ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอดผ่านทางช่องคลอด (USLS)
เรียกอีกแบบว่า ผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดกับเอ็นยึดมดลูก
ถ้าช่องคลอดหย่อน จะดันกลับเองไม่ได้ ต้องผ่าตัดเท่านั้น
หลังทำยังกลับมามีเพศสัมพันธ์ได้
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
1 ใน 10 ของผู้หญิงที่เคยคลอดลูก มีปัญหาผนังช่องคลอดหย่อน และจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไข
- 40% ของผู้หญิงส่วนใหญ่ มีอวัยวะในอุ้งเชิงกรานหย่อน แต่จะรุนแรงต่างกัน เช่น มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ ไปจนถึงมีก้อนยื่นออกมาจากปากช่องคลอดและดันกลับไม่ได้
- หลังผ่าตัดยังมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ ต่างจากการเย็บปิดช่องคลอดที่จะมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้อีก
มีอะไรยื่นออกมาจากช่องคลอด รีบปรึกษาแพทย์จาก HDcare วันนี้
ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอด แบบ SSF กับ USLS ต่างกันที่จุดแขวนช่องคลอด
- แบบ SSF จะตัดมดลูกแล้วแขวนช่องคลอดกับเอ็นก้นกบ เหมาะกับภาวะหย่อนของลำไส้ใหญ่ที่อยู่ด้านหลังช่องคลอด ไม่ใช่กระเพาะปัสสาวะที่อยู่ด้านหน้าช่องคลอด
- แบบ USLS จะตัดมดลูกเหลือไว้แต่เอ็น แล้วแขวนช่องคลอดกับเอ็นมดลูก เหมาะกับภาวะหย่อนของมดลูกที่ไหลมาจากด้านบนของช่องคลอด
ปัญหาของเราเป็นแบบไหน
ทำนัดปรึกษาทีมแพทย์ของ HDcare วันนี้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
- รู้สึกหน่วงในช่องคลอด หรือบริเวณหลังส่วนล่าง คล้ายกับว่ามีอะไรจะหลุด
- รู้สึกเหมือนมีก้อนภายในหรือภายนอกช่องคลอด
- รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ เพราะมีก้อนยื่นมาขวางไว้
- เลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการเสียดสีกับภายนอก
- ปวดหลังบริเวณบั้นเอว
- อาการผิดปกติเกี่ยวกับลำไส้ เช่น ขับถ่ายอุจจาระลำบาก ขับถ่ายอุจจาระไม่สุด หรือต้องกดผนังช่องคลอดเพื่อช่วยถ่ายอุจจาระ
- อาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะไหลช้า ต้องกดผนังช่องคลอดเพื่อช่วยในการปัสสาวะ ปัสสาวะถี่เกินไป กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือปัสสาวะเล็ดขณะไอ จาม หรือวิ่ง
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- แพทย์จะให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการก่อน เช่น ให้ลดน้ำหนักตัวในคนที่มีภาวะอ้วน หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือการออกแรงเบ่งมากๆ เวลาท้องผูก
- แพทย์อาจแนะนำให้ใช้อุปกรณ์พยุงในช่องคลอด (Pessary) ลักษณะเป็นวงแหวนเหมือนห่วง สอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อพยุงอวัยวะอุ้งเชิงกรานไว้ และบริหารกล้ามเนื้อพื้นอุ้งเชิงกรานให้มีความแข็งแรงขึ้น
https://static.hd.co.th/750x450/system/image_attachments/images/000/274/513/original/Pessary.png
ในคนที่มีอาการหนัก แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัด มี 2 วิธีหลักคือ
- ผ่าตัดซ่อมเสริมอุ้งเชิงกรานให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งปกติ
- ผ่าตัดเย็บปิดช่องคลอด
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
- มีเนื้อเยื่อยื่นออกมาจากช่องคลอด เกิดการดันกันจนเนื้อเยื่อยื่นออกมาจากช่องคลอด อาจเป็นมดลูกที่หย่อนคล้อย กระเพาะปัสสาวะที่ถูกมดลูกเบียดให้ยื่นออกมา หรือผนังด้านบนของช่องคลอดที่หย่อนออกมาคล้ายการปลิ้น
- มีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ อาจบ่งบอกถึงโรคซ่อนเร้นที่รุนแรงกว่าความหย่อนคล้อยของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน แต่เป็นสัญญาณเตือนของเนื้องอกหรือมะเร็งก็ได้
- ปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะออกช้า ปัสสาวะไม่สุด อาจเกิดจากมดลูกหย่อนจนเบียดกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ ถ้าปล่อยไว้อาจทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อจากปัสสาวะคั่งค้าง
- ไม่สบายตัวเวลามีเพศสัมพันธ์ เพราะกล้ามเนื้อช่องคลอดหย่อนตัวจนรู้สึกถ่วงๆ หน่วงๆ ในช่องคลอดตลอดเวลา ถ้ามีลมออกจากช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้อับอาย
- รู้สึกเหมือนนั่งทับลูกบอลตลอดเวลา เกิดจากอวัยวะในอุ้งเชิงกรานกดเบียดกัน
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอด ผ่านทางช่องคลอด (Transvaginal High Uterosacral Vault Suspension) หรือการผ่าตัดเย็บแขวนมดลูกกับเอ็นยึดกระดูกที่เรียกสั้นๆ ว่าผ่าตัดเย็บแขวนเอ็นยึดมดลูก (Uterosacral Ligament Suspension)
แพทย์จะผ่าตัดเย็บเอ็นยึดมดลูกให้กลับไปติดช่องคลอดส่วนบนอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยพยุงให้มดลูก หรือช่องคลอดกลับไปอยู่ในตำแหน่งปกติ โดยการผ่าตัดด้วยวิธีนี้สามารถเลือกทำได้ทั้งแบบผ่าตัดผ่านทางช่องคลอด ผ่าตัดแบบเปิดแผลหน้าท้อง และผ่าตัดแบบส่องกล้อง
เอ็นยึดมดลูก (Uterosacral Ligament) คือ เส้นเอ็นที่ยึดปากมดลูกทั้งสองด้านไว้กับกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (อยู่บริเวณปลายล่างของกระดูกสันหลัง) ซึ่งจะช่วยพยุงให้มดลูกและช่องคลอดอยู่ในตำแหน่งปกติ ถ้าเมื่อไหร่ที่เอ็นยึดมดลูกอ่อนแอ หรือยืดออก ก็จะทำให้เกิดภาวะช่องคลอดส่วนยอดหย่อนตามมา
ผ่าตัดเย็บแขวนเอ็นยึดมดลูกเหมาะกับใคร
- คนที่มีภาวะอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนส่วนหยอด (ด้านบน) หย่อน
- คนที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัดมดลูก โดยการผ่าตัดทั้งสองวิธีนี้ สามารถทำพร้อมกับผ่าตัดมดลูกเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนและภาวะปัสสาวะเล็ดราดในอนาคตได้
ขั้นตอนการผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอด
- ระงับความรู้สึกด้วยการบล็อกหลัง
- แพทย์จะเปิดแผลผ่าตัดทางช่องคลอด แล้วเลาะช่องคลอดให้แยกออกจากกระเพาะปัสสาวะด้านหน้าและไส้ตรงด้านหลัง
- แพทย์จะตัดมดลูกออก แล้วเย็บส่วนบนของช่องคลอดไว้กับเอ็นยึดมดลูก (Uterosacral Ligament) จากนั้นจะตัดแต่งซ่อมผนังช่องคลอดทั้งด้านหน้าและหลัง (Colporrhaphy)
- จากนั้นจะเย็บเยื่อบุช่องท้องคลุมปิดตาข่ายทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้ลำไส้เข้าไปติดกับผิวตาข่าย แล้วทำการเย็บปิดแผลให้เรียบร้อย ร่วมกับใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ และส่งผู้เข้ารับการรักษาไปห้องพักฟื้น
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2 ชม.
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ผ่าตัดเย็บปิดช่องคลอด (Total Colpocleisis)
- เป็นการเย็บผนังช่องคลอดเข้าหากันเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก
- ใช้ระยะเวลาผ่าตัดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว โอกาสสำเร็จสูงที่สุด
- เหมาะกับคนที่อวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนรุนแรง ไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์แล้ว
ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอด ผ่านทางช่องคลอด (SSF)
- เป็นการผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดกับเอ็นก้นกบ
- ตัดมดลูกออกแล้วเย็บส่วนบนของช่องคลอดเข้ากับเอ็นก้นกบ
- เหมาะกับภาวะหย่อนของลำไส้ใหญ่ที่อยู่ด้านหลังช่องคลอด ไม่ใช่กระเพาะปัสสาวะที่อยู่ด้านหน้าช่องคลอด
ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอด ผ่านทางช่องคลอด (USLS)
- เป็นการผ่าตัดเย็บแขวนช่องคลอดกับเอ็นมดลูก
- ตัดมดลูกออกเหลือไว้แต่เอ็นยึดมดลูก แล้วเอาช่องคลอดเย็บแขวนไว้กับเอ็นยึดมดลูก
- เหมาะกับภาวะหย่อนของมดลูกที่ไหลมาจากด้านบนของช่องคลอด
ผ่าตัดแก้ไขผนังช่องคลอดด้านหน้าหย่อน
- เป็นการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซม เสริมความแข็งแรงของเยื่อพังผืดที่อยู่ระหว่างช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ
- เหมาะกับคนที่มีภาวะผนังช่องคลอดด้านหน้าหย่อน
- ช่วยให้กระเพาะปัสสาวะ และ/หรือ ท่อปัสสาวะกลับไปอยู่ในตำแหน่งปกติ
- แก้ปัญหาช่องคลอดไม่กระชับ
- มีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ
- สามารถเลือกผ่าตัดได้ทั้งแบบเปิดแผลบริเวณหน้าท้อง และแบบส่องกล้อง
ผ่าตัดแก้ไขผนังช่องคลอดด้านหลังหย่อน
- เป็นการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซม เสริมความแข็งแรงของเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างช่องคลอดและไส้ตรง
- สามารถเลือกผ่าตัดได้ทั้งแบบเปิดแผลบริเวณหน้าท้อง และแบบส่องกล้อง
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงภาวะสุขภาพทั้งหมด รวมถึงยาหรืออาหารเสริมที่กินเป็นประจําเพราะอาจมีผลต่อการผ่าตัด แพทย์อาจให้หยุดยาหรืออาหารเสริมบางอย่าง
- งดอาหารและดื่มน้ำก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักน้ำย่อย หรือเศษอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอดในระหว่างดมยาสลบ
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรพาญาติหรือเพื่อนมาในวันผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
การพักฟื้นหลังผ่าตัดเย็บแขวนเอ็นยึดมดลูก
- พักฟื้นที่ รพ. ประมาณ 2 วัน
- พักฟื้นที่บ้านประมาณ 2-6 สัปดาห์ หรือตามที่แพทย์แนะนำ
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด
- กินยาฆ่าเชื้อ และยาบรรเทาอาการปวดตามที่แพทย์สั่ง
- งดออกกำลังกายหรือยกของหนักประมาณ 1 สัปดาห์
- งดการมีเพศสัมพันธ์ สวนล้างช่องคลอด และแช่น้ำ อย่างน้อย 6 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหายสนิท
- กินอาหารที่มีเส้นใยและดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อเลี่ยงอาการท้องผูก
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การผ่าตัดเย็บแขวนเอ็นยึดมดลูก อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้แต่น้อย ดังนี้
- ผลข้างเคียงทั่วไปจากการดมยาสลบ เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
- 1 สัปดาห์แรก อาจมีตกขาวปนเลือด และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เกิดจากการสลายตัวของลิ่มเลือดที่ตกค้าง แต่จะค่อยๆ ลดลงและหายไปเอง
- 4-6 สัปดาห์ถัดมา อาจมีตกขาวสีขาวอมเหลืองคล้ายครีม เกิดจากวัสดุเย็บแผลในช่องคลอด แต่จะค่อยๆ
- อาจมีปัญหาท้องผูก หรือรู้สึกไม่สบายขณะมีเพศสัมพันธ์
- อาจมีอาการปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง
- ตาข่ายเสริมความแข็งแรงอาจโผล่ออกมาในช่องคลอด จำเป็นต้องผ่าตัดเลาะออกภายหลัง
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.นพ. เกรียงศักดิ์ ศิริศักดิ์พาณิชย์ (หมอเล็ก)
หมอสูตินรีเวช เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดส่องกล้อง
ข้อมูลของแพทย์
- 2534 แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- 2540 สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ นครสวรรค์
- 2541 สูติศาสตร์ นรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- 2556 Certificate of Urogynecology Department of Obstetrics and Gynecology, Chang Gung Memorial Hospital (Taiwan)
- 2557 Certificate of International Fellowship Program in the Department of Urogynecology, Kameda Medical Center (Japan)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะและผ่าตัดส่องกล้อง
- โรคและหัตถการที่ชำนาญ สูตินรีเวชทั่วไป, โรคนรีเวชทางเดินปัสสาวะ, กระบังลมหย่อน (มดลูกหย่อน), การควบคุมปัสสาวะผิดปกติ, ปัสสาวะเล็ด, ผ่าตัดโรคกระบังลมหย่อน, ผ่านทางหน้าท้องด้วยวิธีส่องกล้อง, ผ่าตัดรักษาโรคกระบังลมหย่อนทางช่องคลอดโดยการใช้ตาข่ายช่วยยึด, ผ่าตัดโรคปัสสาวะเล็ดโดยการใช้ตาข่ายยกท่อปัสสาวะ
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
ผศ.พญ. พัทยา เฮงรัศมี (หมอไต๊)
คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชและนรีเวชทางเดินปัสสาวะ
ข้อมูลของแพทย์
- 2542 แพทย์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2543 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2548 วุฒิบัตร สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2548 แพทย์ประจำบ้าน สาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2552 Fellowship Training in Gynecology Endoscopy and Urogynecology, Monash Medical Centre (Australia)
- 2558 Fellowship Training in Advanced Laparoscopic Surgery, Centre for Advanced Reproductive Endosurgery, (Australia)
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน สูติ/นรีเวช และ นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
-หัตถการที่ชำนาญ: ผ่าตัดรักษาปัสสาวะเล็ดด้วยการใส่เทปพยุงใต้ท่อปัสสาวะ, ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอดโดยการส่องกล้องทางหน้าท้อง, ผ่าตัดแก้ไขผนังช่องคลอด, ผ่าตัดแก้ไขภาวะหย่อนของส่วนยอดช่องคลอดผ่านทางช่องคลอด, ผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้องเพื่อเลาะตัดรอยโรคช็อกโกแลตซีสต์ชนิดกินลึก
-สมาชิกแพทยสภา
-ราชวิทยาลัยสูติ/นรีแพทย์แห่งประเทศไทย
-ชมรมนรีแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องแห่งประเทศไทย
-ชมรมนรีแพทย์ทางเดินปัสสาวะแห่งประเทศไทย