HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กเล็ก มักเกิดจากการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือผู้ติดเชื้อ อยู่ในพื้นที่ที่มีคนอยู่มาก โดยที่ไม่ได้สวมใส่หน้ากากอนามัย ไม่ล้างมือ ไม่รักษาระยะห่าง
- ในกรณีที่ตรวจหาเชื้อด้วยวิธี Antigen Test Kit (ATK) แล้วพบเชื้อ ให้ติดต่อสปสช. ที่เบอร์โทรศัพท์ 1330 หรือลงทะเบียนที่เว็บไซต์ https://crmsup.nhso.go.th/ เพื่อคัดกรองระดับผู้ป่วย และเข้าสู่ระบบ Home Isolation
- ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) เผยว่า ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กทั่วไป
- อาการของโรคโควิด-19 ในเด็กเล็กคล้ายกับผู้ใหญ่ โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคโควิด-19 ในเด็ก คือ มีไข้ และไอ นอกจากนี้หากมีอาการที่เป็นอันตราย เช่น หายใจลำบาก เจ็บ หรือแน่นหน้าอก มึนงง สับสน ไม่มีสติ ซีด ให้แจ้งให้แพทย์ทราบทันที
- เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาตรวจโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth
ในปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ในประเทศไทยยังคงขยายวงกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 10,000 รายต่อวัน จนอาจทำให้หลายคนกังวลใจ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มี “ทารก” หรือ “เด็กเล็ก” อยู่ด้วย
HDmall.co.th จึงได้สรุปข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ในเด็กเล็ก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการและดูแลบุตรหลานได้อย่างทันท่วงที
เด็กติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างไร ป้องกันอย่างไร?
การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กเล็ก มักเกิดจากการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือผู้ติดเชื้อ อยู่ในพื้นที่ที่มีคนอยู่มาก โดยที่ไม่ได้สวมใส่หน้ากากอนามัย ไม่ล้างมือ ไม่รักษาระยะห่าง
โดยเชื้อโควิด-19 สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้
- เยื่อบุตา เอามือไปจับสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อโรคอยู่ แล้วมาขยี้ตา
- จมูก เอามือไปจับสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อโรค แล้วมาแคะขี้มูก หรือจมูก
- ปาก นำมือเข้าปาก อมของเล่น หรือใช้ภาชนะร่วมกัน
เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ผู้ปกครองจะต้องลดปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อ ดังนี้
- หมั่นทำความสะอาดพื้นที่ที่เด็กเล่น หรือทำกิจกรรมต่างๆ
- เมื่อจำเป็นต้องเดินทางออกนอกบ้าน ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยเสมอ
- ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังกลับเข้าบ้าน หลังใช้ห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร
- เว้นระยะห่างกับผู้อื่น อย่างน้อย 1-2 เมตร
ลักษณะอาการของโรคโควิด-19 ในเด็กเล็ก เป็นอย่างไร?
อาการของโรคโควิด-19 ในเด็กเล็กคล้ายกับผู้ใหญ่ โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคโควิด-19 ในเด็ก คือ มีไข้ และไอ
อาการแสดงอื่นๆ ที่พบได้ มีดังนี้
- ไข้หนาวสั่น
- คัดจมูก หรือน้ำมูกไหล
- ลิ้นไม่รับรส
- จมูกไม่ได้กลิ่น
- เจ็บคอ
- หายใจลำบาก
- ท้องเสีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง
- อ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ผื่นตามผิวหนัง
- ไม่อยากอาหาร โดยเฉพาะในทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี
อาการอันตรายที่ต้องไปพบแพทย์ทันที ดังนี้
- หายใจลำบาก
- เจ็บ หรือแน่นหน้าอก
- มึนงง สับสน
- ไม่มีสติ หรือรู้สึกตื่นตัว แม้ว่าจะไม่มีอาการเหนื่อย
- ผิวมีสีซีด สีเทา หรือสีน้ำเงิน บริเวณริมฝีปาก หรือเล็บ ขึ้นอยู่กับโทนสีผิว
ข้อควรระวังของโรคโควิด-19 ในเด็กเล็ก มีอะไรบ้าง?
ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) เผยว่า ทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กทั่วไป
ตัวอย่างโรคประจำตัว
- โรคหอบหืด หรือโรคปอดเรื้อรัง
- โรคเบาหวาน
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม
- โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle-cell disease: SCD)
- โรคหัวใจแต่กำเนิด
- โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- โรคอ้วน
หากบุตรหลานของท่าน มีอายุต่ำกว่า 1 ปี หรือมีโรคประจำตัว แล้วป่วยเป็นโรคโควิด-19 ควรแจ้งแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ทราบ เพราะอาจจัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง หรือสีแดงที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ไม่สามารถทำ Home Isolation ได้
เมื่อเด็กติดเชื้อโควิด-19 พ่อแม่ควรทำอย่างไรดี?
หากหลังจากตรวจด้วย Antigen Test Kit (ATK) หรือ RT-PCR แล้วผลยืนยันเป็นบวก จะต้องปฏิบัติตัวเบื้องต้น ดังนี้
- ในกรณีที่ตรวจหาเชื้อโควิด-19 กับโรงพยาบาล แล้วมีเจ้าหน้าที่เข้ามาจัดการ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
- ในกรณีที่ตรวจหาเชื้อด้วยตนเอง ให้ติดต่อสปสช. ที่เบอร์โทรศัพท์ 1330 หรือลงทะเบียนที่เว็บไซต์ https://crmsup.nhso.go.th/ เพื่อคัดกรองระดับผู้ป่วย และเข้าสู่ระบบ Home Isolation
- ให้เด็กอยู่ในพื้นที่จำกัด และขณะดูแลเด็ก จะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ
- ป้องกันตนเองจาก COVID-19 ขณะดูแลลูกที่ป่วยด้วยการสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ เฝ้าระวังอาการของ COVID-19 และใช้มาตรการป้องกันอื่นๆ
- ในกรณีที่เด็กมีไข้ ให้รับประทานยาลดไข้ตามคำแนะนำของเภสัชกร และเช็ดตัวเข้าสู่หัวใจ ระมัดระวังไม่ให้ไข้สูง
- ในกรณีที่เด็กมีอาการไอ ให้รับประทานยาแก้ไอ และยาละลายเสมหะตามคำแนะนำของเภสัชกร
- ให้เด็กพักผ่อนมากๆ หลีกเลี่ยงการเล่น หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง
- เด็กอาจมีอาการเครียด หรือกังวลได้เหมือนกับผู้ใหญ่ ผู้ปกครองควรสังเกตอารมณ์ของเด็ก และหากิจกรรมมาทำร่วมกันเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น เล่านิทาน ดูการ์ตูน หรือเล่นของเล่น
เด็กเล็กฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไหม?
ในปัจจุบันยังไม่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็กเล็ก แต่เด็กทุกคนควรเข้ารับการฉีดวัคซีนอื่นๆ ตามอายุที่กำหนดตามปกติ เช่น วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน วัคซีนโปลิโอ หรือวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน คางทูม
สถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงน่ากังวลใจ เราทุกคนจะต้องป้องกันตนเองให้ดีที่สุด โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ชุมชน สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หมั่นล้างมือเป็นประจำทั้งก่อนเข้าบ้าน หลังเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร และฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เมื่อมีโอกาส
HDmall.co.th ขอเป็นหนึ่งในกำลังใจให้กับคนไทยทุกคน เราจะผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกจะจบลงโดยเร็วที่สุด
สำหรับใครที่ต้องการตรวจคัดกรองโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาตรวจโควิด-19 ล่าสุด ได้ที่นี่ หรือแอดไลน์ @hdcoth เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ มีจิ๊บใจดีคอยให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง แอดได้เลยไม่ต้องรอ!
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- จองวัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna) ได้ที่ไหนบ้าง?
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนฟาร์ม (Sinopharm)
- วัคซีนโควิด 19 โควาซิน (Covaxin)
ที่มาของข้อมูล
กระทรวงสาธารณสุข, ราชกิจจานุเบกษา เรื่องแก้ไขทะเบียนตํารับยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ชนิดรับประทาน (https://www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shared%20Documents/Law7.1-Order-Edit/60-329.PDF), 28 กรกฎาคม 2564.
ผศ.ดร.นพ. นพพร อภิวัฒนากุล, COVID-19 ในเด็ก, (https://med.mahidol.ac.th/sites/default/files/public/img/infographics/infographics208-280164.pdf), 28 กรกฎาคม 2564.
CDC, COVID-19 in Children and Teens (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/daily-life-coping/children/symptoms.html), 28 July 2021.