็กลับบ้านได้เลย
เข้ารับบริการที่ รพ.วิมุต (BTS สะพานควาย) รพ.แพทย์รังสิต
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในตอนนี้ ไม่น่ากลัว ใช้เวลาแค่ 15-30 นาที
- หมอจะหย่อนกล้องเอนโดสโคปทางปากลงไปถึงกระเพาะอาหาร
- ตรวจได้ทั้งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น
- เลือกพ่นยาชา ใช้ยาสลบหรือยาผ่อนคลายระหว่างทำได้
- ไม่มีแผล ไม่ต้องผ่าตัด อุปกรณ์ใหญ่แค่ 1 ซม.
- ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อน วันถัดไปหลังตรวจ ก็ใช้ชีวิตตามปกติได้เลย
อย่าชะล่าใจ มีสัญญาณแค่ 1 อย่าง ก็รีบไปส่องกล้องตรวจได้เลย
- คนที่อายุ 45 ปีขึ้นไป ตรวจได้เลย ไม่ต้องรอให้มีอาการ
- คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งทางเดินอาหารหรือมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอื่นๆ ให้ดูว่าคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตอนอายุเท่าไหร่แล้วลบด้วย 10 ก็จะเป็นอายุที่ควรเริ่มส่องกล้องตรวจคัดกรอง
- มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารส่วนต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น กลืนลำบาก แสบหน้าอก เรอเปรี้ยว ปวดแสบท้อง ท้องอืด อิ่มง่าย เบื่ออาหาร อาเจียนปนเลือด ถ่ายดำ
รีบปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
คำถามที่พบบ่อย
ใส่ฟันปลอมสามารถส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้นได้ไหม?
สามารถตรวจได้ โดยในกรณีที่ใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ แพทย์จะให้ถอดฟันปลอมก่อนเข้ารับการตรวจ แต่ถ้าหากเป็นฟันปลอมแบบติดแน่น หรือครอบฟัน ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้เลย
สัญญาณที่ต้องตรวจ
สัญญาณที่ต้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น
- คนที่อายุ 45 ปีขึ้นไป ตรวจได้เลย ไม่ต้องรอให้มีอาการ โดยเฉพาะคนที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
- มีอาการของกรดไหลย้อน เช่น แสบหน้าอก เรอเปรี้ยว
- ปวดแสบท้อง
- กลืนลำบาก
- กินข้าวแล้วท้องอืด อิ่มง่าย เบื่ออาหาร
- อาเจียน อาจมีเลือดด้วย
- ถ่ายดำ
ควรส่องกล้องตรวจระบบอาหารส่วนต้นบ่อยแค่ไหน
- ทุก 3-5 ปี
รู้จักการผ่าตัดนี้
การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (Esophagogastroduodenoscopy หรือ EGD) คือ การใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ปรับโค้งงอได้ มีขนาดประมาณ 1 ซม. ส่องเข้าทางช่องปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อวินิจฉัยโรคหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เช่น การอักเสบ เป็นแผล มีเนื้องอก หรือมีการตีบตันของอวัยวะ ถ้าตรวจเจอความผิดปกติ หมอก็สามารถใส่เครื่องมือเพื่อรักษาเข้าไปได้เลย
ความผิดปกติของระบบอาหารส่วนต้นที่สามารถตรวจด้วยการส่องกล้อง
- ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน ทำให้ลดความจำเป็น และความเสี่ยงของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด
- อาการปวดจุกแน่นท้องหรือแสบร้อนบริเวณท้องส่วนบนหน้าอก หรือบริเวณลำคอ
- อาการท้องอืดท้องเฟ้อเหมือนอาหารไม่ย่อย
- มีอาการเรอหรือคลื่นไส้อาเจียนบ่อยๆ
- อาการกลืนลำบากหรือกลืนแล้วเจ็บ
- อาการเจ็บคอ คอแห้ง เสียงแหบหรือไอบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
ขั้นตอนการตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น
- หมอจะพ่นยาชาในคอ แล้วให้นอนตะแคงซ้าย และจะให้ยานอนหลับทางเส้นเลือด
- หมอสอดอุปกรณ์กล้องเข้าทางปากผ่านลำคอไปจนถึงกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อตรวจดูความผิดปกติ อาจตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร หรือตรวจทางพยาธิวิทยาเพิ่มเติม
- หลังส่องกล้องเสร็จ หมอจะส่งคนไข้ไปนอนพักฟื้นประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือจนกว่าจะตื่นดี แล้วสามารถกลับบ้านได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- งดน้ำและอาหารทุกชนิดอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ เพื่อป้องกันการสำลักอาหารเข้าระบบทางเดินหายใจ
- แจ้งประวัติแพ้ยา ประวัติโรคประจำตัว ยาที่รับประทานอยู่ประจำ โดยเฉพาะยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อพิจารณาการใช้หรือหยุดยาก่อนทำหัตถการ
- หากสวมฟันปลอม ให้ถอดออกในวันส่องกล้องตรวจเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดและการอุดตันทางเดินหายใจ
- ควรมาถึงก่อนเวลานัดหมาย 30 นาที
การดูแลหลังผ่าตัด
- งดดื่มน้ำและรับประทานอาหารจนกว่าคอจะหายชา
- เมื่อคอหายชาแล้ว ให้เริ่มจากการจิบน้ำก่อน ถ้าไม่สำลักก็สามารถดื่มน้ำได้
- ควรรับประทานอาหารอ่อนในช่วง 2-3 วันแรกหลังการส่องกล้อง เนื่องจากยังมีอาการเจ็บคออยู่
- ในช่วงแรกหลังตรวจ อาจบ้วนน้ำลายแล้วมีเลือดปนเล็กน้อย แต่ถ้ามีมากผิดปกติ ให้แจ้งทางแพทย์ทันที
- หลังจากตรวจส่องกล้องแล้ว ในวันถัดไปก็สามารถกลับมาออกกำลังกายและทำงานได้ตามปกติ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
แม้ว่าการส่องกล้องเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้น้อยมาก แต่ก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้เช่นกัน ดังนี้
- ผลข้างเคียงจากยาระงับความรู้สึก เช่น คลื่นไส้ อาเจียน แสบร้อนบริเวณแผลฉีดยา หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือมีเศษอาหารตกลงไปยังปอดจนทำให้เกิดการอักเสบตามมา
- เลือดออก เกิดจากการที่กล้องเอนโดสโคปไปทำให้หลอดเลือดเสียหาย โดยสังเกตได้จากการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ายยางมะตอย สามารถรักษาได้ด้วยการส่องกล้องอีกครั้ง
- ติดเชื้อ มักเกิดจากการส่องกล้องร่วมกับการตรวจอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อที่เกิดขึ้นมักเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง และสามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ
- แผลทะลุ เกิดจากกล้องเอนโดสโคปไปโดนหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนบนจนทำให้เกิดรูทะลุขึ้น สามารถสังเกตอาการได้จากการปวดช่องท้อง หน้าอก หรือคอ กลืนแล้วเจ็บ มีไข้สูง หรือหายใจลำบาก
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ธนเดช วงศ์จารุกร (หมอเจมส์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2550 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2557 วุฒิบัตรเฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- 2560 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2561 Certificate of Training of Endoscopic and Laparoscopies Surgery, Fukuoka Red Cross Hospital (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral Endoscopic Thyroidectomy) ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 5 ปี
- ประสบการณ์ผ่าตัดถุงน้ำดีมากกว่า 600 เคส ผ่าตัดไส้เลื่อนมากกว่า 500 เคส
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. จิตรภาณุ วงศ์ยงศิลป์ (หมอจี้)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์
- ประกาศนียบัตร การผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร การส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร สาขาโรคเต้านม
- Certification of Endoscopic and Laparoscopic Surgery, Japanese Red Cross Hospital (Japan)
- Certification of Clinical Fellowship at Department of Gastroenterological Surgery, Tokyo Women's Medical University (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการผ่าตัดโรคไส้เลื่อน (Hernia Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง (Advanced Endoscopy)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. บัณฑวิช พลกล้า (หมอปี)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-
-ปี 2553: แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ปี 2558: วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
-ปี 2564: วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. วรัญญู จิรามริทธิ์ (หมอเต้ย)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-
-แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลตำรวจ
-วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-
-แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ: การผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง, การส่องกล้องทางเดินอาหาร
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ณธีพัฒน์ เอื้อนิธิเลิศ (หมอตั้ม)
ข้อมูลของแพทย์
- อดีตอาจารย์แพทย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป
- แพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยกรรม ศัลยแพทย์ผ่าตัดประสบการณ์มากกว่า 4 ปี ผ่านเคสผ่าตัดมากกว่า 2,000 ราย
- โรค/หัตถการที่ชำนาญ การผ่าไส้เลื่อนแบบเปิด, การผ่าตัดริดสีดวง, การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง, การผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดและแบบรูแผลซ่อนในสะดือ, การส่องกล้องลำไส้และทางเดินอาหาร
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. พรรควุธ จันทร์สว่างภูวนะ (หมอโอ๊ค)
ศัลยแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญการส่องกล้องตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
ข้อมูลของแพทย์
-วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป
-ประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาการผ่าตัดผ่านกล้อง
-ศัลยแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญการส่องกล้องตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
อายุรแพทย์
นพ. กุลเทพ รัตนโกวิท (หมอเดฟ)
อายุรแพทย์ชำนาญการด้านโรคระบบทางเดินอาหาร
ข้อมูลของแพทย์
2545: แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2553: อายุรศาสตร์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
2555: อนุสาขา อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
Neurogastroenterology and GI Motility, Medical College of Georgia Augusta University