โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้


โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้-โควิดสายพันธุ์แอฟริกา-โควิดกลายพันธุ์

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (The South Africa variant) หรือ B.1.351 หรือ 501.V2 เกิดจากการกลายพันธ์ุบริเวณโปรตีนหนามรอบเซลล์ที่ตำแหน่ง E484K ซึ่งมีผลทำให้แอนติบอดี หรือภูมิคุ้มกันจับเชื้อได้ยาก
  • เชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ยังมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง N501Y เช่นเดียวกับที่พบในโควิดสายพันธุ์อังกฤษด้วย การกลายพันธู์ในตำแหน่งดังกล่าวมีผลทำให้เชื้อจับกับตัวรับบนผิวเซลล์มนุษย์ได้ง่ายขึ้น นั่นจึงส่งผลให้แพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นตามไปด้วย
  • เมื่อติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ผู้ติดเชื้อบางรายอาจไม่แสดงอาการใดๆ แต่หากมีอาการแสดง อาการสำคัญที่มักพบบ่อย ได้แก่ มีไข้สูง ไอบ่อย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ 
  • สิ่งที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และหน่วยงานสาธารณสุขหลายฝ่ายเป็นกังวลก็คือ โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้สามารถแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น รวมทั้งวัคซีนโควิดที่มีอยู่นั้นอาจใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อนี้มากนัก
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth

เมื่อ 23 พฤษภาคม 2564 ศูนยบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานการพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ หรือเรียกสั้นๆว่า "สายพันธุ์แอฟริกา" ที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส จำนวน 3 ราย 

ทั้งนี้เชื้อโควิดสายพันธุ์นี้เพิ่งตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย

ข่าวดังกล่าวทำให้โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้เป็นที่น่าสนใจขึ้นมาทันที เนื่องจากข้อมูลปัจจุบันพบว่า การตอบสนองของวัคซีนในเชื้อโควิดสายพันธุ์นี้อาจไม่ดีเท่ากับเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่นๆ 

อีกทั้งยังเป็นสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกคำเตือนให้เฝ้าระวัง เช่นเดียวกับโควิดสายพันธุ์อังกฤษและอินเดีย

โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้คืออะไร อาการเป็นอย่างไร วัคซีน ป้องกันได้ไหม? HDmall.co.th จะพาไปหาคำตอบ

โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ คืออะไร?

หลังเชื้อโควิดเริ่มแพร่ระบาดจากเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปลาย ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา เชื้อโควิดได้กลายพันธุ์เป็นจำนวนมาก และแต่ละสายพันธุ์ก็มีอาการ ความรุนแรงแตกต่างกันไป 

ได้แก่ โควิดสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) โควิดสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617) โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) และโควิดสายพันธุ์บราซิล (P.1)

เชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (The South Africa variant) หรือ B.1.351 หรือ 501.V2 พบในทวีปแอฟริกาใต้ด้านตะวันออกและตะวันตกตั้งแต่ช่วงตุลาคม 2020 เป็นต้นมา ก่อนจะแพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ แล้วไม่ต่ำกว่า 20 ประเทศทั่วโลก เช่น ออสเตรีย นอร์เวย์ ญี่ปุ่น

เชื้อดังกล่าวเกิดจากการกลายพันธ์ุบริเวณโปรตีนหนามรอบเซลล์ที่ตำแหน่ง E484K ซึ่งมีผลทำให้แอนติบอดี หรือภูมิคุ้มกัน-ของมนุษย์ตรวจจับเชื้อได้ยาก

ไม่เพียงเท่านั้นยังพบว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง N501Y เช่นเดียวกับที่พบในโควิดสายพันธุ์อังกฤษด้วย 

ทั้งนี้การกลายพันธู์ในตำแหน่งดังกล่าวนั้นมีผลทำให้เชื้อจับกับตัวรับบนผิวเซลล์มนุษย์ได้ง่ายขึ้น นั่นจึงส่งผลให้เชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นตามไปด้วย

โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ อาการเป็นอย่างไร?

เมื่อติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ผู้ติดเชื้อบางรายอาจไม่แสดงอาการใดๆ แต่หากมีอาการแสดง อาการสำคัญที่มักพบบ่อย ได้แก่

  • มีไข้สูง
  • ไอบ่อย
  • จมูกไม่ได้กลิ่น
  • ลิ้นไม่รับรส
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • เจ็บคอ

หากสงสัยว่า ตนเองมีอาการใกล้เคียงดังที่กล่าวมา แนะนำให้แยกตัวเองออกมาเพื่อกักตัวแล้วสังเกตอาการผิดปกติ หากอาการที่เป็นอยู่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น แนะนำให้รีบไปตรวจหาเชื้อโควิด-19

โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ อาการรุนแรงแค่ไหน?

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่า โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงมากน้อยแค่ไหน หรือมีระยะดำเนินโรคเช่นเดียวกับโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากเมืองอู่ฮั่น สาธราณรัฐประชาชนจีน หรือไม่ 

ที่หากผู้สูงอายุ หรือกลุ่มผู้มีโรคเรื้อรัง หรือมีภาวะสุขภาพที่สำคัญ เกิดติดเชื้อขึ้นมา อาการจะมีความรุนแรงได้มากกว่าคนทั่วไปและมีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่า

แต่สิ่งสำคัญที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และหน่วยงานสาธารณสุขหลายฝ่ายเป็นกังวลก็คือ โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้สามารถแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น รวมทั้งวัคซีนโควิดที่มีอยู่นั้นอาจใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อนี้มากนัก

โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ วัคซีน ป้องกันได้ไหม?

วัคซีนในปัจจุบันได้รับการผลิตออกมาโดยใช้โควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ยังพอจะสามารถให้การป้องกันบางประการกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ได้

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Manop Pithukpakorn” ระบุว่า

วัคซีนที่ได้ผลกับโควิดสายพันธุ์นี้ มีแค่วัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) และอาจรวมถึงวัคซีนโควิดโมเดอร์นา ( Moderna) ด้วยอยู่ที่ 75%

วัคซีนโควิดจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (J&J) อยู่ที่ 64-66% และวัคซีนโควิดโนวาแวกซ์ (Novavax) ที่ 60.1% (สำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อ HIV)

ส่วนวัคซีนโควิดแอสตราเซเนก้า (AstraZeneca) เหลือแค่ 10.4% สำหรับวัคซีนโควิดซิโนแวค (Sinovac) ถ้าเทียบระดับแอนติบอดีที่เพิ่มขึ้นหลังฉีดแล้วคาดว่าคงแทบไม่ได้ผลเช่นกัน

ศ.นพ.มานพ ยังได้กล่าวว่า ในปัจจุบันโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) เป็นสายพันธุ์ที่ดื้อต่อวัคซีน และแอนติบอดี ที่สุด

รองลงมาคือ P.1 หรือสายพันธุ์ Brazil ส่วนสายพันธุ์อินเดียที่ระบาดก่อนหน้านี้ ดื้อต่อวัคซีนบ้างแต่ไม่มากเท่ากับโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้

นอกจากนี้ยังมีรายงานเพิ่เติมจากแหล่งข่าวอื่นว่า จากการทดลองล่าสุด (ระยะที่ 3) ของวัคซีนโควิดไฟเซอร์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 ระบุว่า 

จากการทดลองฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในกลุ่มผู้อยู่อาศัยในแอฟริกาใต้จำนวน 800 คน พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกันอาการโควิด -19 ที่เกิดจากตัวแปร B.1.351 ได้ โดยไม่พบผู้ป่วยในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีน

อย่างไรก็ตาม เรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดยังจำเป็นต้องมีการวิจัยอย่างต่อเนื่องในแอฟริกาใต้

ดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโควิด

แน่นอนว่า หลายคนคงเป็นกังวลไม่น้อยกับการพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) ในประเทศไทย ยิ่งเมื่อได้รู้ว่า เชื้อสายพันธุ์นี้นี้สามารถแพร่กระจายได้ง่าย และรวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ยิ่งทวีความกังวลมากยิ่งขึ้น 

อีกทั้งยังมีวัคซีนเพียง 1-2 ชนิดเท่านั้นที่พอจะป้องกันการติดเชื้อได้ นั่นคือ วัคซีนไฟเซอร์และวัคซีนโมเดอร์นา แต่ข่าวร้ายคือ วัคซีนทั้งสองชนิดนั้นยังมาไม่ถึงประเทศไทย

ดังนั้นมาตรการสำคัญที่สุดและใช้ได้เสมอ ไม่ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใดก็ตามคือ 

  • การดูแลตนเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หรือสวมหน้ากากผ้าอย่างถูกวิธีทุกครั้งที่ออกจากบ้าน
  • หมั่นล้างมือให้สะอาดและถูกวิธีด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ดวงตา จมูกและปาก 
  • รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี
  • การไม่เดินทางไปในที่แออัด 
  • การเว้นระยะห่างทางสังคม

รวมทั้งการลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดที่มีให้บริการในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ยับยั้งการแพร่ระบาด รวมทั้งบรรเทาความรุนแรงของโรคลง ลดโอกาสการเสียชีวิต หากมีการติดเชื้อโควิด

หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับโควิดสายพันธุ์ต่างๆ และวัคซีนโควิด

ที่มาของข้อมูล

Center for Disease Control and Prevention, Variants of the Virus (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/variants/variant.html?CDC_AA_refVal=https%3A%2F%2Fwww.cdc.gov%2Fcoronavirus%2F2019-ncov%2Ftransmission%2Fvariant.html), 24 May 2021.

HEART MATTERS, Covid variants: latest on the Indian, Brazilian, UK and South African variants (https://www.bhf.org.uk/informationsupport/heart-matters-magazine/news/coronavirus-and-your-health/covid-variant), 24 May 2021.

Jill Seladi-Schulman, Ph.D., How Many New Coronavirus Variants Are There? (https://www.healthline.com/health/how-many-strains-of-covid-are-there), 24 May 2021.

Michelle Roberts, South Africa coronavirus variant: What is the risk? (https://www.bbc.com/news/health-55534727), 24 May 2021.

@‌hdcoth line chat