HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- หลังวัคซีนโควิดโมเดอร์นาผ่านการรับรองจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อ 13 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลเอกชนจำนวนไม่น้อยก็เริ่มดำเนินการเปิดลงทะเบียนสำรวจความสนใจจองวัคซีนโมเดอร์นาให้กับประชาชนทั่วไป
- วัคซีนโควิดโมเดอร์นาเป็นวัคซีนโควิดทางเลือกที่ประชาชนสนใจ เพราะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในระดับที่สูงพอที่จะยับยั้งสายพันธุ์อัลฟา เบตา และเดลต้าได้
- สมาคมโรงพยาบาลเอกชนมีมติร่วมกันให้คิดค่าบริการวัคซีนโมเดอร์นาแก่ประชาชนทั่วไปที่จองซื้อผ่านโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ ในราคา เข็มละ 1,650 บาท จำนวน 2 เข็ม เท่ากับ 3,300 บาท ซึ่งรวมค่าบริการฉีดและค่าประกันแพ้วัคซีนแล้ว และเริ่มเปิดรับชำระเงินสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนจองไว้ก่อน
- สามารถตรวจสอบรายชื่อของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่เปิดจองวัคซีนโควิดโมเดอร์นาได้ที่ด้านล่าง
- จองวัคซีนทางเลือก Moderna หรือ Sinopharm หรือแอดไลน์สอบถามแอดมินได้ที่ @hdcoth
โมเดอร์นา (Moderna) หนึ่งในวัคซีนโควิด ซึ่งกำลังมาแรงและเป็นที่ต้องการไม่น้อยในประเทศไทย แม้จะเป็น “วัคซีนทางเลือก” ที่ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ไม่ใช่วัคซีนของรัฐที่ฉีดให้ฟรีก็ตาม
ข้อมูลล่าสุด ( 6 กรกฎาคม 2564) ว่ากันว่า ปัจจุบันมีการลงทะเบียนแสดงความสนใจและจองวัคซีนแล้วไม่ต่ำกว่า 8 ล้านโดส
เพราะอะไรวัคซีนโมเดอร์นาจึงน่าสนใจ? โรงพยาบาลใดที่เปิดจองวัคซีนโมเดอร์นาบ้าง? ราคาโดสละเท่าไหร่? HDmall.co.th จะพาไปดู
ทำไมวัคซีนโควิดโมเดอร์นา(Moderna) จึงน่าสนใจ?
ปัจจุบันโรคโควิด 19 กำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในเมืองไทย และมีแนวโน้มว่า สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดหนักขึ้นเรื่อยๆ จะกลายเป็น “โควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้า (Delta หรืออินเดีย)” แทนที่สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha หรืออังกฤษ) ที่แพร่ระบาดมาก่อนในช่วงต้นเดือนเมษายน
ความน่ากลัวของโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้า หรือ สายพันธุ์ B.1.617.2 ที่ตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย เมื่อ 11 พฤษภาคม 2021 คือ สามารถแพร่ระบาดได้เร็ว แพร่เชื้อง่าย และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้
ด้วยความน่ากลัวนี้ทำให้ประชาชนบางส่วนให้ความสนใจวัคซีนโควิดโมเดอร์นามากขึ้น วัคซีนโมเดอร์น่าผลิตโดยบริษัท ModernaTX, Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ mRNA ซึ่งหมายถึงการตัดชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด- 19 (mRNA) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนส่วนที่เป็นปุ่มหนามของเชื้อไวรัส (Spike protein) มาสังเคราะห์เป็นรหัสคำสั่ง
เมื่อฉีดวัคซีนชนิด mRNA เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เซลล์ในร่างกายผลิตโปรตีนส่วนที่เป็นปุ่มหนามของไวรัสขึ้น ทั้งนี้โปรตีนที่ผลิตในส่วนนี้จะเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Antigen) ให้ร่างกายรู้จักเชื้อโรคโควิด-19 และสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody) เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19
เทคโนโลยีการผลิตดังกล่าวแตกต่างจากวัคซีนโควิดซิโนแวคซึ่งเป็นวัคซีนแบบเชื้อตาย (Inactivated) และวัคซีนโควิดแอสตร้าเซเนก้าซึ่งเป็นวัคซีนแบบไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector) ที่รัฐจัดฉีดให้ประชาชนฟรีในขณะนี้
เทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างนี้เองส่งผลให้ วัคซีนโควิดโมเดอร์นายังมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 มากถึง 94.1% มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แม้ในกลุ่มผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ก็ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันสูงถึง 86.4%
ข้อมูลล่าสุดพบว่า วัคซีนโควิดโมเดอร์นาสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในระดับที่สูงพอที่จะยับยั้งสายพันธุ์อัลฟา เบตา และเดลต้าได้
ส่วนข้อบ่งใช้ของวัคซีนโควิดโมเดอร์นาคือ เหมาะสำหรับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยฉีดจำนวน 2 โดส ครั้งละ 1 โดสห่างกัน 4 สัปดาห์ ส่วนระดับอายุที่ต่ำกว่านี้ต้องรอประกาศคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ต่อไป
ใครฉีดวัคซีนโควิดโมเดอร์นาได้บ้าง?
- ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิดใดๆ หากไม่มีข้อบ่งชี้สุขภาพ สามารถฉีดวัคซีนโมเดอร์นาได้ โดยฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน
- ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนโควิดชนิดอื่นๆ มาแล้ว ควรเว้นระยะการฉีดอย่างน้อย 6 เดือน
- สำหรับผู้ที่เคยฉีดวัคซีนโควิดซิโนแวค ควรฉีดให้ครบ 2 เข็มก่อน หากต้องการกระตุ้นด้วยโมเดอร์นา ควรฉีดอีก 1 เข็ม
- สำหรับผู้ที่เคยฉีดวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม ควรฉีดให้ครบ 2 เข็มก่อน หากต้องการกระตุ้นด้วยโมเดอร์นา ควรฉีดอีก 1 เข็ม
- สำหรับผู้ที่เคยฉีดวัคซีนโควิดแอสตร้าเซเนก้า ควรฉีดให้ครบ 2 เข็มก่อน ยังไม่มีความจำเป็นต้องจองวัคซีนโมเดอร์นาเพื่อกระตุ้นเพราะวัคซีนโควิดแอสตร้าเซเนก้าสามารถป้องกันโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้าได้
ทั้งนี้การฉีดเข็มกระตุ้น เป็นไปตามคำแนะนำจากฝ่ายวิชาการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศภายหลัง
จองวัคซีนโควิดโมเดอร์นาได้ที่ไหนบ้าง? ราคาเท่าไหร่?
หลังวัคซีนโควิดโมเดอร์นาผ่านการรับรองจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อ 13 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา โรงพยาบาลเอกชนจำนวนไม่น้อยก็เริ่มดำเนินการเปิดลงทะเบียนสำรวจความสนใจจองวัคซีนโมเดอร์นาให้กับประชาชนทั่วไป ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน และเริ่มเปิดจองวัคซีนตามลำดับ
หลังบรรลุข้อตกลงเรื่องราคาขายวัคซีนโมเดอร์นาระหว่างองค์การเภสัชกรรมในราคาโดสละ 1,100 บาท ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าขนส่ง และค่าประกันรายบุคคล แล้ว) แล้ว
สมาคมโรงพยาบาลเอกชน มีมติร่วมกันให้คิดค่าบริการวัคซีนโมเดอร์นา แก่ "ประชาชนทั่วไป" ที่จองซื้อผ่านโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ ในราคา เข็มละ 1,650 บาท จำนวน 2 เข็ม เท่ากับ 3,300 บาท ซึ่งรวมค่าบริการฉีดและค่าประกันแพ้วัคซีนแล้ว และเริ่มเปิดรับชำระเงินสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนจองไว้ก่อน
นอกจากโรงพยาบาลเอกชนที่เปิดจองวัคซีนโควิดโมเดอร์นาแล้ว แต่ประชาชนยังมีความต้องการวัคซีนโมเดอร์นาสูง โรงพยาบาลรัฐอีกหลายแห่งทจึงเริ่มเปิดบริการนี้ด้วย
โรงพยาบาลรัฐที่เปิดจอง โรงพยาบาลเอกชนที่เปิดจองโมเดอร์นามีที่ไหนบ้าง?
โรงพยาบาลรัฐที่เปิดจองวัคซีนโมเดอร์นา
- คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล www4ra.mahidol.ac.th/moderna
(ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
*ข้อมูลวันที่ 9 กรกฎาคม 2564
โรงพยาบาลเอกชนที่เปิดจองวัคซีนโมเดอร์นา
- โรงพยาบาลสมิติเวช (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- เครือโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ โทร 02-804-8959 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร.1378, 02-066-8888 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลวิภาวดี โทร.02-561-1111 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลบางโพ โทร.02-587-0144 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลพระราม 9 โทร.02-202-9999 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลในเครือบางปะกอกและปิยะเวท (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลในเครือธนบุรี เฮลท์แคร์กรุ๊ป แอปพลิเคชันไลน์ @thonburihospital หรือ โทร.1645 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์วิชัยยุทธ แอปพลิเคชันไลน์ @vchmoderna หรือ โทร.02-265-7777 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)
- โรงพยาบาลอินทรารัตน์ โทร.02-481-5555 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- เครือโรงพยาบาลพญาไท โทร 1772 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลและคลินิกในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ 11 จังหวัด โทร.02-080-5999 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลในเครือจุฬารัตน์ โทร.02-115-2111 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลมงกุฏวัฒนะ โทร.02-574-5000 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลเมดพาร์ค โทร.02-023-3333 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลลาดพร้าว โทร.02-530-2556 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร.1719 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลกรุงเทพ เพชรบุรี โทร.032-897-888 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว) โทร.053-920-300 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลรวมแพทย์ พิษณุโลก โทร.055-219-307-16 (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
- โรงพยาบาลนครพัฒน์ นครศรีธรรมราช (ปัจจุบัน: ปิดการจองแล้ว)*
*ข้อมูลวันที่ 14 กรกฎาคม 2564
ทั้งนี้ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โรงพยาบาลบางแห่งเมื่อได้รับวัคซีนเพิ่มเติมอาจกลับมาเปิดระบบการจองวัคซีนโมเดอร์นาได้อีกครั้ง จึงควรติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนทุกครั้ง
จะได้ฉีดวัคซีนโมเดอร์นาช่วงไหน?
ประมาณการณ์ว่า บริษัทผู้ผลิตวัคซีนโมเดอร์นาจะสามารถเริ่มจัดส่งวัคซีนได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 จำนวน 4 ล้านโดส และภายในไตรมาสแรก 2565 จำนวน 1 ล้านโดส
เมื่อได้รับวัคซีนและแจกจ่ายไปตามโรงพยาบาลที่สั่งจองไว้ก็จะเริ่มฉีดวัคซีนให้ผู้จองได้ตามลำดับทันที
ในระหว่างรอรับวัคซีนโควิดโมเดอร์นา หรือวัคซีนโควิดชนิดอื่นๆ ควรป้องกันตนเองด้วยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดีที่สุด
เช่น การล้างมือให้สะอาดและถูกวิธีด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 70% การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน การรักษาระยะห่างทางสังคม
ไม่เพียงเท่านั้นถึงแม้จะได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ก็ยังควรต้องป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัดเช่นกัน
หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
ที่มาของข้อมูล
CDC, SARS-CoV-2 Variant Classifications and Definitions (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/variants/variant-info.html), 1July 2021.
WHO, Tracking SARS-CoV-2 variants (https://www.who.int/en/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants/), 1July 2021.
Emma Hodcroft, PhD, CoVariants (https://covariants.org/), 1July 2021.