HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- นอกจากวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว วัคซีนที่ควรได้รับในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในผู้ใหญ่ คือ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ"
- ข้อดีของการฉีดวัคซีน 2 ชนิดนี้ คือ ป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อร่วม (co-infection) กับโรคโควิด-19 ลดความรุนแรงของโรคปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสและไข้หวัดใหญ่ และลดการสับสนในการวินิจฉัยโรค เนื่องจาก 2 โรคนี้ มีอาการคล้ายกับโรคโควิด-19
- ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด หรือโรคตับ และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่เป็นโรคไตวาย โรคมะเร็ง ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ คือ ผู้ใหญ่ทุกคนที่ไม่ข้อจำกัดในการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ผู้ที่อาศัยอยู่กับคนจำนวนมาก อาศัยอยู่ในหอพัก และผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ
- วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบสามารถฉีดพร้อมกันได้ แต่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ควรฉีดห่างจากวัคซีนชนิดอื่น อย่างน้อย 2 สัปดาห์
- เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือแอดไลน์ @hdcoth
วัคซีน (Vaccine) เป็นสารชนิดหนึ่งที่ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ได้อย่างทันที นอกจากจะช่วยลดการติดเชื้อแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงอีกด้วย
ในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้ นอกจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่จำเป็นต้องได้รับอย่างทันท่วงทีแล้ว ทางสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ได้มีคำแนะนำให้รับวัคซีนชนิดอื่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคร่วมด้วย
วัคซีนสำคัญที่ควรได้รับช่วงโควิด-19 นอกจากวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว ยังมีวัคซีนอะไรอีกบ้าง มีความสำคัญอย่างไร แล้วทำไมถึงต้องฉีด HDmall.co.th ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาให้แล้ว
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความสำคัญอย่างไร?
ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาจทำให้การเข้ารับวัคซีนที่สำคัญในแต่ละช่วงวัยหยุดชะงัก ทำให้โรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งหนึ่ง เช่น โรคหัด โรคโปลิโอ หรือโรคไข้หวัดใหญ่
การฉีดวัคซีนที่สำคัญในแต่ละช่วงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจทำให้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตแล้ว ยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคติดเชื้อร่วม (co-infection) กับโรคโควิด-19 ได้อีกด้วย
วัคซีนสำคัญที่ควรได้รับในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีอะไรบ้าง?
สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ได้แนะนําให้ผู้ใหญ่เข้ารับการฉีด 2 วัคซีนสำคัญในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ดังนี้
1.วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธ์ุ และวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
ในแต่ละปี องค์การอนามัยโลก (WHO) จะกำหนดสายพันธุ์ย่อยของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่คาดว่าจะระบาดในปีนั้นๆ จึงทำให้ต้องฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกปี โดยหลักการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มีดังนี้
- บุคคลทั่วไป ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 1 เข็ม และฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำทุกปี
- เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 8 ขวบ ให้ฉีด 2 เข็มในปีแรก โดยเว้นระยะห่างกันครั้งละ 1 เดือน หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นภูมิคุ้นกันซ้ำทุกปี
สำหรับผู้ที่สนใจฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สามารถเปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2021 ได้ ที่นี่
2.วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส หรือเรียกว่า "วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ IPD"
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส หรือที่รู้จักกันดีในชื่อวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "วัคซีนไอพีดี (IPD)"
เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคโรคนิวโมคอคคัส (pneumococcal disease) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน ทำให้มีอาการไอ มีเสมหะ หอบเหนื่อย และมีไข้
หากเชื้อรุกรานมากขึ้นจะกลายเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสแบบรุนราน (Invasive pneumococcal disease: IPD) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "โรคไอพีดี" ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต หรือโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบตามมา
ผู้ที่เป็นโรคไอพีดี จะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที เพราะถ้าหากมีอาการรุนแรงมากอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นในเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส หรือวัคซีนป้องกันปอดอักเสบจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยหลักฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ มีดังนี้
- ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ควรฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิด 13 สายพันธุ์ (PCV-13) 1 ครั้ง และฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัส ชนิด 23 สายพันธุ์ (PPSV-23) 1 ครั้ง ห่างกัน 1 ปี
- ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้วให้พิจารณาฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัสชนิด 23 สายพันธุ์ กระตุ้น 1 ครั้งเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป
สำหรับผู้ที่สนใจฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ IPD สามารถเปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ IPD ได้ ที่นี่
3 ข้อดีของการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ IPD ในช่วงโควิด-19
- ป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อร่วม (co-infection) กับโรคโควิด-19
- โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส เป็นโรคที่มีอาการคล้ายกับโรคโควิด-19 หากเป็นแล้ว อาจทำให้เกิดความสับสันในการวินิจฉัยได้
- ลดความรุนแรงของโรคปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสและไข้หวัดใหญ่
ใครบ้างที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ IPD ในช่วงโควิด-19
- ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด หรือโรคตับ
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่เป็นโรคไตวาย โรคมะเร็ง ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
นอกจากกลุ่มคนเหล่านี้แล้ว ผู้ใหญ่ทุกคนที่ไม่มีข้อจำกัดในการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้อื่นเป็นจำนวนมาก หรืออาศัยอยู่ในหอพัก รวมถึงผู้ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ก็ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ IPD ฉีดพร้อมวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ไหม?
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ IPD สามารถฉีดพร้อมกันได้ แต่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ควรฉีดห่างจากวัคซีนชนิดอื่น อย่างน้อย 2 สัปดาห์
สถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงเป็นที่น่ากังวลใจ ในระหว่างนั้น เราควรป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ชุมชน สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หมั่นล้างมือเป็นประจำ และฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เมื่อมีโอกาส
HDmall.co.th ขอเป็นหนึ่งในกำลังใจให้กับคนไทยทุกคน เราจะผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกจะจบลงโดยเร็วที่สุด
สำหรับใครที่ต้องการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สามารถ เปรียบเทียบแพ็กเกจและราคาตรวจหาเชื้อโควิด-19 ล่าสุด ได้ที่นี่ หรือแอดไลน์ @hdcoth เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย มีน้องจิ๊บใจดีคอยให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง แอดได้เลยไม่ต้องรอ!
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- วิธีการลงทะเบียนรับวัคซีนโควิดแอสตราเซเนกาผ่านหมอพร้อม โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน
- จองวัคซีนโควิดโมเดอร์นา (Moderna) ได้ที่ไหนบ้าง?
- รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดหมอพร้อม
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนแวค (Sinovac)
- วัคซีนโควิด 19 ไฟเซอร์ (Pfizer)
- วัคซีนโควิด 19 แอสตราเซเนก้า (Astrazeneca)
- วัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา (Moderna)
- วัคซีนโควิด 19 สปุตนิก วี (Sputnik-v)
- วัคซีนโควิด 19 โนวาแวกซ์ (Novavax)
- วัคซีนโควิด 19 จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson&Johnson)
- วัคซีนโควิด 19 ซิโนฟาร์ม (Sinopharm)
- วัคซีนโควิด 19 โควาซิน (Covaxin)
ที่มาของข้อมูล
นพ.ทรงภูมิ อธิภูกนก และ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, คําแนะนําการให้บริการวัคซีนในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (https://www.pidst.or.th/A885.html), 1 สิงหาคม 2564.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2 วัคซีนสำคัญที่ควรได้รับ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 (https://www.rama.mahidol.ac.th/th/COVID-19/regulation/27jul2021-1619), 1 สิงหาคม 2564.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, วัคซีนกับผู้สูงอายุ (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1440), 1 สิงหาคม 2564.
World Health Organization (WHO), Recommended composition of influenza virus vaccines for use in the 2021 southern hemisphere influenza season (https://www.who.int/influenza/vaccines/virus/recommendations/2021_south/en/), 1 August 2021.