ทำ ICSI (เด็กหลอดแก้วอิ๊กซี่) พร้อมเลี้ยงตัวอ่อนด้วยตู้ Embryo Scope Plus

ทำ ICSI เพิ่มโอกาสการได้ตัวอ่อนมากกว่าทำ IVF
เพิ่มโอกาสท้อง ด้วยตู้เลี้ยงตัวอ่อนพิเศษ EmbryoScope Plus ได้ตัวอ่อนที่แข็งแรงกว่า
ค่าใช้จ่ายไม่บาน ราคานี้รวมยากระตุ้นไข่สูงสุด 3,800 ยูนิตแล้ว (ปกติใช้ไม่เกิน 3,500 ยูนิต)
ปรึกษาหมอปอนด์ ปริญญาเอกด้านการเจริญพันธุ์ ทำ ICSI สำเร็จแล้วหลายร้อยเคส
รายละเอียด
HDcare สรุปให้

ปรึกษาหมอปอนด์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายวันนี้
แพ็กเกจนี้รวมอะไรบ้าง?
- ฉีดกระตุ้นไข่ - ใช้ยากระตุ้นไข่ ไม่เกิน 3,800 ยูนิต ครอบคลุมมากกว่าจำนวนที่ใช้กันทั่วไป 3,500 ยูนิต
- เก็บไข่ - รวมค่าดมยาสลบขณะเก็บไข่ ภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์
- กระบวนการปฏิสนธิ (ICSI) - ผสมอสุจิที่แข็งแรงกับไข่โดยตรงเพื่อกระตุ้นการปฏิสนธิ
- เพาะเลี้ยงตัวอ่อน - ด้วยตู้เลี้ยงแบบพิเศษ EmbryoScope Plus ดูการพัฒนาของตัวอ่อนแบบ Real Time
- แช่แข็งตัวอ่อน - แช่แข็งตัวอ่อน 8 ตัวในปีแรก เพื่อรอคุณแม่เตรียมสุขภาพและมดลูกให้พร้อมที่สุดในการย้ายตัวอ่อนไปใส่ในโพรงมดลูกต่อไป
- ครอบคุลมค่าบริการอื่นๆ ครอบคลุมค่าบริการคลินิก ค่าพยาบาลและค่าแพทย์แล้ว

ข้อมูลน่ารู้
- ทำหมันแล้วอยากมีลูก เลือกทำ ICSI ได้
- ปกติผู้หญิงจะตกไข่แค่เดือนละใบและต้องรออสุจิมาปฏิสนธิ แต่ขั้นตอนทำ ICSI จะกระตุ้นให้ตกไข่หลายใบ แล้วเอาออกมาปฏิสนธิกับอสุจินอกร่างกาย ไม่ต้องลุ้น
- ทำ ICSI สามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อน เลี่ยงโรคทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
รู้จักโรคนี้
การทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) หรือที่นิยมเรียกว่า อิ๊กซี คือการคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงที่สุดฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่ 1 ใบ เพื่อให้ปฏิสนธิเกิดเป็นตัวอ่อน จากนั้นนำกลับไปยังร่างกายของฝ่ายหญิงเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์
ทำไมถึงต้องทำ ICSI?
- ปกติผู้หญิงจะตกไข่แค่เดือนละใบและไจะต้องรออสุจิเคลื่อนที่มาเจอภายในร่างกายผู้หญิง ระหว่างทางจะมีอสุจิตายจำนวนมาก และอาจไม่เกิดการปฏิสนธิ
- การกระตุ้นไข่ จะเพิ่มจำนวนไข่ให้มากที่สุดเพื่อที่จะนำมาปฏิสนธิกับอสุจินอกร่างกาย และเลือกตัวอ่อนที่มีคุณภาพมากที่สุดเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ ทำให้มีอัตราการตั้งครรภ์ที่สูง
- สามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
- ถ้ายังไม่พร้อมมีลูกตอนนี้ สามารถฝากไข่เอาไว้ก่อนได้ ขั้นตอนเหมือนกัน แต่ไม่นำไข่มาปฏิสนธิกับอสุจิ แต่เป็นการแช่แข็งไข่โดยตรงแทน
- การแช่แข็งไข่เป็นเหมือน “การหยุดเวลา” เพื่อให้ไข่ที่เก็บไว้มีอายุคงที่ ไม่เพิ่มขึ้นแม้เวลาผ่านไป 10 ปี ความสมบูรณ์ของไข่ก็จะยังเท่ากับอายุของฝ่ายหญิงที่มาเก็บไข่ ณ ตอนนั้น และเก็บไว้ได้นานจนกว่าจะพร้อม
ใครเหมาะกับการทำ ICSI?
- คู่รักที่วางแผนจะมีบุตรในอนาคต แต่อยากจะแช่แข็งไข่ที่มีคุณภาพเก็บเอาไว้ก่อน
- คู่รักที่วางแผนจะมีบุตรในช่วงหลังอายุ 35 ปีขึ้นไป
- คู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก
- คู่รักที่วางแผนจะมีบุตรด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว
- ผู้ที่จำเป็นต้องรักษาโรคด้วยการฉายรังสี ผ่าตัด หรือวิธีการรักษาที่อาจสร้างความเสียหายให้กับรังไข่ จึงอยากเก็บปริมาณไข่ที่มีคุณภาพและมากพอเอาไว้ก่อน
- ผู้ที่มีความผิดปกติที่รังไข่ จนทำให้รังไข่เสื่อมตัวหรือทำงานผิดปกติเร็วกว่าวัยอันควร
สัญญาณที่ต้องตรวจ
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง
- ความผิดปกติของฮอร์โมน ที่ส่งผลต่อการตกไข่ เช่น
- ระดับโปรแลกตินในเลือดสูง (Hyperprolactinemia)
- ถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS (Polycystic Ovarian Syndrome)
- ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง (Chronic Anivulation)
- ท่อนำไข่ผิดปกติ เช่น
- ท่อนำไข่บวมน้ำ (Hydrosalpinx)
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- พังผืดในอุ้งเชิงกราน
- การติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์
- มดลูกผิดปกติ เช่น
- เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Leiomyoma หรือ Fibromyoma หรือ Fibroid หรือ Myoma Uteri)
- พังผืดในโพรงมดลูก (Uterine Synechiae)
- มีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก
- สมรรถภาพของรังไข่ลดลง (Ovarian Reserve) เช่น
- การใช้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
- โรคทางพันธุกรรมอื่นๆ เช่น อาการโครโมโซม x เปราะ (Fragile X)
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เซลล์ไข่ลดลง
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย
- ความผิดปกติในการสร้างอสุจิ เช่น
- ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น Klinefelter Syndrome หรือ การมี Microdeletion ของโครโมโซม Y การอักเสบติดเชื้อ (การอักเสบของอัณฑะจากเชื้อไวรัสคางทูม)
- ความผิดปกติของ Sperm Function เช่น
- การอักเสบของต่อมลูกหมาก
- หลอดเลือดอัณฑะขอด
- การอุดตันของท่ออสุจิ เช่น
- การผ่าตัดทำหมันผู้ชาย
- การอักเสบของท่อนำอสุจิ
- ความผิดปกติตั้งแต่เกิด
อายุเท่าไหร่ที่ควรตรวจภาวะมีบุตรยาก?
- คู่สามีภรรยาที่อายุน้อยกว่า 35 ปี พยายามมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติมา 1 ปีแล้วยังไม่ตั้งครรภ์
- คู่สามีภรรยาที่อายุมากกว่า 35 ปี พยายามมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติมา 6 เดือนแล้วยังไม่ตั้งครรภ์
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
- ตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน ซักประวัติสุขภาพ โรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา ประวัติการฉีดวัคซีน พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้ หรือการคุมกำเนิดกับแพทย์
- เก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถหาความเข้มข้นของเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด โรคที่ส่งต่อได้ทางพันธุกรรม รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การทำอัลตร้าซาวด์และตรวจภายในเพื่อประเมินความปกติของมดลูก ปีกมดลูก และ รังไข่
- การตรวจดูความแข็งแรงของอสุจิ
รักษาโรคนี้ได้วิธีไหนบ้าง
การรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ โดยแพทย์จะให้การรักษาเพื่อให้ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติมากที่สุด อย่างไรก็ตามแม้จะรักษาตามสาเหตุแล้ว คู่สมรสบางคู่ก็ยังไม่สามารถมีบุตรได้และต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันมี 2 วิธีหลัก ได้แก่
1. การฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (Intrauterine Insemination: IUI) เป็นการกระตุ้นให้ไข่ตกแล้วฉีดน้ำเชื้ออสุจิที่คัดเลือกเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้ผสมกับไข่ในร่างกายของฝ่ายหญิง เป็นวิธีการรักษาสำหรับคนที่มีปัญหาไม่มาก [ดูรายละเอียดที่นี่]
2. การทำเด็กหลอดแก้ว แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
- การทำ IVF (In Vitro Fertilization) เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในห้องปฏิบัติการ จากนั้นนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
- การทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เป็นการปฏิสนธินอกร่างกายโดยวิธีการคัดเลือกฉีดอสุจิที่ดีที่สุดหนึ่งตัวเข้าไปในเซลล์ไข่เพื่อทำให้เกิดกระบวนการปฏิสนธิ จากนั้นจึงจะนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ย้ายกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
การกระตุ้นไข่ เก็บไข่ และแช่แข็งไข่ (Egg Stimulation and Embryo Freezing) เป็น 3 กระบวนการที่อยู่ในขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว
- ตรวจสุขภาพ - เพื่อคัดกรองโรคประจำตัว โรคติดเชื้อ หรือโรคที่อาจส่งต่อทางพันธุกรรม รวมถึงค่าฮอร์โมนที่สำคัญต่อการผลิตไข่ (ดูรายละเอียดที่นี่)
- ฉีดยากระตุ้นไข่ - แพทย์ให้ฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นไข่ด้วยตัวเองทุกวันที่บ้าน ประมาณ 8-12 วัน (ขึ้นกับแต่ละคน)
- ติดตามการเติบโตของไข่ - ระหว่างฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นไข่ แพทย์จะนัดมาตรวจเช็กขนาดและความคืบหน้าของการผลิตไข่ทุก 2-3 วัน และปรับยากระตุ้นตามผลการตรวจที่ออกมา ระหว่างฉีดยากระตุ้นไข่ ผู้เข้ารับบริการต้องรักษาสุขภาพเพื่อเอื้ออำนวยต่อการผลิตไข่ที่มีคุณภาพด้วย
- ฉีดยาให้ไข่สุก - เมื่อแพทย์ประเมินว่าขนาดและปริมาณไข่ที่ผลิตออกมาพร้อมต่อการเก็บแล้ว จะฉีดกระตุ้นให้ไข่สุก หลังจากฉีดยาครบ 34-36 ชั่วโมง ไข่จะสุกอย่างเต็มที่ แพทย์จะนัดเข้ามาเก็บไข่
- เก็บไข่ - วิสัญญีแพทย์ให้ยานอนหลับอ่อนๆ จากนั้นแพทย์จะเริ่มการดูดเก็บไข่ผ่านทางช่องคลอดออกมาฝ่ายหญิง
- เก็บเชื้ออสุจิ - ฝ่ายชายต้องเก็บอสุจิด้วยตัวเองส่งเจ้าหน้าที่ ถ้าเก็บด้วยตัวเองไม่ได้ แพทย์จะมีวิธีการเก็บให้ด้วยวิธีทางการแพทย์
- ปฏิสนธิ - นักวิทยาศาสตร์นำไข่และอสุจิมาปฏิสนธิในห้องแล็บเพื่อให้เกิดเป็นตัวอ่อน แล้วเพาะเลี้ยงให้ได้ระยะที่เหมาะสม
- แช่แข็งตัวอ่อน - ถ้ามีตัวอ่อนหลายตัว ตัวอ่อนที่ไม่ได้ใช้งานและยังแข็งแรง สามารถแช่แข็งไว้กับนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน ถ้าในอนาคตอยากมีลูกอีก ก็กลับมาใช้ตัวอ่อนนี้ได้
ถ้าไม่พร้อมทำเด็กหลอดแก้ว แต่ฝ่ายหญิงอยู่ในวัยที่มีเซลล์ไข่ที่แข็งแรงสมบูรณ์ อยากเก็บไข่เอาไว้ก็เข้ามากระตุ้นไข่ เก็บไข่ และแช่แข็งไข่ไว้ก่อนได้
รู้จักการผ่าตัดนี้
ขั้นตอนการกระตุ้นไข่ ระหว่างที่ฉีดยากระตุ้นไข่ ผู้รับบริการต้องดูแลสุขภาพให้เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายผลิตไข่ที่มีคุณภาพออกมาได้มากที่สุด เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดหรือวิตกกังวลเกินไป ห้ามหักโหมออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ และงดมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราว
- แพทย์จ่ายยาฮอร์โมนที่กระตุ้นให้ร่างกายผลิตเซลล์ไข่ออกมามากขึ้นกว่าปกติ มี 2 ประเภทคือ ยากินและยาฉีด แพทย์จะประเมินประเภทยาที่เหมาะต่อร่างกายผู้รับบริการ แต่ส่วนมากมักใช้ยาแบบฉีด หรือใช้ยาทั้ง 2 แบบร่วมกัน ส่วนปริมาณยาที่ฉีดจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้รับบริการ
- ตำแหน่งในการฉีดยากระตุ้นไข่อยู่ที่ข้างสะดือห่างออกมาประมาณ 1 นิ้วมือ โดยจะต้องฉีดยากระตุ้นไข่ในเวลาเดียวกันทุกวัน อุปกรณ์การฉีดจะคล้ายกับปากกาที่ส่วนปลายสามารถเลื่อนปรับปริมาณยาตามแพทย์สั่งได้
- เมื่อถึงเวลาฉีดยา ให้ทำความสะอาดผิวด้วยแผ่นแอลกอฮอล์ก่อน จากนั้นประกอบหัวเข็มเข้ากับตัวอุปกรณ์ฉีดยา ปรับเลขปริมาณยาให้ถูกต้อง
- ถอดปลอกปิดหัวเข็มออก ตามด้วยถอดจุกยางออกจากเข็ม ลักษณะเข็มฉีดยากระตุ้นไข่จะเล็กและสั้นกว่าเข็มฉีดยาทั่วไป
- เปิดหน้าท้อง ใช้มืออีกข้างจับเนื้อหน้าท้องขึ้นมาเล็กน้อย แล้วกดเข็มลงไปในมุม 90 องศา หลังจากนั้นกดปลายปลอกอุปกรณ์ที่เป็นปุ่มลงไปให้สุด
- ระหว่างที่กดปลอกฉีดยาไว้ ให้มองตรงแถบตัวเลขตรงปลายปลอกฉีดยา ซึ่งต้องเลื่อนจากเลขปริมาณยาที่แพทย์แจ้งไว้กลับไปที่เลข 0 แล้วให้ค้างไว้สักครู่ก่อนจะถอดอุปกรณ์ออก
- ในทุก 2-3 วัน แพทย์จะนัดให้ผู้เข้ารับบริการกลับเข้ามาตรวจดูความสมบูรณ์และจำนวนไข่ที่ผลิตออกมา ร่วมกับเจาะเลือดตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของค่าฮอร์โมน
ขั้นตอนการเก็บไข่ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ผู้รับบริการขึ้นนอนบนเตียงขาหยั่ง วิสัญญีแพทย์ให้สารยาและยานอนหลับอ่อนๆ ผ่านทางหลอดเลือด
- แพทย์ทำความสะอาดผิวช่องคลอดอีกครั้ง
- แพทย์สอดอุปกรณ์อัลตราซาวด์ที่ติดเข็มดูดเซลล์ไข่เข้าไปในช่องคลอด
- ภาพอัลตราซาวด์ภายในรังไข่จะปรากฎบนจอภาพ ทำให้แพทย์เห็นจำนวนและขนาดไข่แต่ละใบที่ต้องการจะเก็บ
- แพทย์ดูดเก็บเซลล์ไข่ผ่านทางหัวเข็มของเครื่องอัลตราซาวด์จนครบ
- เคลื่อนย้ายผู้เข้ารับบริการไปนอนพักยังห้องสังเกตอาการต่ออีก 1-2 ชม.
- ไข่/ตัวอ่อนที่เก็บได้ จะนำไปแช่แข็งในสารไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิติดลบ -196 องศา
ขั้นตอนการปฏิสนธิ หลังจากเก็บไข่สำเร็จ แพทย์จะคัดเลือกอสุจิที่มีความสมบูรณ์และแข็งแรงที่สุดของฝ่ายชาย แล้วนำมาผสมกับไข่ที่เก็บมาได้จากฝ่ายหญิง โดยเจาะไข่เพื่อฉีดตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่โดยตรงจนเกิดการปฏิสนธิเพื่อให้ได้ตัวอ่อนในที่สุด
ขั้นตอนเพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Embryo Culture) เมื่อไข่กับอสุจิเกิดการปฏิสนธิแล้ว จะต้องทำการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนเป็นระยะเวลาประมาณ 3-5 วันโดยจะนำมาตัวอ่อนมาเพาะเลี้ยงต่อในตู้เลี้ยงแบบพิเศษ นั่นก็คือ EmbryoScope Plus

ข้อดีของการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในตู้
- ระบบ Time Lapse สามารถติดตามการเติบโตของตัวอ่อนได้แบบ Real time โดยไม่ต้องเปิดตู้เลี้ยงตัวอ่อน ทำให้การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนมีความต่อเนื่อง ไม่ต้องถูกนำออกมานอกตู้ซึ่งอาจจะเสี่ยงได้รับผลกระทบต่อตัวอ่อนได้
- ถ่ายทอดภาพขณะเติบโตอยู่ในตู้เลี้ยงออกมาให้เห็นได้เหมือนภาพวงจรปิด แพทย์ประเมินการพัฒนาการของตัวอ่อนได้อย่างแม่นยำ
- ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ตัวอ่อนเติบโต และพัฒนาตัวได้ดียิ่งขึ้น เพราะมีความปลอดภัยในการเลี้ยงตัวอ่อน ลดการรบกวนตัวอ่อนส่งผลให้ตัวอ่อนมีคุณภาพที่ดีและเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ข้อมูลการเจริญเติมโตของตัวอ่อน จะมีการบันทึกตลอดเวลา ทำให้แพทย์สามารถนำข้อมูลในส่วนนี้ไปคำนวนคะแนน (iDASCORE) ได้ และตัวอ่อนที่มีคะแนนเยอะ จะถูกคัดเลือกเข้าโพรงมดลูก จึงทำให้โอกาสตั้งครรภ์สูง
เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่ในวันที่ 5 หรือระยะบลาสโตซีสต์ (Blastocyst) จะถูกนำไป “แช่แข็ง” เพื่อให้สามารถเก็บไว้ใช้ในภายหลังได้ การแช่แข็งตัวอ่อนจึงเป็นการคงสภาพตัวอ่อนให้มีประสิทธิภาพสดใหม่ รอวันที่คุณแม่มีสุขภาพและมดลูกที่พร้อมในการฝังตัวอ่อนไปที่โพรงมดลูก ทำให้มั่นใจได้ว่าการตั้งครรภ์จะมีศักยภาพสูงสุด

โดยจะใช้วิธีแช่แข็งไข่แบบ Vitrification หรือ การแช่แข็งตัวอ่อนแบบผลึกแก้ว นำไข่หรือตัวอ่อนแช่ลงในน้ำยาที่มีสารป้องกันความเย็นที่มีความเข้มข้นสูงเพื่อให้เซลล์ขาดน้ำอย่างรวดเร็ว ไข่หรือตัวอ่อนจะถูกวางลงในหลอดขนาดเล็กซึ่งจะช่วยให้ระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นจะนำหลอดที่มีตัวอ่อนหรือไข่จุ่มลงในไนโตรเจนเหลวที่ -196 องศา
การแช่แข็งแบบผลึกแก้ว มีอัตราการรอดชีวิตของตัวอ่อนและไข่สูงกว่าวิธีการแช่แข็งแบบเดิม พบว่าอัตราการรอดของตัวอ่อนหลังละลาย สูงขึ้นถึงเกือบ 90-100% ทำให้เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์และยังสามารถเก็บรักษาตัวอ่อนและอสุจิได้เป็นระยะเวลานาน
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
ICSI และ IVF ต่างกันยังไง?
การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF คือการคัดไข่ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิงและอสุจิที่แข็งแรงจากฝ่ายชายมาผสมกันภายนอก โดยปล่อยให้เกิดการปฏิสนธิกันเอง เมื่อไข่ผสมกันแล้วจะถูกนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนเจริญเป็นตัวอ่อน และนำกลับไปในโพรงมดลูกเพื่อให้เจริญเติบโตในครรภ์
ถ้าฝ่ายชายมีอสุจิน้อยหรือคุณภาพไม่ดี เช่น เคลื่อนไหวน้อย รูปร่างผิดปกติ หรือมีความผิดปกติในการหลั่งน้ำอสุจิ จนทำให้ไม่มีตัวอสุจิที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ แพทย์จะทำ ICSI ในขั้นตอนผสมไข่
ความแตกต่างของ IVF และ ICSI
- IVF เป็นการปล่อยให้ตัวอสุจิและไข่ผสมกันเองในห้องปฏิบัติการณ์
- ICSI เป็นการทำให้เกิดการปฏิสนธิแบบเจาะจงระหว่างไข่ 1 ใบ และอสุจิ 1 ตัวที่ถูกคัดเลือกมาแล้ว มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ควรนัดตรวจสุขภาพกับแพทย์ในวันที่มีประจำเดือน 2-3 วันแรก
- ตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน ให้แพทย์ซักประวัติโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา ประวัติการตั้งครรภ์ในอดีต ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ในอดีต ประวัติรอบประจำเดือน
- งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 3 เดือนก่อนเริ่มกระบวนการกระตุ้นไข่
- เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อเช็กความเสี่ยงโรคประจำตัว โรคที่ส่งต่อได้ทางพันธุกรรม รวมถึงเช็กค่าฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการกระตุ้นไข่ เช่น
- ฮอร์โมน Estradiol หรือ E2 เป็นฮอร์โมนเพศหญิงในกลุ่มฮอร์โมนเอสโตนเจน (Estrogen) ที่ผลิตมาจากรังไข่ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ เช่น การตกไข่ รอบประจำเดือน
- ฮอร์โมน Follicle Stimulating Hormone หรือ FSH ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ไข่ และกระตุ้นการตกไข่
- ฮอร์โมน Luteinizing Hormone หรือ LH ทำหน้าที่ควบคุมรอบการมีประจำเดือน กระตุ้นให้เกิดการผลิตไข่และการตกไข่
- ฮอร์โมน Anti-Mullerian Hormone หรือ AMH เป็นฮอร์โมนบ่งชี้ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ รวมถึงบอกปริมาณการผลิตไข่
- ตรวจอัลตราซาวด์ดูสภาพรังไข่ อุ้งเชิงกราน และความเสี่ยงในเกิดความผิดปกติที่อวัยวะสืบพันธุ์ เช่น เนื้องอก ถุงน้ำในรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- ฟังผลตรวจสุขภาพกับแพทย์ หากผลตรวจไม่พบความผิดปกติและพร้อมต่อการกระตุ้นไข่ ก็จะเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นไข่ต่อไป
การเตรียมตัวก่อนเก็บไข่
จากขั้นตอนการกระกระตุ้นไข่ หลังจากแพทย์ตรวจพบว่า ปริมาณไข่มีมากพอตามความต้องการและเติบโตอย่างมีคุณภาพเต็มที่แล้ว แพทย์จะจ่ายยาฉีดเพื่อให้ไข่สุก และจะนัดหมายวันเก็บไข่ ซึ่งโดยทั่วไปวันเก็บไข่จะมีขึ้นหลังฉีดยาให้ไข่สุกแล้วประมาณ 34-36 ชม.
- ทำใจให้สบาย ไม่ต้องเครียด
- งดน้ำและงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
- งดแต่งหน้า งดทาเล็บ งดฉีดน้ำหอม และงดใส่คอนแทคเลนส์
- ทำความสะอาดร่างกายให้สะอาดเสียก่อนเดินทางมาสถานพยาบาล
- เดินทางมาก่อนเวลาเก็บไข่อย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อเตรียมตัวกับแพทย์ล่วงหน้าก่อน
- พาญาติหรือคนสนิทมาด้วย เพื่อพาเดินทางกลับบ้าน
- ไม่พกของมีค่าหรือเครื่องประดับมาสถานพยาบาลด้วย เพื่อป้องกันการสูญหาย
- ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องเก็บไข่
การดูแลหลังผ่าตัด
- ไม่ควรขับรถกลับบ้านเอง เนื่องจากอาจยังง่วงซึมจากยาสลบอยู่ ควรให้ญาติเป็นคนพากลับ
- พักผ่อนให้มากๆ ในช่วง 2-3 วันแรกหลังเก็บไข่
- กินยาบรรเทาอาการตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้
- งดยกของหนักและงดออกกำลังกายอย่างหนัก 1 สัปดาห์หลังเก็บไข่
หากพบอาการปวดท้องมาก คลื่นไส้อาเจียนอย่างหนัก มีไข้สูง หน้ามืดจะเป็นลม หายใจลำบาก ท้องบวมโต ให้รีบกลับมาพบแพทย์โดยทันที
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างกระบวนการกระตุ้นไข่ เก็บไข่ และแช่แข็งไข่
- การได้จำนวน ขนาดไข่ หรือคุณภาพของไข่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
- เกิดปัญหาไข่ไม่สุกตามระยะเวลาที่วางแผนเอาไว้
- เกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (Ovarian Hyperstimulation Syndrome: OHSS) จนเกิดปัญหาน้ำหนักตัวมากผิดปกติ มีน้ำในช่องอกและช่องท้อง ท้องอืดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน
- ภาวะติดเชื้อที่ช่องคลอดหรือรังไข่
- ภาวะเลือดออกที่ช่องคลอด
- การได้รับบาดเจ็บที่อวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้
พ.ต.ท.ดร.นพ. สุธรรม สุธาพร
สูตินรีแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
ข้อมูลของแพทย์
- แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
- ปริญญาโท เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม)
- ปริญญาเอก สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาด้านการเจริญพันธุ์ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ

สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ

