ทำหมันหญิงแบบเปิด
แผลเล็กประมาณ 2-5 ซม. อยู่ในสะดือ แทบมองไม่เห็น
มักทำพร้อมกับผ่าคลอดใน 12-24 ชม. เพราะมดลูกอยู่สูง
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ทำหมันผู้หญิงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนในร่างกายและการมีประจำเดือน และไม่ส่งผลต่อน้ำหนักตัว
- แค่ป้องกันโอกาสการปฏิสนธิระหว่างไข่กับเชื้ออสุจิเท่านั้น
- ไม่กระทบต่ออารมณ์ทางเพศ ไม่กระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์
มีคำถามที่สงสัย อยากหายกังวลใจ
ปรึกษาสูติแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
ทำหมันแบบเปิดส่วนใหญ่ทำพร้อมกับผ่าคลอดใน 12-24 ชม. เพราะมดลูกอยู่สูง
- เปิดแผลที่สะดือประมาณ 2-5 ซม.
- แผลเล็ก ฟื้นตัวไว
ทำหมันแบบส่องกล้องเป็นที่นิยมมากกว่าแบบเปิด เพราะแผลเล็กกว่า ฟื้นตัวไว - มีโอกาสเกิดพังผืดได้น้อยกว่า
- ดูรายละเอียดทำหมันหญิงแบบส่องกล้อง [คลิกที่นี่]
ไม่ว่าจะทำหมันแบบไหน ก็มีประสิทธิภาพเหมือนกัน
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
รู้จักการผ่าตัดนี้
การทำหมันผู้หญิงแบบเปิด (Tubal Sterilization) แพทย์จะเปิดแผลที่หน้าท้อง ขนาดประมาณ 2-3 ซม. จากนั้นจะค้นหาท่อนำไข่แล้วตัดและผูกท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้าง
การทำหมันผู้หญิงแบบเปิดนิยมทำหลังคลอดบุตรภายใน 12-24 ชม. หรือทำร่วมกับการผ่าตัดคลอดบุตรเพราะเป็นช่วงเวลาที่มดลูกอยู่สูงในระดับสะดือ ทำให้ง่ายต่อการหาท่อนำไข่ และสามารถลงแผลอยู่ในสะดือเพื่อทำให้ไม่เห็นแผลผ่าตัดที่หน้าท้องได้
ขั้นตอนการทำหมันผู้หญิงแบบเปิด
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลที่หน้าท้องบริเวณสะดือเพื่อคลำหาท่อนำไข่
- ทำหมันด้วยการตัดกลางท่อนำไข่ เพื่อไม่ให้มีการเชื่อมต่อกันอีก
- การผ่าตัดทำหมันหญิงใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
12 สัปดาห์หลังทำหมัน ต้องได้รับการตรวจยืนยันว่าท่อนำไข่อุดตันสมบูรณ์ทั้ง 2 ข้างจากแพทย์
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ทำหมันผู้หญิงแบบเปิด (Tubal Sterilization)
- เปิดแผลที่หน้าท้องหรือสะดือ ขนาดประมาณ 2-5 ซม.
- เหมาะกับคนที่เพิ่งคลอดบุตรภายใน 24-72 ชม. เพราะมดลูกอยู่สูงในระดับสะดือ หาท่อนำไข่ได้ง่าย
ทำหมันผู้หญิงแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Tubal Sterilization)
- เปิดแผลที่สะดือและเหนือหัวหน่าวประมาณ 1 ซม. เพื่อสอดกล้องและอุปกรณ์เข้าไปทำหมัน
- ลดโอกาสเสี่ยงการเป็นพังผืด
- ดูรายละเอียดทำหมันหญิงแบบส่องกล้อง [คลิกที่นี่]
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดทำหมันแบบเปิดสามารถดูแลเหมือนการผ่าตัดทั่วไป แพทย์อาจให้พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2 วัน หากไม่มีอาการข้างเคียงก็สามารถกลับบ้านได้
การดูแลตัวเองหลังทำหมัน
- ระมัดระวังไม่ให้แผลผ่าตัดถูกน้ำ ไม่ควรอาบน้ำร้อน หรือว่ายน้ำจนกว่าจะครบกำหนดเปิดแผล หรือประมาณ 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด
- เลี่ยงการยกของหนัก เดินนานๆ การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ต้องออกแรงมาก หรือการทำงานหนักหลังการผ่าตัดทำหมันอย่างน้อย 1 สัปดาห์
- งดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 1-2 เดือน หรือตามคำแนะนำของแพทย์
- 12 สัปดาห์หลังทำหมัน ต้องได้รับการตรวจยืนยันว่าท่อนำไข่อุดตันสมบูรณ์ทั้ง 2 ข้าง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- ผลข้างเคียงจากการดมยาสลบ ได้แก่ คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย สามารถหายได้เองภายใน 2 วัน
- อาจรู้สึกปวดท้องน้อย ปวดแผลผ่าตัดขณะเคลื่อนไหว หรือขยับตัว ส่วนใหญ่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่หาย หรือมีน้ำ หรือเลือดไหลออกมาจากแผลผ่าตัด จะต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
คุณหมอสูตินรีเวช ปริญญาเอกและเกียรตินิยมอันดับ 1 ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องสำหรับผู้ที่มีบุตรยากหรือมีปัญหาสุขภาพผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS