HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล แบ่งเป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ P.1 (B.1.1.28.P1) และ P.2 (B.1.1.28.P2)
- เกิดจากการกลายพันธุ์ที่เรียกว่า “E484k” ในส่วนของปุ่มโปรตีนหนาม หรือเรียกว่า “สไปค์” (Spike protein) เป็นปุ่มที่ยื่นออกมาจากเปลือกหุ้มของเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นส่วนที่ไวรัสใช้ในการยึดเกาะกับเซลล์ในร่างกายมนุษย์
- นักวิจัยคาดการณ์ว่า การกลายพันธ์ุของสไปค์จะทำให้เชื้อไวรัสโคโนาเกาะติดกับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ไวรัสแพร่กระจายได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
- ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิลได้แน่ชัด แต่ผลวิจัยเบื้องต้นล้วนเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ สามารถป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ได้ แต่จะมีประสิทธิภาพที่ลดลง
- เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth
เมื่อวันที่ 5 พฤกษภาคม พ.ศ. 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 (ศบค.) ได้เผยแพร่รายงานการพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล ในสถานกักกัน แต่ยังไม่พบการแพร่ระบาดในพื้นที่ชุมชน
เหตุการณ์ที่เกิดนี้ ได้สร้างความกังวลใจให้กับใครหลายคน เพราะเกรงว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์บราซิลจะแพร่กระจายได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ทั่วไป และอาจทำให้มีอาการป่วยที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม
สำหรับผู้ต้องการทราบข้อมูลของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล คืออะไร ติดต่อได้ง่ายไหม มีลักษณะอาการอย่างไร HDmall.co.th ได้สรุปข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล มาไว้ที่นี่แล้ว
ทำความรู้จักกับ เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล
เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล แบ่งเป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่
- P.1 (B.1.1.28.P1)
- P.2 (B.1.1.28.P2)
เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิลทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ มีลักษณะคล้ายกับเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ และสายพันธุ์แอฟิกา คือ เกิดการกลายพันธุ์ที่เรียกว่า “E484k” ในส่วนของปุ่มโปรตีนหนาม หรือเรียกว่า “สไปค์” (Spike protein)
สไปค์ นั้นเป็นปุ่มที่ยื่นออกมาจากเปลือกหุ้มของเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นส่วนที่ไวรัสใช้ในการยึดเกาะกับเซลล์ในร่างกายมนุษย์
นักวิจัยคาดการณ์ว่า การกลายพันธ์ุของสไปค์จะทำให้เชื้อไวรัสโคโนาเกาะติดกับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ไวรัสแพร่กระจายได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง
เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล P.1 และ P.2 แตกต่างกันอย่างไร?
ในปัจจุบันยังไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล P.1 และ P.2
เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล ติดต่อง่ายหรือไม่?
(ข้อมูล ณ วันที่ 17 มีนาคม 2564) สำนักข่าว BBC ได้รายงานข้อมูลงานวิจัยของอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอนที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยเซาเปาโล และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ว่า
จากการประเมินการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล (P.1) พบว่า สามารถติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อโรคโควิด-19 ดั้งเดิมที่ยังปรากฏในบราซิลถึง 1.4 - 2.2 เท่า และอาจหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน แล้วทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ราว 25-61% ของการติดเชื้อทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science จัดทำโดยนักวิจัยจากบราซิล สหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ( Copenhagen) พบว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล (P.1) สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์อื่น 1.7-2.4 เท่า และสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้เช่นกัน
โรคโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล ทำให้เกิดอาการอย่างไร?
โรคโควิด-19 ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์บราซิล ทั้ง P.1 และ P.2 ในปัจจุบันยังไม่มีผลการวิจัยแน่ชัดว่า ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยแตกต่างจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นอย่างไร ทำให้การสังเกตอาการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล ยังคงยึดตามอาการแสดงของโควิด-19 ที่พบได้ทั่วไป ดังนี้
- อาการโควิดที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ มีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส คัดจมูก ตาแดง เจ็บคอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ท้องเสีย หนาวสั่น และเวียนหัว
- อาการโควิดรุนแรง ได้แก่ หายใจหอบถี่ หายใจลำบาก ไม่อยากอาหาร เวียนหัว สับสน มึนงง เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก มีไข้ 38 องศาขึ้นไป เสียความสามารถในการเคลื่อนไหว และใบหน้า หรือริมฝีปากเปลี่ยนสี
นอกจากกลุ่มผู้ที่มีอาการแสดงแล้ว ยังมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในกลุ่มที่ไม่แสดงอาการอีกด้วย โดยในกลุ่มนี้จะไม่มีอาการแสดงใดๆ เลย ตั้งแต่ได้รับเชื้อมาจนกระทั่งเป็นปกติ
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล ได้หรือไม่?
ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดเกี่ยวกับวัคซีนที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิลได้ แต่ผลวิจัยเบื้องต้นของแต่ละบริษัทล้วนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ วัคซีนป้องกันโควิดยังคงสามารถป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ได้ แต่จะมีประสิทธิภาพที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตวัคซีนโมเดอร์นา ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลการทดลองของวัคซีนโมเดอร์นาสำหรับใช้ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันว่า สามารถเสริมสร้างการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล (P.1) และสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351) ได้
ทั้งนี้วัคซีนดังกล่าวยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ก็นับเป็นหนึ่งในแนวทางที่อาจนำไปสู่การรับมือกับเชื้อไวรัสที่เกิดกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลาในปัจจุบันได้
แนวทางการรับมือกับเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์บราซิล
ในปัจจุบัน เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงมีการกลายพันธุ์ และเกิดสายพันธุ์ใหม่อยู่เสมอ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างเฝ้าระวังและจับตามองอย่างใกล้ชิด รวมถึงพัฒนาประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในการป้องกันโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม กระบวนการดังกล่าวยังต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษา ในระหว่างนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนในการป้องกันตนเองเบื้องต้นก่อน เช่น การสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หมั่นล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เมื่อมีโอกาส
HDmall.co.th หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกจะดีขึ้นในเร็ววัน เพื่อให้ทุกคนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงกันถ้วนหน้า
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโควิด-19 พร้อมอัปเดตข้อมูลจองวัคซันป้องกันโควิดจากโรงพยาบาลเอกชนก่อนใครได้ที่ไลน์ @hdcoth มีน้องจิ๊บใจดีคอยให้บริการข้อมูล จองแพ็กเกจสุขภาพ ทำคิวนัดหมายกับทางโรงพยาบาล เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลาเก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่ง แอดได้เลยไม่ต้องรอ!
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- อัปเดต วัคซีนโควิดในไทย ชนิดไหนเหมาะกับใคร? ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร?
- เตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิดอย่างไร ให้ “พร้อม” ที่สุด
- ลองโควิด (Long COVID) ผลข้างเคียงระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นหลังหายป่วยจากโรคโควิด-19
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
ที่มาของข้อมูล
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, โควิด-19 และระบาดวิทยา (https://learningcovid.ku.ac.th/#c1), 24 พฤกษภาคม 2564.
BBC NEWS, ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์บราซิล แอฟริกาใต้ และสหราชอาณาจักร ต่างกันอย่างไร และวัคซีนจะใช้ได้ผลหรือไม่ (https://www.bbc.com/thai/international-56239313), 24 พฤกษภาคม 2564.
BBC NEWS, ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์บราซิล แอฟริกาใต้ และสหราชอาณาจักร ต่างกันอย่างไร และวัคซีนจะใช้ได้ผลหรือไม่ (https://www.bbc.com/thai/international-56239313), 24 พฤกษภาคม 2564.
Thai PBS NEWS, ศบค.ยอมรับโควิด "สายพันธุ์บราซิล" เข้าไทยแล้ว พบอยู่ใน SQ (https://news.thaipbs.or.th/content/304030), 24 พฤกษภาคม 2564.
CNBC, Moderna says Covid booster shot generates promising immune response against variants found in South Africa, Brazil (https://www.cnbc.com/2021/05/05/covid-booster-shot-moderna-says-vaccine-generates-promising-immune-response-against-variants.html), 24 May 2021.
Centers for disease control and prevention, About Variants of the Virus that Causes COVID-19 (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/variants/variant.html), 24 May 2021.
The Dutch National Institute for Public Health and the Environment (RIVM), Brazilian coronavirus variants (P1 and P2) found in the Netherlands (https://www.rivm.nl/en/news/brazilian-coronavirus-variants-p1-and-p2-found-in-netherlands), 24 May 2021.
Sciencemag, Genomics and epidemiology of the P.1 SARS-CoV-2 lineage in Manaus, Brazil (https://science.sciencemag.org/content/372/6544/815), 24 May 2021.