วัคซีนโควิดไฟเซอร์คืออะไร? ชวนรู้จักวัคซีนที่ทั่วโลกกำลังรอคอย


วัคซีนโควิด, วัคซีนไฟเซอร์, วัคซีน pfizer, ผลข้างเคียง pfizer

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • วัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) มีชื่อทางการว่า BNT162b2 เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด mRNA ที่คิดค้นโดยบริษัทไฟเซอร์ร่วมกับบริษัทสัญชาติเยอรมันชื่อไอโบเอ็นเท็ค (BioNTech)
  • วัคซีนนี้ทำงานโดยจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างโปรตีนส่วนหนามเหมือนกับโคโรนาไวรัส เมื่อร่างกายเห็นแล้ว จึงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันไว้สำหรับป้องกันไวรัสจริงๆ ที่จะเข้ามาได้
  • วัคซีนโควิดไฟเซอร์ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21-28 วัน ใช้วิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อแขนด้านบน ภูมิคุ้มกันจะเริ่มเกิดหลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ไปแล้ว 12 วัน แต่ภูมิคุ้มกันจะทำงานเต็มที่หลังจากฉีดครบ 2 เข็ม
  • เหมาะสำหรับผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป หรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงอาการรุนแรงหากติดโควิด แต่ผู้ที่อายุน้อยกว่า 16 ปี ยังไม่ควรรับวัคซีนไฟเซอร์ และผู้ที่มีอาการแพ้วัคซีนไฟเซอร์เข็มแรก ไม่ควรรับวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2
  • จองวัคซีนทางเลือก Moderna หรือ Sinopharm หรือแอดไลน์สอบถามแอดมินได้ที่ @hdcoth

หลังจากผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ (Strategic advisory group of experts on immunization: SAGE) จากองค์การอนามัยโลก (World health organization: WHO) ได้ตรวจสอบข้อมูลวัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) แล้ว พบว่ามีความปลอดภัย รวมถึงประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดี

หลายประเทศจึงเริ่มดำเนินการจัดหาวัคซีนชนิดนี้ พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญในการฉีดให้กับประชากรในประเทศ รวมทั้งประเทศไทยเองก็มีชื่อวัคซีนไฟเซอร์อยู่ในแผนเช่นกัน

ในบทความนี้ HDmall.co.th จะเผยข้อมูลวัคซีนไฟเซอร์ในรูปแบบถามตอบเข้าใจง่ายสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาหาข้อมูลไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้หากสนใจเรื่องการลงทะเบียนฉีดวัคซีน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด นอกจากหมอพร้อม มีที่ไหนบ้าง


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

  • วัคซีนโควิดไฟเซอร์คืออะไร?
  • วัคซีนไฟเซอร์ ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร?
  • วัคซีนไฟเซอร์ ป้องกันโควิดสายพันธุ์ใหม่ได้ไหม?
  • วัคซีนโควิดไฟเซอร์ฉีดอย่างไร?
  • วัคซีนโควิดไฟเซอร์เหมาะกับใคร?
  • วัคซีนโควิดไฟเซอร์ไม่เหมาะกับใคร?
  • วัคซีนโควิดไฟเซอร์ปลอดภัยไหม?
  • ผลข้างเคียงของวัคซีนโควิดไฟเซอร์
  • ฉีดวัคซีนโควิดไฟเซอร์แล้วไม่มีผลข้างเคียง จะป้องกันโควิดได้ไหม?

  • วัคซีนโควิดไฟเซอร์คืออะไร?

    วัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) มีชื่อทางการว่า BNT162b2 เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด mRNA ที่คิดค้นโดยบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ร่วมกับบริษัทสัญชาติเยอรมันชื่อไอโบเอ็นเท็ค (BioNTech)

    วัคซีนชนิด mRNA เป็นการสังเคราะห์สารพันธุกรรมเลียนแบบเชื้อไวรัสขึ้นมา ดังนั้นในวัคซีนจึงไม่ได้มีอนุภาคของเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่ตายแล้วอยู่ภายในเลย

    เมื่อ mRNA ถูกฉีดเข้าไปในร่างกาย จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างโปรตีนส่วนหนาม (Spike protein) เหมือนกับโคโรนาไวรัส ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการติดเชื้อจนเป็นโควิด 19 เมื่อร่างกายเห็นโปรตีนส่วนหนามของไวรัสแล้ว จึงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันไว้สำหรับป้องกันไวรัสจริงๆ ที่จะเข้ามาได้

    วัคซีนไฟเซอร์ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (Food and Drug Administration: FDA) เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับผู้ที่อายุ 12 ปีขึ้นไป

    ล่าสุด 24 มิถุนายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติทะเบียนวัคซีนวัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) แล้ว นับเป็นวัคซีนโควิดรายที่ 6 ที่ผ่านการอนุมัติจาก อย. 

    ตรวจโควิด ATK ราคาถูก

    วัคซีนไฟเซอร์ ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร?

    หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 แล้ว จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 สูงถึง 91.3% ในช่วง 7 วันถึง 6 เดือนหลังฉีด

    นอกจากนี้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) กำหนดให้วัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพสูงถึง 100% ในการป้องกันความรุนแรงของโรคที่เกิดจากโควิด 19

    ในขณะที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (Food and Drug Administration: FDA) กำหนดให้ประสิทธิภาพในการป้องกันอาการรุนแรงที่เกิดจากโรคโควิด 19 ไว้ที่ 95.3%

    แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะยืนยันว่า หลังจากรับวัคซีนไฟเซอร์แล้วจะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อสู่คนอื่นได้มากน้อยเพียงใด เพราะภายใน 10 วันหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มแรก อาจยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ เนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถสร้างแอนติบอดี้ (Antibodies) ได้เต็มที่

    ดังนั้นจึงควรปฎิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขต่อไป เช่น สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกไปที่สาธารณะ เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่น ล้างมือหลังหยิบจับสิ่งของ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนเยอะ หากจำเป็นต้องเข้าสถานที่ที่มีผู้อื่น ควรเปิดหน้าต่างระบายอากาศเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ

    อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของวัคซีนวัดจากการทดลองทางคลินิก ซึ่งอาจมีการควบคุมกลุ่มทดลอง แต่ในการนำมาใช้กับประชากรจริง ประสิทธิภาพมีโอกาสที่จะต่ำกว่าผลที่สรุปในการทดลองเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น การกลายพันธุ์ของไวรัสใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้ใช้ในการทดลอง

    วัคซีนไฟเซอร์ ป้องกันโควิดสายพันธุ์ใหม่ได้ไหม?

    เว็บไซต์ของ Pfizer เผยว่าวัคซีนไฟเซอร์มีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกันโควิดในแอฟริกาใต้ สถานที่ซึ่งพบสายพันธุ์ B.1.351 เป็นครั้งแรก

    นอกจากนี้ การศึกษาอื่นพบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ครบ 2 เข็ม มีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร หรือ B.1.1.7 น้อยลง 90%

    อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่มีอยู่ยังคงต้องการการสังเกตและพัฒนาในระยะยาวต่อไป

    วัคซีนโควิดไฟเซอร์ฉีดอย่างไร?

    วัคซีนโควิดไฟเซอร์ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21-28 วัน ใช้วิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อแขนด้านบน ภูมิคุ้มกันจะเริ่มเกิดหลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ไปแล้ว 12 วัน แต่ภูมิคุ้มกันจะทำงานเต็มที่หลังจากฉีดครบ 2 เข็ม

    ปัจจุบันยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงประสิทธิภาพในการป้องกันระยะยาวในกรณีที่ฉีดเข็มแรกเพียงเข็มเดียว

    วัคซีนโควิดไฟเซอร์เหมาะกับใคร?

    วัคซีนไฟเซอร์ เหมาะกับผู้อยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้

    • ผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป
    • ผู้ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
    • ผู้ที่ทำงานด้านสาธารณสุข และมีโอกาสสัมผัสรับเชื้อมากกว่าคนอื่น
    • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่อาจส่งผลให้อาการรุนแรงหากติดเชื้อโควิด 19 เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหอบหืด โรคปอด โรคตับ โรคไต และโรคติดเชื้อเรื้อรังอื่นๆ
    • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ควรได้รับวัคซีนหลังจากปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลแล้วเท่านั้น
    • ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV เพราะมีโอกาสเสี่ยงสูง แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
    • ผู้ที่เคยติดโควิด 19 มาแล้ว อาจรับวัคซีนไฟเซอร์หลังจากติดโควิด 19 มาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน
    • สตรีที่กำลังอยู่ระหว่างให้นมบุตร โดยเฉพาะหากเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
    • สตรีมีครรภ์ อาจควรรับวัคซีนหากแพทย์พิจารณาแล้วว่าประโยชน์ที่จะได้รับ มีมากกว่าความเสี่ยง เช่น สตรีมีครรภ์มีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเมื่อติดโควิด

    ทุกเงื่อนไขที่กล่าวมา ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้ชำนาญการก่อนรับวัคซีน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับวัคซีนโควิดได้ที่บทความ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวัคซีนโควิด

    วัคซีนโควิดไฟเซอร์ไม่เหมาะกับใคร?

    หากอยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ไม่ควรรับวัคซีนไฟเซอร์ หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

    • ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปี เนื่องจากวัคซีนไฟเซอร์ทำการทดสอบกับผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป องค์การอนามัยโลกจึงยังไม่แนะนำให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปีฉีดวัคซีนไฟเซอร์
    • ผู้ที่มีอาการแพ้ หรือโรคภูมิแพ้ทั้งแบบรุนแรง และไม่รุนแรง ต่อส่วนผสมของ mRNA ในวัคซีนโควิด-19 ไม่ควรรับวัคซีนชนิดนี้
    • ผู้ที่มีอาการแพ้โพลี เอธิลีน ไกคอล (Polyethylene glycol: PEG) และ พอลิซอร์เบต (Polysorbate) เป็นสารชนิดหนึ่งที่ใช้ในเครื่องสำอาง และยาบางชนิด

    วัคซีนโควิดไฟเซอร์ปลอดภัยไหม?

    องค์การอนามัยโลกได้ทำการประเมินคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์แล้ว ว่าเหมาะสำหรับผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป

    นอกจากนี้ วัคซีนไฟเซอร์ได้ผ่านการประเมินจากผู้เข้าร่วมมากกว่า 44,000 ราย ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป และมีมากกว่า 12,000 รายที่ได้รับวัคซีน ตลอดจนติดตามอาการอย่างน้อย 6 เดือนหลังฉีดเข็มที่ 2 แล้ว

    อย่างไรก็ตาม ทั้งองค์การอาหารและยาสหรัฐ และหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) จะคอยติดตามผลข้างเคียงของวัคซีนที่ฉีดแล้วต่อไป

    ผลข้างเคียงของวัคซีนโควิดไฟเซอร์

    วัคซีนหลายชนิดอาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยได้เป็นเรื่องปกติ แต่ควรสังเกตอาการในกรณีที่มีผลข้างเคียงรุนแรง หรือผลข้างเคียงชนิดที่หาได้ยาก ดังนี้

    ผลข้างเคียงทั่วไปของวัคซีนไฟเซอร์

    ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย และไม่รุนแรงของวัคซีนไฟเซอร์ มีดังนี้

    • มีไข้ หนาวสั่น
    • ปวดศีรษะ
    • ปวดกล้ามเนื้อ
    • อ่อนเพลีย
    • ปวด บวม หรือรอยแดงบริเวณที่ฉีด
    • คลื่นไส้
    • อาเจียน

    โดยผลข้างเคียงเหล่านี้อาจเริ่มใน 1-2 วันหลังจากรับวัคซีน จากกลุ่มทดลองพบว่าผลข้างเคียงเกิดขึ้นหลังจากฉีดเข็มที่ 2 และควรจะหายไปในไม่กี่วัน

    ผลข้างเคียงที่พบได้ยากของวัคซีนไฟเซอร์

    ผลข้างเคียงที่พบได้ยาก อาจมีดังนี้

    • เป็นลม
    • เวียนศีรษะ
    • การมองเห็นผิดปกติ
    • รู้สึกชาตามร่างกาย

    หากมีอาการดังที่กล่าวมานี้หลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ควรแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที นอกจากนี้การหาที่นั่งพัก หรือนอนราบอาจช่วยให้อาการบรรเทาลงได้

    อาการแพ้วัคซีนไฟเซอร์

    อาการแพ้วัคซีนไฟเซอร์ ถือเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือแพทย์ทันที อาจมีดังนี้

    • มีผื่นขึ้นตามตัว
    • มีอาการคัน บวม ตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะใบหน้า ลิ้น และลำคอ
    • เวียนศีรษะมาก
    • หายใจลำบาก

    อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวอาจไม่ใช่อาการทั้งหมดที่มีโอกาสเกิดได้ หากคุณมีอาการอื่นๆ ที่นอกเหนือจากด้านบน ควรติดต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ทันที

    ฉีดวัคซีนโควิดไฟเซอร์แล้วไม่มีผลข้างเคียง จะป้องกันโควิดได้ไหม?

    ผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีนโควิดไฟเซอร์ ไม่ได้เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าวัคซีนทำงานหรือไม่ เพราะผลข้างเคียงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะต่อคนระบบภูมิคุ้มกันของแต่ละคน

    หากยังไม่ได้รับวัคซีน ก็ยังถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ทุกคนจึงยังคงต้องใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หมั่นล้างมืออย่างถูกวิธีด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70%

    รักษาระยะห่างทางสังคม และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปที่ชุมชนซึ่งมีความแออัด

    สงสัยว่า ติดเชื้อโควิด-19 อาจเข้ารับการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR หรือการ Swab จมูกเก็บตัวอย่างไปหาเชื้อ ดูแพ็กเกจตรวจโควิด 19 ได้ที่ HDmall.co.th ศูนย์รวมบริการสุขภาพ ทำฟัน และความงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมินได้ที่ไลน์ @hdmall.support หรือจะให้แอดมินจองคิวตรวจ ก็สามารถแจ้งได้เลย เรามีแอดมินให้บริการตั้งแต่ 9 โมงเช้า ถึง ตี 1 ทุกวัน!

    ตรวจโควิด RT-PCR ราคาถูก

    บทความที่เกี่ยวข้อง


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    @‌hdcoth line chat