วัคซีนโควิดโควาซิน (Covaxin)


วัคซีนโควิดโควาซิน-วัคซีนโควิด-โควาซิน

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • วัคซีนโควิดโควาซิน (Covaxin) เป็นหนึ่งในวัคซีนโควิด-19 ทางเลือกที่ภาคเอกชนจัดหาเข้ามา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นเอกสารประเมินวัคซีนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเตรียมขึ้นทะเบียนวัคซีนอย่างถูกต้องต่อไป (ข้อมูลวันที่ 14 พฤษภาคม 2564)
  • วัคซีนโควิดโควาซิน หรือ BBV152 หรือที่รู้จักในชื่อ “Bharat Biotech’s COVID-19 vaccine” เป็นวัคซีนสัญชาติอินเดีย ใช้เทคโนโลยีการผลิต inactivated virus vaccine หรือวัคซีนเชื้อตาย เช่นเดียวกัลบวัคซีนโควิดซิโนแวค (Sinovac) และวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม 
  • วัคซีนโควิดโควาซีนต้องฉีดจำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน (4 สัปดาห์) คำแนะนำทั่วไปให้ฉีดในผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • หลังรัฐบาลอินเดียประกาศอนุมัติใช้วัคซีนโควิดโควาซินในกรณีฉุกเฉินเมื่อต้นเดือนมกราคม 2564 ก่อนที่ผลทดลองทางคลินิกเฟสที่ 3 จะสิ้นสุดลง ผลการใช้วัคซีนพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 มากถึง 78%
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือติดตามข่าวสารวัคซีนแอดไลน์ @hdmall.support

วัคซีนโควิดโควาซิน (Covaxin) เป็นหนึ่งในวัคซีนโควิด-19 ทางเลือกที่ภาคเอกชนจัดหาเข้ามา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นเอกสารประเมินวัคซีนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเตรียมขึ้นทะเบียนวัคซีนอย่างถูกต้องต่อไป (ข้อมูลวันที่ 14 พฤษภาคม 2564)

เช่นเดียวกับวัคซีนโควิดโมเดอร์นาซึ่งเป็นหนึ่งในวัคซีนทางเลือก ซึ่งล่าสุดผ่านการประเมินวัคซีน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขึ้นทะเบียนวัคซีนอย่างถูกต้องแล้วเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564

ความน่าสนใจของวัคซีนโควิดสัญชาติอินเดียยี่ห้อนี้คืออะไร มีประสิทธิภาพ และมีข้อบ่งใช้อย่างไรนั้น HDmall.co.th จึงได้สรุปข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิดโควาซินให้ดังนี้


เลือกหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับวัคซีนโควาซินได้ที่นี่

  • วัคซีนโควิดโควาซิน คืออะไร?
  • วัคซีนโควิดโควาซิน มีประสิทธิภาพอย่างไร?
  • วัคซีนโควิดโควาซิน มีข้อบ่งใช้อย่างไร?
  • วัคซีนโควิดโควาซิน มีอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงอย่างไร?

  • วัคซีนโควิดโควาซิน คืออะไร?

    วัคซีนโควิดโควาซิน (Covaxin) หรือ BBV152 หรือที่รู้จักในชื่อ “Bharat Biotech’s COVID-19 vaccine” ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยสถาบันไวรัสวิทยาแห่งชาติอินเดีย (NIV) สภาวิจัยทางการแพทย์แห่งประเทศอินเดีย (ICMR) 

    ร่วมกับบริษัทภารัต ไบโอเทค (Bharat Biotech) ผู้ผลิตยาและวัคซีนรายใหญ่ของประเทศ ทั้งนี้วัคซีนโควิดโควาซินถือเป็นตัวแรกที่ได้รับการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกของอินเดีย 

    วัคซีนโควิดโควาซินใช้เทคโนโลยีการผลิต inactivated virus vaccine หรือวัคซีนเชื้อตายคือ การทำให้เชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ตายด้วยสารเคมี หรือความร้อนก่อน เมื่อนำมาฉีดเข้าไปในร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสดังกล่าวขึ้นมา

    เทคนิคการผลิตวัคซีนดังกล่าวนอกจากเคยใช้กับการผลิตวัคซีนตับอักเสบเอ หรือวัคซีนโปลิโอ (ชนิดฉีด) มาก่อนแล้ว ยังใช้ในวัคซีนโควิดซิโนแวค (Sinovac) และวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ซึ่งผลิตโดยบริษัทในสาธารณรัฐประชาชนจีน อีกด้วย

    วัคซีนโควิดโควาซินสามารถเก็บรักษาในอุณหภูมิห้องอย่างน้อย 1 สัปดาห์

    ตรวจโควิด RT-PCR ราคา

    วัคซีนโควิดโควาซิน มีประสิทธิภาพอย่างไร?

    หลังรัฐบาลอินเดียประกาศอนุมัติใช้วัคซีนโควิดโควาซินในกรณีฉุกเฉินเมื่อต้นเดือนมกราคม 2564 ก่อนที่ผลทดลองทางคลินิกเฟสที่ 3 จะสิ้นสุดลง ผลการใช้วัคซีนพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 มากถึง 78%

    ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สภาวิจัยทางการแพทย์อินเดีย (ICMR) ประกาศว่า วัคซีนโควิดโควาซินสามารถลบล้างเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้และออกฤทธิ์ต่อต้านสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์คู่ (double mulant) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    วัคซีนโควิดโควาซิน มีข้อบ่งใช้อย่างไร?

    วัคซีนโควิดโควาซีนต้องฉีดจำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน (4 สัปดาห์) คำแนะนำทั่วไปให้ฉีดในผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ล่าสุดเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564 หน่วยงานควบคุมยาของอินเดีย (DCGI) ได้อนุมัติการทดลองทางคลินิกเฟสที่ 2 และ 3 สำหรับการใช้วัคซีนโควาซิน (Covaxin) สำหรับเด็กอายุ 2-18 ปี แล้ว 

    การทดลองจะทำในกลุ่มอาสาสมัครที่แข็งแรง 525 คน หากพบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพที่ดีก็มีความเป็นไปได้ว่า อาจมีการทดลองเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความปลอดภัยและอนุมัติใช้ในเด็กอายุต่ำกวา 18 ปี แต่ไม่น้อยกว่า 2 ปี ได้ต่อไป

    ส่วนคำแนะนำในประเทศไทยยังไม่มีการชี้แจงเพิ่มเติม เนื่องจากยังอยู่ในขั้นตอนการยื่นเอกสารประเมินวัคซีนจาก อย. ซึ่งต้องรอติดตามข่าวต่อไป

    สำหรับข้อห้ามในการฉีดวัคซีนโควิดโควาซิน บริษัทภารัต ไบโอเทค ผู้ผลิตได้ระบุไว้อย่างชัดเจนดังนี้

    • ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งก่อนๆ
    • ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน
    • ห้ามฉีดในผู้ที่มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรง
    • ห้ามฉีดในผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
    • ห้ามฉีดในผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์
    • ห้ามฉีดในผู้หญิงที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร
    • ห้ามฉีดในผู้ที่มีไข้ หรือมีอาการเจ็บป่วย
    • ห้ามฉีดในผู้ที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กผิดปกติ หรือผู้มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
    • ห้ามฉีดในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อ HIV
    • ห้ามฉีดในผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิดชนิดอื่นๆ ไปก่อนหน้า

    วัคซีนโควิดโควาซิน มีอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงอย่างไร?

    สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการฉีดวัคซีนโควิดโควาซิน บริษัทภารัต ไบโอเทค ผู้ผลิตได้ระบุไว้อย่างชัดเจนดังนี้

    • ปวด บวม แดง คัน หรือช้ำบริเวณที่ฉีดยา
    • ปวดศีรษะเล็กน้อย
    • อ่อนเพลีย
    • รู้สึกไม่สบายตัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ
    • พะอืดพะอม คลื่นไส้
    • อาเจียน
    • มีผื่นแดงขึ้น
    ตรวจโควิด RT-PCR ราคา

    อย่างไรก็ตาม ผลการยื่นเอกสารประเมินวัคซีนจากอย.และกำหนดนำเข้าวัคซีนโควาซินนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด ในระหว่างนี้หากมีโอกาสได้ฉีดวัคซีนโควิดยี่ห้ออื่นๆ ที่ภาครัฐจัดหาให้ ก็ควรฉีดเพื่อเร่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย และช่วยลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 ให้น้อยลง

    รวมทั้งต้องดูแลตนเองตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่ภาครัฐกำหนดอย่างเคร่งครัด เช่น การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หมั่นล้างมืออย่างถูกวิธี ไม่ไปในที่แออัด รักษาระยะห่างทางสังคม

    หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdmall.support มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ


    รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • BBC.com, Sputnik V, Covishield, Covaxin: What we know about India's Covid-19 vaccines (https://www.bbc.com/news/world... May 2021.
    • PharmEasy, Covaxin – Is It Safe For You? Read To Know The Truth (https://pharmeasy.in/blog/cova... May 2021.
    • TIMESOFINDIA.COM, Coronavirus vaccines: Covaxin vs. Covishield vs. Sputnik V; what we know so far about their possible side-effects (https://timesofindia.indiatime... May 2021.
    • WHO, Coronavirus disease (COVID-19): Vaccines (https://www.who.int/news-room/... May 2021.
    • กรมควบคุมโรค, แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ประเทศไทย (https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1729520210301021023.pdf), 14 พฤษภาคม 2564.
    • COVAXIN SARS-CoV-2 VACCINE BY BHARAT BIOTECH (https://www.bharatbiotech.com/... May 2021.
    @‌hdcoth line chat