เจาะชิ้นเนื้อตรวจหามะเร็งเต้านม ด้วยเข็ม Core Needle Biopsy และเครื่องอัลตราซาวด์
เข็มไม่ได้ใหญ่ เปิดแผลแค่ 3-4 มม. เท่านั้น
ใช้การฉีดยาชา ไม่ต้องดมยาสลับ หลังทำเสร็จกลับบ้านได้เลย
รับส่วนลด 50% หรือรับค่ารีวิวสูงสุด 50,000 บาท สมัครเป็นเคสรีวิววันนี้ ขอรายละเอียดที่แอดมินเพิ่มได้เลย!
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย
- การตรวจเจอความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้การรักษาทำได้ง่ายขึ้น
- ผู้หญิงทุกคน ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการเอกซเรย์ อัลตราซาวด์เป็นประจำทุกปี
- คนที่มีความเสี่ยงหรืออายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจด้วยการทำแมมโมแกรมเต้านม
- ถ้าตรวจเจอก้อนเนื้อหรือความผิดปกติ แพทย์จะเจาะนำชิ้นเนื้อไปตรวจว่าเป็นเนื้อร้าย เป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
ให้แอดมินแนะนำโปรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมใกล้บ้านที่นี่
การเจาะชิ้นเนื้อเต้านมด้วยเข็มขนาดใหญ่ เข็มไม่ได้ใหญ่เหมือนชื่อ เปิดแผลแค่ 3-4 มม. เท่านั้น
- ใช้เครื่องอัลตราซาวด์บอกตำแหน่งความผิดปกติ แม่นยำมาก
- ใช้วิธีฉีดยาชา แล้วนำเข็มเจาะชิ้นเนื้อจากก้อนประมาณ 3-5 ครั้ง เพื่อส่งตรวจ
- ใช้เวลาประมาณ 40 นาที หลังทำสามารถกลับบ้านได้เลย
- รอผลตรวจประมาณ 3 วัน หรือขึ้นกับแต่ละสถานพยาบาล
ถ้าผลตรวจบอกว่าเป็นก้อนมะเร็งไม่ต้องตกใจ
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare เพื่อขอคำปรึกษาก่อนได้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- คลำเจอก้อนเนื้อที่เต้านมหรือรักแร้
- ขนาดหรือรูปร่างเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม
- มีรอยบุ๋มที่เต้านม คล้ายลักยิ้มหรือผิวเปลือกส้ม
- มีน้ำหรือของเหลวไหลออกจากหัวนม
- มีแผลบริเวณหัวนมแล้วรักษาไม่หาย
- เจ็บหรือปวดเต้านมโดยไม่เกี่ยวกับประจำเดือน
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง (ควรทำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงหลังมีประจำเดือนวันที่ 7-10) [ดูวิดีโอแนะนำที่นี่]
- ตรวจเต้านมโดยแพทย์
- รตรวจอัลตราซาวด์เต้านม (Ultrasound)
- ตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)
- ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือที่เรียกว่า “Breast MRI” มักใช้ตรวจคัดกรองกรณีที่ผลตรวจอัลตราซาวด์และแมมโมแกรมไม่ชัดเจน
- ตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) เพื่อวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
อายุเท่าไหร่ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม?
- ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญการทุก 3 ปี
- ผู้หญิงอายุ 40-69 ปี ควรตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ตรวจโดยแพทย์ผู้ชำนาญการทุก 1 ปี และตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
- ผู้หญิงอายุ 70 ปีขึ้นไป ความถี่ในการเข้ารับการตรวจขึ้นกับการประเมินของแพทย์
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- ผู้หญิงที่เข้าวัย 40 ปีจะได้รับคำแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) ร่วมกับตรวจอัลตราซาวด์ (Breast Ultrasound) อย่างสม่ำเสมอทุกปี
- ถ้าตรวจเจอก้อนเนื้อหรือความผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจพิสูจน์ประเภทของก้อนเนื้อด้วยการใช้เข็มเจาะนำชิ้นเนื้อไปส่งตรวจวินิจฉัยว่าเป็นก้อนมะเร็งหรือไม่
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
รู้จักการผ่าตัดนี้
**เจาะชิ้นเนื้อตรวจหามะเร็งเต้านม ด้วยเข็ม Core Needle Biopsy และเครื่องอัลตราซาวด์ **(Core Needle Breast Biopsy Under Ultrasound) เป็นการตรวจหาชนิดของก้อนเนื้อที่อยู่ในเต้านมว่าเป็นก้อนเนื้อมะเร็งหรือไม่
เครื่องอัลตราซาวด์จะแสดงภาพภายในเต้านมขณะตรวจทำให้แพทย์มองเห็นตำแหน่ง รูปร่าง และขนาดของก้อนเนื้อรวมถึงเส้นเลือดที่อยู่โดยรอบได้อย่างแม่นยำ และยังวินิจฉัยลักษณะภายในก้อนเนื้อได้ว่า เป็นก้อนแข็ง ก้อนนิ่ม หรือถุงน้ำ
ขั้นตอนการเจาะชิ้นเนื้อตรวจหามะเร็งเต้านม
- แพทย์จะให้ยกแขนขึ้นแนบกับศีรษะ แล้วเอาหมอนใบเล็กมาหนุนที่แขนกับไหล่
- พยาบาลทำความสะอาดเต้านมด้วยแอลกอฮอล์
- แพทย์ใช้อุปกรณ์อัลตราซาวด์นาบที่เต้านมเพื่อหาตำแหน่งของก้อนเนื้อ
- แพทย์ฉีดยาชาในตำแหน่งที่จะเจาะชิ้นเนื้อ แล้วเปิดผิวหนังเพื่อสอดเข็มเจาะชิ้นเนื้อเข้าไป ภาพจากเครื่องอัลตราซาวด์จะฉายให้เห็นตำแหน่งของเข็มที่สอดเข้ามาในเต้านมด้วย
- แพทย์ใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อออกมาประมาณ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 1 ชิ้น แล้วนำชิ้นเนื้อใส่ในกระปุกสำหรับตรวจวินิจฉัยต่อไป
- พยาบาลกดแผลเพื่อไล่เลือดที่ตกค้างแล้วปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ หากไม่มีอาการเลือดซึมหรืออาการข้างเคียงอื่นๆ ก็สามารถเดินทางกลับบ้านได้
ระยะเวลารอผลตรวจชิ้นเนื้อเต้านมจะใช้เวลาประมาณ 3 วันหรือขึ้นกับแต่ละสถานพยาบาล
- ในกรณีแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นก้อนมะเร็ง แพทย์จะวางแผนการรักษาโรคมะเร็งเต้านมต่อไป
- ถ้าไม่ได้เป็นก้อนมะเร็ง แพทย์มักแนะนำให้กลับมาตรวจชิ้นเนื้อซ้ำอีกเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของก้อนเนื้อทุกๆ 3-6 เดือน
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ถ้าเคยตรวจแมมโมแกรมหรืออัลตราซาวด์เต้านมจากสถานพยาบาลอื่นๆ ให้นำผลมาให้แพทย์ตรวจดูก่อนนัดหมายตรวจชิ้นเนื้อเต้านม
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- แต่งตัวในชุดที่ใส่สบาย สามารถถอดเปลี่ยนได้ง่าย
- ไม่ต้องงดน้ำและงดอาหารก่อนตรวจ
การดูแลหลังผ่าตัด
- งดการทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก งดออกกำลังกาย งดยกของหนัก 1 สัปดาห์
- ใส่เสื้อชั้นในแบบประคองเต้านมประมาณ 24 ชม. เพื่อป้องกันไม่ให้แผลเปิด
- อย่าให้แผลโดนน้ำ 3 วัน ถ้าสถานพยาบาลใช้พลาสเตอร์กันน้ำปิดแผลให้ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แต่งดการถูหรือจับพลาสเตอร์กันน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำซึมเข้าแผล
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- อาจพบอาการบวมช้ำบริเวณแผลที่แพทย์สอดเข็ม
- อาจมีอาการปวดแผล ซึ่งสามารถกินยาแก้ปวดที่แพทย์สั่งจ่ายให้เพื่อบรรเทาอาการได้ แต่หากกินแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แผลมีเลือดซึมหรือมีของเหลวไหลออกมา ให้รีบกลับมาพบแพทย์โดยทันที
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. จิตรภาณุ วงศ์ยงศิลป์ (หมอจี้)
ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา
- วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์
- ประกาศนียบัตร การผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร การส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง
- ประกาศนียบัตร สาขาโรคเต้านม
- Certification of Endoscopic and Laparoscopic Surgery, Japanese Red Cross Hospital (Japan)
- Certification of Clinical Fellowship at Department of Gastroenterological Surgery, Tokyo Women's Medical University (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการผ่าตัดโรคไส้เลื่อน (Hernia Surgery)
-ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการส่องกล้องทางเดินอาหารขั้นสูง (Advanced Endoscopy)
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. วรเทพ กิจทวี (หมอเชน)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- 2548 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- 2553 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป แพทยสภา
- 2556 ประกาศนียบัตร อนุสาขาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- Certificate of Visiting Fellowship in Minimal Invasive and Endoscopic Breast Surgery, Kameda Medical Center (Japan)
- Masterclass in Endoscopic and Robotic Breast Surgery (Taiwan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ