ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างแบบเปิดทางหน้าท้อง
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงต้องตัดมดลูกมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
- ตัดมดลูกเพื่อการรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับมดลูก
- ตัดมดลูกเพื่อเป็นป้องกันโรค
ผ่าตัดกับ HDcare มีผู้ช่วยส่วนตัวดูแลทุกขั้นตอน
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ประจำเดือนมาผิดปกติ อาจมามากกว่าปกติ มาน้อยผิดปกติ หรือมานานกว่าปกติ
- ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ
- เมื่อประจำเดือนหมด ยังสังเกตเห็นเลือดออกจากช่องคลอดอยู่อย่างผิดสังเกต
- ปวดท้องน้อยหรือปวดหัวหน่าว
- คลำเจอก้อนที่ท้องน้อย
- ปัสสาวะบ่อยขึ้นอย่างผิดสังเกต
- ท้องผูกอย่างผิดสังเกต
- รู้สึกเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
- มีตกขาวมากผิดปกติ
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ หรือมีเลือดปน
- เกิดภาวะแท้งบุตร หรือหากกำลังพยายามมีบุตร ก็จะเกิดภาวะมีบุตรยาก
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติสุขภาพกับแพทย์
- การตรวจภายใน
- การตรวจทางเซลล์วิทยา เช่น การตรวจ ThinPrep การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear)
- การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง
- การตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด
- การส่องกล้องโพรงมดลูก
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
1. การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด เช่น
- การเฝ้าติดตามอาการและกลับมาตรวจร่างกายกับแพทย์เป็นระยะ ๆ
- การฝึกขมิบช่องคลอด หรือบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงช่องคลอด
- การใช้ยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาฮอร์โมน
- การฉายแสง
- การให้ยาเคมมีบำบัด
- การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด
2. การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งสามารถแบ่งแนวทางการผ่าตัดออกได้อย่างหลากหลาย เช่น
- การผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมด
- การผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทางหน้าท้อง
- การผ่าตัดมดลูกด้วยการเปิดแผลทางหน้าท้อง
- การผ่าตัดมดลูกด้วยการส่องกล้องทางหน้าท้อง
- การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างด้วยการเปิดแผลทางหน้าท้อง
- การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ด้วยการส่องกล้อง
- การผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด
แพทย์จะเป็นผู้ประเมินแนวทางการผ่าตัดตามรายละเอียดหรือความรุนแรงของรอยโรคทางนรีเวชที่เกิดขึ้น
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
โดยทั่วไปการผ่าตัดมดลูกหรือรังไข่ หรือการผ่าตัดนำออกทั้ง 2 ส่วนจะนิยมใช้ในคนไข้ที่อาการของโรคทางนรีเวชอยู่ในระดับรุนแรง หรือใช้วิธีรักษาแบบไม่ผ่าตัดแล้วไม่ได้ผล หรือหากใช้วิธีผ่าตัดจะช่วยรักษาโรคให้หายได้เร็วกว่า
โรคหรืออาการบ่งชี้ที่แพทย์นิยมประเมินให้คนไข้รักษาด้วยวิธีผ่าตัด ได้แก่
- โรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งมดลูก โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งท่อนำไข่
- เนื้องอกที่มดลูก
- เนื้องอกที่รังไข่
- ถุงน้ำที่รังไข่
- ภาวะท่อนำไข่บวมน้ำ
- ภาวะมดลูกหรืออวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน
- ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ
- ภาวะพังผืดในอุ้งเชิงกราน
- ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
- ภาวะติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานแบบไม่แสดงอาการ (Tubo Ovarian Abscess: TOA)
- คนไข้ที่เป็นพาหะของยีน BRCA ซึ่งเป็นยีนที่เพิ่มโอกาสทำให้ผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดของคนไข้เกิดโรคมะเร็งเต้านมหรือโรคมะเร็งรังไข่มากกว่าคนทั่วไป
- ผู้ที่ต้องการผ่าตัดแปลงเพศจากหญิงเป็นชาย
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง แบบเปิดทางหน้าท้อง (Open Total Hysterectomy With (Bilateral) Salpingo Oophorectomy) คือ การผ่าตัดเพื่อนำตัวมดลูกและรังไข่ทั้งด้านซ้ายและขวาออก ผ่านการใช้เทคนิคผ่าตัดแบบเปิดแผลบริเวณหน้าท้อง หลังจากผ่าตัด คนไข้จะไม่มีประจำเดือนและไม่เกิดการตั้งครรภ์อีก
การผ่าเปิดแผลทางหน้าท้องจะสามารถผ่าได้ 2 แนว ได้แก่
- ผ่าเปิดแผลแนวขวาง มีจุดเด่นด้านการมองเห็นอวัยวะในช่องท้องใต้สะดือหรือท้องน้อยได้ชัดเจน นอกจากนี้ลักษณะแผลยังมีโอกาสกลมกลืนไปกับร่องผิวของหน้าท้อง จึงสังเกตเห็นได้ยากกว่า
- ผ่าเปิดแผลแนวยาว หรือการเปิดแผลแนวตั้ง มีจุดเด่นด้านปากแผลที่ขยายให้กว้างได้ตามที่แพทย์ต้องการ ทำให้การผ่าตัดมีโอกาสกินเวลาสั้นกว่า แต่มีจุดด้อยตรงที่จะเห็นรอยแผลผ่าตัดได้ชัดเจนกว่าแผลแนวขวาง
ข้อดีของการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างแบบเปิดทางหน้าท้อง
การผ่าตัดมดลูกและรังไข่แบบเปิดทางหน้าท้อง เป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบดั้งเดิมที่ช่วยให้แพทย์มองเห็นทุกอวัยวะด้านในแผลได้อย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบทุกความผิดปกติได้อย่างละเอียดและครอบคลุมทั้งหมด
รวมถึงในคนไข้บางรายที่การผ่าตัดส่องกล้องหรือทางช่องคลอดไม่สามารถรักษาโรคได้หมด เช่น มีก้อนเนื้องอกที่ใหญ่เกินไป ก็สามารถใช้การผ่าตัดแบบเปิดเป็นทางเลือกในการรักษาได้อีก
ใครเหมาะกับการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างแบบเปิดทางหน้าท้อง
คนไข้ที่เหมาะต่อการผ่าตัดเพื่อนำมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างด้วยการเปิดแผลทางหน้าท้องจะขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ โดยส่วนมากการผ่าตัดจะเหมาะกับคนไข้กลุ่มต่อไปนี้
- คนไข้โรคมะเร็งมดลูก
- คนไข้โรคมะเร็งรังไข่
- คนไข้โรคมะเร็งท่อนำไข่
- คนไข้ที่มีเนื้องอกมดลูก
- คนไข้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่
- คนไข้ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- คนไข้ที่เป็นพาหะของยีน BRCA
ขั้นตอนการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง แบบเปิดทางหน้าท้อง
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์ผ่าเปิดแผลที่หน้าท้องในแนวขวางหรือแนวยาว ขนาดแผลจะอยู่ที่ประมาณ 10-15 ซม.
- แพทย์ตัดตัวมดลูกและรังไข่ทั้ง 2 ข้างออก
- เย็บปิดแผล
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างแบบเปิดทางหน้าท้อง
- เปิดแผลขนาดใหญ่ประมาณ 10-15 ซม. ในแนวขวางหรือแนวยาว
- แพทย์มองเห็นอวัยวะภายในแผลได้อย่างชัดเจน
- ระยะเวลาฟื้นตัวอย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- มีโอกาสเจ็บแผลมากกว่า
ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างแบบส่องกล้องทางหน้าท้อง
- เปิดแผลเป็นรูขนาดเล็ก 0.5-1 ซม. ประมาณ 3-4 รูที่หน้าท้อง
- แพทย์จะใช้กล้องผ่าตัดกำลังขยายสูงกับอุปกรณ์ผ่าตัดพิเศษในการผ่าตัดผ่านรูแผล ภาพอวัยวะด้านในแผลจะฉายผ่านลำกล้องและแสดงบนจอภาพภายในห้องผ่าตัด
- มีโอกาสเจ็บแผลได้น้อยกว่า ระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าตัดสั้นกว่า
ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างแบบไร้แผล
- เป็นการผ่าตัดผ่านช่องทางธรรมชาติ โดยแพทย์จะสอดกล้องผ่าตัดและอุปกรณ์ผ่าตัดผ่านทางช่องคลอดของคนไข้
- ไม่มีรอยบาดแผลที่มองเห็นได้จากภายนอก
- มีโอกาสเจ็บแผลได้น้อยกว่า และระยะเวลาฟื้นตัวสั้นกว่าเช่นกัน
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- การผ่าตัดนำรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างจะทำให้คนไข้ไม่มีประจำเดือนและไม่เกิดการตั้งครรภ์อีก ก่อนผ่าตัดคนไข้จึงควรปรึกษาแพทย์และคู่ชีวิตเกี่ยวกับแผนการมีบุตรอย่างละเอียดเสียก่อน
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง เช่น ยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด
- ตรวจสุขภาพตามรายการที่แพทย์แนะนำก่อน เช่น ตรวจเลือด ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องหรือช่องคลอด ตรวจปัสสาวะ
- งดสูบบุหรี่ งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 เดือนก่อนผ่าตัด
- งดน้ำและงดอาหารล่วงหน้าประมาณ 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด หรือตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
- งดใส่คอนแทคเลนส์ งดทาเล็บ งดใส่แว่นตา งดใส่ฟันปลอม และควรถอดอุปกรณ์ที่เจาะตามร่างกาย เช่น จิวจมูกหรือสะดือ
- ถอดเครื่องประดับ ของมีค่าเก็บไว้ที่บ้านเพื่อป้องกันการสูญหาย
- พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- แพทย์อาจแนะนำให้คนไข้ที่มีน้ำหนักเกินลดน้ำหนักก่อนผ่าตัด
- อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด
- แพทย์อาจให้คนไข้ใส่สายสวนปัสสาวะก่อนผ่าตัด
- พาญาติมาด้วยในวันผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
คนไข้จะนอนดูอาการที่โรงพยาบาลประมาณ 2 วัน หลังจากนั้นหากไม่มีสัญญาณอาการแทรกซ้อน ก็สามารถเดินทางกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ ระยะเวลาที่คนไข้จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติอยู่ที่ประมาณ 6 สัปดาห์ขึ้นไป
การดูแลตนเองหลังผ่าตัด
- หลังผ่าตัดประมาณ 24 ชั่วโมง แพทย์จะค่อย ๆ ให้คนไข้นั่งตรง หากไม่เวียนศีรษะหรือหน้ามืด จะเริ่มให้คนไข้ลุกยืนและเดิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องอืด
- หากแพทย์ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ คนไข้สามารถอาบน้ำได้ แต่ให้งดฟอกสบู่ ถู หรือเกาบริเวณที่ติดพลาสเตอร์ แต่หากไม่ได้ปิดแลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ ให้งดไม่ให้แผลโดนน้ำจนกว่าแพทย์จะอนุญาต
- กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- กินอาหารที่มีโปรตีนและเส้นใยสูง เพื่อลดโอกาสท้องผูกจนทำให้เกิดแรงดันในช่องท้อง และอาจทำให้แผลหายช้า
- แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทนฮอร์โมนเพศหญิงที่ขาดไปจากการตัดรังไข่ออก
- งดขับรถเองประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
- งดสูบบุหรี่ งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 2 สัปดาห์
- งดยกของหนัก งดออกกำลังกายหนัก ๆ ประมาณ 6 สัปดาห์หลังผ่าตัด หรือจนกว่าแพทย์จะอนุญาต
- สามารถออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดินจ็อกกิ้งได้
- งดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 6 สัปดาห์
- งดว่ายน้ำหรือแช่น้ำ 6-12 สัปดาห์
- งดกินอาหารของหมักดองและอาหารรสจัด
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- อาการชาที่แผล แต่โดยส่วนมากจะหายดีได้เองภายใน 4-6 เดือนหลังผ่าตัด
- หลังผ่าตัด คนไข้อาจยังมีเลือดออกจากช่องคลอดบ้างเล็กน้อย แต่หากเลือดมากเท่าปริมาณเลือดประจำเดือน รวมถึงมีตกขาวมากและมีกลิ่นเหม็นปิดปกติ ให้รีบกลับมาพบแพทย์
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาสลบ เช่น คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
- ภาวะแผลติดเชื้อ ทำให้คนไข้อาจมีไข้สูง เกิดอาการแผลบวมแดง มีของเหลวไหลออกจากแผล
- ภาวะแผลเลือดออกไม่หยุด ซึ่งให้รีบกลับมาพบแพทย์โดยทันที
- หากคนไข้ไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทน ก็อาจมีอาการจากภาวะที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเพศหญิง เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก อารมณ์แปรปรวน ความจำพร่าเลือน ใจสั่น ปวดเมื่อยตามตัว ช่องคลอดแห้ง สุขภาพผิวและผมหยาบหรือแห้งขึ้น
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พญ. ศันสนีย์ อังสถาพร (หมอแซน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต
- วุฒิบัตร สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- วุฒิบัตร อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวช
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางสาขานรีเวชและมะเร็งนรีเวช
- สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการการผ่าตัดเปิดหน้าท้องในด้านนรีเวช เช่น ก้อนเนื้องอกมดลูก, มดลูก, ท่อนำไข่, ก้อนเนื้อรังไข่, ถุงน้ำรังไข่
- ประสบการณ์สูตินรีเเพทย์มา 4 ปี, มะเร็งนรีเวช 2 ปี จากนั้น ปฏิบัติงานในรพ.รัฐขนาดใหญ่ 1ปี
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.นพ. เกรียงศักดิ์ ศิริศักดิ์พาณิชย์ (หมอเล็ก)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2534 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- 2540 สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ นครสวรรค์
- 2541 สูติศาสตร์ นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- 2556 Certificate of Urogynecology Department of Obstetrics and Gynecology, Chang Gung Memorial Hospital (Taiwan)
- 2557 Certificate of International Fellowship Program in the Department of Urogynecology, Kameda Medical Center (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดส่องกล้อง
- โรคและหัตถการที่ชำนาญ สูตินรีเวชทั่วไป, โรคนรีเวชทางเดินปัสสาวะ, กระบังลมหย่อน (มดลูกหย่อน), การควบคุมปัสสาวะผิดปกติ, ปัสสาวะเล็ด, ผ่าตัดโรคกระบังลมหย่อน, ผ่านทางหน้าท้องด้วยวิธีส่องกล้อง, ผ่าตัดรักษาโรคกระบังลมหย่อนทางช่องคลอดโดยการใช้ตาข่ายช่วยยึด, ผ่าตัดโรคปัสสาวะเล็ดโดยการใช้ตาข่ายยกท่อปัสสาวะ
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.พญ. พัทยา เฮงรัศมี (หมอไต๊)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2542 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2543 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2548 วุฒิบัตร สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2548 แพทย์ประจำบ้าน สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2552 Fellowship Training in Gynecology Endoscopy and Urogynecology, Monash Medical Centre (Australia)
- 2558 Fellowship Training in Advanced Laparoscopic Surgery, Centre for Advanced Reproductive Endosurgery, (Australia)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน สูติ/นรีเวช และ นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
-หัตถการที่ชำนาญ: ผ่าตัดรักษาปัสสาวะเล็ดด้วยการใส่เทปพยุงใต้ท่อปัสสาวะ, ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอดโดยการส่องกล้องทางหน้าท้อง, ผ่าตัดแก้ไขผนังช่องคลอด, ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอดผ่านทางช่องคลอด, ผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้องเพื่อเลาะตัดรอยโรคช็อกโกแลตซีสต์ชนิดกินลึก
-สมาชิกแพทยสภา
-ราชวิทยาลัยสูติ/นรีแพทย์แห่งประเทศไทย
-ชมรมนรีแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องแห่งประเทศไทย
-ชมรมนรีแพทย์ทางเดินปัสสาวะแห่งประเทศไทย