ผู้ป่วยโควิด-19 หลังกักตัวครบ 14 วันแล้ว สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเลยหรือไม่?


แนวทางปฏิบัติตัวหลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 เป็นอย่างไร? กักตัวครบ 14 วันแล้ว ต้องตรวจหาเชื้อก่อนออกโรงพยาบาลหรือไม่? สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้เลยไหม? จำเป็นต้องกักตัวต่อที่บ้านหรือไม่?

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • หลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 หรือกักตัวครบ 14 วันแล้ว ไม่ต้องตรวจหาเชื้อซ้ำ เพราะยังคงอาจพบซากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ร่างกายยังกำจัดไม่หมด และไม่ได้หมายความว่า จะยังสามารถแพร่เชื้อได้
  • สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพราะพ้นระยะแพร่เชื้อแล้ว แต่เพื่อความมั่นใจ แนะนำให้กักตัวต่ออีก 14 วัน เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคชนิดใหม่ที่ยังคงอยู่ในกระบวนการศึกษา
  • หลังหายป่วยโควิด-19 ให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
  • หากหลังจากที่หายป่วยแล้ว มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หายใจถี่ หรือหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ไม่สามารถจดจ่อกับความคิด หรือโฟกัสสิ่งใดได้ ปวดศีรษะ จมูกไม่ได้กลิ่น หรือลิ้นไม่ได้รับรส หรือนอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษา หรือสายด่วน โทร. 1422 หรือ 1668
  • เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาตรวจโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdmall.support

หลังหายป่วยโควิด-19 แล้ว สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติเลยไหม? จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกหรือไม่? เป็นหนึ่งในคำถามที่พบบ่อยในผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 หรือกักตัวครบ 14 วันแล้ว แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้

HDmall.co.th ได้รวบรวมคำถาม-คำตอบที่พบบ่อยในผู้ที่เพิ่งหายป่วยจากโรคโควิด-19 มาไว้ที่นี่แล้ว ดังนี้

หลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้ว จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกหรือไม่?

ไม่จำเป็น เพราะแม้ว่าจะหายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้ว ในน้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ที่หายดีแล้วก็ยังอาจตรวจซากสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ดี ซึ่งเกิดจากร่างกายยังกำจัดไม่หมด โดยบางรายอาจอยู่ได้นานถึง 50 วัน

นอกจากนี้การตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อหลังพ้นระยะกักตัว ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่ตรวจพบเชื้อจะยังสามารถแพร่เชื้อได้ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 หลังพ้นระยะกักตัว หรือออกจากโรงพยาบาล จึงไม่มีความจำเป็น และไม่มีการเปลี่ยนแปลงต่อผลการรักษานั่นเอง

อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้รักษาอาจพิจารณาตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยโควิดบางรายที่ยังคงมีอาการอยู่ หากยังมีความกังวัล แนะนำให้สอบถามกับแพทย์ผู้รักษาเพิ่มเติม

หลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้ว จำเป็นต้องกักตัวต่ออีกไหม?

ไม่จำเป็น เพราะพ้นจากระยะแพร่เชื้อแล้ว

อย่างไรก็ตาม โรคโควิด-19 เป็นโรคใหม่ที่ยังคงอยู่ในกระบวนการศึกษา และเชื้อไวรัสมีหลายสายพันธุ์ “เพื่อความมั่นใจ” แนะนำให้กักตัวต่อที่บ้านอีก 14 วัน จะดีที่สุด

หลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้ว สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเลยหรือไม?

ผู้ที่พ้นระยะการแพร่เชื้อแล้ว (กักตัวครบ 14 วัน) สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อเหมือนกับคนทั่วไป จนกว่าจะควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในวงกว้างได้ เช่น

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกสถานที่พัก หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น
  • รับประทานอาหารแยกกับผู้อื่น
  • หมั่นล้างมือเป็นประจำ
  • รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้ครบตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ และออกกำลังกายเป็นประจำ

หลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้ว หากมีอาการป่วย ควรทำอย่างไรดี?

ผู้ที่เพิ่งหายจากโรคโควิด-19 โดยปกติแล้ว ในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน จะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำน้อยมาก จึงไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR หรือ Rapid Antigen Test

ควรสังเกตอาการ และหาสาเหตุอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ แล้วเข้ารับการรักษาตามความเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มอาการ “ลองโควิด (Long COVID)

ภาวะลองโควิดนั้น เป็นผลข้างเคียงระยะยาวที่เกิดขึ้นหลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 โดยอาจเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ ไปจนถึงหลายเดือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของแต่ละบุคคล

ตัวอย่างอาการภาวะลองโควิด

  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • หายใจถี่ หรือหายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • ไม่สามารถจดจ่อกับความคิด หรือโฟกัสสิ่งใดได้
  • ปวดศีรษะ
  • จมูกไม่ได้กลิ่น หรือลิ้นไม่ได้รับรส
  • นอนไม่หลับ
  • เวียนศีรษะในขณะที่ลุกขึ้นยืน
  • หัวใจเต้นแรง หรือเต้นเร็ว หรือที่เรียกว่า “ใจสั่น”
  • ไอ
  • ปวดกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อ
  • ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล
  • ไข้

หากมีอาการเหล่านี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรคที่อาจเป็นอันตรายอื่นๆ ก่อน หากได้รับการยืนยันว่าเป็นภาวะลองโควิด แพทย์จะรักษาตามอาการจนกว่าจะหายกลับมาเป็นปกติ

หากมีข้อสงสัยใดๆ สามารถสอบถามได้ที่โรงพยาบาลทที่รักษา หรือสายด่วน โทร. 1422 หรือ 1668

หลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้ว ต้องเว้นระยะห่างกี่วัน กี่เดือน ถึงจะสามารถฉีดวัคซีนโควิดได้?

ผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 แม้ว่าจะมีภูมิคุ้มกันแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ (พบได้น้อย) จึงควรฉีดวัคซีนโควิดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

โดยแนะนำให้เว้นระยะห่างจากการติดเชื้อไปแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ทั้งนี้อาจพิจารณาฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม เพราะสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงพอ

ในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เราจะต้องป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสด้วยการรักษามาตรการต่างๆ อย่างเคร่งครัด ได้แก่ เว้นระยะห่างจากผู้อื่น สวมใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือให้สะอาด และรับวัคซีนป้องกันโควิดเมื่อมีโอกาส

สิ่งสำคัญ จะต้องสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอ หากสัมผัสผู้มีติดเชื้อ หรือเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง แล้วมีอาการในกลุ่มโควิด-19 ให้ตรวจด้วยชุด Rapid Antigen Test หรือ RT-PCR เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที

หากผลเป็นบวก หรือติดเชื้อ ให้โทรไปที่เบอร์ 1330 เพื่อเข้าสู่ระบบ Home Isolation โดยในระหว่างรอการตอบกลับจากโรงพยาบาล ท่านสามารถดูแลตนเองด้วยการรับประทานยาฟ้าทลายโจรตามขนาดยาที่กำหนด เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสในเซลล์ได้

HDmall.co.th ขอเป็นหนึ่งในกำลังใจให้กับคนไทยทุกคน เราจะผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกจะจบลงโดยเร็วที่สุด

หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdmall.support มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง แอดเลยไม่ต้องรอ!

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด

ที่มาของข้อมูล

กรมการแพทย์, แนวทางเวชปฏิบัติการวนิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25640721115923AM_CPG_COVID_v.16.4.n.pdf?fbclid=IwAR2SpyLksJ5sfrpVaewwukDh0jkyAWByRQImnY_P6wyRyNQvgePFcKldvns), 22 กรกฎาคม 2564.

ศ.ดร.พญ.ทวิติยา สุจริตรักษ์, ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และรักษาหายแล้ว ยังต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 อีกไหม ? (https://web.med.cmu.ac.th/index.php/th/allarticle/25-hilight-news/1208-19-40), 22 กรกฎาคม 2564.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC), Post-COVID Conditions (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/long-term-effects.html), 22 July 2021.

@‌hdcoth line chat