HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- แลมบ์ดา (Lambda) หรือเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ C.37 ถูกพบครั้งแรกที่ประเทศเปรู ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 และในปัจจุบัน พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาแล้วอย่างน้อย 29 ประเทศทั่วโลก แต่ยังไม่พบในไทย
- องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาอยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ (Variant of Interest หรือ VOI) ร่วมกับโควิดสายพันธุ์อีต้า (Eta) ไอโอต้า (Iota) และแคปป้า (Kappa)
- ข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England: PHE) พบว่า โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดามีการกลายพันธุ์บริเวณหนามโปรตีน (Protein spike) 7 ตำแหน่ง ได้แก่ G75V, T76I, del247/253, L452Q, F490S, D614G และ T859N ซึ่งอาจส่งผลให้โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดามีศักยภาพในการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น และอาจลดประสิทธิภาพของแอนติบอดีบางตัวที่ใช้เพื่อยับยั้งไวรัสได้
- นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์กรอสแมน มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU Grossman School of Medicine) ได้ทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA ยี่ห้อ Pfizer และ Moderna กับโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา พบว่า โปรตีนสไปค์ของแลมบ์ดาสามารถลดประสิทธิภาพของแอนติบอดีที่ถูกกระตุ้นด้วยวัคซีนได้บางส่วน แต่ยังมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการป้องกันโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาได้
- เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth
เมื่อพูดถึงโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา ใครหลายคนอาจไม่รู้จัก เพราะไม่ใช่สายพันธุ์โควิดหลักที่แพร่ระบาดอยู่ในไทยในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาเป็นหนึ่งในสายพันธุ์โควิดที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมีจำนวนผู้ติดเชื้อไปแล้วอย่างน้อย 29 ประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า สายพันธุ์แลมบ์ดาอาจมีศักยภาพในการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว และหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้เหมือนเดลต้า
แล้วเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์แลมบ์ดา คืออะไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่ แพร่ระบาดภูมิภาคใดบ้าง มีอันตรายอย่างไร วัคซีนโควิดในไทย ป้องกันได้หรือไม่ HDmall.co.th หาคำตอบมาให้แล้ว
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา
แลมบ์ดา (Lambda) หรือเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ C.37 ถูกพบครั้งแรกที่ประเทศเปรู ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 และในปัจจุบัน พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาแล้วอย่างน้อย 29 ประเทศทั่วโลก แต่ยังไม่พบในไทย
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาอยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ (Variant of Interest หรือ VOI) ร่วมกับโควิดสายพันธุ์อีต้า (Eta) ไอโอต้า (Iota) และแคปป้า (Kappa) (ข้อมูล ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2564)
โดยเกณฑ์ของเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ (VOI) มีดังนี้
- มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ที่คาดการณ์ หรือทราบว่า มีผลกระทบต่อลักษณะของไวรัส เช่น การแพร่เชื้อ ความรุนแรงของโรค การหลบหนีของภูมิคุ้มกัน การวินิจฉัย หรือการรักษา
- เป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดในชุมชน หรือกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในหลายประเทศ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อต่อการแพร่ระบาดไปทั่วโลก
ในด้านของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้ให้ความเห็นเกี่ยวโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาว่า เป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่กำลังสร้างความพิศวงและวิตกกังวลให้กับนักวิทยาศาสตร์อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากแลมบ์ดามีลักษณะการกลายพันธุ์ที่ผิดปกติใกล้เคียงกับเดลต้า (Delta) โดยมีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็ว และหลบภูมิคุ้มกันได้
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาทั่วโลก เป็นอย่างไร?
ในปัจจุบันโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาเป็นโควิดสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดในประเทศเปรู คิดเป็น 81% ของผู้ป่วยโควิด-19 นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา
และเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ฐานข้อมูลกลางโควิดโลก GISAID ได้รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 1,845 ราย ในทั่วโลก ดังนี้
- ชิลี มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 707 ราย
- สหรัฐอเมริกา มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 525 ราย
- เปรู มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 222 ราย
- เยอรมนี มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 87 ราย
- อาร์เจนตินา มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 86 ราย
- แม็กซิโก มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 57 ราย
- สเปน มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 43 ราย
- เอกวาดอร์ มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 30 ราย
- อิสราเอล มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 19 ราย
- โคลอมเบีย มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 15 ราย
- ฝรั่งเศส มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 13 ราย
- อียิปต์ มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 8 ราย
- สวิตเซอร์แลนด์ มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 7 ราย
- สหราชอาณาจักร มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 6 ราย
- อิตาลี มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 5 ราย
- บราซิล มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 3 ราย
- แคนาดา มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 3 ราย
- เนเธอร์แลนด์ มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 1 ราย
- อารูบา มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 1 ราย
- โปรตุเกส มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 1 ราย
- เดนมาร์ก มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 1 ราย
- สาธารณรัฐเช็ก มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 1 ราย
- ตุรกี มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 1 ราย
- ออสเตรเลีย มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 1 ราย
- คูราเซา มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 1 ราย
- ซิมบับเว มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา 1 ราย
จากรายงานดังกล่าว พบว่า ยังไม่มีผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาในประเทศไทย
โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา มีการกลายพันธุ์ที่น่ากลัว อย่างไร?
ข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษ (Public Health England: PHE) พบว่า โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดามีการกลายพันธุ์บริเวณหนามโปรตีน (Protein spike) 7 ตำแหน่ง ได้แก่ G75V, T76I, del247/253, L452Q, F490S, D614G และ T859N
การกลายพันธุ์ดังกล่าว อาจส่งผลให้โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดามีศักยภาพในการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้น และอาจลดประสิทธิภาพของแอนติบอดีบางตัวที่ใช้เพื่อยับยั้งไวรัสได้
ทั้งนี้ผลกระทบดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิถุนายน 2564)
โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา มีลักษณะอาการอย่างไร?
ในปัจจุบันยังไม่มีผลการวิจัยแน่ชัดว่า โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยแตกต่างจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นอย่างไร ทำให้การสังเกตอาการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา ยังคงยึดตามอาการแสดงของโควิด-19 ที่พบได้ทั่วไป ดังนี้
- อาการโควิดที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ มีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส คัดจมูก ตาแดง เจ็บคอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ท้องเสีย หนาวสั่น และเวียนหัว
- อาการโควิดรุนแรง ได้แก่ หายใจหอบถี่ หายใจลำบาก ไม่อยากอาหาร เวียนหัว สับสน มึนงง เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก มีไข้ 38 องศาขึ้นไป เสียความสามารถในการเคลื่อนไหว และใบหน้า หรือริมฝีปากเปลี่ยนสี
นอกจากกลุ่มผู้ที่มีอาการแสดงแล้ว ยังมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในกลุ่มที่ไม่แสดงอาการอีกด้วย โดยในกลุ่มนี้จะไม่มีอาการแสดงใดๆ เลย ตั้งแต่ได้รับเชื้อมาจนกระทั่งเป็นปกติ
วัคซีนโควิดป้องกันโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา ได้หรือไม่?
นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์กรอสแมน มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU Grossman School of Medicine) ได้ทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA ยี่ห้อ Pfizer และ Moderna กับโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา พบว่า
โปรตีนสไปค์ของแลมบ์ดาสามารถลดประสิทธิภาพของแอนติบอดีที่ถูกกระตุ้นด้วยวัคซีนได้บางส่วน แต่วัคซีน mRNA ทั้ง 2 ยี่ห้อ ยังมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการป้องกันโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาได้
ในส่วนของวัคซีนโควิดซิโนแวค มีการศึกษาโดยผลวิจัยในฉบับร่าง (Preprint) พบว่า โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดามีความต้านทานเพิ่มขึ้นต่อวัคซีนโควิดซิโนแวค
โดยนักวิจัยได้ตรวจสอบผลกระทบของโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาต่อการติดเชื้อ และแอนติบอดีที่กระตุ้นโดยวัคซีนโควิดซิโนแวค โดยใช้ตัวอย่างพลาสมาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในซานติอาโก ประเทศชิลี ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส
นักวิจัยพบว่า โปรตีนสไปค์ของโควิดสายพันธุ์แลมบ์ดาทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับโควิดสายพันธุ์อัลฟา หรือแกมมา นั่นจึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการแพร่ระบาดมากขึ้นในประเทศชิลี
เชื้อไวรัสโคโรน่า SAR-COV-2 ยังคงมีการกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา ซึ่งยากที่จะคาดเดาได้ว่า สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด
วิธีที่ดีที่สุดคือ การป้องกันตนเองตามคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าคุณจะฉีดวัคซีนโควิดครอบโดสแล้ว หรืออยู่ระหว่างการฉีด หรือยังไม่ได้รับวัคซีนโควิดเลย
หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- จองวัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna) ได้ที่ไหนบ้าง?
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนฟาร์ม (Sinopharm)
- วัคซีนโควิด 19 โควาซิน (Covaxin)
ที่มาของข้อมูล
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/โควิด-19-สายพันธุ์แลมบ์ดา/), 13 สิงหาคม 2564.
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Royal Academy, โควิดแลมบ์ดา โควิดสายพันธุ์น่าพิศวง (https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=896738991184305&id=309713019886908), 13 สิงหาคม 2564.
BBC, โควิด-19 : “แลมบ์ดา” ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ อันตรายกว่าเดลตาจริงหรือ (https://www.bbc.com/thai/international-57752238), 13 สิงหาคม 2564.
CNBC, Here’s what you need to know about the lambda Covid variant (https://www.cnbc.com/2021/07/09/covid-heres-what-you-need-to-know-the-lambda-variant.html), 13 August 2021.
Health Policy Watch, Lambda, the Newest WHO Variant of Interest, is Now in 29 Countries (https://healthpolicy-watch.news/lambda-new-variant-interest-29-countries/), 13 August 2021.
Public Health England, SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England (https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/1001354/Variants_of_Concern_VOC_Technical_Briefing_17.pdf), 13 August 2021.
Sciencefocus, Lambda COVID variant: All you need to know about the new UK coronavirus strain (https://www.sciencefocus.com/news/lambda-variant/), 13 August 2021.
WHO, Tracking SARS-CoV-2 variants (https://www.who.int/en/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants/), 13 August 2021.