ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์
การตรวจความพร้อมช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะรับโรคทางพันธุกรรม
ถ้าตรวจเจอความผิดปกติ แพทย์จะให้คำแนะนำและวางแผนให้อย่างเหมาะสม
ตรวจก่อนเพื่อเจอความผิดปกติวันนี้ ดีกว่าเสียใจภายหลังว่าทำไมไม่ยอมตรวจ
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
ตรวจความพร้อมก่อนมีบุตร เพื่อวางแผนได้อย่างปลอดภัย
- ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์
- ลดภาวะความเครียดหรือความวิตกกังวลจากการตั้งครรภ์
- หาความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรม หรือโรคแฝงที่อาจส่งต่อจากพ่อและแม่ถึงทารก
- เพิ่มโอกาสให้ทารกในครรภ์เติบโตอย่างแข็งแรง
- ถ้าตรวจเจอโอกาสเกิดภาวะมีบุตรยาก แพทย์จะให้คำแนะนำวิธีการมีบุตรอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น
ตรวจเช็กความพร้อมทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อให้มั่นใจ
ให้แอดมินแนะนำโปรใกล้บ้านให้คุณวันนี้
รู้จักโรคนี้
ตรวจความพร้อมก่อนมีบุตร สำคัญอย่างไร?
- เพื่อให้สามารถวางแผนการมีบุตรได้อย่างปลอดภัย เพิ่มโอกาสให้ทารกในครรภ์เติบโตอย่างแข็งแรง ปราศจากโรคแทรกซ้อน ความพิการ หรือปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ
- ลดภาวะความเครียดหรือความวิตกกังวลจากการตั้งครรภ์
- หาความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรมหรือโรคแฝงที่อาจส่งต่อถึงทารกในครรภ์
- ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ที่ไม่คาดคิดในภายหลัง
- ในกรณีตรวจพบโอกาสเกิดภาวะมีบุตรยาก แพทย์จะให้คำแนะนำวิธีการมีบุตรอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น
ใครควรตรวจความพร้อมก่อนมีบุตร
- คู่รักที่วางแผนจะมีบุตรในอนาคต
- คู่รักที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี เพราะเป็นวัยที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น และทารกมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
- คู่รักที่เคยผ่านการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะมีบุตรยาก และต้องการตรวจความคืบหน้าของความพร้อมด้านสุขภาพในการมีบุตร
- คู่รักที่มีโรคประจำตัวหรือความผิดปกติที่อาจส่งต่อถึงทารกในครรภ์ ต้องการตรวจความพร้อมหรือขอรับคำแนะนำก่อนเริ่มมีบุตรจากแพทย์ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Diseases: STDs) โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)
สัญญาณที่ต้องตรวจ
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง
- ความผิดปกติของฮอร์โมน ที่ส่งผลต่อการตกไข่ เช่น
- ระดับโปรแลกตินในเลือดสูง (Hyperprolactinemia)
- ถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS (Polycystic Ovarian Syndrome)
- ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง (Chronic Anivulation)
- ท่อนำไข่ผิดปกติ เช่น
- ท่อนำไข่บวมน้ำ (Hydrosalpinx)
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- พังผืดในอุ้งเชิงกราน
- การติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์
- มดลูกผิดปกติ เช่น
- เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Leiomyoma หรือ Fibromyoma หรือ Fibroid หรือ Myoma Uteri)
- พังผืดในโพรงมดลูก (Uterine Synechiae)
- มีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก
- สมรรถภาพของรังไข่ลดลง (Ovarian Reserve) เช่น
- การใช้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
- โรคทางพันธุกรรมอื่นๆ เช่น อาการโครโมโซม x เปราะ (Fragile X)
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เซลล์ไข่ลดลง
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย
- ความผิดปกติในการสร้างอสุจิ เช่น
- ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น Klinefelter Syndrome หรือ การมี Microdeletion ของโครโมโซม Y การอักเสบติดเชื้อ (การอักเสบของอัณฑะจากเชื้อไวรัสคางทูม)
- ความผิดปกติของ Sperm Function เช่น
- การอักเสบของต่อมลูกหมาก
- หลอดเลือดอัณฑะขอด
- การอุดตันของท่ออสุจิ เช่น
- การผ่าตัดทำหมันผู้ชาย
- การอักเสบของท่อนำอสุจิ
- ความผิดปกติตั้งแต่เกิด
อายุเท่าไหร่ที่ควรตรวจภาวะมีบุตรยาก?
- คู่สามีภรรยาที่อายุน้อยกว่า 35 ปี พยายามมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติมา 1 ปีแล้วยังไม่ตั้งครรภ์
- คู่สามีภรรยาที่อายุมากกว่า 35 ปี พยายามมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติมา 6 เดือนแล้วยังไม่ตั้งครรภ์
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน ซักประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา ประวัติการฉีดวัคซีน พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้ หรือการคุมกำเนิดกับแพทย์
- เก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถหาความเข้มข้นของเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด โรคที่ส่งต่อได้ทางพันธุกรรม รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การทำอัลตร้าซาวด์และตรวจภายในเพื่อประเมินความปกติของมดลูก ปีกมดลูก และ รังไข่
- การตรวจดูความแข็งแรงของอสุจิ
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ โดยแพทย์จะให้การรักษาเพื่อให้ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติมากที่สุด อย่างไรก็ตามแม้จะรักษาตามสาเหตุแล้ว คู่สมรสบางคู่ก็ยังไม่สามารถมีบุตรได้และต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันมี 2 วิธีหลัก ได้แก่
1. การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (Intrauterine Insemination: IUI) เป็นการกระตุ้นให้ไข่ตกแล้วฉีดน้ำเชื้ออสุจิที่คัดเลือกเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้ผสมกับไข่ในร่างกายของฝ่ายหญิง เป็นวิธีการรักษาสำหรับคนที่มีปัญหาไม่มาก
2. การทำเด็กหลอดแก้ว แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
- การทำ IVF (In Vitro Fertilization) เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการ จากนั้นนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
- การทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เป็นการปฏิสนธินอกร่างกายโดยวิธีการคัดเลือกฉีดอสุจิที่ดีที่สุดหนึ่งตัวเข้าไปในเซลล์ไข่เพื่อทำให้เกิดกระบวนการปฏิสนธิ จากนั้นจึงจะนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
รู้จักการผ่าตัดนี้
การตรวจความพร้อมก่อนมีบุตรสำหรับผู้หญิงและผู้ชายจะมีรายการตรวจที่ไม่เหมือนกัน โดยจะแตกต่างกันไปตามระบบการทำงานของร่างกาย อวัยวะสืบพันธุ์ เงื่อนไขสุขภาพ รวมถึงวัตถุประสงค์ในการตรวจ
ตรวจในแพ็กเกจ Fertility Health Check Up สำหรับผู้หญิงและผู้ชาย มีรายการดังนี้
รายการตรวจสำหรับผู้หญิง 10 รายการ
- ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC)
- ตรวจกรุ๊ปเลือด (RH Group)
- ตรวจการเป็นพาหะของเบต้าธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบิน (HB Typing)
- ตรวจฮอร์โมน (E2, P4, FSH, PRL)
- ตรวจฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ (TSH)
- ตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV)
- ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
- ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (Anti-HCV)
- ตรวจหาเชื้อกามโรค (VDRL)
- การเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH
รายการตรวจสำหรับผู้ชาย 8 รายการ
- ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC)
- ตรวจการเป็นพาหะของเบต้าธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบิน (HB Typing)
- ตรวจกรุ๊ปเลือด (RH Group)
- ตรวจหาเชื้อเอชไอวี (HIV)
- ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
- ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (Anti-HCV)
- ตรวจหาเชื้อกามโรค (VDRL)
- ตรวจคุณภาพอสุจิ (Semen analysis)
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- เตรียมประวัติสุขภาพมาพูดคุยกับแพทย์อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะประวัติด้านโรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรมของคนในครอบครัว โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (หากเคยตรวจพบ) ประวัติการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา การคุมกำเนิด ภาวะมีบุตรยาก (หากเคยตรวจพบ)
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ฝ่ายชายควรงดการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการช่วงตัวเองด้วยวิธีใดๆ ก่อนวันรับบริการ 3-7 วัน แต่ไม่ควรนานเกินกว่านั้น
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังรับบริการเสร็จแล้ว ผู้เข้ารับบริการสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทันที ไม่จำเป็นต้องพักฟื้น แต่นอกจากนี้ก็ยังต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลสุขภาพจากแพทย์ภายหลังฟังผลตรวจ เพื่อให้โอกาสตั้งครรภ์อย่างสมบูรณ์แข็งแรงมีเพิ่มมากขึ้น
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS