ทำ IUI (ฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก)
ไม่ต้องเตรียมตัวเยอะ ระยะเวลาการทำไม่นาน
กลับมาทำได้หลายครั้ง ค่าใช้จ่ายไม่แพงเมื่อเทียบกับวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากอื่นๆ
ปรึกษาหมอปอนด์ ปริญญาเอกด้านการเจริญพันธุ์
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ทำ IUI เป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ใกล้เคียงกับวิธีธรรมชาติมากที่สุด
- ไม่ต้องเตรียมตัวเยอะ ระยะเวลาการทำไม่นาน
- เป็นทางลัดให้เชื้ออสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้เร็วขึ้น ด้วยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูกโดยตรง
- กลับมาทำได้หลายครั้ง ค่าใช้จ่ายไม่แพงเมื่อเทียบกับวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากอื่นๆ
- เป็นวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากในขั้นเริ่มต้น สามารถเป็นอีกตัวเลือกในการมีบุตรให้สำเร็จในคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก แต่ยังไม่ต้องการใช้วิธีรักษาถึงขั้นทำเด็กหลอดแก้ว หรือทำ ICSI
- แพทย์จะนัดมาตรวจการตั้งครรภ์หลังฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกได้ประมาณ 2 สัปดาห์
อยากลองมีลูกด้วยวิธีง่ายๆ
ปรึกษาทีม HDcare เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมวันนี้
IUI และ ICSI ต่างกันยังไง?
- ทำ IUI แพทย์จะฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูกโดยตรง กลับมาทำได้หลายครั้ง การเตรียมตัวไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ
- ทำ ICSI แพทย์จะคัดเลือกไข่ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิง 1 ใบ และอสุจิที่แข็งแรงจากฝ่ายชาย 1 ตัวปฏิสนธิกันในห้องปฏิบัติการจนโตเป็นตัวอ่อนแล้วใส่กลับเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์
พยายามมีลูกมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่มาสักที
แนะนำปรึกษาทีม HDcare เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมวันนี้
สัญญาณที่ต้องตรวจ
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง
- ความผิดปกติของฮอร์โมน ที่ส่งผลต่อการตกไข่ เช่น
- ระดับโปรแลกตินในเลือดสูง (Hyperprolactinemia)
- ถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS (Polycystic Ovarian Syndrome)
- ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง (Chronic Anivulation)
- ท่อนำไข่ผิดปกติ เช่น
- ท่อนำไข่บวมน้ำ (Hydrosalpinx)
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- พังผืดในอุ้งเชิงกราน
- การติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์
- มดลูกผิดปกติ เช่น
- เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Leiomyoma หรือ Fibromyoma หรือ Fibroid หรือ Myoma Uteri)
- พังผืดในโพรงมดลูก (Uterine Synechiae)
- มีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก
- สมรรถภาพของรังไข่ลดลง (Ovarian Reserve) เช่น
- การใช้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
- โรคทางพันธุกรรมอื่นๆ เช่น อาการโครโมโซม x เปราะ (Fragile X)
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เซลล์ไข่ลดลง
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย
- ความผิดปกติในการสร้างอสุจิ เช่น
- ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น Klinefelter Syndrome หรือ การมี Microdeletion ของโครโมโซม Y การอักเสบติดเชื้อ (การอักเสบของอัณฑะจากเชื้อไวรัสคางทูม)
- ความผิดปกติของ Sperm Function เช่น
- การอักเสบของต่อมลูกหมาก
- หลอดเลือดอัณฑะขอด
- การอุดตันของท่ออสุจิ เช่น
- การผ่าตัดทำหมันผู้ชาย
- การอักเสบของท่อนำอสุจิ
- ความผิดปกติตั้งแต่เกิด
อายุเท่าไหร่ที่ควรตรวจภาวะมีบุตรยาก?
- คู่สามีภรรยาที่อายุน้อยกว่า 35 ปี พยายามมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติมา 1 ปีแล้วยังไม่ตั้งครรภ์
- คู่สามีภรรยาที่อายุมากกว่า 35 ปี พยายามมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติมา 6 เดือนแล้วยังไม่ตั้งครรภ์
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน ซักประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา ประวัติการฉีดวัคซีน พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้ หรือการคุมกำเนิดกับแพทย์
- เก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถหาความเข้มข้นของเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด โรคที่ส่งต่อได้ทางพันธุกรรม รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การทำอัลตร้าซาวด์และตรวจภายในเพื่อประเมินความปกติของมดลูก ปีกมดลูก และ รังไข่
- การตรวจดูความแข็งแรงของอสุจิ
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ โดยแพทย์จะให้การรักษาเพื่อให้ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติมากที่สุด อย่างไรก็ตามแม้จะรักษาตามสาเหตุแล้ว คู่สมรสบางคู่ก็ยังไม่สามารถมีบุตรได้และต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันมี 2 วิธีหลัก ได้แก่
1. การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (Intrauterine Insemination: IUI) เป็นการกระตุ้นให้ไข่ตกแล้วฉีดน้ำเชื้ออสุจิที่คัดเลือกเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้ผสมกับไข่ในร่างกายของฝ่ายหญิง เป็นวิธีการรักษาสำหรับคนที่มีปัญหาไม่มาก
2. การทำเด็กหลอดแก้ว แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
- การทำ IVF (In Vitro Fertilization) เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการ จากนั้นนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
- การทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เป็นการปฏิสนธินอกร่างกายโดยวิธีการคัดเลือกฉีดอสุจิที่ดีที่สุดหนึ่งตัวเข้าไปในเซลล์ไข่เพื่อทำให้เกิดกระบวนการปฏิสนธิ จากนั้นจึงจะนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
รู้จักการผ่าตัดนี้
การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (Intra – Uterine Insemination: IUI) คือ วิธีรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการฉีดเชื้ออสุจิจากฝ่ายชายที่ได้รับการคัดเลือกจากแพทย์เข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงผ่านท่อขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิ และนำไปสู่การตั้งครรภ์ได้เป็นผลสำเร็จ
ข้อดีของการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง
- เป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ใกล้เคียงกับวิธีธรรมชาติ คล้ายกับการมีเพศสัมพันธ์ แต่มีการดูแลขั้นตอนการปฏิสนธิจากแพทย์ โดยแพทย์จะช่วยปั่นล้างนำเชื้ออสุจิที่ไม่สมบูรณ์ออกให้ก่อน และเหลือแต่เชื้ออสุจิที่เข้มข้นสำหรับฉีดเข้าไปปฏิสนธิกับไข่เท่านั้น
- เป็นวิธีลัดที่จะช่วยให้เชื้ออสุจิว่ายเข้าไปผสมกับไข่ได้เร็วขึ้น ผ่านท่อขนาดเล็กที่จะเชื่อมเข้าไปในโพรงมดลูก ต่างจากวิธีมีเพศสัมพันธ์ที่เชื้ออสุจิจะต้องวิ่งจากช่องคลอดเข้าไปยังด้านในโพรงมดลูกเอง
- สามารถกลับมาทำได้หลายครั้ง โดยมีกระบวนการเตรียมไม่ซับซ้อนมากเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ
- เป็นวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากในขั้นเริ่มต้น สามารถเป็นอีกตัวเลือกในการมีบุตรให้สำเร็จในคู่รักที่มีบุตรยาก แต่ยังไม่ต้องการใช้วิธีรักษาถึงขั้นทำเด็กหลอดแก้ว หรือทำ ICSI
- มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากอื่นๆ
ขั้นตอนการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง
- ฝ่ายหญิงตรวจอัลตราซาวด์ ตรวจเช็กความพร้อมและคุณภาพของไข่ รวมถึงตรวจดูช่วงเวลาที่ไข่ตก เพื่อนัดหมายวันทำ IUI ที่ตรงกับวันไข่ตก
- ฝ่ายชายเก็บน้ำเชื้ออสุจิกับแพทย์ เพื่อให้แพทย์นำน้ำเชื้ออสุจิทั้งหมดไปปั่นล้าง เหลือแต่เชื้ออสุจิที่สมบูรณ์ที่สุดเท่านั้น
- ฝ่ายหญิงนอนบนเตียงขาหยั่ง แพทย์จะใช้เครื่องมือถ่างขยายช่องคลอดให้เห็นปากมดลูก
- แพทย์สอดท่อขนาดเล็กเข้าไปจากปากช่องคลอด ลึกถึงโพรงมดลูก แล้วฉีดน้ำเชื้ออสุจิที่ผ่านการปั่นล้างแล้วเข้าไปด้านในโพรงมดลูก
- นอนพักประมาณ 30 นาที แล้วกลับบ้านได้เลย แพทย์จะนัดมาตรวจการตั้งครรภ์หลังฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกได้ประมาณ 2 สัปดาห์
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การทำ IUI
- ปั่นน้ำเชื้ออสุจิของผู้ชายให้เหลือแต่เชื้ออสุจิที่สมบูรณ์
- ฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูกโดยตรง
- กลับมาทำได้หลายครั้ง การเตรียมตัวไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ
- ค่าใช้จ่ายถูกกว่าวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากอื่นๆ
การทำ ICSI
- คัดเลือกไข่ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิง 1 ใบ และอสุจิที่แข็งแรงจากฝ่ายชาย 1 ตัวปฏิสนธิกันในห้องปฏิบัติการจนโตเป็นตัวอ่อน
- ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน และเลือกตัวอ่อนที่สมบูรณ์ที่สุดกลับเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูกได้
- มีขั้นตอนการเตรียมตัวที่ค่อนข้างนาน และมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการทำ IUI แต่มีโอกาสการตั้งครรภ์สูงกว่าการทำ IUI
พยายามมีลูกมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่มาสักที
แนะนำปรึกษาทีม HDcare เพื่อทำ ICSI วันนี้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ผู้เข้ารับบริการทั้งหญิงและชายดูแลสุขภาพและพักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอ หากมีพฤติกรรมสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้งดล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 เดือนก่อนทำ IUI
- ผู้เข้ารับบริการทั้งหญิงและชายเดินทางมาตรวจสุขภาพกับแพทย์ก่อน เพื่อเช็กความพร้อมของร่างกายในการทำ IUI
- ผู้เข้ารับบริการหญิงอาจได้รับคำแนะนำให้ใช้ยากระตุ้นไข่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ หรือผลการตรวจสุขภาพจากแพทย์อีกครั้ง
- อย่าวิตกกังวลหรือเครียดกับขั้นตอนการทำ IUI จนเกินไป
การดูแลหลังผ่าตัด
- สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่ต้องนอนหรือนั่งอยู่กับที่เฉยๆ สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติทันที
- งดมีเพศสัมพันธ์ 1 วัน หลังจากนั้นสามารถมีเพศสัมพันธ์ต่อได้ตามปกติ แพทย์มักแนะนำให้มีเพศสัมพันธ์ซ้ำใน 1-2 วันหลังฉีดเชื้ออสุจิ เพื่อให้มีปริมาณน้ำเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกเพิ่มอีก
- งดว่ายน้ำ 2-3 วัน
- สามารถออกกำลังกายได้ แต่อย่าหักโหมหนัก และงดยกของหนัก
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่อยู่เสมอ รวมถึงต้องเป็นอาหารที่สะดวกและปรุงสุก
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ระมัดระวังอย่าให้ท้องเสียหรือปวดท้อง เพื่อไม่ให้มดลูกบีบตัวเกินไป
- กินยาบำรุง ยาฮอร์โมน หรือยาเสริมสุขภาพตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด
- กลับมาตรวจยืนยันการตั้งครรภ์กับแพทย์ตามนัดหมาย
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผู้เข้ารับบริการอาจมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย หรือมีอาการเจ็บระคายเคืองทางช่องคลอดได้เล็กน้อย แต่อาการจะหายไปภายในประมาณ 2-3 วัน แต่หากพบอาการปวดท้องน้อยมาก มีตกขาวมากผิดปกติ มีไข้สูง หรือผ่านไป 2-3 วันแล้วเลือดยังไหลจากช่องคลอดอยู่ ควรเดินทางกลับมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
คุณหมอสูตินรีเวช ปริญญาเอกและเกียรตินิยมอันดับ 1 ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องสำหรับผู้ที่มีบุตรยากหรือมีปัญหาสุขภาพผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS