รักษาหูดหงอนไก่ด้วยการจี้ไฟฟ้าบริเวณปากทวารหนัก (Condyloma Acuminatum)
จี้ไฟฟ้า หูดหลุดทันทีไม่ต้องรอยุบเอง
กำจัดหูดและห้ามเลือดได้ในครั้งเดียว
แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
หูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ทำให้มีติ่งเนื้อคล้ายกับหงอนไก่
- เป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
- รักษาหายแล้วมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ 30-70%
- ป้องกันได้ด้วยวัคซีน HPV [ดูโปรโมชั่นที่นี่]
ให้แอดมินแนะนำโปรวัคซีน HPV ให้คุณวันนี้
รักษาหูดหงอนไก่ด้วยการจี้ไฟฟ้ากับความเย็นต่างกันยังไง?
- รักษาด้วยการจี้ไฟฟ้า (Electrocautery) ใช้พลังงานความร้อนสูงจี้ที่ก้อนหูด โดยก้อนหูดจะหลุดออกทันที
- รักษาด้วยพลังงานความเย็น (Cryosurgery) ใช้ไอเย็นหรือไนโตรเจนเหลว ติดลบ 180 องศา หยุดการเติบโตของก้อนหูด ทำให้หูดค่อยๆ เล็กลง มักต้องทำ 3-5 ครั้งขึ้นกับขนาดของก้อนหูด
คำถามที่พบบ่อย
โรคหูดหงอนไก่ กลับมาเป็นซ้ำได้มั้ย?
โรคหูดหงอนไก่มีโอกาสประมาณ 30-70% ที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก โดยอาจเกิดจากเชื้อในร่างกายกลับมาก่อโรคนี้ซ้ำหรือเกิดจากการรับเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์หลังการรักษาเสร็จสิ้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากภาวะหรือโรคอื่นๆ ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลง เช่น โรคมะเร็ง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
จี้หูดหงอนไก่ กี่วันหาย?
ในกรณีที่เลือกจี้ด้วยพลังงานความเย็นจัด ก้อนหูดจะค่อยๆ เล็กลงทีละน้อยในทุกครั้งหลังการรักษา แต่หากเลือกจี้ด้วยไฟฟ้า ก้อนหูดจะหายไปภายในการรักษาครั้งเดียว ส่วนระยะเวลาที่แผลหลังผ่าตัดจะหายจะอยู่ที่ประมาณ 1-3 สัปดาห์
จี้หูดหงอนไก่ เจ็บไหม?
การจี้หูดหงอนไก่อาจก่อความรู้สึกเจ็บหลังการผ่าตัดได้ระยะเวลาหนึ่ง แต่อาการจะเป็นเพียงชั่วคราว หลังจากนั้นจะค่อยๆ หายไปในไม่กี่วัน
รู้จักโรคนี้
โรคหูดหงอนไก่คืออะไร?
โรคหูดหงอนไก่ (Condyloma Acuminata) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Disease: STD) ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) จนทำให้ผู้ป่วยมีติ่งเนื้อที่ดูขรุขระคล้ายกับหงอนไก่ ในบางรายอาจพบติ่งเนื้อขนาดเล็ก แต่ในบางรายก็พบเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังทำให้มีอาการแสบร้อนเวลาปัสสาวะ มีตกขาวมาก และรู้สึกคันระคายเคือง
โรคหูดหงอนไก่ พบได้บริเวณใด?
โรคหูดหงอนไก่สามารถพบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มักพบในวัยเจริญพันธุ์ที่ช่วงอายุประมาณ 16-25 ปี โดยตำแหน่งที่พบหูดหงอนไก่ได้บ่อยจะอยู่ในบริเวณรอบๆ อวัยวะเพศ ดังนี้
- ผู้ชาย มักพบได้บ่อยบริเวณหนังหุ้มองคชาต หนังหุ้มอัณฑะ รูเปิดท่อปัสสาวะ และรอบๆ ทวารหนัก
- ผู้หญิง มักพบได้บ่อยบริเวณขาหนีบ แคมเล็ก แคมใหญ่ ปากมดลูก ภายในช่องคลอด ปากช่องคลอด และหากกำลังตั้งครรภ์จะยิ่งทำให้หูดมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ง่าย
สัญญาณที่ต้องตรวจ
โรคหูดหงอนไก่มักจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะมีขนาดเล็กมากหรือเกิดขึ้นภายในร่างกาย แต่ถ้าตรวจเจอหูดผิดปกติที่อวัยวะเพศหรือทวารหนักควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ HPV และรักษาทันที โดยสามารถสังเกตลักษณะของหูดหงอนไก่ได้ดังนี้
- ติ่งเนื้อผิวเรียบ หรือผิวขรุขระนูนยื่นออกจากผิวหนังเป็นหยักๆ หรือเป็นตะปุ่มตะป่ำ
- ตุ่มเนื้อ ติ่งเนื้อ หรือก้อนเนื้อขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ไม่เท่ากัน
- ตุ่มเนื้อ ติ่งเนื้อ หรือก้อนเนื้อสีขาว สีเนื้อ สีชมพู หรือสีแดง
- ตุ่มเนื้อ ติ่งเนื้อ หรือก้อนเนื้อตุ่มเดียว หรือหลาย ๆ ตุ่มขึ้นเป็นกระจุกรวมกัน
- มีอาการคัน แสบร้อน รู้สึกไม่สบายหรือเจ็บที่หูดหงอนไก่
- มีเลือดออกที่ติ่งเนื้อ หรือไหลออกทางช่องคลอด โดยเฉพาะขณะมีเพศสัมพันธ์
ในผู้ชาย เจอได้บ่อยที่หนังหุ้มองคชาต หนังหุ้มอัณฑะ รูเปิดท่อปัสสาวะ และรอบๆ ทวารหนัก
ในผู้หญิง เจอได้บ่อยที่ขาหนีบ แคมเล็ก แคมใหญ่ ปากมดลูก ภายในช่องคลอด ปากช่องคลอด และถ้ากำลังตั้งครรภ์จะทำให้หูดมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ง่าย
การตรวจโดยแพทย์เมื่อสงสัยว่าเป็นหูดหงอนไก่
- แพทย์จะตรวจบริเวณที่สงสัยว่าอาจเป็นหูดหงอนไก่ เช่น ช่องคลอด ทวารหนัก ขาหนีบ หรือต้นขา จากนั้นใช้กรดน้ำส้มหรือกรดแอซีติก (Acetic Acid) เจือจางทำให้หูดสีซีดลงและเห็นได้ชัดขึ้น แล้วเอากล้องหรือแว่นขยายมาส่องดูลักษณะหูด
- อาจตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ด้วย เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจหาเชื้อไวรัส HPV
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจภายใน เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานสตรีทั้งภายในและภายนอก รวมถึงอวัยวะข้างเคียง เช่น รอบปากช่องคลอด แคมนอก แคมใน ผนังช่องคลอดหรือปากมดลูก
- ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สำหรับคนที่มีเลือดออกทางช่องคลอด มีหนอง หรือสารคัดหลั่งทางช่องคลอด
- ตรวจหาสายพันธุ์เชื้อ HPV (HPV DNA Test) เป็นการตรวจแบบเจาะลึกระดับ DNA เพื่อหาเชื้อ HPV ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหูดหงอนไก่
- ตรวจทวารหนัก เพื่อหาความผิดปกติทั้งภายในทวารหนัก ที่หูรูดและผิวภายนอกทวารหนักด้วยการส่องกล้อง
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
- ทายา ทั้งภายนอกและอวัยวะภายในที่เป็นหูด
- ผ่าตัดชิ้นเนื้อ สำหรับหูดหงอนไก่ที่มีขนาดใหญ่ หรือคนกินยาแล้วไม่ได้ผล
- จี้ร้อนด้วยไฟฟ้า (Electrocautery) เป็นการรักษาด้วยการจี้หูดด้วยความร้อนสูง เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อที่เติบโตผิดปกติ
- จี้เย็นด้วยไนโตรเจนเหลว (Liquid nitrogen cryotherapy) เพื่อยับยั้งการเติบโตของหูด ช่วยให้ผิวฟื้นตัว และให้หูดหลุดออก
- รักษาด้วยเลเซอร์ (Laser treatments) เหมาะกับหูดหงอนไก่ที่ขึ้นเป็นวงกว้างและรักษาได้ยาก
รู้จักการผ่าตัดนี้
การผ่าตัดจี้หูดหงอกไก่บริเวณปากทวารหนัก (Condyloma Surgery) คือ วิธีรักษาโรคหูดหงอนไก่ที่เกิดบริเวณปากทวารหนัก ด้วยพลังงานไฟฟ้าจี้ โดยใช้คลื่นพลังงานความร้อนสูงจี้เพื่อกำจัดก้อนเนื้อหูดออก สามารถกำจัดหูดและห้ามเลือดได้ทันที
- เป็นการผ่าตัดขนาดเล็กที่มีการวางยาชาเฉพาะที่
- โอกาสเกิดแผลได้น้อย หรือเป็นแผลเพียงขนาดเล็กๆ ในตำแหน่งที่เคยมีหูด
ขั้นตอนการจี้หูดหงอนไก่บริเวณทวารหนัก
- แพทย์ระงับความรู้สึกให้กับคนไข้
- แพทย์ฉีดยาชาเฉพาะที่ในตำแหน่งทวารหนักที่เป็นหูดหงอนไก่
- ใช้หัวปล่อยพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็ก ปล่อยลงไปที่ก้อนเนื้อหูด
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
จี้หูดหงอนไก่ด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electrocautery)
- ใช้คลื่นพลังงานความร้อนสูงเข้าจี้เพื่อกำจัดก้อนเนื้อหูดออก
- กำจัดหูดและห้ามเลือดได้พร้อมกัน
- กำจัดได้หมดจดในการทำเพียงครั้งเดียว
จี้หูดหงอนไก่ด้วยพลังงานความเย็น (Cryosurgery)
- พ่นไอเย็นหรือไนโตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen Cryptotherapy) ที่อุณหภูมิติดลบ 180 องศาเซลเซียสเข้าไปหยุดการเจริญเติบโตของก้อนหูด ทำให้ลดขนาดลงและฟื้นฟูสภาพผิวที่เกิดรอยโรคโดยรอบ
- อาจต้องทำหลายครั้งถึงจะหาย
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
ก่อนจี้หูดหงอนไก่ ผู้ป่วยจะมีการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดเล็กน้อย เช่น
- แจ้งประวัติโรคประจำตัว โรคประจำตัว วิตามินเสริม อาหารเสริมสุขภาพต่างๆ ทุกชนิดกับแพทย์
- แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจสุขภาพเพิ่มเติมก่อนการผ่าตัด
- หยุดยาที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของเลือด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด
- งดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล่วงหน้าประมาณ 1-3 วันก่อนวันผ่าตัด
- แพทย์อาจแนะนำให้งดน้ำและงดอาหารในคืนวันก่อนผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัด
การดูแลตัวเองหลังจี้หูดหงอนไก่บริเวณทวารหนัก มีรายละเอียดดังนี้
- ใส่ผ้าอนามัยหรือแผ่นรองอนามัยเพื่อซับเลือดที่แผลหลังผ่าตัด
- ทำความสะอาดแผลเบาๆ ด้วยน้ำสะอาดและสบู่ และต้องซับแผลให้แห้งทุกครั้ง
- งดทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก หรือการยกของหนักประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- สามารถขับรถได้ตามปกติ แต่อย่าเพิ่งขับรถทางไกล เนื่องจากอาจทำให้แผลกดทับ หรือรู้สึกเจ็บระบมแผลได้
- ภายใน 1 วันหลังผ่าตัด ให้หมั่นนั่งแช่น้ำอุ่นวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 15-20 นาที
- ดื่มน้ำให้มากๆ กินอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องผูกจนต้องเบ่งอุจจาระแรงๆ
- งดใช้กระดาษทิชชู่แห้งในการซับทวารหนักหลังอุจจาระ ให้ใช้สำลีเนื้อนุ่มหรือทิชชู่เปียกแทน
- กินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- งดมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
- ในกรณีที่ต้องจี้หูดมากกว่า 1 ครั้ง ให้เดินทางกลับมารักษากับแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
สำหรับอาการข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปหลังการจี้หูดหงอนไก่ ได้แก่
- อาการเจ็บแผล
- อาการแสบร้อนที่แผล
- มีเลือดไหลออกจากแผล หรือแผลมีสะเก็ดเลือดเล็กน้อย
- ภาวะแผลบวม
- ภาวะแผลติดเชื้อ
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. บัณฑวิช พลกล้า (หมอปี)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-
-ปี 2553: แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-ปี 2558: วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
-ปี 2564: วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศัลยแพทย์เฉพาะทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
นพ. วรัญญู จิรามริทธิ์ (หมอเต้ย)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
-
-แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-วุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลตำรวจ
-วุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลอื่นของแพทย์
-
-แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ: การผ่าตัดลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง, การส่องกล้องทางเดินอาหาร