วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson)


วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) หรือที่เรียกว่า วัคซีน Janssen คืออะไร? ป้องกันโควิด-19 ได้กี่เปอร์เซ็นต์? มีผลข้างเคียงอย่างไร? ใครควรฉีด ไม่ควรฉีด? อ่านได้ที่นี่

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • วัคซีน Janssen ผลิตโดยบริษัทยาของ Johnson & Johnson (J&J) หรือที่คนนิยมเรียกกันว่า “วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน” เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine)
  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด 19 66.3% หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน 14 วัน และ 65.5% หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน 28 วัน
  • เหมาะสำหรับผู้ชายอายุ 18 ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่กำลังให้นมบุตร ไม่ควรฉีด เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS)
  • จองวัคซีนทางเลือก Moderna หรือ Sinopharm หรือแอดไลน์สอบถามแอดมินได้ที่ @hdcoth

วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) เป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รายที่ 3 ของประเทศไทย

ใครหลายคนอาจกังวลเกี่ยวกับวัคซีนชนิดนี้ เนื่องจากมีข่าวระงับการฉีดวัคซีนชั่วคราวในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ออกมารับรองความปลอดภัย และอนุมัติให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้อีกครั้งแล้ว

ในบทความนี้ HDmall.co.th จะพาไปทำความรู้จักกับวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน รวมถึงสาเหตุที่ให้ระงับการให้วัคซีนชั่วคราว และสาเหตุที่อนุมัติให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้อีกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกฉีดวัคซีนโควิด-19 ในอนาคต


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

  • วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) คืออะไร?
  • วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ฉีดกี่เข็ม?
  • วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 อย่างไร?
  • วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) เหมาะกับใคร?
  • วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ไม่เหมาะกับใคร?
  • วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) มีอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงอย่างไร?
  • รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson)
  • ลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด 19 ทำอย่างไร?

  • วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) คืออะไร?

    วัคซีน Janssen ผลิตโดยบริษัทยาของ Johnson & Johnson (J&J) หรือที่คนนิยมเรียกกันว่า “วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน” เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine)

    โดยนักวิจัยจะตัดต่อสารพันธุกรรมบางส่วนของเชื้อโควิด-19 มาใส่ในไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธ์ุ 26 (Human adenovirus type 26) ซึ่งเป็นไวรัสพาหะที่ถูกดัดแปลงให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ หรืออ่อนกำลังลงจนไม่ทำให้เกิดโรค แล้วนำมาฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา

    นอกจากวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสันแล้ว ยังมีวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีเดียวกันอีก แต่ใช้สายพันธ์ุไวรัสอะดีโนของมนุษย์ที่ต่างกัน ได้แก่ วัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ของประเทศอังกฤษ และวัคซีนสปุตนิก วี (Sputnik V) ของประเทศรัสเซีย

    ตรวจ ATK ราคาถูก

    วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ฉีดกี่เข็ม?

    วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวที่ฉีดเพียง 1 เข็ม โดยฉีดบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน

    สาเหตุที่ฉีดเพียงเข็มเดียว เพราะจากการทดลองในระยะที่ 1 และ 2 พบว่า การฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีแล้ว ในขณะที่การฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ไม่ได้เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันมากนัก ซึ่งการฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียวช่วยเพิ่มความสะดวกในการให้วัคซีน และลดต้นทุนในการขนส่งและฉีดวัคซีนได้มาก

    วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 อย่างไร?

    เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2564 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลการทดสอบระยะที่ 3 ของวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ผ่านทาง Morbidity and Mortality Weekly Report (MMWR) มีรายละเอียด ดังนี้

    • มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด 19 66.3% หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน 14 วัน
    • มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด 19 65.5% หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน 28 วัน

    วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) เหมาะกับใคร?

    • ผู้ชายที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
    • ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

    วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ไม่เหมาะกับใคร?

    • ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่กำลังให้นมบุตร เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดอื่น
    • ผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
    • ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีน
    • ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งก่อนๆ
    • ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เนื่องจากเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ซึ่งอาจก่อโรคในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงได้มาก

    วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) มีอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงอย่างไร?

    ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

    • ปวด บวม และมีรอยแดง บริเวณที่ฉีด
    • อ่อนเพลีย
    • ปวดศีรษะ
    • ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
    • มีไข้ และอาการหนาวสั่น
    • คลื่นไส้

    ผลข้างเคียงเหล่านี้มักเกิดขึ้นภายใน 1-2 วัน หลังได้รับการฉีดวัคซีน และควรหายภายในระยะเวลาไม่กี่วัน

    ส่วนผลข้างเคียงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) อาจเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์หลังฉีดวีคซีน ได้แก่

    • ปวดศีรษะรุนแรง หรือปวดอย่างต่อเนื่อง
    • ตาพร่ามัว
    • หายใจถี่
    • เจ็บหน้าอก
    • ขาบวม
    • ปวดท้องอย่างรุนแรง
    • มีรอยช้ำ หรือจ้ำเลือด นอกเหนือจากบริเวณที่ฉีด

    หากมีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 1 อาการ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

    รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson)

    1.ทำไมถึงระงับการฉีดวัคซีนชั่วคราว?

    เนื่องจากมีการตรวจพบภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) ในผู้ที่ฉีดวัคซีน

    2.ทำไมถึงอนุมัติให้ฉีดวัคซีนได้อีกครั้ง?

    จากการตรวจสอบรายงานเกือบทั้งหมด พบว่า ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) มักเกิดในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 50 ปี และการให้วัคซีนชนิดนี้มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง

    ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) จึงอนุมัติให้มีการใช้วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสันอีกครั้ง โดยแนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี เลือกฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิดอื่นแทน

    3.ปัญหาภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำเกิดขึ้นในวัคซีนโควิด 19 ชนิดอื่นหรือไม่?

    ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่า ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ในวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) และวัคซีนโมเดอร์น่า (Moderna)

    ลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด 19 ทำอย่างไร?

    ขณะนี้ (12 พฤกษภาคม 2564) วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน วัคซีนไฟเซอร์ วัคซีนโมเดอร์น่า และวัคซีนสปุตนิก วี ยังไม่เปิดให้ลงทะเบียนรับการฉีดวัคซีนในไทย ในระหว่างนี้แนะนำให้ดูแลตนเองตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่ภาครัฐกำหนดอย่างเคร่งครัดไปก่อน

    แต่สำหรับประชาชนชาวไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่

    • โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง
    • โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • โรคไตวายเรื้อรัง
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • โรคมะเร็ง
    • โรคเบาหวาน
    • โรคอ้วน

    สามารถลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านทาง LINE OA (LINE Official Account) และแอปพลิเคชันหมอพร้อม เวอร์ชั่น 2 แล้ว

    อัปเดตข้อมูลจองแพ็กเกจวัคซีนโควิด 19 โรงพยาบาลเอกชนก่อนใครได้ที่ไลน์ @hdmall.support พร้อมรับโปรโมชันแพ็กเกจสุขภาพ ทันตกรรม และความงามมากมาย โดยจะมีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

    ตรวจโควิด RT-PCR ราคาถูก

    รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ, อย. อนุมัติวัคซีนโควิด-19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน รายที่ 3 ของไทย (https://www.hfocus.org/content/2021/03/21294), 12 พฤษภาคม 2564.
    • กรมควบคุมโรค, แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ประเทศไทย (https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1729520210301021023.pdf), 12 พฤษภาคม 2564.
    • Centers for Disease Control and Prevention (CDC), Johnson & Johnson’s Janssen COVID-19 Vaccine Overview and Safety (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/janssen.html), 12 May 2021.
    • Centers for Disease Control and Prevention (CDC), CDC Recommends Use of Johnson & Johnson’s Janssen COVID-19 Vaccine Resume (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/safety/JJUpdate.html), 12 May 2021.
    • Centers for Disease Control and Prevention (CDC), Possible Side Effects After Getting a COVID-19 Vaccine (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/expect/after.html), 12 May 2021.
    • Centers for Disease Control and Prevention (CDC), The Advisory Committee on Immunization Practices’ Interim Recommendation for Use of Janssen COVID-19 Vaccine — United States, February 2021 (https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/70/wr/mm7009e4.htm), 12 May 2021.
    @‌hdcoth line chat