แก้หมันหญิง/ต่อหมันหญิง (แบบเปิด)
แก้หมันผู้หญิง หรือเรียกว่า ต่อหมัน
ยิ่งแก้หมันไว ยิ่งเพิ่มโอกาสท้อง
แก้หมันแบบเปิด แผลไม่ใหญ่อย่างที่คิด แค่ 3-4 ซม. แต่โอกาสต่อหมันสำเร็จสูงกว่า
คุณมีโอกาสกลับมาท้องมากน้อยแค่ไหน? ปรึกษาคุณหมอฟรีวันนี้!
ปรึกษาหมอปอนด์ ปริญญาเอกด้านการเจริญพันธุ์ ประสบการณ์ผ่าตัด 10+ ปี
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
แก้หมันแบบเปิดหน้าท้อง แผลไม่ได้ใหญ่อย่างที่คิด แค่ประมาณ 3-4 ซม. แต่โอกาสต่อหมันสำเร็จสูงกว่า
- แก้หมันผู้หญิง ยิ่งแก้เร็วโอกาสแก้หมันสำเร็จยิ่งสูง
- แก้หมันผู้หญิง ง่ายกว่าแก้หมันผู้ชาย ในผู้ชายต้องทำที่อัณฑะ มีโอกาสท่อนำเชื้ออสุจิตีบตันจากการทำหมันมานาน
ไม่แน่ใจว่าแก้หมันแล้วจะมีลูกได้เลยไหม? ปรึกษาหมอปอนด์ก่อนได้
- ปรึกษาเรื่องมีลูก กับหมอปอนด์ พ.ต.ท. ดร. นพ. สุธรรม สุธาพร
- ปริญญาเอกด้านการเจริญพันธุ์ ประสบการณ์ผ่าตัด 10+ ปี
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติทางนรีเวช
ผ่าตัดแก้หมัน มั่นใจหมอปอนด์ - ปรึกษาหมอปอนด์ได้ที่นี่
รู้จักการผ่าตัดนี้
**การผ่าตัดแก้หมันหญิง (Tubal Ligation Reversal) หรือการต่อหมัน **คือการผ่าตัดเพื่อนำปลายสองข้างของท่อน้ำไข่ที่ถูกตัดขาดออกจากกัน กลับมาเชื่อมต่อกันอีกครั้ง
การแก้หมันแนะนำให้ทำในช่วงอายุไม่เกิน 40 ปี เพราะยิ่งอายุมาก โอกาสในการแก้หมันสำเร็จและกลับมาตั้งครรภ์จะน้อย
- ผู้ที่เพิ่งทำหมันมาไม่นาน มีโอกาสแก้หมันสำเร็จกว่าผู้ที่ทำหมันมานานแล้ว หากทำหมันมานานกว่า 10 ปี อาจแก้หมันได้ยาก
- ผู้ที่ทำหมันในรูปแบบตัดท่อนำไข่เล็กน้อย วัสดุอุด การหนีบ หรือรัดท่อด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีโอกาสแก้หมันสำเร็จได้มากกว่าการทำหมันแบบอื่น
ขั้นตอนการผ่าตัดแก้หมันหญิง
การผ่าตัดแก้หมันหญิง ทั้งแบบเปิดหน้าท้องและแบบส่องกล้อง มีขั้นตอนคล้ายกัน ต่างกันตรงที่การเปิดแผลและระยะเวลาการพักฟื้น ดังนี้
- วิสัญญีแพทย์ระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์เปิดแผลขนาดเล็กประมาณ 1 ซม. ที่หน้าท้องส่วนล่าง 3 จุด เพื่อสอดอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปทำการผ่าตัด
- แพทย์จะตรวจประเมินความยาวท่อนำไข่ที่เหลือจากการทำหมัน โดยจะต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 4 ซม. หากมีความยาวไม่พอ แพทย์จะหยุดการผ่าตัดแก้หมัน
- การแก้หมัน แพทย์จะเย็บเชื่อมต่อท่อนำไข่ทั้งสองข้างเข้าหากันให้เรียบร้อย
- ตรวจสอบการเชื่อมต่อของท่อนำไข่ด้วยการฉีดสี และดูว่าสามารถผ่านไปยังมดลูกได้หรือไม่
- ตรวจเช็กความสมบูรณ์ของท่อนำไข่และมดลูกว่าพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่
ระยะเวลาผ่าตัดแก้หมันหญิง
การผ่าตัดแก้หมันหญิงใช้เวลาประมาณ 2 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
- แก้หมันหญิงแบบเปิดหน้าท้อง เป็นการผ่าตัดแบบดั้งเดิม แพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็กที่หน้าท้องส่วนล่างเพื่อให้สามารถเชื่อมท่อนำไข่ได้ ปัจจุบันไม่นิยมเพราะใช้เวลาพักฟื้นนาน
- แก้หมันหญิงแบบส่องกล้อง เป็นวิธีการผ่าตัดที่นิยมในปัจจุบัน แผลมีขนาดเล็ก พักฟื้นไม่นาน แพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็กประมาณ 1 ซม. ที่หน้าท้องส่วนล่าง 3 จุด แล้วสอดอุปกรณ์ที่ติดกล้องขนาดเล็กเข้าไปเชื่อมต่อนำไข่
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนแก้หมัน
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ในวันผ่าตัด แนะนำให้สวมใส่เสื้อกระดุมหน้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อสวมใส่และถอดได้ง่าย
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังแก้หมันต้องพักฟื้นกี่วัน?
ใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 2 วัน ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนสามารถกลับบ้านได้
หลังทำหมัน แนะนำให้ดูแลตัวเองดังนี้
- ทำความสะอาดแผล กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- งดอาบน้ำ 48 ชม. แรกหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันแผลเปียก และติดเชื้อ
- สามารถเริ่มทำกิจกรรมได้ตามปกติภายใน 2-7 วัน
- งดออกกำลังกายและยกสิ่งของหนัก อย่างน้อย 3 สัปดาห์
- งดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแพทย์จะอนุญาต เพื่อป้องกันแผลปริ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การแก้หมันหญิงอาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ แต่มีโอกาสค่อนข้างน้อย ดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- อาจเกิดแผลเป็นจากการผ่าตัด โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติแผลเป็นคีลอยด์
- อาจเกิดความเสียหายในอวัยวะใกล้เคียง เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ หรือหลอดเลือดแดง
- อาจแก้หมันได้เพียงข้างเดียว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโอกาสในการตั้งครรภ์มาก
- อาจแก้หมันไม่สำเร็จจากสาเหตุต่างๆ เช่น ท่อนำไข่อุดตันจากแผลเป็นจากการทำหมัน
- มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกสูงกว่าคนทั่วไป ดังนั้นผู้ที่เข้ารับการแก้หมันแล้วตรวจพบว่าตั้งครรภ์ จะต้องรีบไปฝากครรภ์ทันที
- อาการผิดปกติที่เป็นอันตราย เช่น อาการเวียนศีรษะ ปวดไหล่ มีตะคริว ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้องมาก ถ่ายเป็นเลือด เป็นไข้หนาวสั่น หรือปวดตามร่างกาย หากมีอาการเหล่านี้ หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ติดต่อกัน จะต้องรีบพบแพทย์ทันที
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พญ. ศันสนีย์ อังสถาพร (หมอแซน)
คุณหมอสูตินรีเวชผู้หญิง เชี่ยวชาญด้านอวัยวะและมะเร็งของผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต
- วุฒิบัตร สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- วุฒิบัตร อนุสาขามะเร็งวิทยานรีเวช
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางสาขานรีเวชและมะเร็งนรีเวช
- สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการการผ่าตัดเปิดหน้าท้องในด้านนรีเวช เช่น ก้อนเนื้องอกมดลูก, มดลูก, ท่อนำไข่, ก้อนเนื้อรังไข่, ถุงน้ำรังไข่
- ประสบการณ์สูตินรีเเพทย์มา 4 ปี, มะเร็งนรีเวช 2 ปี จากนั้น ปฏิบัติงานในรพ.รัฐขนาดใหญ่ 1ปี
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
คุณหมอสูตินรีเวช ปริญญาเอกและเกียรตินิยมอันดับ 1 ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องสำหรับผู้ที่มีบุตรยากหรือมีปัญหาสุขภาพผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS