ย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง
ย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง สามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อนได้
แช่แข็งตัวอ่อนไว้ก่อน พร้อมแล้วสามารถเลือกช่วงเวลาที่อยากตั้งครรภ์ได้
มีเวลาเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกได้มาก ช่วยลดความกดดันหรือวิตกกังวลในฝ่ายหญิงได้
ปรึกษาหมอปอนด์ ปริญญาเอกด้านการเจริญพันธุ์ ทำ ICSI สำเร็จแล้วหลายร้อยเคส
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการทำเด็กหลอดแก้ว หรือการทำอิ๊กซี่ (ICSI)
- เป็นวิธีที่สะดวก และเลือกช่วงเวลาที่อยากตั้งครรภ์ได้
- ร่างกายได้พักจากการกระตุ้นไข่ในช่วงเก็บไข่
- มีเวลาเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกได้มาก ช่วยลดความกดดันหรือวิตกกังวลในฝ่ายหญิงได้ [ดูรายละเอียดการเตรียมเยื่อบุมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน]
- ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่มักเกิดขึ้นในการย้ายตัวอ่อนรอบสด เช่น ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน
อยากมีลูก แต่ยังไม่มาสักที
แนะนำปรึกษาทีม HDcare เพื่อทำ ICSI วันนี้
ย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง สามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อนได้ [ดูรายละเอียดการตรวจโครโมโซม]
- คัดกรองโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน เช่น โรคธาลัสซีเมีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ฯลฯ
- ลดความเสี่ยงแท้งบุตร หรือการยุติการตั้งครรภ์เนื่องจากตัวอ่อนผิดปกติ
- ลดความเสี่ยงการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมไปสู่ลูก
- เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น
กำลังจะทำ ICSI แล้วอยากรู้ขั้นตอนแบบละเอียดๆ
ปรึกษาหมอปอนด์ ปริญญาเอกด้านการเจริญพันธุ์ ทำ ICSI สำเร็จแล้วหลายร้อยเคส
รู้จักการผ่าตัดนี้
การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง (Frozen Embryo Transfer) คือ การใช้ตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งเอาไว้ในห้องปฏิบัติการมาผ่านกระบวนการละลาย (Thawing) และนำใส่เข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์
ขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง
- ดื่มน้ำและกลั้นปัสสาวะ 30-60 นาที เพื่อให้เครื่องอัลตราซาวด์ถ่ายภาพด้านในมดลูกได้ชัดเจนที่สุด
- แพทย์จะตรวจอัลตราซาวด์หน้าท้องเพื่อดูตำแหน่งของมดลูกก่อน และเพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการวางตัวอ่อน
- แพทย์จะสอดสายเล็กๆ (Catheter) เข้าทางปากมดลูก ลึกไปถึงโพรงมดลูก ในระหว่างนี้จะอัลตราซาวด์ดูตำแหน่งในการวางตัวอ่อนไปด้วย
- แพทย์ฉีดตัวอ่อนเข้าไปในโพรงมดลูกผ่านทางสายที่สอดเข้าไป
- ผู้เข้ารับบริการนอนพักต่อประมาณ 30-60 นาที แพทย์จะสั่งจ่ายยาช่วยพยุงการตั้งครรภ์ให้ หลังจากนั้นสามารถเดินทางกลับบ้านได้
หลังย้ายตัวอ่อนประมาณ 10 วัน แพทย์จะนัดให้มาตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมน การตั้งครรภ์ และยืนยันผลการตั้งครรภ์ เป็นวิธีตรวจที่แม่นยำกว่าการตรวจปัสสาวะ
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
การย้ายตัวอ่อนทำได้ 2 วิธี คือ การย้ายตัวอ่อนรอบสด (Fresh) และการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง (Frozen Embryo Transfer) เป็นขั้นตอนที่ต่างกันในวิธีการเตรียมโพรงมดลูกก่อนการย้ายตัวอ่อน ดังนี้
1. ย้ายตัวอ่อนรอบสด เป็นการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกฝ่ายหญิงในรอบการตกไข่เดียวกันกับที่กระตุ้นและเก็บไข่
- หลังจากเก็บไข่ฝ่ายหญิงมาปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิฝ่ายชายจนได้ตัวอ่อน นักวิทยาศาสตร์จะเพาะเลี้ยงตัวอ่อนอีก 5-6 วัน จากนั้นจะเลือกตัวอ่อนและใส่เข้าโพรงมดลูกฝ่ายหญิงโดยไม่มีการนำตัวอ่อนไปแช่แข็ง
- เป็นกระบวนการที่เป็นธรรมชาติกว่าการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง
- ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและอาจไม่มีค่าใช้จ่ายในการแช่แข็ง
- เหมาะกับคนไข้ที่ไม่สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือร่างกายไม่สามารถตอบสนองฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ดี
2. ย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง
- หลังจากเก็บไข่ฝ่ายหญิงมาปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิฝ่ายชายจนได้ตัวอ่อน นักวิทยาศาสตร์จะเพาะเลี้ยงตัวอ่อนและนำตัวอ่อนไปแช่แข็งไว้ในอุณหภูมิติดลบ -196 องศาเซลเซียส เพื่อรอให้คู่สามีภรรยามีความพร้อมต่อการใส่ตัวอ่อนก่อน
- เมื่อพร้อมที่จะตั้งครรภ์ นักวิทยาศาสตร์จะนำตัวอ่อนออกมาละลาย และแพทย์จะใส่เข้าโพรงมดลูกฝ่ายหญิง
- เป็นวิธีที่ยืดหยุ่นและสะดวก เลือกช่วงเวลาที่อยากจะตั้งครรภ์ได้
- มีช่วงเวลาได้พักร่างกายจากการกระตุ้นไข่ในช่วงที่เก็บไข่
- มีเวลาเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกได้มากกว่า ช่วยลดความกดดันหรือความวิตกกังวลได้
- ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่มักเกิดขึ้นในการย้ายตัวอ่อนรอบสด เช่น ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปหรือภาวะ OHSS (Ovarian Hyperstimulation Syndrome)
- สามารถตรวจโครโมโซมตัวอ่อนได้ก่อนย้าย เนื่องจากหลังเก็บเซลล์ตัวอ่อนไปตรวจโครโมโซมแล้ว จะต้องรอผลตรวจเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องแช่แข็งตัวอ่อนไว้ก่อนเพื่อรอผลตรวจ [ดูรายละเอียดการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน]
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
ก่อนย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก ผู้รับบริการจะจำเป็นต้องเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้พร้อมต่อการย้ายตัวอ่อนเสียก่อน ซึ่งในส่วนนี้จะอยู่ในขั้นตอน “เตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนใส่ตัวอ่อน” โดยมีข้อปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้
- ปรับเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาพอ โดยใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน และ ปรับเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะสมกับการฝังตัวของตัวอ่อนด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
- ในผู้รับบริการบางรายที่รอบประจำเดือนและรอบตกไข่สม่ำเสมอดี แพทย์จะไม่ให้ยาฮอร์โมนช่วยกระตุ้นความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก แต่จะนัดวันมาตรวจเลือดดูค่าฮอร์โมนและอัลตราซาวด์ดูเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่เป็นระยะ
- เดินทางมาตรวจเลือดและตรวจอัลตราซาวด์ตามที่แพทย์นัดหมายเอาไว้ทุกครั้ง
- ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด
- กินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุเสริมการทำงานของระบบสืบพันธุ์และรังไข่ เช่น กรดโฟลิก (Fulic Acid) แมกนีเซียม (Magnesium) สังกะสี (Zinc) วิตามินซี (Vitamin C) วิตามินอี (Vitamin E) อย่างเช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้ วอลนัท นม แคทรอท กล้วย ไข่แดง ขนมปังโฮลเกรน น้ำมันมะกอก
- รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่อย่าหักโหมมากเกินไป
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงความเครียดและความวิตกกังวลเกินไป
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มคาเฟอีน งดสูบบุหรี่
- อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศสดชื่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ในสถานที่ที่มีสารพิษ สารเคมี หรือมลภาวะต่างๆ
การดูแลหลังผ่าตัด
- นอนพักนิ่งๆ และงดลุกนั่งหลังใส่ตัวอ่อนอย่างน้อย 30 นาที
- งดขับรถกลับบ้านเอง แต่ให้สามี หรือคนสนิทพากลับบ้าน
- สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องระมัดระวังตนเองในบางกิจกรรม
- ควรหยุดงานหรือทำงานที่บ้านสัก 2-3 วัน เพื่อพักผ่อนให้มากๆ รวมถึงงดกิจกรรมหนักๆ งดยกของหนัก งดออกกำลังกาย และเดินขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็น
- งดมีเพศสัมพันธ์
- งดสวนล้างช่องคลอด
- ใช้ยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด
- กินอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อหญิงมีครรภ์ งดอาหารหมักดอง อาหารที่ไม่สะอาด หรือปรุงไม่สุก รวมถึงงดเครื่องดื่มกลุ่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
- พยายามอย่าให้ท้องเสีย เนื่องจากจะทำให้ลำไส้บิดตัว และเกิดการเกร็งของมดลูก จนอาจส่งผลกระทบทำให้ตั้งครรภ์ไม่สำเร็จได้
- งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
- อาศัยอยู่ในที่ที่อากาศปลอดโปร่งและสดชื่น งดอยู่ในพื้นที่แออัด
- อย่าเครียด หรือกดดันเรื่องผลการตั้งครรภ์มากเกินไป
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- ตัวอ่อนอาจตายหลังผ่านกระบวนการละลาย ทำให้ไม่สามารถใส่เข้าเยื่อบุโพรงมดลูกได้
- ภาวะตัวอ่อนไม่ฝังตัว
- ภาวะแท้งคุกคาม
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
คุณหมอสูตินรีเวช ปริญญาเอกและเกียรตินิยมอันดับ 1 ชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องสำหรับผู้ที่มีบุตรยากหรือมีปัญหาสุขภาพผู้หญิง
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS