ผ่าตัดทอนซิลและอะดีนอยด์
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ทอนซิลและอะดีนอยด์อักเสบเรื้อรังจะไม่ฆ่าเชื้อโรค แต่สะสมเชื้อโรคและอาจพัฒนาเป็นมะเร็งต่อมทอนซิลหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้!
- การผ่าตัดไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง ยังมีต่อมน้ำเหลืองอื่นๆ ในช่องคอที่กำจัดเชื้อโรคได้
- อะดีนอยด์ คล้ายทอนซิล แต่จะค่อยๆ เล็กลงตอนวัยรุ่นและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่
รีบผ่าตัดก่อนที่อาการจะลุกลาม
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
เป็นหนักแค่ไหนต้องผ่าตัดทอนซิล?
- เป็นทอนซิลอักเสบเกิน 6 ครั้ง/ปี หรือ เกิน 3 ครั้ง/2 ปี
- ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังหรือติดเชื้อ
- เป็นฝีที่ต่อมทอนซิล
ไม่แน่ใจว่าอาการแบบไหนต้องผ่าตัด
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
อาการแบบไหนต้องตัดต่อมทอนซิล
[ฟังหมอกั๊วะอธิบาย] [ฟังหมอเชอร์รี่อธิบาย]
อาการแบบไหนต้องตัดต่อมอะดีนอยด์
[ฟังหมอกั๊วะอธิบาย] [ฟังหมอเชอร์รี่อธิบาย]
คำถามที่พบบ่อย
หลังผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์แล้ว จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ หรือป่วยง่ายไหม?
การผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายน้อยมาก เนื่องจากในร่างกายของเรายังมีระบบภูมิคุ้มกันอีกหลายด่าน จึงไม่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง หรือป่วยง่ายแต่อย่างใด
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ภาวะต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Tonsillitis)
- ต่อมทอนซิลบวมแดง
- กลืนอาหารลำบาก
- เจ็บคอเวลากลืน
- ปวดศีรษะ
- มีไข้ หนาวสั่น
- เสียงแหบหรือเสียงเปลี่ยน
- มีกลิ่นปาก
- คลำได้ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม โต
- ปวดร้าวที่หู
- อาจมีอาการอาเจียนหลังรับประทานอาหาร
ภาวะต่อมอะดีนอยด์โตในเด็ก มีอาการดังนี้
- มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
- นอนกรน นอนหลับยาก นอนกระสับกระส่าย
- เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอบวม
- หูอื้อ หรือหูหนวกชั่วคราว จากการที่หูชั้นกลางอักเสบ
- หายใจทางจมูกลำบาก ทำให้ต้องหายใจทางปาก ทำให้ริมฝีปากแห้ง ลอก มีกลิ่นปาก คัดจมูก หรือน้ำมูกไหลเรื้อรัง
- ไซนัสอักเสบ ทำให้มีไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือไอ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA)
- นอนกรนดังมากแล้วหยุดเป็นพักๆ ตามด้วยอาการคล้ายสำลักขณะนอนหลับ
- รู้สึกนอนหลับพักผ่อนไม่พอ ง่วงนอนผิดปกติในเวลาทำงานหรือขับรถ
- ไม่มีสมาธิ ขี้หลงขี้ลืม
- ปวดศีรษะหลังตื่นนอน
- ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
- ความรู้สึกทางเพศลดลง
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- แพทย์ตรวจคอด้วยอุปกรณ์พร้อมไฟส่อง และตรวจหูกับจมูกเพื่อหาอาการติดเชื้อ
- ตรวจว่ามีอาการของไข้อีดำอีแดงซึ่งสัมพันธ์กับคออักเสบหรือไม่
- คลำต่อมน้ำเหลืองว่าโตหรือไม่
- ตรวจม้ามเพื่อหาสาเหตุโรคว่าเกิดจากโรคโมโนนิวคลิโอซิส ซึ่งทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบหรือไม่
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- แพทย์จะตรวจวินิจฉัยและรักษาตามอาการ
- ถ้าต่อมทอนซิลอักเสบไม่มาก เจ็บคอเล็กน้อย ไม่มีไข้ อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา
- ถ้าต่อมทอนซิลอักเสบมาก แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ ยาแก้อักเสบเพื่อกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุ ถ้าการอักเสบนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- ถ้ารักษาด้วยยาปฏิชีวนะไม่ได้ผล เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิล
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- หูอื้อ หรือหูหนวกชั่วคราว จากการที่หูชั้นกลางอักเสบ
- ไซนัสอักเสบ ทำให้มีไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือไอ
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอบวม
- เจ็บคอเป็นประจำ อาจมีอาการไข้สูง หนาวสั่น และปวดกระดูกไปทั้งตัว
- กลืนลำบาก มีกลิ่นปาก และไอเรื้อรัง
- เนื้อเยื่อรอบต่อมทอนซิลเป็นหนอง
- มีอาการชักหลังจากที่เจ็บคอและเป็นไข้สูง
- ต่อมทอนซิลโตมากจนไปอุดกั้นทางเดินหายใจ จนมีอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย
- หายใจทางจมูกลำบากจนต้องหายใจทางปาก ทำให้ริมฝีปากแห้ง ลอก มีกลิ่นปาก คัดจมูก หรือน้ำมูกไหลเรื้อรัง
- มีภาวะต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรืออักเสบปีละหลายครั้ง หลายปีติดต่อกัน
- ต่อมทอนซิลโตมากจนไปอุดกั้นทางเดินหายใจ จนมีอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย
- สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งต่อมทอนซิลหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ แต่หาตำแหน่งมะเร็งต้นเหตุไม่เจอ และแพทย์สันนิษฐานว่ามาจากต่อมทอนซิล
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดต่อมทอนซิล (Tonsillectomy) และการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ (Adenotonsillectomy) คือ การผ่าตัดรักษาต่อมทอนซิลหรืออะดีนอยด์อักเสบหรือโต ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการกินยา โดยสามารถผ่าตัดพร้อมกันได้ทั้งสองต่อม
ขั้นตอนการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์
- วิสัญญีแพทย์ทำการระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ
- แพทย์ใส่เครื่องมือเล็กๆ ทางช่องปาก แล้วใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าหรือใช้วิธีคว้านเอาต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ออกทั้งหมด โดยจะไม่มีแผลให้เห็นจากภายนอก
- การผ่าตัดต่อมทอนซิลใช้เวลาประมาณ 2 ชม.
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
ก่อนการผ่าตัดจะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกายก่อน โดยเฉพาะในคนที่ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับชนิดอุดกั้น เพราะจะต้องตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) และระบบทางเดินหายใจส่วนบนอย่างละเอียด
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจ Sleep Test ให้คุณวันนี้
หลังจากที่ประเมินว่าผ่าตัดต่อมทอนซิล/อะดีนอยด์ได้ ให้เตรียมตัวก่อนผ่าตัดดังนี้
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์แพทย์จะให้พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นจะอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน โดยจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดดังนี้
- กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด ตามที่แพทย์สั่ง
- เลี่ยงการตะโกน การไอจามแรงๆ การยกของหนัก หรือการออกแรงมาก ในช่วงแรกหลังผ่าตัด เพราะอาจทำให้เลือดออกได้
- สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด อาจจะยังนอนหายใจไม่สะดวก หรืออาการนอนกรนไม่ดีขึ้น แนะนำให้นอนหมอนสูงก็จะช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น
- 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ควรกินอาหารเหลวที่เย็น เช่น ไอศกรีม เจลลี่โภชนา โยเกิร์ต หรืออาหารอ่อน เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม เลี่ยงอาหารที่เป็นของแข็ง ร้อนจัด เผ็ดจัด หรือเปรี้ยวจัดจนเกินไป
- หลังจากกินอาหารแล้ว ต้องบ้วนปากและแปรงฟันทุกครั้ง
- หมั่นอมน้ำแข็ง และสลับกับประคบเย็นบ่อยๆ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดต่อมทอนซิลและอะดีนอยด์อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังนี้
- ความเสี่ยงทั่วไปที่พบได้จากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ แพ้ยาชา แพ้ยาสลบ อาการชา บวมช้ำ เลือดออก หรือเลือดคลั่ง
- มีฝ้าสีขาวอยู่ในช่องคอบริเวณเดิมของต่อมทอนซิล เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ตามปกติที่เกิดจากการกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยจะค่อยๆ หายได้เองภายใน 2 สัปดาห์
- อาจมีแผลบริเวณเหงือก ลิ้น หรืออาจมีฟันโยก ซึ่งเกิดจากการใส่เครื่องมือในช่องปาก
- หากหลังจากผ่าตัดแล้ว มีอาการผิดปกติ เช่น ดื่มน้ำ หรือกินได้น้อย มีเลือดออก ไข้สูง อาเจียน เจ็บคอมากขึ้น ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา
พญ. เพชรรัตน์ แสงทอง (หมอเชอร์รี่)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อนุสาขาเวชศาสตร์การนอนหลับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์เฉพาะทางสาขา โสต ศอ นาสิกวิทยา และ เวชศาสตร์การนอนหลับ
- โสต ศอ นาสิกแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดแก้ไขทางเดินหายใจส่วนต้น มากกว่า 5 ปี
สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา
นพ. สุเมธ เฟื่องกำลูน (หมอกั๊วะ)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- วุฒิบัตรสาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (เกียรตินิยมอันดับ 2)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์ผู้ชำนาญการด้านการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมอะดินอยด์
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 9 ปี
- มีประสบการณ์ผ่าตัดกว่า 100 เคส