ผ่าตัดบริเวณฝีคัณฑสูตรโดยเลาะทางติดต่อกันออก
เป็นฝีคัณฑสูตร ยังไงก็ต้องผ่าตัด เพราะหายเองไม่ได้
ตัดเลาะโพรงฝีออก แล้วปล่อยให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ผ่าตัดฝีคัณฑสูตรโดยเลาะทางติดต่อกันออก (Fistulotomy/Fistulectomy)
- ใช้มีดหรือจี้ไฟฟ้าเปิดทางเชื่อมฝี แล้วทำความสะอาดแผล
- 4-5 สัปดาห์ ร่างกายจะซ่อมแซมแผลจนหายเอง
ผ่าตัดผูกท่อฝีคัณฑสูตร (LIFT) - ใช้อุปกรณ์ตัดและเย็บปิดทางเชื่อมฝี ทำให้เชื้อแบคทีเรียหรืออุจจาระไม่สามารถเข้ามาอุดตัน
- ไม่ต้องตัดกล้าเนื้อหูรูดทวารหนัก จึงไม่มีปัญหากลั้นอุจจาระหลังผ่าตัด
ไม่ว่าจะแบบไหน ก็รักษาได้
รีบปรึกษาแพทย์ของ HDcare โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
โรคฝีคัณฑสูตรต่างกับโรคริดสีดวงทวารยังไง?
- โรคริดสีดวงทวารคนไข้ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน แต่ฝีคัณฑสูตรจะมีเลือดซึมแม้ไม่ได้ถ่ายอุจจาระ
- โรคริดสีดวงทวารสามารถหายเองได้หากอาการไม่รุนแรง แต่ฝีคัณฑสูตรต้องรักษาด้วยการผ่าตัดกับแพทย์เท่านั้น
- โรคริดสีดวงไม่มีอาการเกี่ยวกับน้ำหนองหรือฝีหนอง แต่ฝีคัณฑสูตรอาการหลักและต้นตอเกิดจากมีฝีหนองที่ทวารหนัก และน้ำเหลืองปน มีโอกาสเป็นไข้ได้
ไม่แน่ใจว่าที่เป็นอยู่คือริดสีดวงทวาร หรือฝีคัณฑสูตร
ให้แอดมินช่วยหาโปรตรวจคัดกรองริดสีดวงทวารให้คุณวันนี้
คำถามที่พบบ่อย
ผ่าตัดฝีคัณฑสูตร กลับมาเป็นซ้ำได้หรือไม่?
การเกิดฝีคัณฑสูตรยังสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหลังการผ่าตัด ซึ่งสามารถป้องกันเพื่อลดโอกาสเป็นโรคนี้ซ้ำได้ ผ่านการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม เช่น ดื่มน้ำให้เพียงพอทุกวัน กินอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อช่วยให้ขับถ่ายคล่องตัว หากมีภาวะท้องผูก อุจจาระยาก ควรรีบรักษาหรือไปพบแพทย์ พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขอนามัยร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ หากมีโรคประจำตัว ให้ควบคุมอาการของโรคให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้อยู่เสมอ
ผ่าฝีคัณฑสูตร กี่วันแผลหาย?
แผลผ่าตัดฝีคัณฑสูตรจะใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูจนหายดีประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดแผล จำนวนแผล และการดูแลตนเองหลังการผ่าตัดของคนไข้ด้วย
เป็นโรคฝีคัณฑสูตร หายเองได้มั้ย?
โรคฝีคัณฑสูตรเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายเองได้ และจะต้องอาศัยการรักษาด้วยการผ่าตัดจากแพทย์เท่านั้น
รู้จักโรคนี้
โรคฝีคัณฑสูตรคืออะไร?
โรคฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) คือ การอักเสบของต่อมสร้างเมืองที่ขอบรูก้น จนเกิดเป็นฝีหนอง (Perianal Abscess) จนมีการลุกลามจนเกิดรูเชื่อมระหว่างภายในรูทวารและภายนอกรูทวาร
น้ำหนองจะมีปริมาณมากขึ้นจนลุกลามเซาะไปตามชั้นกล้ามเนื้อตรงตำแหน่งรอบทวารหนัก และทะลุขึ้นมาที่ชั้นผิวหนังของรูทวารหนัก ทำให้ลักษณะรอยโรคเป็นเหมือนโพรงทางเชื่อมระหว่างทวารหนักกับผิวหนังชั้นนอกบริเวณใกล้เคียง
สาเหตุที่ทำให้เกิดฝีคัณฑสูตร
โรคฝีคัณฑสูตรมักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรืออักเสบของ “ต่อมเมือก” ซึ่งทำหน้าที่ผลิตมูกบริเวณทวารหนัก
นอกจากนี้โรคฝีคัณฑสูตรยังเกิดได้จากโรคติดเชื้อหรืออักเสบเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคมะเร็งทวารหนัก การติดเชื้อวัณโรค โรคซิฟิลิส โรคลำไส้อักเสบ
โรคฝีหนองคัณฑสูตรเป็นโรคเดียวกับโรคริดสีดวงทวารหรือไม่?
โรคฝีหนองคัณฑสูตรเป็นโรคที่เกิดในตำแหน่งทวารหนักเหมือนกับโรคริดสีดวงทวาร จึงทำให้หลายคนคิดว่าโรคฝีคัณฑสูตรเป็นโรคแบบเดียวกับโรคริดสีดวงทวาร
แต่ความจริงแล้วทั้ง 2 โรคนี้มีความแตกต่างกันในหลายส่วน และมีวิธีรักษาต่างกัน โดยสามารถจำแนกความต่างได้ดังนี้
- โรคริดสีดวงทวารจะทำให้คนไข้ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน แต่ในคนไข้โรคฝีในคัณฑสูตรจะมีเลือดซึมแม้ไม่ได้ถ่ายอุจจาระก็ตาม
- โรคริดสีดวงทวารสามารถหายเองได้หากอาการไม่รุนแรง แต่สำหรับโรคฝีในคัณฑสูตร คนไข้จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดกับแพทย์เท่านั้น และไม่สามารถหายจากโรคนี้เองได้
- โรคริดสีดวงจะไม่มีกลุ่มอาการเกี่ยวกับน้ำหนองหรือฝีหนอง ในขณะที่โรคฝีคัณฑสูตร อาการหลักและต้นตอของโรคจะเกิดจากการมีฝีหนองที่ทวารหนัก นอกจากนี้ยังมีน้ำเหลืองปน และมีโอกาสเป็นไข้ได้อีกด้วย
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- ปวดบวมหรือเจ็บที่แก้มก้นด้านในหรือรอบๆ ทวารหนัก
- มีน้ำเหลืองซึมจากแผลที่ทวารหนัก อาจมีเลือดปนหรือเป็นหนอง
- คันรอบๆ ทวารหนัก หรือผิวหนังรอบทวารหนัก เกิดการอักเสบ บวมแดง
- บางคนอาจมีไข้ร่วมด้วย
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น
- ตรวจอัลตราซาวด์ทวารหนักเพื่อตรวจอย่างละเอียด
- กรณีเป็นฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อน แพทย์จะพิจารณาการตรวจวินิจฉัยด้วยMRI (Magnetic Resonance Imaging)
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
ฝีคัณฑสูตร เป็นแล้วยังไงก็ต้องผ่าตัดเท่านั้น
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดฝีคัณฑสูตรโดยเลาะทางติดต่อกันออก (Fistulectomy) แพทย์จะใส่อุปกรณ์นำทาง (Probe) เข้าไปที่รูเปิดที่ผิวหนัง แล้วใช้มีดหรือไฟฟ้าเปิดเส้นทางตลอดทางเชื่อมฝีหนองแล้วทำความสะอาด จากนั้นตัดเส้นทางนั้นออกแล้วใช้เนื้อเยื่อบางส่วนจากลำไส้ตรง (Rectum) มาปิดและเย็บซ่อมกล้ามเนื้อหูรูด
ขั้นตอนการผ่าตัดฝีคัณฑสูตรโดยเลาะทางติดต่อกันออก (Fistulectomy)
- ระงับความรู้สึกด้วยการบล็อกหลัง
- แพทย์เปิดแผลบริเวณปากโพรงทวารหนัก ยาวไปตลอดจนทางเชื่อมฝีหนองทั้งหมด
- แพทยทำความสะอาดนำน้ำเหลืองและฝีหนองทั้งหมดออกจนสะอาด ตัดเส้นทางนั้นออกแล้วใช้เนื้อเยื่อบางส่วนจากลำไส้ตรง (Rectum) มาปิดและเย็บซ่อมกล้ามเนื้อหูรูด
- ในบางกรณีแพทย์อาจปิดแผลที่เปิดไว้ด้วยผ้าก๊อซ
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดฝีคัณฑสูตรโดยเลาะทางติดต่อกันออก (Fistulotomy/Fistulectomy)
- ใช้มีดหรือจี้ไฟฟ้าเปิดทางเชื่อมฝี แล้วทำความสะอาดแผล
- 4-5 สัปดาห์ ร่างกายจะซ่อมแซมแผลจนหายเอง
ผ่าตัดผูกท่อฝีคัณฑสูตร (LIFT)
- ใช้อุปกรณ์ตัดและเย็บปิดทางเชื่อมฝี ทำให้เชื้อแบคทีเรียหรืออุจจาระไม่สามารถเข้ามาอุดตัน
- โอกาสหายขาด 90%
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
เพื่อเตรียมสุขภาพให้พร้อมก่อนการผ่าตัด ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดได้ แพทย์จะแนะนำให้มีการเตรียมตัวดังนี้
- ตรวจประเมินสุขภาพก่อนการผ่าตัด
- แจ้งประวัติโรคประจำตัว และต้องแจ้งรายการยาประจำตัว วิตามินเสริม สมุนไพรเสริมสุขภาพทุกชนิดให้แพทย์ทราบก่อนการผ่าตัด เนื่องจากอาจต้องงดยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการห้ามเลือดล่วงหน้า เช่น ยาละลายลิ่มเลือด
- งดสูบบุหรี่และงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนผ่าตัดอย่าง 4 สัปดาห์ขึ้นไป
- แพทย์อาจจ่ายยาฆ่าเชื้อให้คนไข้ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- งดอาหารและงดน้ำก่อนการผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์
- สวนล้างลำไส้ให้สะอาดก่อนการผ่าตัด โดยแพทย์จะจัดเป็นผู้ยาสวนทวารให้
- ใส่แผ่นอนามัยหรือผ้าก๊อซซับของเหลว หากก่อนผ่าตัดยังมีเลือดหรือน้ำหนองไหลออกจากทวารหนัก
- งดทำกิจกรรมที่ที่ทำให้แผลกระทบกระเทือนบาดเจ็บหนักกว่าเดิม
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น คนไข้ยังต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลแผลผ่าตัดจากแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะด้านสุขอนามัย เนื่องจากแผลผ่าตัดฝีคัณฑสูตรอยู่ในตำแหน่งรอบทวารหนัก ซึ่งเสี่ยงปนเปื้อนสิ่งสกปรกจากอุจจาระได้ง่ายกว่า โดยสามารถทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ได้
- ทำความสะอาดแผลให้สะอาดอยู่เสมอและอย่างเบามือด้วยน้ำสะอาดกับสบู่อ่อนๆ ทั้งช่วงเวลาเช้า-เย็น และหลังถ่ายอุจจาระ
- ซับแผลให้แห้งอยู่เสมอด้วยผ้าสะอาดหลังทำความสะอาดแผลทุกครั้ง
- ใส่แผ่นอนามัย ผ้าอนามัย หรือผ้าก๊อซสำหรับซับของเหลวที่อาจยังไหล่จากทวารหนัก
- ไม่จำเป็นต้องกินอาหารอ่อนๆ หลังผ่าตัด สามารถกินอาหารตามปกติได้เลย
- ควรกินอาหารที่มีกากใยหรือมีไฟเบอร์สูงเพื่อให้ขับถ่ายคล่องตัว ลดโอกาสท้องผูกจนต้องเบ่งอุจจาระแรงๆ และอาจไปกระเทือนแผลผ่าตัดได้
- ดื่มน้ำให้มากๆ
- กินยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้หมดอย่างเคร่งครัด และแพทย์อาจจ่ายยาหรือไฟเบอร์เสริมเพื่อให้คนไข้ขับถ่ายอุจจาระนิ่มลงด้วย
- งดการขับรถเอง งดการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ทำให้แผลกระทบกระเทือนเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดฝีคัณฑสูตรอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงบางประการได้ดังนี้
- เจ็บระบมแผลผ่าตัด
- แผลผ่าตัดเกิดการติดเชื้อ
- มีเลือดออกจากแผลผ่าตัด
- กลั้นอุจจาระไม่ได้เต็มที่
- ยังมีของเหลว เช่น น้ำหนอง น้ำเหลือง ไหลออกจากแผลหรือที่ทวารหนัก
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ธนเดช วงศ์จารุกร (หมอเจมส์)
ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10+ ปี รวมผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง
ข้อมูลของแพทย์
- 2550 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 2557 วุฒิบัตรเฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- 2560 ศัลยศาสตร์ส่องกล้อง โรงพยาบาลตำรวจ
- 2561 Certificate of Training of Endoscopic and Laparoscopies Surgery, Fukuoka Red Cross Hospital (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- ศัลยแพทย์ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- ศัลยแพทย์ชำนาญด้านการผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูง (Advanced Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว (Single Incision Laparoscopic Surgery) ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก (Transoral Endoscopic Thyroidectomy) ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 5 ปี
- ประสบการณ์ผ่าตัดถุงน้ำดีมากกว่า 600 เคส ผ่าตัดไส้เลื่อนมากกว่า 500 เคส
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. บัณฑวิช พลกล้า (หมอปี)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-ปี 2553: แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ปี 2558: วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
-ปี 2564: วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. วรัญญู จิรามริทธิ์ (หมอเต้ย)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลตำรวจ
-วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ: การผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง, การส่องกล้องทางเดินอาหาร
สาขาศัลยศาสตร์
นพ. ณธีพัฒน์ เอื้อนิธิเลิศ (หมอตั้ม)
ข้อมูลของแพทย์
- อดีตอาจารย์แพทย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป
- แพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยกรรม ศัลยแพทย์ผ่าตัดประสบการณ์มากกว่า 4 ปี ผ่านเคสผ่าตัดมากกว่า 2,000 ราย
- โรค/หัตถการที่ชำนาญ การผ่าไส้เลื่อนแบบเปิด, การผ่าตัดริดสีดวง, การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง, การผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิดและแบบรูแผลซ่อนในสะดือ, การส่องกล้องลำไส้และทางเดินอาหาร