เตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิดอย่างไร ให้ “พร้อม” ที่สุด


ฉีดวัคซีนโควิด-ผู้หญิงฉีดวัคซีนโควิด-เตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ก่อนเข้ารับวัคซีนโควิดควรเตรียมตัวให้พร้อม ได้แก่ งดออกกำลังกายหนัก ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 2 วันก่อนฉีดวัคซีน พักผ่อนให้เพียงพอ  งดดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 1 วันก่อนฉีดวัคซีน
  • หากเพิ่งได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เดือน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤต และอัมพาต ไม่ควรหยุดยาเพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว หากรับประทานยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน โดยเฉพาะยากดภูมิ หรือยาที่มีผลให้หลอดเลือดหดตัว เช่น ยารักษาไมเกรนกลุ่ม ergotarmine
  • หลังฉีดเจ้าหน้าที่จะให้ดูอาการประมาณ 30 นาที และตรวจสอบอาการอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ จากนั้นควรประเมินอาการต่อเนื่องอีก 48-72 ชั่วโมง หากมีอาการผิดปกติ หากมีอาการอื่นๆ ที่ไม่แน่ใจ เช่น มีผื่นลมพิษ หน้ามืด เป็นลม แขนขาอ่อนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdmall.support

ปัจจุบัน “การเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด” คงเป็นสิ่งที่กำลังอยู่ในความสนใจของคนจำนวนไม่น้อย หลังตัวเลขการติดเชื้อโควิดในประเทศยังไม่มีทีท่าจะลดน้อยลง และมีคลัสเตอร์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นระยะๆ การระดมฉีดวัคซีนโควิดให้มากที่สุดจึงดูจะเป็นความหวังสำคัญในการชะลอการแพร่ระบาดครั้งนี้

ปัจจุบันภาครัฐเร่งให้บริการฉีดวัคซีนโควิดยี่ห้อซิโนแวค (Sinovac) และแอสตราเซนากา (Astrazeneca) แก่ประชาชนทั่วประเทศ และมีแนวโน้มจะนำเข้าวัคซีนโควิดยี่ห้ออื่นๆ เพิ่มเติมภายในปีนี้ เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่เตรียมนำเข้าวัคซีนโควิดเพิ่มเติมเช่นเดียวกัน

ด้วยวัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนโรคอุบัติใหม่และวัคซีนแต่ละยี่ห้อต่างได้รับอนุมัติให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน ยังต้องผ่านการปรับปรุงประสิทธิภาพอีก ดังนั้นเพื่อให้การฉีดวัคซีนโควิดชนิดที่มีอยู่นั้นมีประสิทธิภาพ มีความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ และผลข้างเคียงน้อยที่สุด การเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิดอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและควรรู้

บทความนี้ HDmall.co.th จึงขอแนะนำการเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิดอย่างถูกวิธี ขั้นตอนการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด และข้อปฏิบัติหลังฉีดวัคซีนโควิด เพื่อให้ทุกคนมีความพร้อมที่สุด คลายความกังวลใจ และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด

การเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิดอย่างถูกวิธี

ระหว่างที่หลายคนลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดฟรีผ่านไลน์และแอปพลิเคชันหมอพร้อม เวอร์ชั่น 2 รวมทั้งลงทะเบียนผ่านช่องทางของโรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือจังหวัด ที่ได้รับโควต้าวัคซีนโควิดจากรัฐบาล เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างรอคิวการฉีดวัคซีนโควิดอยู่  หรือกำลังลังเลว่า จะเลือกรับวัคซีนเมื่อไหร่

HDmall.co.th มีข้อแนะนำในการเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิดอย่างถูกวิธีดังนี้

  • ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนและขั้นตอนการรับบริการให้เข้าใจก่อน หากมีข้อสงสัยให้ปรึกษาสถานพยาบาล หรือโทรสายด่วน 1422
  • หากเพิ่งได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาแล้ว ควรเว้นระยะห่างในการฉีดวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 เดือน
  • ให้ข้อมูลสุขภาพอย่างละเอียดและถูกต้อง เช่น ประวัติการแพ้ยา วัคซีน อาหาร ไม่ปิดบังข้อมูล
  • ตรวจสอบข้อมูลยืนยันในช่องทางที่ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดให้เรียบร้อย
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  • ผ่อนคลายจิตใจ
  • งดออกกำลังกายหนัก การยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆ อย่างน้อย 2 วันก่อนฉีดวัคซีน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดนอน ไม่นอนดึก
  • งดดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 1 วันก่อนฉีดวัคซีน
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤต และอัมพาต ไม่ควรหยุดยาเพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ
  • หากอยู่ในกลุ่มรับประทานยาละลายลิ่มเลือด ให้รับประทานยาตามปกติ
  • วันที่เข้ารับการฉีดวัคซีนหากมีไข้สูง หรือมีอาการเจ็บป่วย ควรแจ้งขอเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไป
  • วันที่เข้ารับการฉีดวัคซีน ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี หรือประมาณ 3-4 แก้ว
  • วันที่เข้ารับการฉีดวัคซีน ไม่ควรรับประทานยาลดไข้ ยาแก้ปวด ก่อน เพราะยาอาจบดบังการตอบสนองวัคซีนได้

ขั้นตอนการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด ทำอย่างไร?

  • เตรียมบัตรประชาชนให้พร้อม
  • สวมเสื้อที่เปิดต้นแขนได้ง่ายเพื่อความสะดวกในการฉีดวัคซีน
  • สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า
  • เดินทางไปถึงสถานที่ฉีดวัคซีนก่อนเวลานัดหมายอย่างน้อย 30 นาที
  • แสดงเอกสารยืนยันตัวตนลงทะเบียนรับบริการ ประเมินความเสี่ยง
  • หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งของใดๆ
  • ตรวจสอบชื่อ และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
  • ชั่งน้ำหนัก วัดอุณหภูมิร่างกาย วัดความดันโลหิต
  • คัดกรอง ซักประวัติ การตั้งครรภ์ (ถ้ามี) รวมทั้งข้อมูลสุขภาพอื่นๆ ที่แพทย์ควรทราบ
  • รอฉีดวัคซีน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีการให้ความเข้าใจอีกครั้งก่อนรับวัคซีน
  • รับการฉีดวัคซีนโดยเป็นการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ ควรฉีดในแขนข้างที่ไม่ถนัด ใช้งานน้อย

ก่อนการรับวัคซีน คนในกลุ่มนี้ต้องแจ้งรายละเอียดของยาและโรคต่อแพทย์

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว หากรับประทานยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน โดยเฉพาะยากดภูมิ หรือยาที่มีผลให้หลอดเลือดหดตัว เช่น ยารักษาไมเกรนกลุ่ม ergotarmine
  • ผู้ที่เป็นโรคเลือดออกได้ง่าย ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับการฉีดวัดชีน เพราะอาจต้องใช้เวลากดแผลบริวณที่ฉีดให้นานขึ้น เช่น จาก 5 นาทีเป็น 15 นาที หรือนานกว่านั้น

ปฏิบัติตัวอย่างไร? หลังฉีดวัคซีนโควิด

  • เจ้าหน้าที่จะให้ดูอาการในบริเวณที่ฉีดประมาณ 30 นาที
  • ตรวจสอบอาการอีกครั้งก่อนเดินทางกลับ
  • เมื่อกลับถึงบ้านควรประเมินอาการต่อเนื่องอีก 48-72 ชั่วโมง หากมีไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัวมากจนทนไม่ไหว อ่อนเพลียมาก สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ได้ครั้งละ 1 เม็ด เพื่อบรรเทาอาการ
  • หากมีอาการอื่นๆ ที่ไม่แน่ใจ เช่น มีผื่นลมพิษ หน้ามืด เป็นลม แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ให้รีบติดต่อกลับไปยังสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลที่ฉีดวัคซีนโควิด หรือเดินทางไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดพร้อมแจ้งประวัติการรับวัคซีนและประวัติสุขภาพ
  • ห้ามรับประทานยากลุ่ม NSAIDS หรือเอ็นเสด ซึ่งเป็นยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่สเตียรอยด์ นิยมใช้ลดอาการปวดข้อ ลดการอักเสบในข้อ เช่น แอสไพริน (aspirin) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ไดโคลฟีแน็ก (diclofenac) นาพร็อกเซน (naproxen) รวมท้้งห้ามรับประทานยาอะคอกเซีย (Arcoxia) ซีเลเบร็กซ์ (Celebrex) เด็ดขาด เพราะจะทำให้วัคซีนตอบสนองน้อยลง
  • งดออกกำลังกายหนัก ยกของที่มีน้ำหนักมากๆ รวมทั้งการเกร็งแขนข้างที่ฉีดวัคซีน อย่างน้อย 2 วัน
  • ติดตามข้อมูลและสื่อสารผ่านไลน์ หรือแอปพลิเคชันหมอพร้อม หรือช่องทางของโรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือจังหวัด ที่ไปรับการฉีดวัคซีน
  • เมื่อได้รับวัคซีนเข็มแรกควรเตรียมตัวสำหรับการนัดหมายฉีดวัคซีนเข็มที่สอง

นอกจากนี้ คนในกลุ่มนี้ต้องระวังเฝ้าเป็นพิเศษ

  • ผู้ที่อยู่ในกลุ่มรับประทานยาละลายลิ่มเลือด หลังฉีดยาแล้วให้กดตรงตำแหน่งที่ฉีดนิ่งๆ นาน 1 นาที
  • ผู้ที่เป็นโรคเลือดออกได้ง่าย หากหลังฉีดวัคซีน มีอาการห้อเลือดหรือจ้ำเลือดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
  • ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หากมีอาการของโรคกำเริบหลังฉีดวัคซีน ควรรีบไปพบแพทย์

อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ หลังฉีดวัคซีนโควิด?

อาจเกิดผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนโควิดได้ดังนี้

  • ปวด บวม แดง ร้อน หรือคันบริเวณที่ฉีดวัคซีน
  • ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  • ปวดศีรษะ
  • มีไข้ต่ำๆ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อ่อนเพลีย

โดยทั่วไปอาการดังกล่าวมีสาเหตุจากร่างกายตอบสนองวัคซีน แต่จะค่อยๆ ทุเลาลงและหายเป็นปกติได้เอง แต่หากอาการไม่ทุเลาลง หรือมีแนวโน้มรุนแรงยิ่งขึ้น 

เช่น ไข้สูง ใจสั่น หนาวสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มีอาการบวมตามใบหน้าและร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ฉีดวัคซีนโควิดกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างไร? ให้ปลอดภัย

แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

  • หากเพิ่งได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เดือน
  • ส่วนในรายที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ มีข้อแนะนำดังนี้

กรณีที่รับวัคซีนโควิดซิโนแวค เมื่อได้รับวัคซีนโควิดซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้ว สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ โดยต้องเว้นระยะห่างการรับวัคซีนโควิดอย่างน้อย 1 เดือน

กรณีที่รับวัคซีนโควิดแอสตราเซนเนกา มี 2 ทางเลือก 

ทางเลือกแรก: สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ระหว่างการฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่ 1และ 2 ได้ แต่ต้องเว้นระยะหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 ไปแล้ว 1 เดือน

ทางเลือกที่ 2: หากต้องการฉีดวัคซีนโควิดให้ครบ 2 เข็มก่อน ก็ต้องเว้นระยะอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ไม่ว่าคุณจะรับวัคซีนโควิดครบทั้งสองเข็มแล้ว หรืออยู่ระหว่างรอการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หรืออยู่ระหว่างรอคิวการฉีดวัคซีนโควิด ก็ยังต้องดูแลตนเองตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่ภาครัฐกำหนดอย่างเคร่งครัด

เช่น การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หมั่นล้างมืออย่างถูกวิธี ไม่ไปในที่แออัด รักษาระยะห่างทางสังคม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ยังไม่เคยเข้ารับวัคซีนโควิด ยิ่งต้องศึกษาทำความเข้าใจ เตรียมตัวให้พร้อมที่สุดก่อนเข้ารับวัคซีนโควิด

หากสนใจเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdmall.support มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด

ที่มาของข้อมูล

กรมควบคุมโรค, แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ประเทศไทย (https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1729520210301021023.pdf), 19 พฤษภาคม 2564.

คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน (file:///C:/Users/USER/Downloads/คู่มือ_วัคซีนสู้โควิด_(ฉบับประชาชน).pdf), 19 พฤษภาคม 2564.

ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม, ฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องเตรียมตัวอย่างไร (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ฉีดวัคซีนโควิด-19-ต้องเตร/), 19 พฤษภาคม 2564.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, คู่มือวัคซีนสู้โควิด (ฉบับประชาชน) (https://www.thaihealth.or.th/Books/714/คู่มือ+วัคซีนสู้โควิด+(ฉบับประชาชน).html), 19 พฤษภาคม 2564.

CDC, Preparing for Your Vaccine (https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/prepare-for-vaccination.html), 19 May 2021.

Kathleen Doheny, COVID-19 Vaccine: How Best to Prepare (https://www.webmd.com/vaccines/covid-19-vaccine/news/20210127/covid-19-vaccine-how-best-to-prepare), 19 May 2021.



@‌hdcoth line chat