เตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้พร้อมรับตัวอ่อน ด้วยยาฮอร์โมน
การเตรียมเยื่อบุมดลูกให้พร้อม ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
เยื่อบุโพรงมดลูกที่เหมาะสม ต้องหนา 7-12 มม. และเรียงตัวเป็น 3 ชั้น
ปรึกษาหมอปอนด์ ปริญญาเอกด้านการเจริญพันธุ์ ทำ ICSI สำเร็จแล้วหลายร้อยเคส
รายละเอียด
HDcare สรุปให้
โพรงมดลูกเป็นเหมือนบ้านหลังแรกของทารก (ตัวอ่อน) ถ้าโพรงมดลูกไม่แข็งแรงหรือมีปัญหา อาจทำให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือฝังตัวแล้วแต่ไม่สามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่
- การเตรียมเยื่อบุมดลูกให้พร้อม ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
- เยื่อบุโพรงมดลูกที่เหมาะสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ต้องมีความหนา 7-12 มม. และเรียงตัวเป็น 3 ชั้น
- ถ้าอยากให้เยื่อบุโพรงมดลูกเหมาะสม ต้องเริ่มจากฮอร์โมนที่สมดุล และต้องอาศัยการดูแลสุขภาพและการบำรุงที่ดี
พยายามมีลูกมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังไม่มาสักที
แนะนำปรึกษาทีม HDcare เพื่อทำ ICSI วันนี้
รู้จักการผ่าตัดนี้
การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง (Embryo Transfer) คือ การใช้ตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งเอาไว้ในห้องปฏิบัติการมาผ่านกระบวนการละลาย (Thawing) และนำใส่เข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ [ดูรายละเอียดที่นี่]
การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน (Endometrial Preparation) คือ กระบวนการหลังจากแพทย์และนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะพร้อมต่อการฝังตัวในร่างกายฝ่ายหญิง ผู้รับบริการจะต้องเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาพอและมีความพร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน
ขั้นตอนการเตรียมเยื่อบุมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน
ผู้รับบริการควรทำนัดมาพบแพทย์ในวันที่ 2-3 ของการมีประจำเดือน แพทย์จะตรวจสุขภาพ รวมถึงตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งควรหนากว่า 7-12 มม. และมีลักษณะ 3 ชั้น แพทย์จะเช็กความผิดปกติของโพรงมดลูกซึ่งอาจพบในภายหลัง เช่น ก้อนเนื้อ ผังผืดในเยื่อบุโพรงมดลูก
การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูก แบ่งออกได้ 2 แผน ได้แก่
1. เตรียมเยื่อบุมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน แบบใช้รอบเดือนตามธรรมชาติ (Natural Frozen-thawed Embryo Transfer)
- เหมาะกับผู้หญิงที่มีรอบการตกไข่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาปกติทุกเดือน แผนนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฮอร์โมน แต่จะอาศัยฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่มีอยู่แล้วในรังไข่เป็นตัวกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวมากพอ
- แพทย์จะคาดคะเนวันไข่ตกผ่านการเจาะเลือด และนัดหมายผู้เข้ารับบริการให้มาตรวจวัดฮอร์โมนและอัลตราซาวด์รังไข่อยู่เป็นประจำ สำหรับการคาดคะเนวันไข่ตก แพทย์อาจแนะนำการใช้การตรวจปัสสาวะเพื่อคาดคาดคะแนวันไข่ตกเอง หรือใช้วิธีฉีดยาให้ไข่ตกตามช่วงเวลาที่กำหนด
- แพทย์จะจ่ายยากินและยาสอดเพื่อเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกอีกครั้งให้เยื่อบุโพรงมดลูกพร้อมต่อการฝังตัวอ่อน จากนั้นเมื่อไข่ตกไปได้ประมาณ 5 วัน ก็จะสามารถย้ายตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูกได้
2. เตรียมเยื่อบุมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อน แบบใช้ยาฮอร์โมน (Artificial or Medicated Embryo Transfer)
- เหมาะกับผู้หญิงที่มีรอบตกไข่ไม่สม่ำเสมอ หรือเคยมีปัญหาโพรงมดลูกหนาตัวไม่มากพอ
- แพทย์จะจ่ายยาฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เพื่อกระตุ้นให้ไข่โตขึ้น และไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น โดยต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 14 วัน ระหว่างนี้จะนัดเข้ามาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ
- แพทย์จะคาดคะเนวันไข่ตกผ่านการเจาะเลือด และนัดหมายผู้เข้ารับบริการให้มาตรวจวัดฮอร์โมนและอัลตราซาวด์รังไข่อยู่เป็นประจำ สำหรับการคาดคะเนวันไข่ตก แพทย์อาจแนะนำการใช้การตรวจปัสสาวะเพื่อคาดคาดคะแนวันไข่ตกเอง หรือใช้วิธีฉีดยาให้ไข่ตกตามช่วงเวลาที่กำหนด
- ถ้าเยื่อบุโพรงมดลูกหนาพอที่จะย้ายตัวอ่อน แพทย์จะฉีดยาให้ไข่ตกเพื่อคาดคะแนวันย้ายตัวอ่อน และให้ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งอาจมีทั้งแบบกินกับแบบยาสอด เพื่อเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกอีกครั้ง ก่อนถึงวันย้ายตัวอ่อน 5 วัน
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
เตรียมเยื่อบุมดลูกแบบใช้รอบเดือนตามธรรมชาติ
- ใช้ฮอร์โมนธรรมชาติของร่างกายเท่านั้น ไม่มีการใช้ยาฮอร์โมน
- เหมาะกับคนที่กังวลเรื่องยา หรือไม่ต้องการกินยาหรือสอดยาฮอร์โมนทุกวัน
- ต้องมีประจำเดือนมาตรงเวลาทุกครั้ง ถ้ารอบเดือนในช่วงที่ต้องการใส่ตัวอ่อนคลาดเคลื่อนหรือไข่ในรอบนั้นโตไม่ดี ผนังมดลูกไม่พร้อมจะต้องเลื่อนเวลาใส่ตัวอ่อนออกไป
- ต้องตรวจเลือดและตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ
เตรียมเยื่อบุมดลูกก่อนย้ายตัวอ่อนแบบใช้ยาฮอร์โมน
- เป็นวิธีที่กำหนดเวลาใส่ตัวอ่อนได้ สามารถควบคุมความหนาของเยื่อบุได้ดี
- เหมาะกับคนที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ รอบไข่ตกไม่สม่ำเสมอ หรือผนังเยื่อบุโพรงมดลูกบาง สามารถปรับแก้ได้ด้วยการใช้ยา
- ใช้ยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 14 วัน ระหว่างนี้จะนัดเข้ามาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ
- อาจได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาจนเกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น คัดตึงเต้านม คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย น้ำหนักตัวเพิ่ม
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
นอกจากการตรวจเช็กฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ ยังต้องดูแลสุขภาพให้เอื้ออำนวยต่อการเพิ่มความหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกด้วย เช่น
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นให้ร่างกายได้รับสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญอย่างหลากหลายและเพียงพอ เช่น อาหารที่มีโปรตีนสูง กรดโฟลิก (Folic Acid) แมกนีเซียม (Magnesium) สังกะสี (Zinc) วิตามินซี (Vitamin C) วิตามินอี (Vitamin E)
- ลดอาหารที่มีน้ำตาลและมีไขมันสูง
- รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่อย่าหักโหมเกินไป
- ลดความเครียด รวมถึงความวิตกกังวล พยายามอย่ากดดันตัวอย่างจนเกินไป ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบต่อฮอร์โมนที่สร้างเยื่อบุโพรงมดลูกได้
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- งดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มคาเฟอีน งดสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารพิษ สารเคมี หรือมลภาวะต่างๆ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูก
- เยื่อบุโพรงมดลูกยังไม่หนาพอต่อการฝังตัวอ่อน
- รอบตกไข่ไม่เป็นไปตามที่กำหนด ซึ่งจำเป็นต้องเลื่อนการใส่ตัวอ่อนไปยังรอบถัดไป
- ใส่ตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกเรียบร้อยแล้ว แต่ตัวอ่อนหลุด
สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร (หมอปอนด์)
HDcare
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ
ข้อมูลอื่นของแพทย์
- สูติแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดส่องกล้องและส่องกล้องสำหรับภาวะมีบุตรยากและภาวะความผิดปกติต่างๆทางนรีเวช
- การคุมกำเนิด
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
- ประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 10 ปี
- เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ IVF/ICSI/IUI
- ภาวะมีบุตรยากชายและหญิง
- การตรวจวินิจฉัยคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนฝังตัว(PGT)
- การดูแลหญิงวัยหมดประจำเดือน: การบำบัดด้วยฮอร์โมนวัยหมดประจำเดือน(MHT), โรคกระดูกพรุน
-เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ด้านต่อมไร้ท่อ : PCOS