ตรวจโควิด-19 ด้วย RT-PCR vs Rapid Antigen Test แบบไหนที่ "ใช่" สำหรับกับคุณ


ตรวจโควิด-RT PCR-Rapid Antigen Test

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • RT-PCR เก็บตัวอย่างโดยการ Swab หรือ แยงจมูก แล้วนำตัวอย่างไปตรวจในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยจะทราบผลภายใน 24-72 ชั่วโมง
  • Rapid Antigen test เก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกด้านหลัง หรือช่องปากและลำคอ แล้วนำตัวอย่างตรวจในแถบทดสอบของชุดตรวจ สามารถทราบผลได้ภายใน 10 - 30 นาทีเท่านั้น โดยการอ่านแถบทดสอบ
  • RT-PCR เป็นวิธีมาตรฐานสากล (Gold Standard) ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ประเทศต่างๆ ใช้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 เพราะมีความแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน
  • Rapid Antibody Test กันมาบ้าง ซึ่งเป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกัน โดยการเก็บตัวอย่างจากการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว แล้วนำไปหยดในแถบทดสอบ วิธีนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันได้ในระยะที่เชื้อไวรัสเริ่มมีปริมาณลดลงแล้ว มักอยู่ในช่วง 1 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ หรือหลังจากหายป่วย
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdmall.support

ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นๆ ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลกับสถานการณ์นี้อย่างมาก โดยเฉพาะประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ไม่แน่ใจว่า “ตนเองกำลังติดเชื้ออยู่หรือไม่” และควรต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบใดจึงจะ "ใช่" และ "เหมาะสม" กับตนเองที่สุด

ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม HDmall.co.th จะสรุปวิธีตรวจโควิด-19 แบบ RT-PCR และ Rapid Antigen Test ให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้

ตรวจโควิด-19 มีกี่วิธี?

ปัจจุบันในประเทศไทยมีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด -19 (COVID-19) 3 วิธี ได้แก่

  1. ตรวจด้วยวิธี RT-PCR เก็บตัวอย่างโดยการ Swab หรือ แยงจมูก แล้วนำตัวอย่างไปตรวจในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Department of Medical Sciences)
  2. ตรวจด้วยวิธี Rapid Antigen test เก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกด้านหลัง หรือช่องปากและลำคอ แล้วนำตัวอย่างตรวจในแถบทดสอบของชุดตรวจ
  3. ตรวจด้วยวิธี Rapid Antibody test เก็บตัวอย่างจากการเจาะเลือดปลายนิ้วมือ หรือข้อพับ แล้วนำตัวอย่างตรวจในแถบทดสอบของชุดตรวจ

ทั้งนี้แต่ละวิธีก็มีรายละเอียดการตรวจ ระยะเวลาการทราบผล และระดับความแม่นยำของผลตรวจที่แตกต่างกันไป ดังจะกล่าวถึงรายละเอียดของแต่ละวิธีต่อไป

ตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR คืออะไร?

Real-time PCR (Real Time Polymerase Chain Reaction) หรือเรียกสั้นๆ ว่า “RT-PCR” คือ การตรวจตรวจจับกรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid) หรือ อาร์เอ็นเอ (RNA) ของเชื้อไวรัสโคโรนาก่อโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโมเลกุลลักษณะเดียวกับดีเอ็นเอ

วิธีนี้เป็นวิธีมาตรฐานสากล (Gold Standard) ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ประเทศต่างๆ ใช้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 เนื่องจากมีความแม่นยำสูงที่สุดในปัจุบัน

วิธีตรวจ RT-PCR

ผู้ตรวจจะเก็บตัวอย่างโดยการใช้คอตตอนบัด หรือไม้สวอบ (swab) สอดเข้าทางโพรงจมูกไปยังด้านหลังของโพรงจมูก หรือสอดเข้าทางลำคอ แล้ววนให้ทั่วประมาณ 4-5 รอบ เพื่อเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก หรือเยื่อบุในลำคอให้ได้มากที่สุด สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัส

นอกจากนี้ยังสามารถนำเสมหะที่อยู่ในปอดมาตรวจหาเชื้อด้วยวิธีนี้ได้ด้วยเช่นกัน

ไม่ว่าจะเก็บตัวอย่างด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อได้ตัวอย่างมาแล้ว ผู้ตรวจจะจุ่มไม้สวอบลงในหลอดน้ำยา ปิดฝาให้สนิท แล้วจึงส่งให้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจหา RNA ที่มีปริมาณน้อยมากต่อไป

ข้อดีของ RT-PCR

  • ให้ผลตรวจที่แม่นยำมากที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อยๆ ได้ แม้จะเพิ่งได้รับเชื้อมาเพียง 3 วันก็ตาม รวมทั้งยังสามารถตรวจพบได้ทั้งเชื้อไวรัสเป็นและเชื้อไวรัสตายได้
  • สามารถนำผลตรวจไปใช้ยืนยันการเข้าทำงาน หรือการเดินทางไปต่างจังหวัด และเดินทางไปต่างประเทศได้

ข้อด้อยของ RT-PCR

  • ไม่สามารถตรวจและอ่านผลตรวจด้วยตนเองได้
  • ใช้เวลารอผลตรวจนานเพราะต้องนำตัวอย่างที่เก็บมาไปตรวจในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้มาตรฐาน โดยจะทราบผลภายใน 24-72 ชั่วโมง
  • ราคาค่อนข้างสูง ประมาณ 2,500-4,500 บาทต่อครั้งต่อคน

RT-PCR เหมาะกับใคร

  • เหมาะสำหรับการวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น ผู้แสดงอาการของโควิดแล้ว และสามารถใช้ตรวจติดตามผลการรักษาได้
  • ผู้ที่ต้องการผลไปยืนยันในการเข้าทำงาน หรือผู้ที่ต้องการผลในการเดินทางไปต่างจังหวัด และเดินทางไปต่างประเทศได้

หากต้องการให้ผลตรวจ RT-PCR แม่นยำมากยิ่งขึ้นควรกักตนเอง 7-14 วัน หลังจากสัมผัสผู้ป่วย หรือเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงมา แต่หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบเข้ารับการตรวจทันที

Rapid Antigen Test คืออะไร?

Rapid Antigen Test หรือ ATK เป็นการตรวจชนิดหนึ่งของ Lateral Flow Test (LFT) ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยอุปกรณ์ทดสอบอย่างง่ายและรวดเร็ว สามารถทำได้เองที่บ้าน และอ่านผลได้เองโดยไม่ต้องตรวจในห้องปฏิบัติการ

ด้วยการเก็บตัวอย่างเชื้อจากโพรงจมูก หรือลำคอ นำมาใส่ในอุปกรณ์ทดสอบ เพื่อตรวจหาองค์ประกอบของไวรัสซึ่งปรากฏอยู่ในร่างกาย แต่วิธีนี้จะสามารถตรวจพบเชื้อไวรัสได้ในระยะที่เชื้อในร่างกายมีปริมาณมากแล้ว

วิธีตรวจ Rapid Antigen Test

ผู้ตรวจจะเก็บตัวอย่างโดยการใช้คอตตอนบัด หรือไม้สวอบ (swab) สอดเข้าทางโพรงจมูกไปยังด้านหลังของโพรงจมูก หรือสอดเข้าทางลำคอ แล้ววนให้ทั่วประมาณ 4-5 รอบ เพื่อเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก หรือเยื่อบุในคอให้ได้มากที่สุด สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัส

ไม่ว่าจะเก็บตัวอย่างด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อได้ตัวอย่างมาแล้ว ผู้ตรวจจะจุ่มไม้สวอบลงในหลอดที่มีน้ำยาสกัด หมุนและบีบอย่างน้อย 5 รอบ จากนั้นนำไม้สำลี หรือไม้สวอบออก แล้วปิดหลอดน้ำยาสกัดด้วยฝาที่ให้มา ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที

หยอดน้ำยาลงในตลับทดสอบตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนด รอผลประมาณ 15-30 นาที โดยห้ามอ่านผลก่อน หรือหลังเวลาที่กำหนดไว้

ข้อดีของ Rapid Antigen Test

  • วิธีนี้ไม่ต้องใช้ห้องปฏิบัติการในการตรวจวิเคราะห์ สามารถประมวลผลได้จากแถบทดสอบหลังน้ำยาทำปฏิกิริยาเสร็จ สามารถทราบผลได้ภายใน 10 - 30 นาทีเท่านั้น โดยการอ่านแถบทดสอบ
  • สามารถคัดกรองผู้ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว และช่วยลดความแออัดในการรอตรวจได้ดี
  • ราคาถูก ประมาณ 400 - 1,700 บาทต่อครั้งต่อคน ประชาชนจึงเข้าถึงได้ง่าย
  • ช่วยคลายความวิตกกังวลของผู้เข้ารับการตรวจได้ระดับหนึ่ง
  • ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์

ล่าสุด ประชาชนสามารถซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจด้วยตนเองได้แล้ว โดยปัจจุบันในประเทศไทยมีชุดตรวจ ATK ที่ได้รับการอนุญาตให้ผลิต หรือนำเข้าจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ปัจจุบันมีจำนวน 24 บริษัท (ข้อมูลวันที่ 19 กรกฎาคม 2564) กดที่นี่

แต่ขณะนี้มีชุดตรวจที่อนุญาตให้ซื้อได้ 5 ยี่ห้อด้วยกัน ผู้สนใจสามารถเข้าไปดูรายการชุดตรวจที่ได้รับอนุญาตในเว็บไซด์ของ อย. ซึ่งจะมีลิงก์เพื่อนำเข้าสู่หน้าเว็บไซต์กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ จะมีชื่อรายละเอียดผู้นำเข้า ชื่อผู้ผลิต รูปของผลิตภัณฑ์ รวมถึง QR code่

ทั้งนี้ชุดตรวจ ATK ที่ผ่านการอนุมัติจะมีจุดสังเกตบนฉลากคือ “บุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้” และสามารถตรวจสอบชุดตรวจที่ได้รับอนุญาตผ่านทางเว็บไซต์กองควบคุมเครื่องมือแพทย์

ข้อด้อยของ Rapid Antigen Test

  • ผลตรวจที่ออกมามีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง หากตรวจในระยะแรกที่ได้รับเชื้อซึ่งเชื้อยังมีปริมาณไม่มากพอ ก็อาจทราบไม่พบเชื้อ โดยทั่วไปการตรวจหาเชื้อหลังได้รับเชื้อภายใน 5-14 วัน ซึ่งเชื้อมีจำนวนมากแล้วจึงจะสามารถพบเชื้อได้และเป็นระยะที่ให้ผลแม่นยำที่สุด
  • ในทางเดียวกันหากเพิ่งจะหายจากโรค การตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ก็อาจไม่แสดงผลเป็นบวก ไม่เพียงเท่านั้นความแม่นยำในการตรวจแบบ Rapid Antigen Test นี้ก็ยังขึ้นอยู่กับความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ของผู้ที่ทำการเก็บตัวอย่างด้วย
  • ค่าผลตรวจออกมาเป็นบวกอาจไม่ได้หมายความว่า จะเป็นผู้ติดเชื้อ 100% จำเป็นต้องตรวจ RT-PCR อีกครั้งเพื่อยืนยันผล
  • ส่วนผู้ที่ผลตรวจออกมาเป็นลบก็ไม่ได้หมายถึงว่า ไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อแบบ 100% นั่นหมายถึงว่า ผู้เข้ารับการตรวจด้วยวิธีนี้ หลังตรวจจำเป็นต้องต้องกักตัวเอง เฝ้าดูอาการ หากมีอาการป่วยโควิดให้รีบไปตรวจยืนยันผล และแจ้งผู้ใกล้ชิดที่อาจมีความเสี่ยงทันที
  • ไม่สามารถนำผลตรวจไปใช้ยืนยันการเข้าทำงาน หรือการเดินทางไปต่างจังหวัด และเดินทางไปต่างประเทศได้

Rapid Antigen Test เหมาะกับใคร 

ผู้ต้องสงสัยจะติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการป่วย เพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้รู้ตัวและเข้าสู่กระบวนการกักตัว และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

Rapid Antibody Test คืออะไร?

นอกจากการตรวจ RT-PCR และ Rapid Antigen Test แล้ว หลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อ Rapid Antibody Test กันมาบ้าง ซึ่งเป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกัน โดยการเก็บตัวอย่างจากการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว หรือข้อพับแขน แล้วนำไปหยดในแถบทดสอบ

วิธีนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันได้ในระยะที่เชื้อไวรัสเริ่มมีปริมาณลดลงแล้ว มักอยู่ในช่วง 1 สัปดาห์ หลังการติดเชื้อ หรือหลังจากหายป่วยแล้ว

แม้จะอ่านผลด้วยแถบทดสอบเช่นเดียวกับ Rapid Antigen Test แต่มีความยุ่งยากในการแปลผลมากกว่า เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันมีสองชนิดซึ่งจะใช้การแปลผลต่างกัน จึงจำเป็นต้องแปลผลโดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขไม่แนะนำให้ใช้วิธี Rapid Antibody Test ในการคัดกรองเชื้อโควิด-19 เบื้องต้น เพราะปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนจำนวนมาก ภูมิคุ้มกันอาจเกิดจากการติดเชื้อ หรือวัคซีนก็ได้ ซึ่งไม่สามารถแยกได้

ตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบไหนที่ใช่ และเหมาะกับตัวเองมากที่สุด?

จะเห็นได้ว่า การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งวิธี RT-PCR และ Rapid Antigen Test มีวิธีการตรวจ ข้อดี ข้อด้อย และความเหมาะสมกับกลุ่มคนที่แตกต่างกัน

ดังนั้นในสถานการณ์ที่ทรัพยากรสาธารณสุขในประเทศเริ่มเข้าสู่ “ภาวะจำกัด” อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจก็เข้าสู่ “ภาวะถดถอย” หากคุณไม่ได้มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างจังหวัด ต่างประเทศ หรือไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้เอกสารการตรวจในการเข้าทำงานใดๆ

แต่สงสัยว่า “ตนเองอาจมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19”

แนะนำให้เริ่มจากการแยกตัวเองออกจากผู้อื่นเพื่อกักตัวก่อน จากนั้นจึงเริ่มด้วยการหาสถานที่ตรวจ Rapid Antigen Test หรือชุดตรวจที่ได้รับอนุญาตจาก อย. หากตรวจแล้ว ผลตรวจเป็นบวก จำเป็นต้องตรวจ RT-PCR อีกครั้งเพื่อยืนยันผล 

และหากติดเชื้อโควิดจริงจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาให้ทันท่วงที

แต่หากเริ่มมีอาการเจ็บป่วยคล้ายอาการโควิด -19  เช่น  มีไข้สูง เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ท้องเสีย ผู้มีกลุ่มอาการเหล่านี้จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจ RT-PCR ทันที เพื่อยืนยันผลและหากผลเป็นบวกจะเข้าสู่กระบวนการรักษาให้ทันท่วงที

หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdmall.support มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Rapid Test สำหรับตรวจโรคโควิด - 19 (https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_printing/1804), 19 กรกฎาคม 2564.
  • ศูนย์ข้อมูล COVID-19, สธ.แนะนำการใช้ Rapid Antigen Test (https://m.facebook.com/informationcovid19/photos/a.106142991004034/360448458906818/?type=3&source=48), 19 กรกฎาคม 2564.
  • Hfocus team, ทำความเข้าใจ ชุดตรวจเร็ว Rapid Antigen Test คืออะไร อีกทางเลือกช่วยปชช.เข้าถึงการตรวจโควิด-19 (https://www.hfocus.org/content/2021/07/22174), 19 กรกฎาคม 2564.
@‌hdcoth line chat