HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- ปัจจุบัน อย.ได้อนุมัติทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว 6 รายการ ได้แก่ วัคซีนโควิดซิโนแวค แอสตราเซเนกา จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน โมเดอร์นา ซิโนฟาร์ม และไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค
- วัคซีนโควิดที่อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดหาเข้ามา ได้แก่ วัคซีนโควิดโมเดอร์นา ไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค สปุตนิก วี และโนวาแวกซ์
- นอกจากวัคซีนโควิดในไทยที่รัฐเป็นฝ่ายจัดซื้อมาบริการประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายแล้วนั้น รัฐยังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินการจัดหาวัคซีนโควิดยี่ห้ออื่นๆ ซึ่งจัดเป็น “วัคซีนทางเลือก” มาให้บริการประชาชนได้
- วัคซีนทางเลือกที่ภาคเอกชนให้ความสนใจนั้นจะเป็นวัคซีนต่างยี่ห้อ หรือมีคุณลักษณะไม่ซ้ำซ้อนกับวัคซีนที่ทางรัฐจัดหา เพื่อให้เป็นวัคซีนทางเลือกอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังต้องเป็นวัคซีนที่สามารถจัดส่งได้ทันภายในปี 2564
- จองวัคซีนทางเลือก Moderna หรือ Sinopharm หรือแอดไลน์สอบถามแอดมินได้ที่ @hdcoth
วัคซีนโควิดในไทยปัจจุบันที่รัฐจัดหาไว้ให้บริการประชาชนฟรี ได้แก่ วัคซีนโควิดซิโนแวคและวัคซีนโควิดแอสตราเซเนก้า นอกจากนี้ยังเร่งจัดหาวัคซีนโควิดในไทยเพิ่มเติม ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนจัดหาวัคซีนโควิดยี่ห้ออื่นๆ ด้วย เพื่อเตรียมสำหรับการฉีดวัคซีนโควิดเอกชนต่อไป
เราจึงได้ยินการเอ่ยถึงวัคซีนโควิดโมเดอร์นา วัคซีนโควิดจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม มากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งวัคซีนโควิดไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเท็ค วัคซีนโควิดสปุตนิก วี วัคซีนโควิดโนวาแวกซ์ และวัคซีนโควิดโควาซิน
จากการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งยังไม่มีทีท่าจะหยุดยั้ง ภาครัฐและเอกชนจึงเร่งจัดหาวัคซีนโควิดในไทยเพิ่มเติม เพราะยิ่งประชาชนเข้าถึงวัคซีนโควิดได้มากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นผลดีต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในไทยได้มากขึ้นเท่านั้น
อีกทั้งการได้รับวัคซีนโควิดยังจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ หากได้รับเชื้อ
วัคซีนโควิดในไทยที่เรามีอยู่แล้ว รวมทั้งชนิดที่รัฐและเอกชนกำลังจะนำเข้ามาใหม่มีอะไรบ้าง วัคซีนโควิดชนิดไหน เหมาะกับเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ? ประสิทธิภาพของวัคซีนเป็นอย่างไร? คงเป็นสิ่งที่หลายคนอยากรู้ HDmall.co.th ขออัปเดตและสรุปให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้
วัคซีนโควิดในไทยที่ อย.ขึ้นทะเบียนแล้ว มีอะไรบ้าง?
ก่อนการประกาศใช้วัคซีนโควิดทุกชนิดในประเทศไทย วัคซีนชนิดนั้นๆ จะต้องเข้ารับการประเมินคุณภาพประสิทธิผล ความปลอดภัย และแผนจัดการความเสี่ยงด้านวัคซีน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน เพื่ออนุมัติทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ต่อไป
ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 25 มิถุนายน 2564) อย.ได้อนุมัติทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว 6 รายการ ดังนี้
- วัคซีนโควิดซิโนแวค (Sinovac) อย.อนุมัติเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564
- วัคซีนโควิดแอสตราเซเนก้า (AstraZeneca) อย.อนุมัติเมื่อ 20 มกราคม 2564
- วัคซีนโควิดจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) อย.อนุมัติเมื่อ 25 มีนาคม 2564
- วัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna) อย.อนุมัติเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564
- วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม (์Sinopharm) อย.อนุมัติเมื่อ 28 พฤษภาคม 2564
- วัคซีนโควิดไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/ BioNtech) อย.อนุมัติเมื่อ 24 มิถุนายน2564
วัคซีนโควิดซิโนแวค (Sinovac)
- บริษัทและประเทศผู้ผลิต บริษัทซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
- บริษัทผู้นำเข้า องค์การเภสัชกรรม (อภ.)
- เทคโนโลยีการผลิต วัคซีนแบบเชื้อตาย (Inactivated Vaccine)
- ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 51% (ผลการศึกษาเฟส 3 จากบราซิล) และ 67% (ผลการศึกษาเฟส 3 จากชิลี)*
สำหรับประเทศไทย จากการศึกษาของ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ พบว่า ภูมิต้านทานที่เกิดจากการฉีดวัคซีนของซิโนแวคครบ 2 เข็มเป็นเวลา 1 เดือน จะเกิดภูมิต้านทาน ร้อยละ 99.4 ในขณะที่ 4-8 สัปดาห์ หลังติดเชื้อโดยธรรมชาติ ตรวจพบภูมิต้านทานได้ ร้อยละ 92.4* - เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีอายุ18 ปีขึ้นไป (คำแนะนำประเทศไทย) ล่าสุดจีนได้พบว่า สามารถฉีดให้ผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปที่มีสุขภาพดีได้แล้ว
- จำนวนโดส 2 โดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 2-4 สัปดาห์ โดยการฉีดวัคซีนโควิดทั้งสองเข็มต้องเป็นชนิดเดียวกัน
- อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ อาเจียน ปวดเมื่อเนื้อตัว อักเสบบริเวณที่ฉีด มีไข้ ปวดศีรษะ ท้องเสีย ผื่นขึ้น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน
- การรับรองมาตรฐานและความแพร่หลายของวัคซีน ได้รับการอนุมัติทะเบียนโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้สามารถใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Listing: EUL) แล้วเมื่อ 1 มิถุนายน 2564 และได้รับอนุมัติใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้วกว่า 40 ประเทศ
- สถานะการใช้งานในประเทศไทย เริ่มฉีดตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 จากนั้นจึงเริ่มฉีดให้ประชาชนทั่วไปจนถึงปัจจุบัน
วัคซีนโควิดแอสตราเซเนก้า (AstraZeneca)
- บริษัทและประเทศผู้ผลิต บริษัทแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) ประเทศสหราชอาณาจักร
- บริษัทผู้นำเข้า บริษัท สยามไบโอเอนซ์ จำกัด
- เทคโนโลยีการผลิต ไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector vaccines)
- ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 70.4%*
- เหมาะสำหรับ กลุ่มเสี่ยง 7 โรคเรื้อรัง และผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (คำแนะนำประเทศไทย)
- จำนวนโดส 2 โดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 10-12 สัปดาห์
- อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ เจ็บ ระคายเคือง บวม หรือช้ำบริเวณที่ฉีด รู้สึกอ่อนเพลีย รู้สึกมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (ข้อมูลหลายประเทศพบในผู้มีอายุต่ำกว่า 30-40 ปี)
- การรับรองมาตรฐานและความแพร่หลายของวัคซีน ได้รับอนุมัติทะเบียนโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้สามารถใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Listing: EUL) เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2564 และได้รับอนุมัติใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้วกว่า 60 ประเทศ
- สถานะการใช้งานในประเทศไทย เริ่มฉีดเมื่อ 17 มีนาคม 2564
วัคซีนโควิดจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson)
- บริษัทและประเทศผู้ผลิต บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ประเทศสหรัฐอเมริกา
- บริษัทผู้นำเข้า บริษัท แจนเซ่น-ซีแลค จำกัด
- เทคโนโลยีการผลิต ไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector vaccines)
- ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค มากกว่า 65%*
- เหมาะสำหรับ ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป (คำแนะนำประเทศไทย)
- จำนวนโดส 1 โดส
- อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ ปวด บวม และมีรอยแดง บริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ และอาการหนาวสั่น คลื่นไส้ ส่วนผลข้างเคียงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) อาจเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์หลังฉีดวีคซีน
- การรับรองมาตรฐานและความแพร่หลายของวัคซีน ได้รับอนุมัติทะเบียนโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้สามารถใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Listing: EUL) เมื่อ 12 มีนาคม 2564 และได้รับอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้วมากกว่า 70 ประเทศ
- สถานะการใช้งาน คาดการณ์ส่งมอบวัคซีนให้ประเทศไทยภายในไตรมาส 4 พ.ศ.2564 และยังไม่มีประกาศกำหนดการใช้งาน
วัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna)
- บริษัทและประเทศผู้ผลิต บริษัทโมเดอร์นา อิงก์ (Moderna INC.) ประเทศสหรัฐอเมริกา
- บริษัทผู้นำเข้า บริษัท ซิลลิคฟาร์มา จำกัด
- เทคโนโลยีการผลิต mRNA vaccines
- ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 94%*
- เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปถึงอายุ 60 ปี (คำแนะนำประเทศไทย)
- จำนวนโดส 2 โดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 3-4 สัปดาห์
- อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ปวด บวม บริเวณที่ฉีด
- การรับรองมาตรฐานและความแพร่หลายของวัคซีน ได้รับอนุมัติทะเบียนโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้สามารถใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Listing: EUL) เมื่อ 30 เมษายน 2564 และได้รับอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้วมากกว่า 80 ประเทศ
- สถานะการใช้งาน วัคซีนโควิดโมเดอร์นาจัดเป็น "วัคซีนทางเลือก" ซึ่งจะให้บริการสำหรับภาคเอกชนเท่านั้น "ไม่ใช่วัคซีนฟรีจากรัฐบาล" ราคาเข็มละ 1,700 บาท แพ็จเกจละ 3,400 บาท (เป็นอัตราเดียวกันทุกโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการ และเป็นราคาสุทธิที่รวมค่าวัคซีน ค่าบริการและค่าประกันวัคซีนทั้งหมดแล้ว) คาดการณ์ส่งมอบวัคซีนให้ประเทศไทยภายในเดือนตุลาคม พ.ศ.2564
วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม (Sinopharm) หรือ BBIBP-CorV
- บริษัทและประเทศผู้ผลิต บริษัทซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
- บริษัทผู้นำเข้า บริษัท ไบโอเจเนเทค จำกัด
- เทคโนโลยีการผลิต วัคซีนแบบเชื้อตาย (Inactivated virus vaccine)
- ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 79%*
- เหมาะสำหรับ ผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (คำแนะนำทั่วไป)
- จำนวนโดส 2 โดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 28 วัน
- อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดยา ปวดศีรษะ ปวดเมื่อตามเนื้อตัว รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า มีไข้ หนาวสั่น
- การรับรองมาตรฐานและความแพร่หลายของวัคซีน ได้รับอนุมัติทะเบียนโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อ 7 พฤษภาคม 2564 แล้ว (เฉพาะ Beijing Institute of Biological Product หรือ BBIBP-CorV ซึ่งมาจากกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน)
- สถานะการใช้งาน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นผู้จัดสรรวัคซีนตัวเลือกนี้เข้ามาโดยในระยะแรกเปิดโอกาสให้กับองค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้สั่งจองวัคซีนไปแล้วกว่า 779,300 โดส ส่วนประชาชนทั่วไปที่สนใจวัคซีนตัวเลือกนี้ ต้องรอฟังการประกาศจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ต่อไป
วัคซีนโควิดไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/ BioNtech)
- บริษัทและประเทศผู้ผลิต บริษัทไฟเซอร์ อิงก์ (Pfizer INC.) ประเทศสหรัฐอเมริกา-เยอรมัน
- เทคโนโลยีการผลิต mRNA vaccines
- ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 95%*
- เหมาะสำหรับ ผู้มีอายุ 12 ปีขึ้นไป และผู้ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป (คำแนะนำทั่วไป)
- จำนวนโดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 3-4 สัปดาห์
- อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ปวด บวม บริเวณที่ฉีด
- การรับรองมาตรฐานและความแพร่หลายของวัคซีน ได้รับอนุมัติทะเบียนโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้สามารถใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Listing: EUL) เมื่อ 31 ธันวาคม 2563 และได้รับอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้วมากกว่า 85 ประเทศ
- สถานะการใช้งาน คาดการณ์ส่งมอบวัคซีนให้ประเทศไทยภายใน พ.ศ.2564 และยังไม่มีประกาศกำหนดการใช้งาน
วัคซีนโควิดที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ มีอะไรบ้าง?
นอกจากวัคซีนโควิดในไทยที่รัฐเป็นฝ่ายจัดซื้อมาบริการประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายแล้วนั้น รัฐยังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินการจัดหาวัคซีนโควิดยี่ห้ออื่นๆ ซึ่งจัดเป็น “วัคซีนทางเลือก” มาให้บริการประชาชนได้
ทั้งนี้วัคซีนทางเลือกที่ภาคเอกชนให้ความสนใจนั้นจะเป็นวัคซีนต่างยี่ห้อ หรือมีคุณลักษณะไม่ซ้ำซ้อนกับวัคซีนที่ทางรัฐจัดหา เพื่อให้เป็นวัคซีนทางเลือกอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังต้องเป็นวัคซีนที่สามารถจัดส่งได้ทันภายใน พ.ศ.2564
วัคซีนโควิดสปุตนิก วี (Sputnik V)
- บริษัทและประเทศผู้ผลิต สถาบันวิจัยกาเลมายา (Gamaleya) ประเทศรัสเซีย
- เทคโนโลยีการผลิต ไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector vaccines)
- ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค มากกว่า 91% (รายงานล่าสุดอยู่ที่ 97.6%)*
- เหมาะสำหรับ ฉีดได้ในผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และสามารถฉีดในผู้มีอายุเกิน 60 ปีได้ (คำแนะนำทั่วไป)
- จำนวนโดส 2 โดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 3 สัปดาห์
- อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สูงอายุได้แก่ อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดยา ปวดศีรษะ รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
- การรับรองมาตรฐานและความแพร่หลายของวัคซีน อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติทะเบียนโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้สามารถใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Listing: EUL) และได้รับอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้ว 64 ประเทศ
- สถานะการใช้งาน ยังอยู่ในขั้นตอนการยื่นเอกสารเข้ารับการประเมินคุณภาพประสิทธิผล ความปลอดภัย และแผนจัดการความเสี่ยงด้านวัคซีน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน เพื่ออนุมัติทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19
วัคซีนโควิดโนวาแวกซ์ (Novavax)
- บริษัทและประเทศผู้ผลิต บริษัทโนวาแวกซ์ อิงค์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- เทคโนโลยีการผลิต โปรตีนบางส่วนจากไวรัส (Protein-nanoparticle Vaccine)
- ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค มากกว่า 89%*
- เหมาะสำหรับ ผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปี - 84 ปี (คำแนะนำทั่วไป)
- จำนวนโดส 2 โดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก ราว 3 สัปดาห์
- อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดยา ปวดศีรษะ รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
- การรับรองมาตรฐานและความแพร่หลายของวัคซีน อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติทะเบียนโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้สามารถใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Listing: EUL) และเป็นวัคซีนในโครงการโคแวกซ์ (COVAX Facility) นอกจากนี้มีการใช้ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ แอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย
- สถานะการใช้งาน ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับบริษัทผู้ผลิต
วัคซีนโควิดโควาซิน (Covaxin)
- บริษัทและประเทศผู้ผลิต สถาบันไวรัสวิทยาแห่งชาติอินเดีย (NIV) สภาวิจัยทางการแพทย์แห่งประเทศอินเดีย (ICMR) และ บริษัทภารัต ไบโอเทค (Bharat Biotech) ประเทศอินเดีย
- เทคโนโลยีการผลิต วัคซีนแบบเชื้อตาย (Inactivated virus vaccine)
- ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 78%*
- เหมาะสำหรับ ผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป (คำแนะนำทั่วไป) และอยู่ระหว่างการทดลองใช้ในเด็กอายุ 2-18 ปี
- จำนวนโดส 2 โดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 4 สัปดาห์
- อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดยา ปวดศีรษะเล็กน้อย รู้สึกอ่อนเพลีย ผะอืดผะอม คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นแดงขึ้น
- การรับรองมาตรฐานและความแพร่หลายของวัคซีน อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติทะเบียนให้สามารถใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Listing: EUL) โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) นอกจากนี้มีการใช้กว่า 41 ประเทศทั่วโลก
- สถานะการใช้งาน อยู่ระหว่างการยื่นเอกสารประเมินวัคซีนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเตรียมขึ้นทะเบียนวัคซีนอย่างถูกต้องต่อไป
*ข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้เป็นการอัปเดตล่าสุด เมื่อ 28 พฤษภาคม 2564 บางข้อมูลยังอาจมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้ จึงควรติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
ลงทะเบียนวัคซีนโควิดฟรี
ปัจจุบันวัคซีนโควิดในไทยเป็นหนึ่งในวิธีควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ จึงขอเชิญชวนให้ฉีดวัคซีนโควิดฟรีที่ภาครัฐจัดให้ โดยลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดฟรีได้ตามช่องทางต่อไปนี้
27 พฤษภาคม 2564 ตั้งแต่ 12.00 น. เปิดการลงทะเบียนวัคซีนโควิดฟรี ให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครอายุตั้งแต่ 18-59 ปี ที่ไม่ได้เป็น 7 กลุ่มโรคเสี่ยง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ลงทะเบียนผ่าน 3 ช่องทางต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1 เคยเข้าร่วมโครงการรัฐ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง มาก่อน
- ลงทะเบียนในแอปพลิเคชั่น "เป๋าตังค์" โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่
- รอรับ SMS ยืนยันแจ้งผลการได้รับวัคซีนโควิด-19
- นัดวัน เวลา สถานที่ เพื่อเข้ารับบริการฉีดวัคซีน
กลุ่มที่ 2 เคยเข้าร่วมโครงการรัฐ หรือเคยเข้าร่วมแต่ลบแอปพลิเคชั่น "เป๋าตังค์"
- ลงทะเบียนผ่านเว็บไซด์ www.ไทยร่วมใจ.com
- รอรับ SMS ยืนยันแจ้งผลการได้รับวัคซีนโควิด-19
- นัดวัน เวลา สถานที่ เพื่อเข้ารับบริการฉีดวัคซีนผ่านเว็บไซด์
กลุ่มที่ 3 ไม่มีสมาร์ทโฟน หรืออินเตอร์เน็ต
- ลงทะเบียนที่ร้านสะดวกซื้อที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ 7-11, Top Daily, FamilyMart และ Mini Big C
- นำบัตรประชาชนและโทรศัพท์มือถือที่สามารถติดต่อได้ไปลงทะเบียน ช่วงเวลา 08.30-18.00 น.
นอกจากนี้ยังสามารถให้บุคคลในครอบครัวลงทะเบียนได้ผ่าน www.ไทยร่วมใจ.com ไม่จำกัดจำนวนครั้งที่ลงทะเบียนแทน โดยระบบบจะส่ง SMS แจ้งเตือนตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน
สอบถามการลงทะเบียน ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1516 ระหว่างเวลา 08.00 - 20.00 น. ของทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. 64 เป็นต้นไป
ช่วงนี้บางคนก็อาจยังไม่ถึงคิวลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดฟรี หรือยังไม่ถึงคิวฉีดวัคซีนโควิด ดังนั้นเราทุกคนยังควรป้องกันตนเองจากโรคโควิด 19 และช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง
ด้วยการดูแลตนเองตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่ภาครัฐกำหนดอย่างเคร่งครัด เช่น การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หมั่นล้างมืออย่างถูกวิธีให้บ่อยครั้งด้วยสบู่ เจลล้างมือ หรือเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70%
พยายามรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี ลดการเดินทางออกนอกบ้านให้มากที่สุด หากจำเป็นไม่ควรเดินทางไปในที่แออัด พยายามรักษาระยะห่างทางสังคม
นอกจากนี้แม้ว่าจะได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว หรืออยู่ระหว่างกระบวนการรับวัคซีนให้ครบโดส ก็ยังต้องดูแลตนเองตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่ภาครัฐกำหนดอย่างเคร่งครัดเช่นกัน
หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
- วัคซีนโควิด 19 โควาซิน (Covaxin)
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนฟาร์ม (Sinopharm)
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- Julia Ries, Novavax COVID-19 Vaccine 90% Effective, 60% Against South African Variant (https://www.healthline.com/hea... May 2021.
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.), อย. อนุมัติวัคซีนโควิด-19 ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ที่ภาคเอกชนยื่นขอแล้ว (https://oryor.com/อย/detail/media_news/2016), 13 พฤษภาคม 2564.
- ภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล,เอกสารเปรียบเทียบผลการศึกษาด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่มีขายในปัจจุบัน (https://www.rama.mahidol.ac.th/ceb/Covid-19Evidences?fbclid=IwAR347uGtgN-TYrurhL4pBh6mQ80dQ2AL8U4Skrh4DZw9rGOGF2jWP3LKtLg), 13 พฤษภาคม 2564.
- กรมควบคุมโรค, แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ประเทศไทย (https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1729520210301021023.pdf), 13 พฤษภาคม 2564.
- Helen Branswell, Comparing the Covid-19 vaccines developed by Pfizer, Moderna, and Johnson & Johnson (https://www.statnews.com/2021/02/02/comparing-the-covid-19-vaccines-developed-by-pfizer-moderna-and-johnson-johnson/), 13 May 2021.
- Ian Jones, Spunik V COVID-19 vaccine candidate appears safe and effective (https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)00191-4/fulltext), 13 May 2021.
- CDC, Key Things to Know about COVID-19 Vaccines (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/keythingstoknow.html), 13 May 2021.
- KATHY KATELLA, Comparing the COVID-19 Vaccines: How Are They Different? (https://www.yalemedicine.org/n... May 2021.
- Piero Olliaro and others, COVID-19 vaccine efficacy and effectiveness—the elephant (not) in the room (https://www.thelancet.com/journals/lanmic/article/PIIS2666-5247(21)00069-0/fulltext), 13 May 2021.
- Sputnik V. Vaccine (https://sputnikvaccine.com/about-vaccine/), 13 May 2021.
- WHO, Coronavirus disease (COVID-19): Vaccines (https://www.who.int/news-room/... May 2021.