วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม (Sinopharm)


วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม (Sinopharm) คืออะไร? มีประสิทธิภาพอย่างไร? มีข้อบ่งใช้อย่างไร? มีผลข้างเคียงอย่างไร? ฉีดกี่เข็ม? ใครควรฉีด? ใครไม่ควรฉีด? อ่านได้ที่นี่

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • วัคซีน BIBP-CorV เป็นวัคซีนโควิด 19 ที่ผลิตโดยบริษัทซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ประเทศจีน ผู้คนจึงนิยมเรียกกันว่า “วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม”
  • องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้รับรองวัคซีนโควิดซิโนฟาร์มให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินเป็นรายที่ 6 แล้ว และล่าสุด 28 พฤษภาคม 2564 อย. ได้พิจารณาอนุมัติการขึ้นทะเบียนวัคซีนแล้วเป็นวัคซีนโควิดตัวที่ 5 ของประเทศไทย
  • จากการทดลองระยะที่ 3 ในหลายประเทศ พบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม ครบ 2 โดส หลังผ่านไป 14 วัน จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด 19 ได้มากถึง 79%
  • วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มสามารถฉีดได้ในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีจำนวน 2 เข็ม ให้โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่ละเข็มห่างกัน 28 วัน 
  • จองวัคซีนทางเลือก Moderna หรือ Sinopharm หรือแอดไลน์สอบถามแอดมินได้ที่ @hdcoth

วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม (Sinopharm) เป็นหนึ่งในวัคซีนโควิด 19 ที่กระทรวงสาธารณสุขมีความสนใจจะนำเข้ามาให้บริการกับคนไทย ล่าสุดได้ผ่านการทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรียบร้อยแล้ว นับเป็นวัคซีนโควิดขึ้นทะเบียนตัวที่ 5 ของประเทศไทย

วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มนั้น ได้รับการจดทะเบียนให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน รายที่ 6 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้ว ถือเป็นวัคซีนโควิดที่ผลิตจากชาติตะวันออกยี่ห้อแรกที่ได้รับการยอมรับโดยองค์การอนามัยโลก (ข้อมูลเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564)

โดยในบทความนี้ HDmall.co.th จะพาไปทำความรู้จักกับวัคซีนโควิดซิโนฟาร์มว่า คืออะไร มีประสิทธิภาพและข้อบ่งใช้อย่างไร ใครควรฉีด และใครที่ไม่ควรฉีด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกฉีดวัคซีนโควิด 19 ในอนาคต


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

  • วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม คืออะไร?
  • วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม ผลิตจากเทคโนโลยีใด มีข้อดีอย่างไร?
  • วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม มีประสิทธิภาพอย่างไร?
  • วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม มีข้อบ่งใช้อย่างไร?
  • วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม มีอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงอย่างไร?
  • ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดจองวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม สำหรับประชาชนทั่วไป

  • วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม คืออะไร?

    วัคซีน BBIBP-CorV เป็นวัคซีนโควิด 19 ที่ผลิตโดยบริษัท China National Pharmaceutical Group (CNBG) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งบริษัทนี้เป็นบริษัทลูกของบริษัท Sinopharm อ่านว่า "ซิโนฟาร์ม" หนึ่งในรัฐวิสาหกิจของจีน นั่นจึงเป็นที่มาของการนิยมเรียกวัคซีนนี้ว่า "วัคซีนซิโนฟาร์ม" นั่นเอง

    ปัจจุบันมีการนำวัคซีนซิโนฟาร์มมาใช้งานไปแล้วกว่า 65 ล้านโดส ในประเทศจีน และอีกกว่า 41 ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปากีสถาน และฮังการี

    อย่างไรก็ตาม วัคซีนซิโนฟาร์มนั้นได้รับการพัฒนาและผลิตจากโรงงานลูกสองแห่งด้วยกันได้แก่ 

    • บริษัท Beijing Institute of Biological Product (BIBP) จดทะเบียนในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นวัคซีนที่องค์การอนามัยโลกให้การรับรอง EUL และมีการฉีดใน 41 ประเทศทั่วโลก
    • บริษัท Wuhan Institute of Biological Product (WIBP) ข้อมูลจาก COVID19 Vaccine Tracker ระบุว่า องค์การอนามัยโลกยังไม่ให้การรับรอง EUL และมีการฉีดเพียงสาธารณรัฐประชาชนจีนเท่านั้น 

    ปัจจุบัน วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม หรือวัคซีน BBIBP-CorV (พัฒนาโดย Beijing Institute of Biological Product) ได้รับการรับรองให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เป็นรายที่ 6 โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) แล้ว 

    ส่วนสาเหตุที่องค์การอนามัยโลกยังไม่ให้การรับรอง EUL แก่บริษัท Wuhan Institute of Biological Product (WIBP) เนื่องจากวัคซีนที่ผลิตโดย BIBP และวัคซีนของ WIBP เป็น "คนละผลิตภัณฑ์กัน" เนื่องจากผลิตจากเชื้อก่อโรคโควิด-19 ต่างสายพันธุ์กัน

    ตรวจโควิดราคาถูก

    วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม ผลิตจากเทคโนโลยีใด มีข้อดีอย่างไร?

    วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) ผลิตโดยการนำเชื้อไวรัสสายพันธุ์ WIV04 และ HB02 มาเลี้ยงขยายจำนวนมาก แล้วนำมาฆ่าด้วยสารเคมี เช่น เบตาโพรพิโอแล็กโทน (Betapropiolactone) ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) หรือความร้อน

    ข้อดีของวัคซีนโควิดซิโนฟาร์มคือ สามารถจัดเก็บได้ง่ายที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ไม่ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ต่ำมากเหมือนกับวัคซีนชนิดอื่นๆ 

    วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มจึงเหมาะสำหรับประเทศที่ไม่มีอุปกรณ์พิเศษ หรือรถแช่เย็นอุณหภูมิต่ำมากๆ สำหรับการขนส่งวัคซีน

    นอกจากนี้วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มยังมีแถบตรวจสอบบนขวด ซึ่งจะเปลี่ยนสีตามอุณหภูมิของความร้อน ทำให้แพทย์สามารถสังเกตได้ง่ายว่า วัคซีนมีความปลอดภัยและพร้อมสำหรับใช้งานหรือไม่

    วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการผลิตภัณฑ์ยาแห่งชาติจีน (NMPA) เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563

    วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม มีประสิทธิภาพอย่างไร?

    จากการทดลองระยะที่ 3 ในหลายประเทศ พบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม ครบ 2 โดส หลังผ่านไป 14 วัน จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการป่วยและเสียชีวิตจากโควิด 19 ได้มากถึง 79% (ระยะเวลาติดตามผลการทดลอง 112 วัน)

    อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้ไม่ได้ถูกออกแบบให้นำไปใช้ในผู้ที่ป่วยเป็นโรคอื่นๆ ร่วมด้วย ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และหญิงตั้งครรภ์ จึงไม่สามารถนำข้อมูลการทดลองมาใช้อ้างอิงในคนกลุ่มนี้ได้ (ข้อมูลเมื่อวันที่ 14 พฤกษาคม 2564)

    จากการทดลองในห้องปกฏิบัติการพบว่า วัคซีนโควิดซิโนฟาร์มมีประวิทธภาพยับยั้งโควิดสายพันธุ์อังกฤษได้ ส่วนโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้มีความสามารถในการยับยั้งลดลง 60% เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิม

    วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม มีข้อบ่งใช้อย่างไร?

    วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม มีลักษณะเป็นวัคซีนพร้อมใช้ มีจำนวน 2 เข็ม ด้วยกัน โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อทั้งสองเข็ม ทั้งนี้วัคซีนเข็มที่ 2 ต้องฉีดห่างจากวัคซีนเข็มที่ 1 ราว 28 วัน

    องค์กรอนามัยโลก แนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิดซิโนฟาร์มในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ส่วนคำแนะนำในประเทศไทยยังไม่มีการชี้แจงเพิ่มเติม เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจานำเข้าวัคซีนอยู่ ซึ่งต้องรอติดตามข่าวต่อไป

    สำหรับข้อห้ามในการฉีดวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม นั้นเช่นเดียวกับวัคซีนโควิดชนิดอื่นๆ ได้แก่

    • ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งก่อนๆ
    • ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน
    • ห้ามฉีดในผู้ที่อาหารภูมิแพ้อย่างรุนแรง
    • ห้ามฉีดในผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
    • ห้ามฉีดในผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
    • ห้ามฉีดในผู้ที่มีไข้ หรืออุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส

    วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม มีอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงอย่างไร?

    ผลข้างเคียงที่พบได้ในการฉีดวัคซีนโควิดซิโนฟาร์มเหมือนกับการฉีดวัคซีนโควิดชนิดอื่นๆ ได้แก่

    • ปวด บวม และมีรอยแดง บริเวณที่ฉีด
    • อ่อนเพลีย
    • ปวดศีรษะ
    • ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
    • มีไข้ และอาการหนาวสั่น
    • คลื่นไส้

    อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นภายใน 1-2 วัน หลังได้รับการฉีดวัคซีน และควรหายภายในระยะเวลาไม่กี่วัน

    อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแพ้รุนแรง เช่น ผื่นแดงตามผิวหนัง ลมพิษ หายใจติดขัด ปวดท้อง ท้องเสีย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

    วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม รวมไปถึงวัคซีนโควิดชนิดอื่นๆ แม้ว่าจะเป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกแล้ว แต่ก็ถือเป็นวัคซีนชนิดใหม่ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา และมีผลวิจัยใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ ผู้ที่สนใจฉีดวัคซีนจึงควรหมั่นติดตามข่าวสารและอัปเดตข้อมูล

    ในส่วนของคนไทยที่สนใจฉีดวัคซีนโควิด แม้ว่าจะยังไม่บริการฉีดวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม แต่ในขณะนี้ทางภาครัฐได้เปิดให้ประชาชนชาวไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่

    • โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง
    • โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • โรคไตวายเรื้อรัง
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • โรคมะเร็ง
    • โรคเบาหวาน
    • โรคอ้วน

    ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดจองวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม สำหรับประชาชนทั่วไป

    เมื่อวันที่ 18 กรกฎคาม ที่ผ่านมา ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้เปิดให้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม สำหรับประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

    โดยผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ผ่านเว็บไซต์ https://sinopharm.cra.ac.th และสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนไม่ทัน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเปิดให้ลงทะเบียนรอบถัดไปเร็วๆ นี้ โดยสามารถติดตามข้อมูลวันและเวลาแบบเรียลไทม์ได้ที่ Facebook Page: โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

    อ่านเพิ่มเติม: ขั้นตอนลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม (Sinopharm) สำหรับประชาชนทั่วไป กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

    หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdmall.support มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

    ตรวจ RT-PCR ราคาถูก

    รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • ฐานเศรษฐกิจ, มาทำความรู้จัก “ซิโนฟาร์ม” ที่ขึ้นแท่นวัคซีนจีนตัวแรกที่ได้รับอนุมัติใช้เป็นกรณีฉุกเฉินจาก WHO (https://www.thansettakij.com/content/world/479320), 14 May 2021.
    • กรมควบคุมโรค, แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ประเทศไทย (https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1729520210301021023.pdf), 12 พฤษภาคม 2564.
    • ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, ขั้นตอนการจองวัคซีนทางเลือก ซิโนฟาร์ม สำหรับประชาชน (https://sinopharm.cra.ac.th/Sinopharm/content/home), 20 กรกฎาคม 2564.
    • BBC, Sinopharm: Chinese Covid vaccine gets WHO emergency approval (https://www.bbc.com/news/world-asia-china-56967973), 14 May 2021.
    • World health organization (WHO), Background document on the inactivated COVID-19 vaccine BIBP developed by China National Biotec Group (‎CNBG)‎, Sinopharm, 7 May 2021 (https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-vaccines-SAGE_recommendation-BIBP-background-2021.1), Sinopharm, 7 May 2021
    • World health organization (WHO), The Sinopharm COVID-19 vaccine: What you need to know (https://www.who.int/news-room/feature-stories/detail/the-sinopharm-covid-19-vaccine-what-you-need-to-know), 14 May 2021.
    @‌hdcoth line chat