HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- วัคซีนโควิดสปุตนิก วี (Sputnik V) หรือเดิมทีที่อ่านกันว่า “สปุตนิก ไฟว์” ได้รับการค้นคว้าและพัฒนาโดยสถาบันวิจัยกามาเลยา (Gamaleya) ประเทศรัสเซีย เดิมทีใช้ชื่อว่า “Gam-COVID-Vac”
- วัคซีนชนิดนี้ผลิตโดยใช้เทคนิคไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector) คือ การใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนกำลังลงแล้วไม่ทำให้เกิดโรค 2 ชนิด มาตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของโคโรน่าไวรัสลงไป เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน โดยต้องฉีดจำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์
- การทดสอบประสิทธิภาพพบว่า วัคซีนโควิดสปุตนิก วี มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการได้สูงถึง 91.6 เปอร์เซ็นต์ และมีประสิทธิภาพป้องกันอาการปานกลาง หรือรุนแรงถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และล่าสุดพบว่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันเพิ่มเป็น 97.6 เปอร์เซ็นต์
- วัคซีนโควิดสปุตนิก วี สามารถฉีดได้ในผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และสามารถฉีดในผู้มีอายุเกิน 60 ปีได้ ผลข้างเคียงที่พบส่วนใหญ่เป็นระดับเล็กน้อย ยังไม่มีรายงานใดๆ ถึงผลข้างเคียงที่รุนแรงเป็นอันตรายอย่างเห็นได้ชัดจากการรับวัคซีนชนิดนี้
- จองวัคซีนทางเลือก Moderna หรือ Sinopharm หรือแอดไลน์สอบถามแอดมินได้ที่ @hdcoth
วัคซีนโควิดสปุตนิก วี (Sputnik V) เป็นหนึ่งในสามของวัคซีนโควิด-19 ที่รัฐบาลไทยจัดหาเพิ่มเติม เพื่อนำมาฉีดให้ประชาชนในประเทศ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นเอกสารขอรับการประเมินวัคซีนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนอย่างถูกต้อง
ระหว่างที่รอคอยผลการประเมินนี้ หลายคนก็คงอยากรู้ว่า วัคซีนโควิดสปุตนิก วี คืออะไร มีประสิทธิภาพอย่างไร HDmall.co.th จึงได้สรุปข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนชนิดนี้มาให้ดังนี้
เลือกหัวข้อเกี่ยวกับวัคซีนสปุตนิก วี ได้ที่นี่
วัคซีนโควิดสปุตนิก วี คืออะไร?
วัคซีนโควิดสปุตนิก วี (Sputnik V) หรือเดิมทีที่อ่านกันว่า “สปุตนิก ไฟว์” เป็นความภาคภูมิใจของประเทศรัสเซียที่สามารถพัฒนาวัคซีนโควิดสำเร็จภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน และถือเป็นวัคซีนโควิดชนิดแรกของโลกที่ได้รับการจดทะเบียน
การที่วัคซีนโควิดสปุตนิก วี ได้รับการตั้งชื่อเช่นเดียวกับชื่อดาวเทียมดวงแรกของโลกที่รัสเซียส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อค.ศ.1957 นั้นอาจมีนัยเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำของประเทศรัสเซียในด้านวิทยาการความก้าวหน้า
วัคซีนโควิดสปุตนิก วี ได้รับการค้นคว้าและพัฒนาโดยสถาบันวิจัยกาเลมายา (Gamaleya) ประเทศรัสเซีย เดิมทีใช้ชื่อว่า “Gam-COVID-Vac”
วัคซีนชนิดนี้ผลิตโดยใช้ "เทคนิคไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector)" คือ การใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนกำลังลงแล้วไม่ทำให้เกิดโรค มาตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของโคโรน่าไวรัสลงไป เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันตามมา
แม้จะเป็นการใช้เทคนิคเดียวกับ วัคซีนโควิดของแอสตราเซเนกา (Astrazeneca) ของประเทศอังกฤษ และฉีดจำนวน 2 เข็มเช่นกัน แต่ความแตกต่างที่สำคัญก็คือ วัคซีนโควิดสปุตนิก วี ผลิตโดยใช้ไวรัสที่ทำให้อ่อนกำลังลงถึง 2 ชนิด
ได้แก่ อะดิโนไวรัส 5 (Adenovirus 5) สำหรับวัคซีนเข็มที่ 1 และ อะดิโนไวรัส 26 (Adenovirus 26) สำหรับวัคซีนเข็มที่ 2 โดยมีกำหนดฉีดเข็มที่ 1 และ 2 ห่างกัน 3 สัปดาห์
ทั้งนี้เพื่อป้องกันภูมิต้านทานต่ออะดิโนไวรัสที่ฉีดในเข็มแรก จะมารบกวนการสร้างภูมิต้านทานของวัคซีนเข็มที่ 2 และเมื่อฉีดวัคซีนครบทั้งสองเข็ม ระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการใช้ไวรัสชนิดเดียวกัน
จากนั้นจึงเริ่มทดสอบครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ.2020 ตามด้วยการทดลองอีก 3 เฟส และเริ่มอนุมัติให้ฉีดแก่ประชาชนในประเทศรัสเซียตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม ค.ศ.2020 เป็นต้นมา
วัคซีนโควิดสปุตนิก วี สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นปกติ อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสได้นาน 2 เดือน หรือหากจัดเก็บในตู้แช่แข็งอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส จะสามารถเก้บได้นานขึ้นอีก
ปัจจุบันวัคซีนโควิดสปุตนิก วี ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้ว 64 ประเทศ (ข้อมูลเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564)
วัคซีนโควิดสปุตนิก วี มีประสิทธิภาพอย่างไร?
ผลการทดสอบระยะที่ 3 ของวัคซีนโควิดสปุตนิก วี ได้รับการตีพิมพ์ใน Lancet วารสารการแพทย์ของอังกฤษ เมื่อกุมภาพันธ์ 2564 ว่า มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการได้สูงถึง 91.6 เปอร์เซ็นต์
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีรายงานว่า วัคซีนโควิดสปุตนิก วี ยังมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้ออาการปานกลาง หรืออาการรุนแรงได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดสถาบันวิจัยกาเมเลยาเผยผลทดสอบใหม่ที่ได้จากการศึกษาชาวรัสเซียจำนวน 3.8 ล้านคน ที่ได้รับวัคซีนในช่วง 5 ธันวาคม 2020 ถึง 31 มีนาคม 2021
ผลการวิจัยพบว่า วัคซีนโควิดสปุตนิก วี มีประสิทธิภาพในการป้องกันเพิ่มเป็น 97.6 เปอร์เซ็นต์ โดยมีอัตราการติดเชื้อเพียง 0.027 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หลังได้รับวัคซีนโดสแรกแล้ว 35 วัน
วัคซีนโควิดสปุตนิก วี มีข้อบ่งใช้อย่างไร?
วัคซีนโควิดสปุตนิก วี สามารถฉีดได้ในผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และสามารถฉีดในผู้มีอายุเกิน 60 ปีได้ โดยต้องฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 2 เข็ม โดยฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มที่ 1 เป็นเวลา 3 สัปดาห์
ทั้งนี้เพื่อป้องกันภูมิต้านทานต่ออะดิโนไวรัสที่ฉีดในเข็มแรก จะมารบกวนการสร้างภูมิต้านทานของเข็มที่ 2 ส่วนคำแนะนำในประเทศไทยยังไม่มีการชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งต้องผ่านการประเมินวัคซีนของ อย.ก่อน จึงต้องรอติดตามประกาศต่อไป
สำหรับข้อห้ามทั่วไปในการฉีดวัคซีนโควิดสปุตนิก วี นั้น มีเช่นเดียวกับวัคซีนโควิดชนิดอื่นๆ ได้แก่
- ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งก่อนๆ
- ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน
- ห้ามฉีดในผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
- ห้ามฉีดในผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
- ห้ามฉีดในผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ห้ามฉีดในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
อย่างไรก็ตาม วัคซีนแต่ละชนิดมีข้อบ่งใช้แตกต่างกันไป ควรติดตามประกาศ หรือคำแนะนำล่าสุดจากภาครัฐ เพื่อลดโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงให้น้อยที่สุด และได้ผลลัพธ์จากวัคซีนดีที่สุด
วัคซีนโควิดสปุตนิก วี มีอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงอย่างไร?
รายงานแจ้งว่า ผลข้างเคียงที่พบส่วนใหญ่เป็นระดับเล็กน้อย โดยในกลุ่มผู้สูงอายุมักพบอาการดังนี้
- อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
- ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดยา
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
- รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
ผลข้างเคียงเหล่านี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ระบุว่า มีความคล้ายคลึงกับที่พบในวัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) วัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna) และวัคซีนโควิดจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson)
ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงเป็นอันตรายอย่างเห็นได้ชัดจากการรับวัคซีนชนิดนี้ ปัจจุบันยังไม่มีรายงาน
ลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด ทำอย่างไร?
เนื่องจากในตอนนี้วัคซีนโควิดสปุตนิก วี ยังอยู่ระหว่างรอรับการประเมินวัคซีนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนอย่างถูกต้อง
ดังนั้นขณะนี้ (11 พฤษภาคม 2564) จึงยังไม่ปรากฏรายชื่อในการจองคิวรับวัคซีนของภาครัฐ คำแนะนำล่าสุดสำหรับผู้ที่มีอายุ 18-59 ปี และไม่มีความเสี่ยงในกลุ่มโรคเรื้อรัง หรืออยู่ในข้อห้ามการรับวัคซีนใดๆ
หากต้องการลุ้นที่จะรอรับวัคซีนโควิดสปุตนิก วี วัคซีนโควิดไฟเซอร์ หรือวัคซีนโควิดจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งเป็นวัคซีนโควิดอีกสองยี่ห้อที่ภาครัฐจะนำเข้ามา อาจจะยังสามารถทำได้
เพียงแต่ต้องดูแลตนเองตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่ภาครัฐกำหนดอย่างเคร่งครัด เช่น การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หมั่นล้างมืออย่างถูกวิธี รักษาระยะห่างทางสังคม
แต่สำหรับประชาชนชาวไทยกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรังนั้น ไม่ควรรีรอ เนื่องจากรัฐบาลได้เปิดให้จองรับวัคซีนโควิดแอสตราเซนเนกาผ่านทางไลน์ “หมอพร้อม” เวอร์ชั่น 2 ได้แล้ว
ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา จำนวน 16 ล้านโดสเพื่อ 16 ล้านคน โดยวัคซีนที่สั่งจองนี้จะเริ่มฉีดตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม
หากคุณ หรือคนในครอบครัวอยู่ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง แนะนำให้จองคิวรับวัคซีนโควิด เพื่อเร่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยลดความรุนแรงของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ลง และสร้างภูมิคุ้มกันกลุ่มได้ต่อไป
คลิกดูรายละเอียด วิธีลงทะเบียนเพื่อเริ่มใช้งาน “หมอพร้อม” ได้ที่ https://fb.watch/4-lkDFtzDQ/ หรือตอบทุกข้อสงสัยในการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด คำถามที่พบบ่อยในการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดได้ที่นี่
หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcothมีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง!
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- อัปเดต วัคซีนโควิดในไทย ชนิดไหนเหมาะกับใคร? ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร?
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
- วัคซีนโควิด 19 โควาซิน (Covaxin)
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนฟาร์ม (Sinopharm)
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- Ian Jones, Spunik V COVID-19 vaccine candidate appears safe and effective (https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)00191-4/fulltext), 10 May 2021.
- Jonathan Corum and Carl Zimmer, How Gamaleya’s Vaccine Works (https://www.nytimes.com/interactive/2021/health/gamaleya-covid-19-vaccine.html), 10 May 2021.
- Minseo Jeong, Sputnik V COVID-19 vaccine: How much do we know about its side effects? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/sputnik-v-covid-19-vaccine-how-much-do-we-know-about-its-side-effects), 10 May 2021
- Sputnik V. Vaccine (https://sputnikvaccine.com/about-vaccine/), 10 May 2021.
- กรมควบคุมโรค, แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ประเทศไทย (https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1729520210301021023.pdf), 10 พฤษภาคม 2564.
- WHO, Coronavirus disease (COVID-19): Vaccines (https://www.who.int/news-room/... March 2021.